ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดโลกโมฬี
- ชื่อวัด: วัดโลกโมฬี
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 9 รูป
- สามเณร: 21 รูป
- ลูกศิษย์วัด: 5 คน
- ที่ตั้ง: เลขที่ ช้างเผือก มณีนพรัตน์ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปษณีย์
- เนื้อที่: 4-3-77
- โทร: 053-404039,086-4203234
- เว็บไซต์: www.watlok.com
ประวัติความเป็นมา
วัดโลกโมฬีตั้งอยู่ถนนมณีนพรัตน์ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เดิมเป็นวัดร้างมีเนื้อที่ ๔-๑-๓๗ ไร่ โบราณสถานที่ปรากฏอยู่คือ พระเจดีย์ที่อายุประมาณ ๔๗๗ ปี (ปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๔๘) ซึ่งทางกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้ หลังจากให้ยกขึ้นเป็นวัด ได้สร้างพระวิหาร และกำแพง ตามแบบของสถาปัตยกรรมล้านนาสร้างกุฏิสงฆ์พร้อมกันนั้นได้หล่อพระพุทธรูปปฏิมาประธานประจำพระวิหาร ชื่อ “พระพุทธสันติจิรบรมโลกนาถ” และได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้บนพระเมาลี เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖ และยังได้หล่อพระรูปของพระนางจิระประภามหาเทวี ซึ่งพระองค์ได้ทรงอุปถัมภ์วัดโลกโมฬีครั้งเสวยราชย์ครองเมืองเชียงใหม่ไว้ให้คนรุ่นหลังสักการะรำลึกถึงคุณความดีของพระองค์ วัดโลกฬี สร้างขึ้นในสมัยของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์มังราย พระองค์ใดนั้นยังได้หลักฐานโดยแน่ชัด แต่จากหลักฐานที่ค้นพบและได้กล่าวถึงวัดโลกโมฬีพอรวบรวมได้เป็นยุคดังนี้ ยุคที่ ๑ ตำนานวัดพระธาตุดอยสุเทพ บันทึกไว้ว่า ปีพุทธศักราช ๑๙๑๐ ในสมัยพญากือนาธรรมิกราช กษัตริย์ราชวงศ์มังราย ลำดับที่ ๖ เสวยราชสมบัติในเมืองเชียงใหม่สมัยพระองค์ทรงเสื่อมในศรัทธาในพุทธศาสนา ปรารภจะได้พระภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎกพระพุทธพจน์สามารถทำสังฆกรรมใหญ่น้องได้ทุกประการมาไว้ในอาณาจักร เมื่อได้ทรงทราบสุปฎิปันตาทิคุณแห่งพระอุทุมพรบุปผามหาสวามีเจ้า ซึ่งอยู่ที่เมืองพัน จึงให้ราชทูตไปอาราธนาพระมหาสวามีเจ้า แต่พระมหาสวามีเจ้ารับนิมนต์ไม่ได้ จึงให้ภิกษุลูกศิษย์ ๑๐ รูป มีพระอานนท์เถรเป็นประธานมาสู่เมืองเชียงใหม่แทนท่านพญากือนา ก็ให้พระเถระเจ้าทั้งหลายพำนักอยู่ วัดโลกโมฬี กำแพงเวียงชั้นนอก บ้านหัวเวียง จากหลักฐานที่ปรากฏนี้พอจะอนุมานได้ว่า วัดโลกโมฬี น่าจะสร้างขึ้นในสมัยพญากือนาประมาณปีพุทธศักราช ๑๙๑๐ หรือก่อนหน้านั้น ยุคที่ ๒ ๑๖๐ ปีต่อมา หนังสือตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่หน้า ๘๗-๘๘ บันทึกไว้ว่าปีพุทธศักราช ๒๐๗๐ ในสมัยของพระเมืองเกศเกล้า กษัตริย์ราชวงศ์มังรายลำดับที่๑๒ (พระเมืองเกศเกล้าครองเมืองครั้งที่ ๑ ปี พ.ศ. ๒๐๖๘-๒๐๘๑) หลักฐานบันทึกไว้ว่า “พญาเกศได้ถวายบ้านหัวเวียงให้เป็นอารามวัดโลกโมฬี” ปีพุทธศักราช ๒๐๗๑ พญาเกศ เมื่อได้บูรณะฟื้นฟูวัดโลกโมฬีและได้ทำบุญฉลองถวายให้เป็นอารามวัดโลกโมฬีแล้ว ก็ได้ทรงพระเจดีย์ ขนาดองค์ใหญ่ขึ้น พร้อมกันนั้นก็ได้สร้างพระวิหาร เพื่อให้ใช้ประกอบพิธีบำเพ็ญศาสนกิจของพุทธศาสนิกชน พระเมืองเกศเกล้า หรือพญาเกศครองราชย์ครั้งที่ สอง เป็นลำดับที่ ๑๔ พ.ศ. ๒๐๘๖-๒๐๘๘ พญาเกศฯ ทรงออกผนวชมีพระสิริมังคลาจารย์เป็นพระอุปัชฌาจารย์พระองค์ยังได้โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระมหาสรภังค์เถระเป็นพระมหาสังฆราชนครพิงค์เชียงใหม่พญาเกศเสด็จสวรรคตถูกขุนนางลอบปลงพระชนม์ในปีพุทธศักราช ๒๐๘๘ หลังจากสวรรคตแล้ว ข้าราชการขุนนาง ได้กระทำพิธีปลงศพที่วัดแสนพอก กำแพงเมืองชั้นในหลังจากได้ถวายพระเพลิงแล้วก็ได้นำพระอัฐิของพระองค์มาบรรจุไว้ ณ วัดโลกโมฬี เอกกระดูไปบรรจุไว้ยังวัดโลกโมฬี ฝ่ายเจ้าหนเหนือทางนอกนั้น ปีพุทธศักราช ๒๐๘๘ หลังจากที่ พญาเกศได้สวรรคตแล้ว พระนางจิระประภา ราชธิดาของพญาเกศ ก็ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาเป็นกษัตริย์ ในราชวงศ์มังรายลำดับที่ ๑๕ ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า ครั้งนั้นเมืองเชียงใหม่มีเหตุการณ์ไม่สงบ เนื่องจากขุนนางทั้งหลายไม่สามัคคีกัน สมเด็จพระไชยราชาธิราช กษัตริย์อยุธยาได้ยกทักขึ้นมาหมายจะตีเมืองเชียงใหม่พระนางจิระประภาทรงทราบว่า กำลังทัพหลวงของพระไชยราชาธิราช และเมืองเชียงใหม่ไม่พร้อมที่จะรับศึกได้ เมื่อกองทัพพระไชยาราชาธิราช ยกทัพมาถึงนอกเมือง พระนางจึงได้แต่งเครื่องราชบรรณาการออกไปถวายและทูลเชิญเสด็จพระไชยาราชาธิราช ได้นำเสด็จมาทำบุญที่กู่เฝ่า พระเมืองเกศเกล้า ที่วัดโลกโมฬี สมเด็จพระไชยาธิราชได้พระราชทานพระราชทรัพย์ทำบุญไว้กับกู่พญาเกศเกล้าอีก ๕๐๐๐ เงิน กับผ้าทรง ๑ ผืนนอกจากนั้นยังได้พระราชทานรางวัลให้กับเจ้านาย ขุนนางที่รับเสด็จด้วย ยุคที่ ๓ ๖๐ปี ต่อมาหลังจากที่เมืองเชียงใหม่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าหลักฐานพวศาวดารโยนกและตามรอยโครงมังทรารบเชียงใหม่ ในปีพุทธศักราช ๒๑๔๙ กษัตริย์ที่ครองเชียงใหม่ชื่อ มังนราช่อ(สาวัตถีนรถามังคะยอ)ซึ่งเป็นราชบุตรของพระเจ้าบุเรงนอง (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๒๒-๒๑๕๐) ได้มีเมตาธรรมให้พระมหาสมเด็จวัดโลกโมฬี ไว้กับวัดวิสุทธาราม ให้คนบ้านแปะและพวกยางบนดอยเป็นข้าวัดดูแลห้ามฝ่ายบ้านเมืองนำไปใช้แม้จะมีศึกสงคราม(วัดบ้านแปะ อำเภอจอมทองจังหวัดเชียงใหม่ปัจจุบัน) ปีพุทธศักราช ๒๑๘๒ หลักฐานตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ บันทึกไว้ว่า พระเจ้าสุทโธธรราชา ได้มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาและได้อาราธนาพระสวามี ถวายทานในพระบาทสมเด็จพระสังฆราชโมฬีเจ้า วัดทุกวัดเป็นราชฐาน ทำบุญเดือนยี่เป็ง บูชาพระพุทธรูป พระธาตุเจ้าและพระภิกษุ สามเณร ตามพระราชประเพณีแห่งเมืองเชียงใหม่ ยุคที่ ๔ ยุคกาวิละวงศ์ หลักฐานรายชื่อวัดในเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่ ในปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ สมัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ และสมัยของเจ้าอินทวโรรส เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ลำดับที่ ๗และ๘ มีบันทึกไว้ว่า วัดโลกโมฬี ตั้งอยู่แขวงบ้านทับม่านขึ้นกับแคว้นเจ็ดยอด เจ้าอธิการชื่อ ตุ๊พวง นิกายเชียงใหม่ ยังไม่ได้เป็นอุปัชฌาย์ รองอธิการชื่อ ตุ๊คำ และในปีพุทธศักราช ๒๔๕๒-๒๔๘๒ พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ลำดับที่ ๙ ได้บูรณะวัดโลกโมฬี เหนือเวียงและสร้างพระพุทธรูปพร้อมทั้งธรรมมาสน์ หลังจากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานใดๆ ที่จะบอกถึงความเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาต่อเนื่องมาอีก นับแต่เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประมาณปีพุทธศักราช ๒๔๘๕ วัดโลกโมฬี ก็ตกอยู่ในสภาพเป็นวัดที่ว่างเว้นจากผู้ปกครองสงฆ์มานาน ๖๐ ปี ที่ดินของวัดในอดีตก่อนหน้านั้นมีเนื้อที่กว้างขวางหลายสิบไร่ ได้ถูกถือครองโดยเอกชน และต่อมามีการออกโฉนดเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนหลายแปลง จึงเหลือกเนื้อที่ตามที่ปรากฏในหลักฐานขึ้นทะเบียนเป็นวัดร้าง ในความดูแลของกรมศาสนา จำนวนเนื้อที่๔-๑-๓๗ ไร่ พื้นที่ด้านหน้าของพระเจดีย์ ซึ่งติดถนนมณีนพรัตน์กองศาสนสมบัติกลางกรมการศาสนา ได้ให้กรมปศุสัตว์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เช่าเป็นที่ทำการของสำนักงานปศุศัตว์จังหวัดเชียงใหม่ เป็นระยะเวลากว่า ๓๐ ปี อีกส่วนด้านทิศตะวันออก ได้ให้สมาคมธรรมศาสตร์ภาคเหนือเช่า เป็นที่ทำการของสมาคมฯ เป็นระยะเวลาหลายสิบปีเช่ากัน และต่อมาสมาคมธรรมศาสตร์ภาคเหนือได้ให้บริษัทโคโนโก้เช่าต่อ ถือสัญญาเช่ามีระยะเวลา ๓๐ ปี(๒๕๓๕) มีการปรับปรุงเป็นสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน ยุคที่ ๕ ตั้งแต่ปี พุทธศักราช ๒๕๔๔ จนถึงปัจจุบัน พระญาณสมโพธิ ปัจจุบันได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระราชสิทธาจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เจ้าคณะอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่ และได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ในปี ๒๕๔๗ ได้พิจารณาสถานที่วัดร้างในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีเนื้อที่กว้างพอประมาณหลายแห่งดังนี้ วัดเจ็ดลิน (ร้าง) ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นวัดร้างมีเนื้อที่ ๗-๐-๙๖ ไร่ พอเพียงพอที่สร้างเป็นสำนักงานได้ จึงทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ฉบับที่ ๑ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๓ เพื่อเช่าพื้นที่ตามระเบียบของกรมการศาสนา แต่มีปัญหาพื้นที่มีผู้บุกรุกอยู่จำนวนมาก จึงได้ทำหนังสือขอยกเลิกไป วัดโลกโมฬี (ร้าง) พระญาณสมโพธิ (พระราชสิทธาจารย์) ได้ทำหนังสือลงวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เพื่อขอเช่าวัดโลกโมฬี ตั้งอยู่ถนนมณีนพรัตน์ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นวัดร้างเช่นกัน มีเนื้อที่ ๒-๓-๐๙ ไร่ แทนวัดเจ็ดลินที่ยกเลิกไป ขณะที่กำลังรอคำตอบจากกรมการศาสนานั้น ก็ทราบว่ามีปัญหาคล้ายกัน ทั้งยังมีผู้ยื่นคำร้องขอเช่าที่ดินวัดร้างเพื่อทำประโยชน์ทางธุรกิจ สวนสาธารณะและอื่นๆ ดังนั้นจึงได้ทำหนังสือลงวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. อ๒๕๔๔ ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ที่ ๖ เชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมส่งเสริมประเพณีปี๋ใหม่เมืองประจำปี ๒๕๔๔ มีกำหนด ๔ วัด คือวันที่ ๑๒-๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๔ และได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการได้ พระญาณสมโพธิจึงได้สั่งการหี้การปรับพื้นที่ซึ่งรกร้างมานาน และกำหนดกิจกรรมงานประเพณีปี๋ใหม่เมือง โดยได้รับความร่วงมือจาก นายบุญฤกธิ์ ตุลาพันธ์พงค์ (สื่อมวลชน) ได้ประชาสัมพันธ์ข่าวเผยแพร่เป็นระยะๆ จนเกิดกระแสจากพุทธศาสนนิกชน พระมหาเถระผู้ใหญ่ เช่น สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ วัดปากน้ำภาษีเจริญ สมเด็จพระพุฒาจารย์เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก วัดสระเกศ ได้เดินทางมาตรวจสถานที่เห็นว่าเหมาะสมที่จะยกให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาตลอดไป มหาเถระทั้งสองมีเมตตาที่จะให้การสนับสนุนในเรื่องนี้อย่างเต็มที่ ต่อมาพระญาณสมโพธิมอบหมายงานให้นายบุญธรรม ยศบุญ เลขานุการมูลนิธิพระบรมธาตุดอยสุเทพ ทำหนังสือเรียนเชิญ ศาสตราจารย์นายแพทย์เกษม วัฒนชัย รัฐมนตีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มาเป็นประธานเปิดงานในวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๔ โดยได้นิมนต์พระสงฆ์จำนวน ๗๐๕ รูปซึ่งเท่าอายุเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น มาเจริญพุทธมนต์ ฉันภัตตราหารเพล พร้อมกันนั้นพระสงฆ์ทั้งหมดได้กระทำปทักษิณรอบพระเจดีย์ ๓ รอบ ต่อมาพระราชพุทธิญาณ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำหนังสือลงวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๔ เพื่อขอยับยั้งการพิจารณาเช่าที่วัดร้างของกรมการศาสนา และขอให้ยกวัดโลกโมฬี เป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาตลอดไปแทน ซึ่งได้รับอนุมัติจากกรมศาสนา ตามประกาศวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ พร้อมหนังสือแต่งตั้งให้ พระญาณสมโพธิ เป็นรักษาการเจ้าอาวาสคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้จัดพิธีหล่อพระพุทธรูป พระพุทธสันติจิรบรมโลกนาถ ขนาดหน้าตักกว้าง ๘๐ นิ้วขึ้น เพื่อเป็นองค์ประธานประจำวิหารหลังใหม่เนื่องจากตรงกับเทศกาลยี่เป็ง จึงได้มอบหมายให้อาจารย์ยุพิน เข็มมุกด์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะวัฒนธรม สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ จัดกิจกรรมเทศมหาชาติในเทศการยี่เป็งครั้งแรกของวัดโลกโมฬีประจำปี ๒๕๔๔ http://watlok.com/his1.html
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ 9 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2544
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 22 เดือน กันยายน พ.ศ. 2546
ข้อมูลเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555
พระปลัด ดร.ดวงคำ อภิวฑฺฒโน เจ้าอาวาสวัดโลกโมฬี
พระปลัด ดร.ดวงคำ อภิวฑฺฒโน
ปัจจุบันอายุ 46 ปี
บวชมาแล้ว 26 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น พระปลัด
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น หัวหน้าสงฆ์วัดโลกโมฬี
ประวัติด้านการศึกษาของพระปลัด ดร.ดวงคำ อภิวฑฺฒโน
พระปลัด ดร.ดวงคำ อภิวฑฺฒโน เจ้าอาวาสวัดโลกโมฬี
จบการศึกษาศึกษาระดับปริญญาเอก / ph.d.