วัดทุงยูสันนิษฐานสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2019 เดิมชื่อ วัดตุงยู คำว่า “ทุยยู”ปรากฏในวรรณกรรมและกฎหมายโบราณ หมายถึง ร่มที่เป็นเครื่องประดับยศเจ้านาย วัดทุงยูเป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังราย พบชื่อในโครงนิราศหริภุญไชย ซึ่งเขียนประมาณ พ.ศ. 2060
วัดทุงยูได้รับการบูรณะและฟื้นฟูจากเจ้าหลวงเชียงใหม่สืบต่อมาดังปรากฏ พ.ศ. 2452 เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 8 โปรดสร้างฉัตรพระเจดีย์ วิหารมีโก่งคิ้วเป็นรูปโค้งไม่มีรวงผึ้ง หน้าบันประดับปูนปั้นลวดลายเครือเถาประดับกระจกอังวะ เจดีย์ทรงกลม ตั้งบนเรือนธาตุฐานสี่เหลี่ยม มีการบูรณะโดยเป็นรูปแบบอิทธิพลทรงพม่า อุโบสถขนาดเล็กกรุด้วยหินอ่อน
โบราณวัตถุสถาน
1. อุโบสถ สร้างแบบล้านนาไทย ทำเป็นคอนกรีตหินอ่อนลงรักปิดทอง มีภาพฝาผนัง ช่อฟ้าใบระกา ทำด้วยไม้สักปิดทอง ที่ได้รับการบูรณะใหม่ โก่งคิ้วเป็นรูปโค้งไม่มีรวงผึ้งหน้าบันประดับปูนปั้นลวดลายเครือเถาประดับกระจกอังวะ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ วิหารทรงล้านนาไทย
2. พระเจดีย์ มีเจดีย์ทรงกลม เดิมเป็นแบบล้านนาตั้งบนเรือนธาตุ ต่อมาได้รับการบูรณะโดยเป็นรูปแบบอิทธิพลทรงพม่า – มอญ
ที่อยู่ ถ.ราชดำเนิน ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
เจ้าอาวาส พระครูสมุห์บุญเรือง โชติปุญฺโญ