ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดดวงดี
- ชื่อวัด: วัดดวงดี
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 12 รูป
- สามเณร: 2 รูป
- ลูกศิษย์วัด: 1 คน
- ที่ตั้ง: เลขที่ 228 หมู่ พระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปษณีย์ 50200
ประวัติความเป็นมา
วัดดวงดี อำเภอเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ 228 ถนนพระปกเกล้า ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ไม่ปรากฎผู้สร้างชัดเจน แต่สันนิษฐานจากตำแหน่งที่ตั้งของวัดที่อยู่บริเวณใจกลางเมืองเชียงใหม่ ว่าอาจจะสร้างโดยผู้มีอิทธิพลและบารมีหรือเจ้านายชั้นสูงในขณะนั้น วัดแห่งนี้เคยเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนของบุตรและธิดาของเหล่าขุนนางชั้นสูง นอกจากนั้น ครั้งหนึ่งเจ้าอาวาสวัดดวงดี ได้รับอาราธนาลาสิกขาเพื่อขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ นามว่า เจ้าขี้หูด เมื่อปี พ.ศ. 2304 - 2306
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 1910
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดดวงดี
วัดดวงดี ประกอบด้วยศาสนสถานที่มีสถาปัตยกรรมอันงดงาม เช่น วิหาร อุโบสถ หอไตร ทรงล้านนาไทยประยุกต์ โดยเฉพาะวิหารและหอไตรวัดดวงดี ได้รับพระราชทานรางวัลอนุรักษ์์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทปูชนียสถานและวัดวาอาราม ประจำปี พ.ศ.2551 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (คัดเลือกโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์)
ความน่าสนใจภายในวัดดวงดี
อุโบสถ เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมล้านนา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2377 ด้านหน้าประดับด้วยลวดลายไม้แกะสลักงดงามมาก หน้าบันแบบม้าต่างไหมประดับด้วยกระจกสี ผนังภายในเขียนภาพจิตรกรรมลายคำ
วิหาร สร้างโดยเจ้าอินทรวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นลักษณะอาคารก่ออิฐถือปูนสี่เหลี่ยม เสาไม้ด้านหน้าสูงโปร่งทำให้วิหารดูสูงสง่างามมาก หน้าบันวิหารตกแต่งด้วยงานแกะสลักไม้ลวดลายพรรณพฤกษาและดอกบัว ปิดทองอร่ามละเอียดอ่อนช้อยมาก ภายในวิหารประดิษฐาน พระพุทธดวงดี พระประธานปางมารวิชัย ที่ฐานพระมีจารึกไว้ว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเมืองแก้ว เมื่อปี พ.ศ. 2039
หอไตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2372 โดยเจ้าอุปราชมหาวงศ์(พระเจ้ามโหตรประเทศ)ตัวอาคารก่ออิฐถือปูน มีหลังคาสามชั้น ส่วนยอดเป็นฉัตรเก้าชั้น บริเวณซุ้มประตูหน้าต่างและเสาอาคารประดับด้วยลายปูนปั้นรูปดอกไม้ฝีมือประณีตสวยงาม ปัจจุบันอาจมีบางส่วนที่ชำรุดไปตามกาลเวลา ฝาผนังภายในมีภาพลายคำเรื่องพระเวสสันดรชาดก
ธาตุ เป็นลักษณะฐานสี่เหลี่ยมย่อเก็จ ฐานบัวหกเหลี่ยมซ้อนกันสี่ชั้น รองรับองค์ระฆังขนาดเล็ก ประดับด้วยกระจกสี ส่วนยอดประดับด้วยฉัตรสีทองห้าชั้น่ตามธรรมเนียมล้านนา
ข้อมูลเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2560