ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดประทานพร
- ชื่อวัด: วัดประทานพร
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 6 รูป
- สามเณร: 5 รูป
- ที่ตั้ง: เลขที่ หมู่ 2 ป่าห้า 4 ห้วยแก้ว คันคลองชลประทาน ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปษณีย์ 50200
- เนื้อที่: 2 ไร่ 1 งาน
- โทร: 053-217737
ประวัติความเป็นมา
วัดประทานพร เดิมระยะเริ่มแรกเรียกชื่อว่าสำนักสงฆ์ วัดอารามหนองใหม่ ( หนองใหม่ เป็นชื่อหนองน้ำโบราณ ปัจจุบันอยู่ในเขตของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นอาณาบริเวณเวียงเจ็ดรินเมืองเก่า ของกลุ่มชนคนพื้นเมืองเดิม “ เผ่าลัวะ “ หนังสือตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ บางฉบับกล่าวว่า หนองใหม่ คู่กับ หนองฮ้อ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตทหาร อยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านช่างเคี่ยน ต.ช้างเผือก อ.เมืองเชียงใหม่ ) สังกัด คณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ ณ ชุมชนหมู่บ้านป่าห้าหมู่ ๒ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สายถนนคันคลองชลประทานเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี ซอย ๔ ห้วยแก้ว ถนนเส้นฟากเดียวกันกับโรงแรมเชียงใหม่ภูคำ หรืออยู่ติดกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทางทิศตะวันออก ซอย ๔ ห้วยแก้วฯ
ที่ตั้งวัดประทานพร ซึ่งเป็นที่ดินสาธารณะประโยชน์ตามหลักฐานเอกสาร หนังสือสำคัญที่หลวง เลขที่ ๕๕๗๕ ประเภทที่ดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน มีเนื้อที่ดิน ๑ ไร่ ๑ งาน ๗๓ ตารางวา อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย (ดังเอกสาร ถ่ายสำเนาแจ้งรายงาน และ ใบเอกสารสำคัญที่เจ้าหน้าที่ ทางหน่วยงานราชการได้ออกใบอนุญาตให้ครอบครองที่ดินสาธารณะ ให้สร้างวัดประจำหมู่บ้าน) อันเป็นที่ดินสาธารณะสมบัติกลางของชาวหมู่บ้านป่าห้า หมู่ ๒ ที่ชาวบ้านครอบครองใช้ประโยชน์ร่วมกัน ใช้เป็นสุสานประจำหมู่บ้านมาก่อน ชื่อสุสานป่าช้า “ ศรีหมอกฟ้า” สำหรับฝังศพและเผาศพของชุมชนหมู่บ้านป่าห้า
ต่อมาชาวบ้านป่าห้าก็เลิกใช้เป็นสุสาน ( ป่าช้า ) ที่เผาและฝังศพประจำหมู่บ้านแล้วสร้างเป็นศาสนสถาน วัดอารามหนองใหม่ เมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๑๒ โดยคณะศรัทธาชุมชนหมู่บ้านป่าห้าหมู่ ๒ ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ โดยการนำของ กำนันชื่น จินดา กำนันตำบลสุเทพ สมัยนั้นพร้อมด้วยคณะกรรมการหมู่บ้าน และโดยการสนับสนุนของ คณะสงฆ์อำเภอเมืองเชียงใหม่ พระครูศรีปริยัตยานุรักษ์ ( ครูบาไฝ ญาณวุฒิ ) เจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่ และพระเถรานุเถระตำบลสุเทพ มีพระครูบาคำแสน อินทจกฺโก( พระครูสุคันธศีล) เจ้าอาวาสวัดสวนดอกและ พระสมุห์สิงห์ สจฺจานนฺโท เจ้าอาวาสวัดอุโมงค์(สวนพุทธธรรม) เป็นเจ้าคณะตำบลสุเทพ (พระครูสคันธศีล เจ้าคณะตำบลสุเทพเขต ๒ ในปัจจุบัน) โดยนิมนต์หลวงพ่อบุญมา กตธมฺโม เจ้าอาวาสวัดศรีโสดา มาเป็นเจ้าอาวาสสำนักสงฆ์ วัดอารามหนองใหม่เป็นรูปแรก เดิมทีท่านบวชสังกัดอยู่ วัดดอกเอื้อง ต.ศรีภูมิ อ.เมืองเชียงใหม่ วัดอารามหนองใหม่ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ( สำนักสงฆ์ ) วัดประทานพร เมื่อวันที่ ๑๒ ส.ค ๒๕๒๕
และได้มีผู้มีจิตศรัทธา ( คุณสมพร คาร์เตอร์ พระชัยวรวงศ์ อิทฺธิมนฺโต ณ เชียงใหม่ ได้ร่วมกันบริจาคเงินห้าแสนห้าหมื่นบาท ) ซื้อที่ดินของเอกชน ที่อยู่ติดที่สร้างวัดทางทิศใต้ เพื่อเพิ่มเติมขยายพื้นที่ดินให้แก่วัด อีก ๓ งาน ๔๕ วา ดั่งใบเอกสารหลักฐาน( ดั่งถ่ายสำเนาเอกสารที่ดิน แจ้งรายงานมา)โฉนดที่ดิน เจ้าของครอบครองและ ซื้อขาย โอน และมอบให้กับทางวัด เจ้าของที่ดินได้ให้นิติกรกฎหมาย ทำพินัยกรรมมีวัตถุจุดประสงค์เจตนา มอบยกทีดินให้ ที่อยู่ติดกับเขตที่ดินสาธารณะประโยชน์ ที่ชาวบ้านสร้างวัดใหม่ ทั้งพยานหลักฐานเอกสาร พยานบุคคล พยานสถานที่ ทั้งทางฝ่ายบ้านเมือง และ ฝ่ายคณะสงฆ์ รวมพื้นที่ดินที่สร้าง ก่อตั้งเป็นศาสนสถานวัดขึ้นมาปัจจุบันมีพื้นที่ดิน ๒ ไร่ ๒ งาน ๑๘ ตารางวา ดั่งกล่าวมาแล้ว
ทิศเหนือ ยาว ๒๑.๕ วา ติดต่อกับทีดินชาวบ้านที่สร้างที่อยู่อาศรัย อาคารบ้านเรือนอย่างถาวร
ทิศใต้ ยาว ๒๕ วา ติดต่อกับถนนซอย ๔ ห้วยแก้ว
ทิศตะวันออก ยาว ๔๐.๕ วา ติดต่อกับ ถนนซอยเข้าหมู่บ้าน
ทิศตะวันตก ยาว ๔๑.๓๒๕ วา ติดต่อกับที่ดินที่ตั้งบ้านเรือน ตึกอาคารของชาวบ้านอย่างหนาแน่น
ปัจจุบันชุมชนชาวบ้านป่าห้า หมู่ ๒ ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ ก็ไปใช้ป่าช้าแห่งใหม่เป็นที่เผาฝังศพประจำหมู่บ้าน ชื่อสุสานป่าช้า “ศรีสุด”ซึ่งตั้งอยู่ ถนนสายห้วยแก้ว สุเทพ-ปุย เขตหมู่บ้านเจ็ดยอด เขตเทศบาลตำบล ช้างเผือก อยู่ใกล้ ๆ กับด้านหลัง โรงเรียน วิทยาลัยสารพัดช่าง ฯ
การยกวัดใหม่ขึ้นประจำชุมชนหมู่บ้าน ก็ด้วยหลักการและเหตุผล เนื่องจากชุมชนหมู่บ้านป่าห้า ( หนองใหม่ ) หมู่ ๒ ตำบล สุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ ไม่ได้สร้างศาสนสถานวัด ไว้กับหมู่บ้านมาก่อน เป็นชุมชนเก่าแก่ของคนพื้นเมืองเชียงใหม่ จนมาถึง ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ชุมชนป่าห้าเป็นชุมชนขยาย ได้เจริญเติบโต มีประมาณ ๓๐๐ กว่าครอบครัวในขณะนั้น นับถือพุทธศาสนา ๙๕ % ด้วยเหตุที่ชุมชนบ้านป่าห้าไม่มีวัด และศาสนสถาน ประจำหมู่บ้านมาก่อน ส่วนมากชาวบ้านจะไปทำบุญบำเพ็ญกุศลที่วัดศรีโสดา ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านป่าห้าระยะทาง ๓ กิโลเมตร และวัดช่างเคี่ยน ระยะทาง ๒ กิโลเมตร และวัดเจ็ดยอด ระยะทาง ๑ กิโลเมตรกว่า และวัดสวนดอก ระยะทาง ๑ กิโลเมตรฯ
พ.ศ ๒๕๑๒ กำนันชื่น จินดา พร้อมด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านและชาวบ้านป่าห้า ได้รวบรวมเงินและวัสดุ เครื่องครัว บ้านไม้เรือนเก่าที่ชาวบ้าน เอามาร่วมบริจาคสร้างเสนาสนะ กุฏิที่พักพระภิกษุ-สามเณร ศาลาบำเพ็ญบุญ ห้องน้ำ ฯลฯโดยได้รับความช่วยเหลือบริจาควัสดุการก่อสร้างอุปกรณ์ เครื่องไม้ครัวเรือนเก่าจาก พ่อหนานอุ่นเรือน แม่ชิดขิ่น ยุตบุตร เจ้าของ ตลาดสมเพชร ที่บริจาคให้มากที่สุดในระยะเริ่มแรกการก่อสร้างวัด
๑. ศาลาบำเพ็ญบุญ สร้างด้วยไม้เรือนเก่า ๑ หลัง บรรจุคนได้ประมาณ ๓๐๐ คน
๒. กุฏิหลังใหญ่ สร้างด้วยไม้เรือนเก่า ยกพื้นสูง ๓ ห้องนอน กว้าง ๔.๕๐เมตร ยาว ๑๒.๐๐เมตร สูง๕.๕๐เมตร
๓. โรงครัวอาหาร กว้าง ๖.๕๐ เมตร ยาว ๘ เมตร สูง ๓.๕๐ เมตร สร้างด้วยเสาคอนกรีตฝาอิฐบล็อก โครงหลังคาไม้ มุงกระเบื้อง
๔. ห้องน้ำ-ส้วม ๑ หลัง ๓ ห้อง กว้าง ๓.๐๐ เมตร ยาว ๔.๐๐เมตร สูง ๓.๐๐ เมตร
๕. ศาลาประชุม ๑ หลัง สร้างด้วยเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก เทลาดพื้นคอนกรีต ฝาผนังอิฐบล็อก หลังคาโครงไม้ มุงกระเบื้อง กว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๑ เมตร สูง ๕ เมตร และเป็นที่ไว้ เก็บของเครื่องครัวใช้สอยต่างๆของวัดและชุมชน
วัตถุประสงค์หลักของการสร้างวัด คือ
๑. เพื่อเป็นที่พักจำพรรษาของพระภิกษุเถระผู้เดินทางไปทำหน้าที่เผยแผ่ในท้องถิ่นนั้น
๒. เพื่อเป็นที่เล่าเรียนพระธรรมวินัยของพระภิกษุที่บวชจากท้องถิ่นนั้น
๓. เพื่อเป็นสถานที่ทำบุญและฟังธรรมของประชาชนที่อยู่ประจำท้องถิ่นนั้น
๔. เพื่อเป็นสถานที่สร้างประเพณีวัฒนธรรมของชาวพุทธตามหน้าที่ประจำทิศ
๕. เพื่อเป็นจุดศูนย์ รวมใจของชาวบ้าน
๖. เป็นจุดศูนย์ หน่วยงานทางราชการ ที่นัดพบกับประชาชนในท้องถิ่น
๗. เป็นลานวัด ลานธรรม ลานบุญ ลานกีฬา ลานชุมนุมสามัคคี นัดพบของชุมชน
๘. เป็นแหล่งเรียนรู้ จารีต วัฒนธรรม ประเพณี ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น
๙. เป็นสถานสงเคราะห์ แก่สาธารณะชนผู้มาพึ่งพาอาศัย ตลอดถึงสัตว์เลี้ยงและพิการ
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดประทานพร
ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมของวัดและการท่องเที่ยว วัดได้จัดให้มีกิจกรรมที่สำคัญ แบ่งได้ ๒ ประเภท คือ กิจกรรมที่จัดเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วย ชื่อกิจกรรม วันขึ้นปีวันที่ ๑ มกราคม ของทุกปีพุทธศักราชใหม่ จัดกิจกรรมระหว่างวันที่ ๓๑ ธันวาคม จนถึงวันที่ ๑ มกราคม มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ ๕๐๐ กว่า คน รูปแบบ/ลักษณะของกิจกรรม มีการทำบุญตักบาตรพระพุทธมนต์เพื่อนเป็นศิริมงคลแก่ประชาชน โดยนิมนต์พระภิกษุสามเณรมารับเข้าบิณฑบาต ๑วัดประทานพร ๒ วัดศรีโสดา ๓ ฝายหิน ตลอดพิธีแสดงปาฐทนาให้ชุมชนฟัง ชื่อกิจกรรม ปี๋ใหม่เมือง-วันสงการณต์ ประเพณี จัดกิจกรรมระหว่างวันที่๑๓ เม.ย. จนถึงวันที่ ๑๔-๑๕ เม.ย. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ ๕๐๐ กว่า คน รูปแบบ/ลักษณะของ ขนทรายเข้าวัดก่อพระเจดีย์ทราย-ทำบุญตักบาตร ทำวัตรสวดมนต์พระแสดงธรรมเทศนา การทำบุญและทรงน้ำพระและอภัยทาน ปล่อยปลาลงแม่น้ำ ชื่อกิจกรรม วันวิสาขะบูชา จัดกิจกรรมระหว่างวันที่ ๑ พ.ค. จนถึงวันที่ ๑๗ พ.ค. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ ๕๐๐ คน รูปแบบ/ลักษณะของกิจกรรม ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพานของพระพุทธเจ้า มีการทำบุญตักบาทฟังเทศน์ เจริญพรพุทธมนต์ ทำสมาธิแผ่เมตตา-เวียนเทียนรอบพระวิหาร ชื่อกิจกรรม วันอาสาฬบูชาเป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงความจกรี จัดกิจกรรมระหว่างวันที่ ๑๔ ก.ค. จนถึงวันที่ ๑๕ ก.ค. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ ๕๐๐ กว่า คน รูปแบบ/ลักษณะของกิจกรรม มีการทำบุญตักบาตรพระสงฆ์แสดงธรรมเทศนา ทำวัดสวดมนต์ทำสมาธิแผ่เมตตาและเวียนเทียนพระวิหาร
ข้อมูลเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2554
พระอธิการชัยวรวงศ์ อิทธิมนโต เจ้าอาวาสวัดประทานพร
พระอธิการชัยวรวงศ์ อิทธิมนโต
ปัจจุบันอายุ 54 ปี
บวชมาแล้ว 28 พรรษา
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดประทานพร
ประวัติด้านการศึกษาของพระอธิการชัยวรวงศ์ อิทธิมนโต
พระอธิการชัยวรวงศ์ อิทธิมนโต เจ้าอาวาสวัดประทานพร
จบการศึกษาศึกษาระดับปริญญาโท จากสถานบันการศึกษาวัดดับภัยอริยะศึกษา
อดีตเจ้าอาวาสวัดประทานพร
พระบุญมา กตปุญโญ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 ถึงปี พ.ศ.2514 |
พระปัน |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 ถึงปี พ.ศ.2520 |
พระปวงคำ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 ถึงปี พ.ศ.2521 |
พระตุ้ย |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 ถึงปี พ.ศ.2522 |
พระสมนึก ทลวงแก้ว |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 ถึงปี พ.ศ.2525 |
พระอธิการชัยวรวงศ์อิท ธิมโต |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ..252 ถึงปัจจุบัน |