ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดบุปผาราม
- ชื่อวัด: วัดบุปผาราม
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 6 รูป
- สามเณร: 8 รูป
- ที่ตั้ง: เลขที่ 10 หมู่ 12 บ้านช่างเคิ่งบน เจริญนิรันดร ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปษณีย์ 50270
- เนื้อที่: ๓ ไร่ ๒ งาน ๓๙ ตารางวา
- โทร: 081-7658023
ประวัติความเป็นมา
ความเป็นมาก่อนการสร้างวัด ก่อนปี พ.ศ. 2464 บ้านช่างเคิ่งบน หมู่ที่ 12 ได้ไปเข้าวัดหลวงช่างเคิ่ง เป็นศรัทธาวัดหลวงร่วมกับบ้านเกาะ ปัจจุบันก็ยังมีหลายครอบครัวในบ้านช่างเคิ่งบนเป็นศรัทธาวัดช่างเคิ่ง ต่อมา ประมาณ ปี พ.ศ. 2464 พระภิกษุสุดใจ สุมังคโล ซึ่งเป็นพระอยู่ที่วัดช่างเคิ่ง ได้ มองเห็นว่า วัดร้างกู่ดอยฮวก ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านช่าง เคิ่งบน เป็นสถานที่สงบและสัปปายะดี จึงตั้งใจมาอยู่ ณ ดอยฮวกแห่งนี้ ใน ตอนนั้นได้มีศรัทธาชาวบ้านช่างเคิ่งบนส่วนหนึ่ง ที่ให้ความเคารพเลื่อมใสใน พระภิกษุสุดใจ สุมังคโล ซึ่งมีพ่ออุ๊ย 3 ท่านเป็นหัวหน้าคณะศรัทธา คือพ่ออุ๊ย ปุก วรรณคำ (คุณตาของป้าเรือนมูลและผู้เขียน) พ่ออุ๊ยใจ๋ รู้เที่ยง (คุณตาของ ท่านพระครูมงคลวิสิฐ) และพ่ออุ๊ยอินทร์ วรรณคำ (คุณลุงของลุงเกียรติชัย วรรณคำ)1 จึงได้มาช่วยกันบูรณะก่อสร้างวัด เช่น กุฏิ วิหาร ศาลา และปั้น พระประธาน พ่ออุ๊ยทั้ง 3 ท่านนี้ได้นำข้าวปลาอาหารไปส่งที่วัดในตอนเช้า และกลางคืนก็ได้ไปนอนวัดกับพระภิกษุสามเณร เพราะวัดอยู่กลางป่าไกล บ้าน ต่อมาประมาณ 4-5 ปี ได้เกิดไฟป่าไหม้ลุกลามมาถึงวัด เนื่องจากวัดอยู่ บนดอยสูงไกลหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร และขาดแคลนน้ำ เมื่อวัดไหม้ แล้วก็ไม่สามารถบูรณะซ่อมแซมได้ จึงปรึกษาหารือกันหาสถานที่ย้ายไปตั้งวัด ใหม่ ซึ่งเป็นที่ราบเชิงเขาและใกล้หมู่บ้าน เริ่ม สร้างวัดบุปผาราม เมื่อปี พ.ศ. 2469 พระสุดใจ สุมังคโล ร่วมกับขุนชาญช่างเคิ่ง (ไฝ กาพย์ไชย) กำนันตำบลช่างเคิ่งเป็นประธาน พร้อมกับชาวบ้านช่างเคิ่งบนประมาณ 20 ครัวเรือน โดยมีพ่ออุ๊ย 3 ท่าน เป็น หัวเรี่ยวหัวแรง นำชาวบ้านช่วยกันแผ้วถางป่าละเมาะใกล้ลำห้วยช่างเคิ่ง ซึ่ง เคยเป็นไร่ฝ้ายของชาวบ้าน เห็นเป็นชัยภูมิเหมาะแก่การสร้างวัด จึงได้ช่วยกัน เริ่มสร้างวัดแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะศรัทธาอุปถัมภ์มีน้อยและมีฐานะ ยากจน ใช้แรงงานช่วยกันจนเต็มความสามารถ เมื่อสร้างวัดเสร็จแล้วได้ให้ชื่อ ว่า วัดบุปผาราม มีความหมายว่า “เป็นอารามที่สวยงามและน่าชื่นชม ประดุจดอกไม้” ต่อมาพระภิกษุสุดใจ สุมังคโล เจ้าอาวาสวัดบุปผาราม ได้ รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะแขวง (อำเภอ) ช่างเคิ่ง และได้รับ พระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญบัตรในราชทินนนามที่พระครูมหา มงคล สิ่งที่ไม่ได้ถูกไฟไหม้ที่วัดอยฮวก คือพระประธาน และ กลองหลวง ปัจจุบันยังอยู่ที่วัดบุปผาราม เนื่อง ด้วยพระครูมหามงคล มีข้อวัตรปฏิบัติที่ดีงามน่าเลื่อมใสจึง ทำให้การพัฒนาวัดเจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นศูนย์กลางการปกครอง และ การศึกษาของคณะสงฆ์อำเภอแม่แจ่ม มีพระภิกษุสามเณรจากวัดต่างๆ เข้ามา อยู่อาศัยเพื่อศึกษาเล่าเรียนเป็นจำนวนมาก ครั้งถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 ได้รับพระราชทานวิสูงคามสีมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ พลอดุลยเดช และ ทางวัดได้สร้างอุโบสถผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. 2509 กรม การศาสนาได้ยกฐานะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เมื่อปี พ.ศ. 2530 และได้รับ ประกาศเกียรติคุณดีเด่นด้านการพัฒนา เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชครบ 50 ปี และเนื่องในโอกาสเมืองเชียงใหม่ครบ 700 ปี ในปี พ.ศ. 2539 สิ่ง ก่อสร้างที่ยังมีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่เกิดขึ้นสมัยเจ้า อาวาสรูปที่ 2 และเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน พ.ศ. 2514-2545 รวมทั้งหมดประมาณ 10 รายการ ส่วนใหญ่มีสิ่งก่อสร้างคล้ายกัน เกือบทุกวัด คือสร้างเพื่อประโยชน์ใช้สอยทั้งของพระสงฆ์องค์เณร และศรัทธา ชาวบ้าน สิ่ง ก่อสร้างที่แตกต่างจากวัดทั่วไปในแม่แจ่ม คือพระวิหาร ซึ่ง ก่อสร้างแบบทรงไทยสมัยใหม่ที่เห็นกันทั่วไปในวัดสร้างใหม่ตามท้องที่อำเภอ อื่นๆ ในภาคเหนือ สิ่งที่น่าดูในพระวิหารคือภาพวาดฝาผนังที่แสดงถึงวิถีชีวิต และประเพณีโบราณของคนแม่แจ่ม ปัจจุบันนี้ประเพณีบางอย่างก็มีเพียงใน ภาพวาดเท่านั้น พระ เจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ สร้างขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2536 ส่วน กลาง 4 ด้านประดิษฐานพระพุทธรูปยืน ซึ่งพระเทพสิงหบุราจารย์ วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี ได้มอบถวายแก่วัดบุปผาราม สิ่งก่อสร้างหลังสุดท้ายที่สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2544 คือพระวิหารเล็ก ประดิษฐานรูปเหมือนของ ครูบาศรีวิชัย และรูปเหมือน พระครูมหามงคล
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2469
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2493
• วัดพัฒนาตัวอย่าง พ.ศ. 2530
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดบุปผาราม
พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตพื้นบ้านเมืองแจ่ม
ความน่าสนใจภายในวัดบุปผาราม
ข้อมูลศาสนสถานภายในวัด ประกอบด้วย ๑. อุโบสก กว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๑ เมตร ๒. วิหาร กว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๒ เมตร
๓. ศาลาบำเพ็ญบุญ กว้าง ๑o ยาว ๒o เมตร ๔. กุฏิ กว้าง ๑o เมตร ยาว ๒o เมตร
๕. ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๘ เมตร
ข้อมูลศาสนสมบัติ ๑. พระพุทธรูป ๒. ธรรมาสน์ใหญ่ ๓. ฆ้องใหญ่ ๔. โต๊ะ เก้าอี้ ๕. พัดลม ๖. เครื่องขยายเสียง
ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมของวัดและการท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม ๑. ประเพณี วันกตัญญูผู้สูงอายุ ๒. ประเพณี ทำบุญถวายสลากภัตต์
๓. ประเพณี เทศน์มหาชาติ ๔. ประเพณี เผาหลัวพระเจ้า ๗) ข้อมูลการเดินทาง/แผนที่ตั้งวัด
ข้อมูลเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2560
พระครูมงคลวิสิฐ สิริมงฺคโล เจ้าอาวาสวัดบุปผาราม
พระครูมงคลวิสิฐ สิริมงฺคโล
ปัจจุบันอายุ 63 ปี
บวชมาแล้ว 43 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น รองเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดบุปผาราม และยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะอำเภอ (จอ.)
ประวัติด้านการศึกษาของพระครูมงคลวิสิฐ สิริมงฺคโล
พระครูมงคลวิสิฐ สิริมงฺคโล เจ้าอาวาสวัดบุปผาราม
จบการศึกษาศึกษาระดับมศ.3 จากสถานบันการศึกษาโรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่วัดบุปผาราม เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.
อดีตเจ้าอาวาสวัดบุปผาราม
พระครูมหามงคล (สุดใจ สุมงฺคโล) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2469 ถึงปี พ.ศ.2514 |
พระครูปิยศีลาภรณ์ (พิมล ปิยธมฺโม) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2514 ถึงปี พ.ศ.2525 |
พระครูมงคลวิสิฐ (วิศิษฐ์ สิริมงฺคโล) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 ถึงปี พ.ศ.- |
วันกตัญญู (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดบุปผาราม
ประเพณีสำคัญ วัด บุปผาราม เป็นวัดที่สร้างมาไม่ถึงร้อยปี แต่เนื่องจากที่ตั้งวัด ปัจจุบันอยู่ในชุมชนใหญ่ใกล้ส่วนราชการ และอยู่ติดกับเส้นทางผ่านเข้า อำเภอ จึงดูเหมือนว่าเป็นวัดที่ได้รับวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามาผสมผสาน มากกว่าวัดอื่นๆ แต่วัฒนธรรมประเพณีเดิมก็มิได้ทอดทิ้งเพียงแต่ริเริ่มสอด แทรกประเพณีใหม่ๆ ที่เชื่อว่าเป็นผลดีแก่ชุมชน เช่น ประเพณีวันกตัญญู (วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี) โดยนำผู้เฒ่า ผู้แก่ในหมู่บ้านที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป ทั้งชายหญิงไปรวมกันที่วัดตอนเช้า ทำบุญตักบาตรสืบชะตาให้ทุกคน หลังอาหารเช้าจัดของดำหัวเชิญชวนส่วน ราชการและองค์กรต่างๆ เข้าร่วมพิธี การรดน้ำดำหัวใช้สลุง (ขันน้ำ) วางด้าน หน้า ผู้ไปร่วมพิธีตลอดจนชาวบ้าน นำน้ำขมิ้นส้มป่อยใส่รวมกันในสลุง เมื่อ เสร็จจากการรดน้ำพ่ออุ๊ยแม่อุ๊ย ใช้มือจุ่มน้ำลูบหัวของตนเอง และให้พรพร้อม กันเป็นเสร็จพิธี ในวันนั้นลูกหลานทุกคนไปรวมกันเต็มวัดเพราะโอกาสที่จะได้ พบกันพร้อมหน้าทั้งหมู่บ้านมีวันเดียว มีความสุขกันคนละแบบ ลูกหลานวิ่ง เล่นสนุก คนหนุ่มคนสาวก็ช่วยกันทำงานต้อนรับดูแลผู้มาร่วมงาน พ่ออุ๊ย แม่อุ๊ย แม้จะนั่งนาน แต่ก็ปลื้มปิติที่มีโอกาสได้พบลูกหลานถ้วนหน้า ประเพณีวันวิสาขบูชา เริ่มปี พ.ศ. 2500 ตอนเช้าทำบุญตักบาตร ตอนบ่ายคณะศรัทธาชาวบ้านและหัววัดต่างๆ นำต้นคัวทานเข้าถวายวัด กลางคืนเวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา หลังเที่ยงคืนฟัง “สวดเบิก” รุ่งเช้า ถวายสังฆทานแด่พระสงฆ์