ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดชัยศรีภูมิ
- ชื่อวัด: วัดชัยศรีภูมิ
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 4 รูป
- สามเณร: 3 รูป
- ที่ตั้ง: เลขที่ หมู่ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปษณีย์ 50300
ประวัติความเป็นมา
วัดชัยศรีภูมิ์ หรือวัดศรีภูมิ์ ได้รับการยกย่องให้เป็นศรีเมืองเชียงใหม่ เริ่มตั้งแต่สมัยพระญามังรายตั้งเมืองเชียงใหม่ ในปี จ.ศ. 623 หรือ พ.ศ. 1805 เนื่องจากบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเชียงใหม่ถูกให้เป็นศรีของเมือง เริ่มตั้งแต่พระญามังรายปรึกษากับพระญางำเมืองและพระญาร่วงเพื่อตั้งหอนอนและคุ้มน้อยแล้ว จากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ได้ระบุถึงทิศนี้ว่ามีความสำคัญ ๒ ประการคือ ประการที่หนึ่งเป็นที่ตั้งอยู่ของต้นไม้นิโครธซึ่งเป็นศรีของเมืองหรือไม้เสื้อเมืองเชียงใหม่ ดังปรากฏความว่า “. . . ในขณะนั้นยังมีหนูเผือกตัว 1 ใหญ่เท่าดุมเกวียนมีบริวาร 4 ตัว ลุกแต่ไชยภูมิออกไพหนวันออกช้วยใต้ เข้าไพสู่รูสู่อัน 1 ในเคล้าไม้ ผักเรือก ไม้นิโครธ ก็ว่า เป็นคำม่านว่าไม้ผิงยอง บ่ไกลแต่ไชยภูมิเท่าใด พระญาทั้ง ๓ หันหนูเผือกเป็นอัจฉริยะ จึงพร้อมใจกันเอาเข้าตอกดอกไม้ไปบูชาพระญาหนูเผือกในเคล้าไม้นิโครธต้นนั้น ด้วยเข้าตอกดอกไม้อันใส่ไตรคำ แล้วก็หื้อล้อมรักษา หื้อดี ลวดปรากฏเป็นไม้เสื้อเมืองมาต่อเท้าบัดนี้แล”
ประการที่สอง บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของหนองใหญ่ ซึ่งเป็น หนึ่งในชัยภูมิเจ็ดประการของการตั้งเมืองเชียงใหม่ของพระญามังราย ความว่า “. . . อัน 1 หนองใหญ่มีวันออกช้วยเหนือแห่งไชยภูมิได้ชื่อว่า อีสาเนน สรา นรปูชา ว่าเป็นหนองใหญ่มีหนอีสาน ท้าวพระญาต่างประเทศจักมาบูชาสักการะมากนักเป็นไชยมังคละถ้วน 6 แล”
ความสำคัญของไม้ศรีเมืองหรือไม้เสื้อเมืองนี้สืบต่อกันมายาวนาน จนกระทั้งถึง การครองราชย์ของพระญาติโลกกษัตริย์ราชวงค์มังราย (ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๘๕-๒๐๓๑) ซึ่งมีเดชานุภาพมากเป็นที่เกรงขามแก่พระญาเจ้าเมืองทั้งหลายในขณะนั้นพระญาใต้ปรัมมราชาได้ส่ง หานพรหมสะท้านและชีมล่าน มาเป็นไส้ศึกสอดแนมถึงความมีอนุภาพของเมืองเชียงใหม่เพื่อจะทำลายล้าง ดังมีข้อความว่า “. . .หานพรหมสะท้านว่า ยังมีไม้นิโครธต้น 1 เป็นสรีเมือง ตั้งอยู่หนอีสานแห่งเมืองชะแล ว่าอั้น ชีมล่านจึงว่า ตราบใดไม้ต้นนั้นบ่ฉิบหาย เมืองเชียงใหม่ก็ยังมีอนุภาพนักแล” (ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, 2538 : 75)
ต่อมาแผนการของชีมล่านได้สำเร็จลงโดยการทำให้พระญาติโลกเชื่อในสิปปะคุณของตน มีการขุดปราการเวียงซึ่งพระญามังรายได้สร้างไว้แล้วถมเวียงให้ราบเพียงดี ขุดไม้ทั้งหลายออกและตัดไม้นิโครธด้วย แล้วจึงให้ตั้งบ้านเรือนบริเวณนี้แล้วปลงสะนามว่า สรีภูมิ มีการสร้งประตูดินชื่อ ประตูสรีภูมิ และขัวสรีภูมิในปีนั้นด้วย (ประมาณ จ.ศ.828 หรือ พ.ศ. 2010)
ส่วนหนองใหญ่นั้นเป็นที่ช้าง ม้า วัว ควาย ลงอาบกินตั้งแต่อดีตนั้นยังเป็นแหล่งรับน้ำจากคูเมืองเชียงใหม่ ทำให้น้ำไม่ท่วมตัวเวียง หนองน้ำขนาดใหญ่แห่งนี้ยังคงปรากฏในแผนที่ พ.ศ. 2443 ของเจมส์ แมคคาร์ธี ที่สำรวจครั้งเตรียมโครงการทางรถไฟสายเหนือ แผนที่ พ.ศ. 2447 ที่สำรวจครั้งจอมพลพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงนครไชยศรีสรุเดช เสด็จพักผ่อนพายเรือ ตกปลาและเก็บผักในหนองของคนในเมืองเชียงใหม่ ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำของคนร่วมสมัยที่มีอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป (สมโชติ อ๋องสกุล, ผังเมืองเชียงใหม่ในฐานะเมืองประวัติศาสตร์ที่มีชีวิต, 2539) ปัจจุบันมีการถมที่หนองใหญ่สร้างอาคารพาณิชย์และบ้านเรือนและสร้างถนนตัดผ่านสองสายคือถนนอัษฏาธรและถนนรัตนโกสินท์
แหล่งที่มา: http://culture.mome.co/watchaisriphum/
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2455
ข้อมูลเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555
พระครูสุธรรมาลังการ สุธมฺโม เจ้าอาวาสวัดชัยศรีภูมิ
พระครูสุธรรมาลังการ สุธมฺโม
ปัจจุบันอายุ 56 ปี
บวชมาแล้ว 37 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฏร์ ชั้นเอก
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดชัยศรีภูมิ และยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส
ประวัติด้านการศึกษาของพระครูสุธรรมาลังการ สุธมฺโม
พระครูสุธรรมาลังการ สุธมฺโม เจ้าอาวาสวัดชัยศรีภูมิ
จบการศึกษาศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.
อดีตเจ้าอาวาสวัดชัยศรีภูมิ
ครูบาราชครูเจ้า |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2398 ถึงปี พ.ศ.2410 |
ครูบาโสภา |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2402 ถึงปี พ.ศ.2444 |
ครูบาอภิวงศ์บุญมี |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2445 ถึงปี พ.ศ.2479 |
พระอุ่น พระติ๊บ พระนุ พระก้ำ พระเบญจู พระบุญชื่น |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 ถึงปี พ.ศ.2516 |
พระครูสุธรรมาลังการ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 ถึงปัจจุบัน |