ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดป่าเป้า
- ชื่อวัด: วัดป่าเป้า
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- ที่ตั้ง: เลขที่ ๕๘ หมู่ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปษณีย์
- โทร: 053418046
ประวัติความเป็นมา
วัดป่าเป้า ตั้งอยู่ที่ เลขที่ ๕๘ บริเวณแจ่งศรีภูมิ ถนนมณีนพรัตน์ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ในสมัยก่อนมีพื้นที่ ทิศเหนือห่างจากวัด 100 วา ทิศใต้จดคูเมือง ทิศตะวันออกห่างจากวัด100 วา และทิศตะวันตกห่างจากวัด100 วา แต่เดียวนี้ พื้นที่ดินสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีเนื้อที่ ๑๐ไร่ ๘๑ ตรางวา และภายนอกกำแพงเป็นธรณีสงฆ์วัดมี ๑ ไร่ ๒ งาน ๗๓ ตะรางวารวม ๑๑ ไร่ โดยประมาณ วัดป่าเป้าเป็นวัดศิลปะพม่าที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นและสวยงามวัดหนึ่งของเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัย พระเจ้าอินทวิชยานนท์
เมื่อปี พ.ศ.2426 โดย หม่อมบัวไหล พระสนมเชื้อสายไทใหญ่ และชาวไทใหญ่ ที่ได้อพยพมายังเชียงใหม่ เมื่อครั้งมีการกวาดต้อนผู้คนจากหัวเมืองต่างๆ โดยมาตั้งถิ่นย่านประตูช้างเผือก ได้มีจิตศรัทธาในการบูรณะวัดใกล้เคียง และขอราชานุญาตสร้างวัดป่าเป้า โดยพระองค์โปรดฯ ให้สร้างขึ้นในบริเวณ หอคำเก่าของพระเจ้ากือนา ที่อยู่นอกกำแพงเมือง ซึ่งรกร้างขาดการดูแลเนื่องจากภาวะความไม่สงบของสงครามกับพม่า โดยมีต้นเป้าขึ้นปกคลุมจนเป็นป่า อันเป็นที่มาของนามวัด
“....ประวัติวัดป่าเป้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่....”
วัดป่าเป้า ตั้งอยู่ที่ เลขที่ ๕๘ บริเวณแจ่งศรีภูมิ ถนนมณีนพรัตน์ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ในสมัยก่อนมีพื้นที่ ทิศเหนือห่างจากวัด ๑๐๐ วา ทิศใต้จดคูเมือง ทิศตะวันออกห่างจากวัด ๑๐๐ วา และทิศตะวันตกห่างจากวัด ๑๐๐ วา แต่เดียวนี้ พื้นที่ดินสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีเนื้อที่ ๑๐ ไร่ ๘๑ ตารางวา และภายนอกกำแพงเป็นธรณีสงฆ์วัดมี ๑ ไร่ ๒ งาน ๗๓ ตารางวา รวม ๑๑ ไร่ โดยประมาณ
สถานที่นี้เคยเป็นคุ้มเก่า (วังเก่า) ของพระเจ้ากือนาธรรมิการาชเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในเชื้อเจ้าเจ็ดตนสมัยนั้น หลังจากพระเจ้ากือนาธรรมิการาชได้สวรรคตลงไปแล้ว อัครมหาเสนาบดีแสนผานองได้นำพระศพ ของพระเจ้ากือนาธรรมิกราช เข้าไปในเมืองทางด้านกำแพงคูเมืองตรงข้ามวัดพราหมณ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดป่าเป้าทุกวันนี้ เพื่อที่ จะทำพิธีแต่งการฌาปนกิจศพของพระเจ้ากือนาธรรมมิกราช เมื่อเสร็จแล้วภายหลังก็ไม่ได้มาดูแลที่คุ้มเก่าทางนอกกำแพงเมือง เพราะติดพันอยู่กับสงครามด้านอื่นๆอยู่ จึงเป็น อันชำรุดทรุดโทรมลง ไปกลายเป็นที่รกร่างว่างเปล่า มีหมู่ไม้นานาพันธ์ชนิดขึ้นเต็มไปหมด ในบรรดาหมู่ไม้ทั้งหลายโดยเฉพาะไม้เป้า ( ต้นเป้านี้ เป็นยาสมุนไพร ) มีมากกว่า หมู่ไม้ทั้งหลาย ภายหลังมีชาวเงี้ยว(ไทใหญ่) ที่มีอยู่เก่ารวมกันขออนุญาต ต่อเจ้าผู้ครองนครในสมัยนั้น จึงอนุญาตให้ไปแพ้วถางป่าไม้เป้าที่คุ้มเก่า(วังเก่า) นอกกำแพงเมืองทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงข้ามแจ่งศรีภูมิ จึงทำการสร้างวัดขึ้นเป็นสถาปัตยกรรม แบบศิลปะของชาวเงี้ยว (ไทใหญ่) ขึ้นมาเป็นหลังคาซ้อนกันเป็นชั้นๆ เรียกชื่อว่า เชตวันวิหารบ้าง เวฬุวันวิหารบ้างเรื่อยมา จึงมีการบูรณะซ่อมแซมมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว จนมาถึงสมัยพระเจ้ากาวีละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ประถมวงศ์ ได้มีการปรับปรุงทำนุบำรุงบ้านเมือง ให้เจริญรุ่งเรือง จึงมีการไปกวาดต้อนผู้คน ในหัวเมืองทิศต่างๆขึ้น จากตก ออกเหนือและใต้ เช่น นับตั้งแต่ฝาง เชียงราย เชียงคำ เชียงของ เมืองปู เมืองสาต เมืองกายเมืองพะยาก เมืองเลน เมืองโก เมืองยอง เมืองเชียงตุง เมืองขอน เมืองยู้ เมืองหลวง เมืองวะ เมืองลวย เมืองตองกายเมืองสิบสองปันนา ( เมืองโก เมืองเลน เมืองวะ ดังปรากฏอยู่ในอำเภอสันทรายทุกวันนี้ ) ทิศตะวันตกจนถึงฝั่งแม่น้ำสาละวิน (น้ำคง) มี เมืองยวมเมืองขุนยวม เมืองแม่ฮ่องสอน เมืองแหง เมืองปาย เมืองต๋วน เมืองต้าฝั่ง เมืองผาปูนเมืองยางแดง เมืองส่วยกะยาง เมืองวัวลาย เมืองกื๊ต เมืองจ๊อต ฯ ( อ่านดูใน หนังสือเรื่องเพชรลานนาของคุณปราณี ศิริธร นักเขียนหนังสือพิมพ์ภาคเหนือเขียนเรื่องพระเจ้ากาวีละประถมวงศ์นครเชียงใหม่ )
เมื่อมีการกวาดต้อนผู้คนเหล่านั้นเข้ามานั้นมีทั้งชาวเงี้ยว( ไต-ไทใหญ่ ) ก็รวมอยู่ในกลุ่มนั้นด้วยดังนั้น ชาวเงี้ยวก็มาสมทบพวกเก่าๆ จนมีมากขึ้น จึงได้มีการรวมกันบูรณะซ่อมแซมวัดวาอารามที่มีอยู่เก่าขึ้นเรื่อยมาอีก จนถึงสมัยพ่อเจ้าอินทรวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๗ จึงกวาดต้อนผู้คนทางบ้านแม่กะตวน เข้ามาในนครเชียงใหม่อีก ในครั้งนั้นที่มารวมทั้งครอบครัวของแม่เฒ่าต้าว เป็นภรรยาของต้าวหมอ (เงี้ยว) มีพื้นเพตั้งเดิมเป็นคนเมืองลางเคือ มาตั้งบ้านเรือนอยู่ย่านประตูช้างเผือก แม่เฒ่าต้าวผู้นี้ มีบุตรธิดารวมทั้งหมด ๖ คน คือพ่อจางมน แม่จางอ่อง แม่นางนวล แม่นางแก้ววรรณา ส่างสาม และแม่นางไหล(ภายหลัง ได้รับการแต่งตั้งเป็นหม่อมบัวไหล เพราะได้เข้ารับการถวายรับใช้ในพ่อเจ้าอินทรวิชยานนท์) ต่อมาแม่หม่อมบัวไหล และรวมกับชาวเงี้ยว ( ไทใหญ่ ) ก็ได้เป็นผู้นำทำการ ขออนุญาตบูรณะซ่อมแซมวัดป่าเป้าเป็นการใหญ่ ต่อพ่อเจ้าอินทรวิชยานนท์ และพ่อเจ้าอินทรวิชยานนท์ก็โปรดเกล้าอนุญาตให้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๖ และพอถึงปีพ.ศ.๒๔๓๒ ปีเถาะ ตรีศก เดือน ๘ แรม ๑๔ ค่ำ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เป็นองค์ประธานร่วมกับหม่อมบัวไหล ชายาไทใหญ่ ได้สร้างพระเจดีย์และวิหารไม้ที่มีศิลปะสถาปัตยกรรมแบบไทใหญ่ เพื่อเป็นที่ประกอบพิธีกรรม ทางศาสนาต่างๆ และเป็นศูนย์กลางของชุมชนไทใหญ่ จนถึงปัจจุบัน ตราบเท่าทุกวันนี้
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2429
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2449
ข้อมูลเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2555
พระครูอมรวีรคุณ อินฺทวีโร เจ้าอาวาสวัดป่าเป้า
พระครูอมรวีรคุณ อินฺทวีโร
ปัจจุบันอายุ 62 ปี
บวชมาแล้ว 42 พรรษา
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดป่าเป้า
ประวัติด้านการศึกษาของพระครูอมรวีรคุณ อินฺทวีโร
พระครูอมรวีรคุณ อินฺทวีโร เจ้าอาวาสวัดป่าเป้า
จบการศึกษาศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 (ป.4)