ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดปันเสา
- ชื่อวัด: วัดปันเสา
- ประเภทวัด: สถานปฏิบัติธรรม
- นิกาย: ธรรมยุต
- พระภิกษุ: 11 รูป
- สามเณร: 2 รูป
- ที่ตั้ง: เลขที่ หมู่ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปษณีย์ 50000
- เนื้อที่: 2 ไร่
- โทร: 053-289155
- เว็บไซต์: http://www.watpansao.in.th/
ประวัติความเป็นมา
ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของวัดแสนตาห้อย (ด้านหลังคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) เป็นวัดสำคัญอีกแห่งหนึ่งในสมัยราชวงศ์มังราย มีร่องรอยโบราณคดีที่เห็นได้จากภายนอก คือเจดีย์ทรงกลมแบบเชียงใหม่ ที่ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย ประกอบด้วยฐานเป็นหน้ากระดานสี่เหลี่ยมประมาณ สามชั้น รองรับด้วยฐานบัวย่อเก็จลูกแก้ว ถัดขึ้นไปเป็นหน้ากระดานกลมประมาณ ๓ ชั้น รองรับมาลัยเถาที่เป็นแบบบัวคว่ำหน้ากระดาน ๓ ชั้น แบบสุโขทัย องค์ระฆังใหญ่ที่บังลังก์เป็นสี่เหลี่ยมยอกเป็นปล้องไฉนแบบสุโขทัย
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ ฝ่ายวิชาการ สำนักงานโบราณคดีแลพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ ๖ เชียงใหม่ กรมศิลปากร ได้ขุดค้นทางโบราณคดี เบื้องต้นพบว่าเจดีย์วัดนี้มีการสร้างซ้อนกัน ๒ ชุด เจดีย์องค์เดิมที่อยู่ด้านในมีสัณฐานประกอบด้วยฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อเก็จ และถัดขึ้นไปเป็นฐานเขียงแปดเหลี่ยมย่อเด็จและฐานบัวคว่ำบัวหงายแปดเหลี่ยม ตามลำดับ ลักษณะด้านแปลนส่วนล่างคล้ายเจดีย์อิทธิพลพุกาม ส่วนลักษณะแปดเลี่ยมอิทธิพลหริภุญชัย ส่วนที่เป็นย่อเก็จหายไป มีพัฒนาการเป็นรูปแบบทรงแปดเหลี่ยมอิทธิพลทราวดี (เช่น เจดีย์แปดเหลี่ยมเวียงท่ากาน และที่วัดกุมกามที่ปราม เวียงกุมกาม)
ส่วนเจดีย์ที่สร้างครองภายหลัง สัณฐานล่างสุดเป็นเขียงสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด ๑๐?๑๐ เมตร ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวย่อเก็จ หน้ากระดานฐานเขียงทรงกลมซ้อนเหลื่อมกันขึ้นไป ๓ ชั้น และชั้นมาลัยเถาแบบดั้งเดิมพื้นเมืองเชียงใหม่ คือฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีเส้นลูกแก้วคาด ๒ เส้นแบบฐานบัวผสม ซ้อนเหลื่อมกันขึ้นไปสามชั้น ถัดขึ้นไปเป็นองค์ระฆังและบัลลังก์สัณฐานบัวสี่เหลี่ยมจัตุรัส คอฐาน ยอด ปล้องไฉน ส่วนเครื่องยอดชำรุดหลุดหายไป
ลักษณะเจดีย์ที่สร้างครอบ เน้นองค์ระฆังขนาดใหญ่ มีรูปทรงแบบทั้งเป็นทรงกระบอกและมีปลายผายออก เช่นเจดีย์กลมวัดพระสิงห์ วัดสวนดอก และวัดอุโมงค์ ล้วนเป็นกลุ่มเจดีย์ที่มีพัฒนาการอยู่ในระยะแรกของล้านนา
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2550
ความน่าสนใจภายในวัดปันเสา
เป็นวัดในสมัยราชวงศ์มังราย โดยเห็นได้จากภายนอกคือ เจดีย์ทรงกลมแบบเชียงใหม่ เมื่อปลายปี 2552 มีการขุดค้นทางโบราณคดี พบว่า วิหารของวัดนี้มีขนาดประมาณเท่าวิหารหลวงของวัดพระสิงห์ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อว่า"พันเสา" ที่หมายถึง วัดที่มีวิหารขนาดใหญ่นับพันเสา มีพระพัฒนนพบุรีศรีล้านนาประชานาถ(พระเจ้าแสงคำเมือง) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ ศรัทธาประชาชนทุกหมู่เหล่า ร่วมใจสร้างขึ้นมาเพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และร่วมใจกัน ตั้งวัจจอธิฐานว่า"ให้กุศลในการสร้างพระพุทธรูปนี้จงดลบันดาลให้พระองค์ทรงหายจากพระอาการประชวร" มีประชาชนหลายคนได้กราบไหว้พระเจ้าแสงคำเมือง เพื่อขอบารมี ดลบันดาลให้หายจากโรคภัยต่างๆบางรายก็หายอย่างรวดเร็ว
ข้อมูลเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2555
พระมหาอาวรณ์ ภูริปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดปันเสา
พระมหาอาวรณ์ ภูริปญฺโญ
ปัจจุบันอายุ 40 ปี
บวชมาแล้ว 29 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น พระมหา
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดปันเสา
ประวัติด้านการศึกษาของพระมหาอาวรณ์ ภูริปญฺโญ
พระมหาอาวรณ์ ภูริปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดปันเสา
จบการศึกษาศึกษาระดับปริญญาโท จากสถานบันการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.
อดีตเจ้าอาวาสวัดปันเสา
พระมหาอาวรณ์ ภูริปัญโญ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
การจัดการศึกษาภายในวัดปันเสา
การจัดการศึกษาภายในวัดปันเสานั้น จะประกอบไปด้วย
- สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด