ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดบวกครกน้อย
- ชื่อวัด: วัดบวกครกน้อย
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 6 รูป
- สามเณร: 7 รูป
- ลูกศิษย์วัด: 1 คน
- ที่ตั้ง: เลขที่ 1 หมู่ 2 บวกครกน้อย ตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปษณีย์ 50000
- เนื้อที่: 6 ไร่ 72 คารางวา
- โทร: 089-2666429
ประวัติความเป็นมา
วัดบวกครกน้อยสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2345 จากหลักฐานการจารึกที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลานเก่า เดิมมีเนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 56 ตารางวา ต่อมาย้ายเพิ่มอีก 1 ไร่ 1 งาน 16 ตารางวา รวมทั้งหมด 6 ไร่ 72 ตารางวา ตั้งอยู่เลขที่ 1 ม. 2 ตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีชื่อเรียกทั้งหมด 4 ชื่อ ตามลำดับเหตุการณ์ความเหมาะสมของสภาพสิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ดังต่อไปนี้ 1.ชื่อวัดหัวดง เพราะเดิมเป็นป่าดงพงพี ที่พักอาศัยใช้เป็นทางผ่านไปสู่ดอยสุเทพของฝูงสัตว์ป่านานาชนิด ดังนี้เรียกกันว่าป่าช้างทางเสือ 2.ชื่อวัดบวกครกน้อย เพราะแยกออกมาสร้างใหม่จากวัดเดิมคือวัดบวกครกหลวงโดยมีสภาพพื้นที่แอ่งลึกคล้ายกับก้นครกและเป็นที่ท้องทุ่งนากระจัดกระจายไปด้วยที่นอน พักผ่อนของวัวควายเรียกว่า ปรัก ภาษาเหนือเรียกว่า บวก จึงเรียกว่าบวกครกน้อยและเป็นวัดพี่วัดน้องกัน 3.ชื่อวัดบวกครกริมคาวเพราะมีแม่น้ำใหญ่ไหลผ่านผ่ากลางบริเวณหมู่บ้าน ซึ่งตั้งอยู่ริมน้ำมีชื่อว่าแม่น้ำคาว ภาษาเหนือเรียกว่าน้ำแม่คาว ซึ่งเป็นชัยภูมิที่ดีเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับถึงปัจจุบัน 4.ชื่อวัดบวกครกปลายราง มาสิ้นสุดปลายรางชานชลาใกล้วัดประมาณ 1.3 กิโลเมตร จึงนำเอาคำว่าปลายรางมาต่อท้ายชื่อวัดให้สะดวกต่อการสังเกตในการเดกินทางมาที่วัดได้ถูกต้องตามจุดเด่นของสถานที่ทั้งสองให้คล้องจองกันตามสำนวนภาษาที่เรียบง่ายแฝงไว้ซึ่งความหมายชัดเจนมีโบราณสถานคือเจดีย์องค์เดิม อายุประมาณ 200 กว่าปีและได้สร้างองค์ใหม่ครอบไว้เมื่อปี พ.ศ. 2458 ศิลปะล้านนาทรงระฆังคว่ำกุลช่างลำพูน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาสร้างอุโบสถปี พ.ศ.2527สร้างวิหารหลังใหม่ศิลปะล้านนาปี พ.ศ. 2544 มรกุฏิสงฆ์ 2 หลัง มีศาลาการเปรียญ 2 หลัง ศาลาบาตร 1 หลัง หอระฆัง 1 หลัง ศาลาพระครูบาศริวิชัย-พลับพลาพระนเรศวร-เทวาลัยพิฆเณศ
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2395
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2527
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดบวกครกน้อย
กิจกรรมที่จัดเป็นประจำทุกปีประกอบด้วยชื่อกิจกรรม งานประเพณีสรงน้ำพระธาตุ จัดกิจกรรมระหว่างวันที่ -กึ่งกลางเดือนมิถุนายนจนถึงวันที่ถึงกึ่งกลางเดือนกรกฏาคม มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ คน รูปแบบ/ลักษณะของ ตกแต่งตาราชวัตรฉัตรธง ตั้งแท่นบุษบกมณฑน์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ-ตั้งบายศรียื่นโยงโองการบูชาบวงสรวงตั้งขบวนแห่น้ำทิพย์-ผ้าห่มพระธาตุ-มณฑปพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ขบวนแห่ฟ้อนรำพื้นเมืองล้านนา การดึงชักรอบน้ำขมิ้นส้มป่อยสรงพระธาตุ การสรงน้ำพระประจำวันเกิด-การเข้าร่วมพิธีอบรมสมโภชเสกส้อมย้อมยศ ชื่อกิจกรรม งานป๋าเวณี๋ปี๋ใหม่เมือง 13 เมษายน จนถึงวันที่ 17 เมษายน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 1,000-3,000 คน รูปแบบ/ลักษณะของ ขบวนแห่พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์- ขบวนแห่ไม้คำศรีมหาโพธิ์-การก่อพระเจดีย์ทราย-การทำบุญตักบาตรฟังเทศน์ฟังธรรม การสรงน้ำพระและรูปหล่อเคารพศักดิ์สิทธิ์-การขอขมารดน้ำดำหัว-การถวายภัตตาหารสังฆทานหรือตานขันข้าว-การแข่งขันมหกรรมอาหารพื้นเมือง-ดนตรีกีฬาตลอดถึงการละเล่นประจำท้องถิ่น โดยเน้นเรื่องการอนุรักษ์ฟื้นฟู้วัฒนธรรมประเพณีล้านนาไทยปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีงาม ชื่อกิจกรรม งานป๋าเวณีเดือนยี่เป็ง(งานประเพณีลอยกระทง) จัดกิจกรรมระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน จนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 1,000-3,000 คน รูปแบบ/ลักษณะของกิจกรรม การตกแต่งดาราชวัตรฉัตรธง ประทีปโคมไฟ การฟังธรรมมหาชาติเวสสันดรชาดก-การประกวดซุ้มประตูป่า-การประกวดกระทงและหนูน้อยนพมาศทั้งขบวนแห่และการแสดงหลากหลายบนเวที การบรรจุกระทงใบตองใส่ไว้ในเรือสำเภาปล่อยลงน้ำเพื่อสะเดาะเคราะห์ เสริมดวงสืบชาตา บูชารับโชค ขอขมาพระแม่คงคา อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชื่อกิจกรรม งานบนนพชาสามเณรภาคฤดูร้อน จัดกิจกรรมระหว่างวันที่ ปลายเดือนมีนาคม จนถึงวันที่ 11 เมษายน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 1,000-3,000 คน รูปแบบ/ลักษณะของกิจกรรมการปลงผมนาค-การจัดริ้วขบวนแห่นาคและลูกแก้วขี่ม้าพร้อมจตุปัจจัยไทยทานบริหารแบบยิ่งใหญ่อลังการการบายศรีสู่ขวัญแบบล้านนาพิธีกรรมขอขมาลาบวช การทำพิธีบรรชาหมู่ตามวินัยและธรรมเนียมสงฆ์ที่ถูกต้องละเอียดอ่อนพิถีพิถัน การเปิดโรงทานมหากุศลฟรีเป็นธรรมทานทุกอย่าง-การฝึกสอนฝึกฝนสามเณรทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เสขิยวัตร ทำวัตรสวดมนต์ บำเพ็ญภาวนาฝึกกรรมมัฏฐาน การบิณฑบาต การร่วมกิจกรรมพิเศษทั้งในและนอกสถานที่ด้วยหลักสูตรการอบรมที่เข้มข้นได้หลักเกณฑ์มาตรฐาน จากพระอาจารย์วิทยากรที่มีประสิทธิภาพมากล้นด้วยประสพการโดยเน้นหนักการสืบศาสนาทายาทและพัฒนาคุณภาพชีวิต
ข้อมูลเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554
พระกฤษฎา ปภสฺสโร เจ้าอาวาสวัดบวกครกน้อย
พระกฤษฎา ปภสฺสโร
ปัจจุบันอายุ 58 ปี
บวชมาแล้ว 38 พรรษา
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น รักษาการเจ้าอาวาสวัดบวกครกน้อย
ประวัติด้านการศึกษาของพระกฤษฎา ปภสฺสโร
พระกฤษฎา ปภสฺสโร เจ้าอาวาสวัดบวกครกน้อย
จบการศึกษาศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) จากสถานบันการศึกษาโรงเรียนเซตุพลศึกษา เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.
อดีตเจ้าอาวาสวัดบวกครกน้อย
พระคำอ้าย |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2345 ถึงปัจจุบัน |
พระคำปัน |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระครูอธิการต่อน จิตตเสโน |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2476 ถึงปี พ.ศ.2495 |
พระสิงโต สุจิตโต |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2495 ถึงปัจจุบัน |
พระบุญส่ง |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระจรัญ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการแก้ว พุทธสโร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 ถึงปี พ.ศ.2529 |
พระครูคำปั๋น ธมมโชโต |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2529 ถึงปี พ.ศ.2544 |
พระครูสุวรรณปริยัติโกวิท |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 ถึงปัจจุบัน |
การจัดการศึกษาภายในวัดบวกครกน้อย
การจัดการศึกษาภายในวัดบวกครกน้อยนั้น จะประกอบไปด้วย
- ศูนย์ปฏิบัติธรรมเพื่ออนุรักษ์