ประวัติวัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์
( วัดโพธิ์น้อย )
*************
ที่ตั้ง
วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดอุโมงค์เถรจันทร์ เดิมชื่อว่า “ วัดโพธิ์น้อย ” ตั้งอยู่เขตด้านในกำแพงเมืองเชียงใหม่ เลขที่ ๑๒๙ ถนนราชภาคินัย ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ ๕๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐-๕๓๒๑-๘๒๓๑, ๐๘-๑๙๙๓-๗๒๔๙ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๗
ประวัติวัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์
วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ เดิมมีหลายชื่อเรียก วัดมหาพลอยสะหรีน้อยกลางเวียง วัดโพธิ์น้อย วัดอุโมงค์อริยมณฑล วัดอุโมงค์วิหาร ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่ วัดแห่งนี้สร้างขึ้นราวปีพุทธศักราช ๑๘๓๙–๑๘๔๐ (ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ศรัทธาวัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ติดต่อกันมาตลอด ไม่มีหลักฐานบันทึกไว้แน่ชัดในยุคนั้น) โดยพระมหากษัตริย์สามพระองค์เป็นพระสหายกัน คือ พญามังรายมหาราช ผู้ปกครองเมืองเชียงราย พญางำเมือง ผู้ปกครองเมืองพะเยา และพ่อขุนรามคำแหงมหาราชผู้ปกครองเมืองสุโขทัย มาร่วมกันสร้างพระนครเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานี และร่วมกันสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นมา อ้างหลักฐานจากคัมภีร์ธรรมปัญหาเถรจันทศรมณ์ เขียนไว้ว่า ท้าวมหาเสนาของพระเจ้ามังรายมหาราชเป็นผู้สร้างวัดนี้ ขณะสร้างเมืองนพบุรีศรีนครพิง ( เชียงใหม่ ) เป็น ราชธานี ( มหานคร ) แห่งอาณาจักรล้านนา ( พ.ศ. ๑๘๓๙ ) วัดนี้จึงมีนามวัดปรากฏในคัมภีร์ว่า “วัดมหาพลอยสะหรีน้อยกลางเวียงเจียงใหม๋” สาเหตุที่เรียกชื่อนี้ เพราะอยู่ในช่วงสร้างบ้านแปลงเมืองใหม่
ก่อนหน้าที่กษัตริย์ทั้ง ๓ พระองค์นั้น จะได้สร้างเมืองเชียงใหม่ร่วมกัน พญามังรายองค์เดียวเท่านั้นได้สร้างเมืองเชียงใหม่ครั้งแรกที่เมืองกุมกาม ( ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอสารภี ) แต่เมืองกุมกามสร้างได้ ๑๑ ปี ก็เกิดน้ำท่วมใหญ่ และบริเวณแห่งนั้นน้ำจะท่วมบ่อย พระองค์ทรงคิดว่า “ทำงานคนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย” จึงได้มีพระราชสานส์เชิญพระสหายทั้งสอง คือ พญางำเมือง และ พ่อขุนรามคำแหง มาร่วมสร้างเมืองเชียงใหม่ กษัตริย์ทั้งสามพระองค์ ได้ปรึกษากันสร้างเมือง โดยได้แนวทางในการสร้างเมืองตามคติของผู้นำ อันดับแรก คือ หาสถานที่สร้างกองอำนวยการ ซึ่งเป็นที่ประทับสั่งการของกษัตริย์ทั้งสามพระองค์ งานอันดับที่สอง คือ งานนโยบาย /แผนงาน วัตถุประสงค์ ติดตามประเมินผล ตามลำดับ กองอำนวยการที่ประทับทรงงาน พระองค์ได้สถานที่วัดเชียงมั่นในปัจจุบัน ( ตรงกับ พ.ศ.๑๘๙๓ ) กษัตริย์ทั้งสามวางแผนร่วมกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเมืองโดยสร้างกำแพงล้อมเมือง และขุดคลองไว้นอกกำแพง ด้านภายในกำแพงจัดเป็นเขตพระราชฐาน พระองค์ทรงได้กำหนดที่ดินบริเวณกลางเมืองไว้เพื่อสร้างวัด และทรงสร้างวัดเมื่อราวปี พ.ศ. ๑๘๓๙ - ๑๘๔๐ เป็นวัดประจำเมืองแห่งแรก โดยที่กษัตริย์ทั้งสามพระองค์ทรงทำตามประเพณีโบราณนิยม
วัดโพธิ์น้อย ที่สร้างขึ้นบริเวณกลางเมือง ในสมัยนั้นมีเนื้อที่บริเวณกว้างขวางมาก ด้านทิศตะวันออกจรดประตูท่าแพ ด้านทิศตะวันตก จรดวัดพระสิงห์ ด้านทิศเหนือ จรดวัดนางเหลียว หรือ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ด้านทิศใต้ จรดถนนราชมรรคา หลังจากสร้างวัดอุโมงค์เสร็จ พระองค์ก็พากันสร้างวัดนางเหลียว และวัดเชียงมั่น ตามลำดับ ส่วนในวัดโพธิ์น้อย เริ่มแรกสร้างกุฏิสงฆ์ พระวิหารบ่อน้ำทิพย์ พระเจดีย์ และอุโบสถ ตามลำดับ การสร้างพระอุโบสถ ในสมัยนั้น คงก่ออิฐฐานล่างก่อนทำโครงสร้างหลังคาตั้งเสา และหล่อพระประธานในอุโบสถ ( พระประธานในอุโบสถ หมายถึง พระพุทธเชียงแสนสิงห์ หรือ หลวงพ่อเพชร หรือ หลวงพ่อสมใจนึก ในปัจจุบัน ) สาเหตุที่สร้างวัดโพธิ์น้อยขึ้นพร้อมกับการสร้างเมือง เพราะว่าวัดเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คน และผู้คนที่อยู่ภายในเมืองจะได้มีสถานที่ทำบุญได้สะดวก และคาดว่าสถานที่สร้างวัดแห่งนี้ คงเป็นสถานที่มงคลตามตำราโหราศาสตร์ หลังจากสร้างวัดเสร็จ กษัตริย์ทั้งสามพระองค์ก็ได้จัดงานฉลองขึ้น ระหว่างวันมาฆะเพ็ญเดือน ๓ รวม ๗ วัน ๗ คืน โดยมีการจัดงานตามแบบประเพณีลานนา มีการอาราธนาพระสงฆ์เถรานุเถระทั่วแคว้นล้านนา มาร่วมพิธีกรรม ที่วัดโพธิ์น้อย
หลังจากนั้น วัดแห่งนี้อาจทรุดโทรมไปบ้างตามกาลเวลา ในปี พ.ศ. ๑๙๑๐ พญากือนา กษัตริย์ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๖ ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ทั้งกุฏิสงฆ์ อุโบสถ วิหาร และเจดีย์อุโมงค์ ซึ่งเป็นการทำนุบำรุงพระศาสนา ในวาระเฉลิมฉลองการขึ้นครองราชย์ของพระองค์ โดยเฉพาะเจดีย์อุโมงค์นั้น ทรงทำให้เป็นถ้ำภายใน กว้าง ๖ เมตร ยาว ๖ เมตร สูง ๖ เมตร เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม เดินจงกลม นั่งสมาธิภาวนา ของพระครูบาเถรจันทร์ ซึ่งเป็นพระเถระผู้ปกครองในขณะนั้น ครั้งเมื่อบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยพญากือนานั้น ได้มีการเปลี่ยนชื่อวัด จากนามว่า “วัดโพธิ์น้อย” เป็น “วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์” โดยรวมเอาลักษณะของเจดีย์และนามเจ้าอาวาสเข้าด้วยกัน กาลต่อมา คนทั่วไปเรียกว่า “วัดอุโมงค์อริยมณฑล” บ้าง “วัดอุโมงค์เถรจันทร์” บ้าง “วัดอุโมงค์กลางเวียง” บ้าง
วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ มีกิตติศัพท์มากขึ้น ด้วยพระครูบามหาเถรจันทร์เป็นพระเถรที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จึงเป็นที่เคารพนับถือของผู้คนทั่วไป แต่ด้วยความที่วัดอยู่ในเมืองท่ามกลางผู้คนจึงทำให้ พระเถรจันทร์ต้องออกไปปลีกวิเวกตามป่าเขา พญากือนาได้ให้เสนาอำมาตย์ออกตามหา และพบพระเถระบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่ป่าไผ่แห่งหนึ่ง (บางทีเรียกว่า วัดไผ่เมืองวัง หรือ วัดไผ่สิบเอ็ดก่อ ) บรรดาอำมาตย์นิมนต์พระเถระกลับเข้ามาอยู่จำที่วัดอุโมงค์ในเมือง แต่สักพักท่านก็ออกไปปลีกวิเวกที่วัดไผ่สิบเอ็ดก่อนั้นอีก พญากือนาจึงทรงสร้างเจดีย์อุโมงค์ขึ้นที่วัดไผ่สิบเอ็ดก่อนั้น และเปลี่ยนชื่อจาก “วัดไผ่สิบเอ็ดก่อ” เป็น “วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์” ดังนั้น พระมหาเถรจันทร์จึงเป็นรูปเดียวกันทั้งวัดอุโมงค์กลางเวียงและวัดอุโมงค์นอกเมือง และวัดทั้งสองแห่งนี้ก็มีชื่อเรียกอย่างเดียวกัน คือ วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์
แต่ระยะต่อมา วัดอุโมงค์กลางเวียง ถูกกลืนสนิทไปกับการเปลี่ยนแปลงของชุมชน เป็นระยะเวลายาวนานถึง ๒๔๐ กว่าปี ส่วนวัดอุโมงค์นอกเมืองนั้น เนื่องจากเป็นสถานที่ห่างไกลจากชุมชน คงมีพระภิกษุสงฆ์ไปอาศัยอยู่เป็นประจำ จึงทำให้วัดอุโมงค์นอกเมืองเป็นที่รู้จักของผู้คนตลอดมา กาลต่อมาได้มีการค้นพบวัดร้างในตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่นับร้อยแห่ง รวมทั้งวัดอุโมงค์กลางเวียงแห่งนี้ด้วย จากคำบอกเล่าต่อกันมา และมีผู้ศึกษาประวัติวัดอุโมงค์กลางเวียง ( อาจารย์ชุ่ม ณ บางช้าง ตำแหน่งข้าราชการครูโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ) พบว่า วัดอุโมงค์แห่งนี้เริ่มมีการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นอีกครั้ง ในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ เป็นวัดมีพระสงฆ์อยู่พักอาศัย ในสมัยเจ้าหลวงเชียงใหม่ เจ้าแก้วนวรัฐ ( เจ้าเจ็ดตน / สุริยวงศ์ ) ร่วมกับพระราชชายาดารารัศมี ในพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช (รัชกาลที่ ๕ ) พระราชชายาเจ้าดารารัศมีกลับสู่มาตุภูมิประทับที่เมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ทรงเริ่มงานบูรณปฏิสังขรณ์ วัดวาอารามที่สำคัญในเมืองเชียงใหม่ขึ้น ดังนั้น วัดอุโมงค์กลางเวียงจึงได้รับการบูรณใหม่อีกครั้งในสมัยนั้น และจากนั้น เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ก็มอบวัดอุโมงค์กลางเวียงแห่งนี้เป็นภาระให้กับอนุวงศ์สืบต่อมา
วัดมหาพลอยสะหรี่น้อย หรือ วัดโพธิ์น้อย ตามคัมภีร์ธรรมปัญหาเถรจันทศรมณ์เขียนไว้ว่า สร้างขึ้นโดย ท้าวมหาเสนาของพระเจ้ามังรายมหาราช ขณะทรงสร้างเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์ ( เชียงใหม่ ) เป็นราชธานีของอาณาจักรลานนา เมื่อราวพุทธศักราช ๑๘๓๙ ปรากฏนามวัดในคัมภีร์ว่า “วัดมหาพลอยสะหรี่กลางเวียง” ต่อมา พม่าเข้าครองเมือง ๒๒๐ ปี ตั้งแต่สิ้นราชวงศ์เม็งราย กษัตริย์องค์สุดท้ายคือ พระเจ้ามังกุฏิ์สุทธิ์วงศ์ พุทธศักราช ๒๐๙๔ วัดขาดการทะนุบำรุงรักษาจึงรกร้างเป็นป่าอุกฯ จนถึง พุทธศักราช ๒๓๑๓ – ๒๓๑๕ ในรัชสมัยของพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ทรงกู้เอกราชขับข้าศึกออกจากหัวเมืองฝ่ายเหนือ ตลอดถึงกลุ่มหัวเมืองต่างๆที่ขึ้นอยู่อาณาจักรล้านนาเดิมมีเชียงใหม่เป็นราชธานี และทรงเทครัวเมืองเชียงใหม่ ทิ้งให้เมืองร้างนานกว่า ๒๔๐ ปี ระหว่างนั้น เชียงใหม่ทั้งเมืองจึงรกชัฏ คุ้มหลวง วัดวาอารามต่างๆจึงเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ร่วมทั้งวัดอุโมงค์ด้วย
ข้อมูลเกี่ยวกับวัดมหาพลอยสะหรี่น้อยกลางเวียง หรือ วัดโพธิ์น้อย และครูบาเจ้ามหาเถรจันทศรมณ์ พระมหาราชครู อ้างจากมุขปาฐะพระครูชัยสีลวิมล ( สุดใจ ) อดีตเจ้าอาวาสวัดเกตการาม ตำบลวัดเกต อำเภอเมืองเชียงใหม่ กล่าวว่า ขณะที่พระมหาเถรจันทศรมณ์ นั่งสมาธิภาวนาถึงจตุตถฌาน ณ วิหารฤาษี เชิงดอยอ้อยช้าง เห็นภายในว่ายังเป็นเทพนารีองค์หนึ่งปรากฏในญาณ เตือนให้กลับไปวัดมหาพลอยสะหรี่น้อย เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยกับ “ครูบาเจ้าพระมหาเถรพุทธปัญโญ” เที่ยงจักได้ค้ำชูพระศาสนาแท้ดีหลี ครูบาเถรจันทศรมณ์ จึงลงดอยไปเรียนพระธรรมวินัยอยู่ ๑๐๒ วัน จนจบ พระไตรปิฏก เป็นรูปหนึ่งในพระมหาเถระทั้ง ๗ รูป ซึ่งล้วนเป็นพระมหาเถระผู้ใหญ่ในยุคนั้น และแตกฉานพระไตรปิฏก มีรายนามปรากฏดังนี้
๑ ) ครูบาเจ้าพระธรรมเทโวมหาเถร
๒) ครูบาเจ้าติกขปัญโญมหาเถร
๓) ครูบาเจ้าพระพุทธปัญโญมหาเถร ( อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์น้อย )
๔) ครูบาเจ้าพระพุทธชาดมหาเถร
๕) ครูบาเจ้าพระโสมวิจาริยมหาเถร
๖) ครูบาเจ้าพระสมติโคตรมหาเถร
๗) ครูบาเจ้าพระมหาเถรจันทศรมณ์ พระมหาราชครู ( อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์น้อย )
ตามคัมภีร์ธรรมและมุขปาฐะได้กล่าวไว้ดังนี้ เป็นการชี้ให้เห็นว่า “วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์” ในปัจจุบันนี้ ท้าวมหาเสนาอำมาตย์คนสนิทของพระเจ้าเม็งรายมหาราชเป็นผู้สร้าง ตามพระราชดำริ ของพระเจ้าเม็งราย ซึ่งมีนามเดิมว่า “วัดมหาพลอยสะหรี่น้อยกลางเวียง” หลังจากรัชสมัยนั้นเป็นระยะเวลาถึง ๒๔๐ ปี พระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ ราวปี พุทธศักราช ๒๓๒๙ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปานาพระยากาวิละสุริยวงศ์เจ้านายฝ่ายเหนือเป็นผู้ครองเมืองเชียงใหม่ สืบสันติวงศ์มาถึง ยุคสมัย เจ้าแก้วนวรัฐ ครองเมืองเชียงใหม่ วัดมหาพลอยสะหรี่น้อยกลางเวียง ยังไม่มีการกล่าวถึงในขณะนั้น แต่ชาวบ้านพากันเรียกว่า “วัดสะหรี่น้อย” และต่อมา ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์จากพระราชชายาดารารัศมี เรียกว่า “วัดโพธิ์น้อย” จนถึงยุครัฐบาลของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม มีรัฐนิยมฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๘๒ – ฉบับที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๔๘๔ ให้เปลี่ยนแปลงชื่อชนชาวไทยและชื่อวัด ชื่อโรงเรียน ตามรัฐนิยม จึงเปลี่ยนชื่อวัดในอำเภอต่างๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ เว้นวัดในเขตอำเภอสันทราย เพราะว่าท่านครูบาเจ้าพระครูมงคลคุณาทร เจ้าคณะอำเภอสันทรายไม่ยอมปฏิบัติตาม อ้างเพื่อรักษาชื่อวัดตามประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ส่วนวัดโพธิ์น้อยนั้น อำเภอเมืองเชียงใหม่ ได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น “วัดอุโมงค์วิหาร” เชื่อว่า เป็นวัดพลอยมหาสะหรี่กลางเวียง ที่พระเจ้ากือนาธรรมิกราช ทรงสร้างอุโมงค์เจดีย์ และทำการบูรณปฏิสังขรณ์ พระวิหาร พระอุโบสถ ถวายครูบาเจ้าเถรจันทศรมณ์ พระมหาราชครู เพื่อจำวัดปฏิบัติธรรมเดินจงกรม นั่งเจริญสมาธิภาวนา และทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของพระองค์ในเวลาเดียวกัน
* ปัจจุบันวัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์แห่งนี้ มีเนื้อที่ดิน ๒ ไร่ ๒ งาน ๔๓ ตารางวา โดยมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นโฉนด เลขที่ ๓๒๗๑๘ เล่มที่ ๓๒๘ หน้า ๑๘ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ *
มีอาณาเขตบริเวณ ดังนี้.-
ทิศเหนือ ยาว ๑ เส้น ๖ วา ๒ ศอก จดทางสาธารณะประโยชน์
ทิศใต้ ยาว ๑ เส้น ๑๓ วา ๒ ศอก จดถนนพระปกเกล้า ซอย ๑๒
ทิศตะวันออก ยาว ๑ เส้น ๑๔ วา ๑ ศอก จดถนนราชภาคินัย
ทิศตะวันตก ยาว ๑ เส้น ๑๔ วา ๑ ศอก จดที่ดินของเอกชน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 1910
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 1918
พระเจดีย์ มี ๒ องค์ คือ
๑. พระเจดีย์อุโมงค์
๒. พระเจดีย์หลังวิหารหลวง
พระเจดีย์อุโมงค์ องค์ที่ ๑ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวิหารหลวง มีขนาดกว้าง
๑๐.๒๒ เมตร ยาว ๘.๙๐ เมตร สูง ๙.๐๐ เมตร สร้างเมื่อปี พ. ศ. ๑๘๓๙-
๑๘๔๐ พญามังรายณ์ พญางำเมือง และพ่อขุนรามคำแหงเป็นผู้นำสร้าง
พร้อมเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์ พอปี พ. ศ. ๑๙๑๐ พญากือนา กษัตริย์ผู้ครอง
นครเมืองเชียงใหม่ องค์ที่ ๖ พระราชวงค์มังรายมหาราช เป็นผู้ทำการ
บูรณะปฏิสังขรณ์อุโบสถและพระเจดีย์อุโมงค์ถวายท่านพระมหาเถรจันทร์
เจ้าอาวาสวัดโพธิ์น้อยในขณะนั้นพอบูรณะพระเจดีย์อุโมงค์เสร็จ วัดโพธิ์
น้อยจึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
พระเจดีย์ องค์ที่ ๒ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกวิหารหลวง มีขนาดกว้าง
๑๔.๒๙ เมตร ยาว ๑๔.๙๔ เมตร สูง ๑๙.๒๑ เมตร สร้างเมื่อปี พ. ศ.
๑๙๑๐ (พระเจดีย์ทั้งสององค์ได้ทำการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐ โดย
กรมศิลปากรที่ ๔ จังหวัดเชียงใหม่และศรัทธาประชาชนของวัดอุโมงค์
มหาเถรจันทร์เป็นผู้ดำเนินการบูรณะ)
ศาลารอดโพธิ์ทอง (ศาลากราบพระพุทธจำลองหลวงพ่อสมใจนึก)
หน้าอุโบสถ มีขนาดกว้าง ๒.๘๕ เมตร ยาว ๓.๓๐ เมตร สูง ๔.๖๘ เมตร
ลักษณะโครงสร้างทรงไทยประยุกต์ ก่ออิฐถือปูนเสริมเหล็ก หลังคามุงด้วย
กระเบื้องดินเผา สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑
คุณหญิง ดร.พาชื่น-พล ต.สมบัติ รอดโพธิ์ทอง พร้อมครอบครัวสร้างถวาย
พระพุทธรูปสำคัญภายในวัดมี ๔ องค์ คือ.-
พระพุทธเชียงแสนสิงห์หนึ่ง หรือ หลวงพ่อสมใจนึก หล่อด้วยโลหะถือปูนผสม เกศาดอกบัวตูม และลงรักปิดทองทับอีก มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๙๐ เมตร สูง ๒.๒๐ เมตร เป็นพระประธานในอุโบสถ แบบปางมารวิชัยนั่งขัดสมาธิราบ สามารถเปลื่ยนพระพักตร์ได้ทั้งหมด ๙ หน้า
สร้างโดยกษัตริย์ ๓ พระองค์ คือ
๑. พ่อพญามังรายณ์
๒. พ่อพญางำเมือง
๓. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
สร้างเมื่อปี พ. ศ. ๑๘๓๙-๑๘๔๐ สร้างพร้อม ๆ เมืองเชียงใหม่เป็นราชธานี
พระพุทธปฏิมากร (หลวงพ่อใหญ่) พระประธานในวิหารหลวง หล่อด้วยปูนลงรักปิดทอง เกศาแบบเปลวเพลิง มีขนาดหน้าตัก ๒.๙๐ เมตร สูง ๓.๗๐ เมตร เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง สร้างราวปี พุทธศักราช ๑๙๑๐
พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์สามแบบปางมารวิชัย หล่อด้วยโลหะทองสัมฤทธิ์รมดำ เกศาดอกบัวตูม มีขนาดหน้าตักกว้าง ๗๗ ซ ม. สูง ๑.๐๕ เมตร ประดิษฐานหน้าพระประธาน (หลวงพ่อดำ) ณ วิหารหลวงภายในวัดอุโมงค์ (โดยศรัทธาเจ้าแม่ทิพวัลย์ ณ เชียงตุงและมูลศรัทธาวัด อุโมงค์ ฯ ได้กระทำพิธีกรรมอันเชิญขึ้นมาจากองค์พระเจดีย์อุโมงค์ ตั้งแต่เมื่อปี พ. ศ. ๒๕๑๒ จึงได้ประดิษฐานไว้ที่นี่มาโดยตลอด)
พระโคตมะสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อด้วยอิฐถือปูนเสริมเหล็ก ผสมดินอันศักดิ์สิทธิ์จากสังเวชนียสถานสี่ตำบล คือ ดินที่ประสูติ–ตรัสรู้–ปฐมเทศนาและดินที่ ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ณ ประเทศอินเดีย – เนปาล มีพุทธลักษณะนั่งแบบปางสมาธิราบ เกศาดอกบัวตูม สีขาวทั้งองค์ มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๒๙ เมตร สูง ๑.๗๒ เมตร ประดิษฐาน ณ ใต้ต้นโพธิ์น้อยภายในวัด สร้างเมื่อปี พ. ศ. ๒๕๔๙ – ๒๕๕๐ โดยพระครูวิโรจน์สีลาภรณ์ เจ้าอาวาส วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ และพุทธศาสนิกชนร่วมกันสร้างอยู่ ๙ เดือน
พระเจ้าทันใจ (หลวงพ่อทันใจ) ก่อด้วยอิฐถือปูนเสริมเหล็ก ผสมดินอันศักดิ์สิทธิ์จากสังเวชนียสถานสี่ตำบล คือ ดินที่ประสูติ –ตรัสรู้ – ปฐมเทศนา และ ดินที่ปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า ณ ประเทศอินเดีย – เนปาล มีพุทธลักษณะนั่งแบบปางสมาธิเพชร เกศาดอกบัวตูม สีทองทั้ง องค์ มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๕๙ เมตร สูง ๑.๙๙ เมตรประดิษฐาน ณ ลานปฏิบัติธรรมภายในวัด สร้างเมื่อวันจันทร์ที่ ๖ เดือน สิงหาคม พ. ศ. ๒๕๕๐โดยพระครูวิโรจน์สีลาภรณ์ (สุขสันต์) เจ้าอาวาสวัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ และพุทธศาสนิกชนร่วมกันสร้าง ปั้นแล้วเสร็จภายใน ๑๒ ชั่วโมง
- Ø สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหมฺรังสี)
- Ø หลวงพ่อทวด เยียบน้ำทะเลจืด
- Ø พระครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา
*** ทั้งหมดนี้ประดิษฐาน ณ ลานปฏิบัติธรรมภายในวัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ ฯ
ประวัติของต้นโพธิ์ในวัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์โดยสังเขป
วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ (โพธิ์น้อย) เลขที่ ๑๒๙ ถนนราชภาคินัย ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
****************
“ ต้นโพธิ์ ” ต้นนี้ตามประวัติในอดีตกาลที่ผ่านมานั้น (ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ที่เป็นศรัทธาวัดอุโมงค์
มหาเถรจันทร์(โพธิ์น้อย) ได้มีการบอกเล่ากันมาเป็นทอด ๆ ถึงปัจจุบันเชื่อว่าเป็นความจริงในส่วนหนึ่งขอให้
ผู้ศึกษาได้พิจารณาตามเหตุผลและปัจจัยหลาย ๆ ด้าน ด้วย.)ตามประวัตินั้นได้นำสายพันธุ์ของต้นโพธิ์นี้มาจาก
ประเทศศรีลังกา จึงมีประวัติความเป็นมาพอสังเขป ดังนี้ เมื่อประมาณต้นปี พุทธศักราช ๑๘๓๙-๑๘๔๐โดย
มีพญามังรายณ์มหาราช ปฐมกษัตริย์ของเมืองเชียงใหม่พร้อมพระสงฆ์เถรานุเถระพระผู้ใหญ่ในสมัยนั้น ได้นำ
หน่อต้นโพธิ์น้อยมาจากเวียงกุมกาม(ปัจจุบันนี้ คือ อ.สารภี) สาเหตุประการแรก คือ ตอนนั้นเวียงกุมกามได้รับ
อุทกภัยหนัก(น้ำท่วมบ่อยครั้ง)ประการที่ ๒ เพื่ออพยพแสวงหาสถานที่อยู่ใหม่หรือ สร้างเมืองใหม่ ในที่สุดเมื่อ
พ่อขุนมังราย พ่อขุนงำเมือง และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้สร้างบ้านแปลงเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานีใกล้จะ
เสร็จก็จัดหาสถานที่สร้างวัดแรกของเมืองเชียงใหม่ขึ้นในที่สุดพ่อขุนมังรายณ์ พ่อขุนงำเมือง พ่อขุนรามคำแหง
มหาราชก็ได้มีมติพร้อมใจกันหาสถานที่สร้างวัดแรกขึ้น เมื่อสร้างวัดเสร็จก็นำหน่อต้นโพธิ์น้อยที่พญามังรายณ์
พร้อมพระเถระนำมาจากเวียงกุมกามมากปลูกไว้ในบริเวณภายในวัด จึงเสนอตั้งชื่อวัดว่า “วัดโพธิ์น้อย”(ปัจจุบัน
คือวัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์)สาเหตุที่สร้างวัดโพธิ์น้อยสร้างขึ้นก่อนวัดเชียงมั่น ประการแรก คือวัดโพธิ์น้อย
ตั้งอยู่กลางใจเมืองเชียงใหม่ ผู้คนเข้ามาทำบุญให้ทานง่าย เพราะเข้าทางประตูเชียงใหม่,ประตูช้างเผือก,
ประตูท่าแพ และประตูสวนดอก มาถึงง่ายเพราะตั้งอยู่ใจกลางเมืองฯ ประการที่ ๒ ถ้าจะสร้างจุด ณ วัดเชียงมั่น
ในปัจจุบันนี้คงสร้างไม่ได้เพราะเครื่องอุปโภคและเครื่องบริโภคเต็มไปหมด เพราะว่าสถานที่ของวัดเชียงมั่นเดิม
เป็น ศูนย์ ฯกองอำนวยการเก็บเครื่องอุปโภค ฯ ที่นำมาจากเวียงกุมกามเพราะถูกน้ำท่วมในขณะนั้นจึงไม่สามารถ
สร้างวัดได้แน่นอนเพราะว่าสิ่งของเต็มหมด เหตุผลดังกล่าวมา จึงสร้างวัดโพธิ์น้อยต้นปี และวัดนางเลียวใน
โรงเรียนยุพราช ต่อมาก็สร้างตำหนักที่ประทับของปฐมกษัตริย์ในโรงเรียนยุพราชเพื่อเป็นที่ประทับของพระมหา
กษัตริย์ทั้ง ๓ พระองค์ก่อนแล้วขนย้ายเครื่องอุปโภคและอื่น ๆ เข้ามาเก็บไว้ในตำหนักทั้งหมด พอปลายปี
พ.ศ.๑๘๓๙-๑๘๔๐ ก็เริ่มสร้างวัดเชียงมั่นตามลำดับ ทำไมนักประวัติศาสตร์ จึงให้วัดเชียงมั่นเป็นวัดแรกของ
เมืองเชียงใหม่ คงไม่ต้องอธิบายเพราะว่าชื่อเป็นมงคลอยู่แล้ว ดังนั้น วัดโพธิ์น้อย ในอดีต จึงเป็นวัดสำคัญของพระมหากษัตริย์ไทยทุก ๆ พระองค์ ต่อมาวัดโพธิ์น้อย ก็ถูกเปลี่ยนชื่อบ่อยครั้ง เพราะว่าอาจเป็นสาเหตุหลาย ๆ
ประการ คือประการแรกคือประเทศไทยของ เราอาจมีความเชื่อถือหลาย ๆสิ่งของแต่ละยุคการปกครองมีความ
เชื่อและศรัทธาตามหมู่ ตามคณะก็มี หรืออำนาจในยุคนั้น ๆ ก็มีขอให้ผู้รู้ได้พิจารณาดูเองเถิดจะเกิดผลตามมา
สิ่งของมีค่ามีราคาสูงไม่จำเป็นต้องเป็นขนาดใหญ่ก็สามารถมีราคาได้.