ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดห้วยริน
- ชื่อวัด: วัดห้วยริน
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- ที่ตั้ง: เลขที่ หมู่ 9 ห้วยริน ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปษณีย์
- เนื้อที่: 4 ไร่ 1 งาน 2 ตารางวา
ประวัติความเป็นมา
วัด ห้วยรินก่อตั้งขึ้นมาเมื่อประมาณพุทธศักราช ๒๔๒๐ ตั้งอยู่เลขที่ ๔๕ หมู่ ๙ ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ๕๐๒๗๐ มีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๑ งาน ๒ ตารางวา น.ส. ๔ จ. เลขที่ ๕๕๓๔ ที่ได้ชื่อว่าวัดห้วยรินนั้น เพราะสร้างขึ้นในที่ราบสูงเชิงเขาไหล่ลำห้วย มีน้ำไหลรินไปสู่ที่นาข้างล่างจึงได้ชื่อว่า “วัดห้วยริน” โดยมีพระฝั้น เตชะวโร (ครูบาเต๋จ๊ะ) นายด้วง - นางยอด ศรีเที่ยง นายอุ่น-นางดำ อินต๊ะก๋อน นายสมโน-นางบัวเขียว กาเขียว และศรัทธาชาวบ้านอีกหลาย ๆ ครอบครัวร่วมกันก่อตั้งขึ้นมาเป็นวัดห้วยรินจนถึงปัจจุบันนี้ ภายในวัดมีปูนชนียวัตถุคือพระพุทธรูปทองเหลืองปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย พระพุทธรูปทองเหลืองปางมารวิชัย สมัยอู่ทอง และรอยพระพุทธบาท ๑ พระบาท วัดห้วยรินมีชาวบ้านจำนวน ๒ หมู่บ้านที่เป็นศรัทธาอุปถัมภ์คือ บ้านห้วยริน หมู่ที่ ๙ และบ้านใหม่ปูเลย หมู่ที่ ๑๙ จำนวนราษฎรทั้งสองหมู่บ้านรวมกัน ๗๐๓ คน ๑๐๗ หลังคาเรือน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรเสริม ทำไร่ ทำนา ปลูกพืชผักสวนครัว และมีอาชีพเสริมคือการเลี้ยงสุกร ไก่ ทอผ้า และรับจ้างทั่วไป วัดห้วยริน เป็นวัดหนึ่งในอำเภอแม่แจ่ม ที่มีสิ่งก่อสร้าง สถาปัตยกรรมที่สวยงามคือพระเจดีย์ของวัด อันมีชื่อว่า "พระธาตุเจดีย์ศรีอรหันต์" ที่ใช้เวลาในการก่อสร้างอันเนิ่นนาน แต่ในที่สุดก็สำเร็จลงด้วยดี และมีความสวยงามน่าดูน่าชมพระในพระธาตุมีรอยพระพุทธบาทที่เปิดให้ท่านได้เข้าไปนมัสการและสรงน้ำได้ตลอดเวลา ศาลาการเปรียญภายในมีภาพจิตกรรมผาผนังที่สวยงามสะท้อนวิถีวิตชาวแม่แจ่มมาตั้งแต่อดีต ได้สาระข้อคิดและความงดงามประทับจิต ติดตราตรึงใจ หากท่านได้มีโอกาสแวะไปที่แม่แจ่ม ขอเชิญแวะชมวัดห้วยริน วัดห้วยริน สร้างขึ้นเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๒๐ มาโดยลำดับถึง พุทธศักราช ๒๕๑๑ มี พระดวงดี จตฺตพฺโย (กุลเม็ง) อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลช่างเคิ่ง ๒ สมัย ได้มีความคิดอยากจะอาราธนาอัญเชิญรอยพระพุทธบาทมาประดิษฐานในวัด เพื่อเป็นการดูแลสักการะง่ายขึ้น เพราะใกล้หูใกล็ตา จึงประชุมคณะกรรมการ เพื่อปรึกษาหารือกันโดยเหตุและผลไว้ก่อน พอมาประจวบกับกันเข้าในโอกาสที่เป็นสิริมงคล เพราะว่าที่บ้านแม่ปาน หมู่ที่ ๑๐ เกิดพบเหมืองแร่ห้วยป่าฮวย (ดอยสันถ้ำ) ชื่อเฮียวิชัย (ไม่ทราบนามสกุล) ซึ่งเป็นห้วยนา ได้มาขอพักที่โรงเรียนเก่า เพื่อจะทำทางไปบ้านแม่ปาน ฉะนั้น พระดวงดี จตฺตพโย ในนามเจ้าอาวาสวัดห้วยรินและพ่อหมื่น ทะบุญ ได้ขอความอนุเคราะห์รถตักของท่าน ไปเอารอยพระพุทธบาท ณ ที่ไล่ห้วยนาดังกล่าว พอเริ่มทำการตักที่ประดิษฐานอยู่ เกิดสิ่งมหัศจรรย์ขึ้น มีงูพิษ ๒ ตัว (งูเห่าป๊าก ๒ ตัว) ออกจากพื้นก้อนหินรอยพระพุทธบาท พอพระดวงดี จตฺตโพยมองเห็นงู ๒ ตัว ก็ตั้งจิตอธิฐาน เมื่อ จะอนุญาตให้นำไปสักการบูชา ก็ขอให้เลื้อยออกไปจากรอยพระพุทธบาท เพื่อความปลอดภัยจากเครื่องถุ้นแรงถุ้งกี่รถตักที่กำลังทำการขุดเอาก้อนหิน ที่รอยพระพุทธบาทประทับอยู่ เมื่อได้อาราธนาเพื่อเป็นประทับรอยพระพุทธบาทเพื่ออัญเชิญมาถึงสถานที่วัด ต่อมาก็ได้ก่อสร้างศาลาบาตรขึ้น ๑ หลัง ตรงหัวมุมได้ทำเป็นห้อง ๑ ห้อง เพื่อเป็นที่ประทับรอยพระพุทธบาท ตอนนั้นวัดห้วยรินก้างกุ่งรุ่งเรื่อง มีสงฆ์องค์เณรมาอยู่พอสมควร แต่ว่าพระดวงดี จตฺตพโย หมด บุญจากผ้ากาสวพัตร ได้ลาสิกขาออกจากเพศสมณะเป็นคฤหัสถ์ เกิดวิกฤต์ทางพระสงฆ์ – สามเณร ไม่คอยมั่นคง มีๆ ขาดๆ ทำให้วัดขาดเจ้าอาวาส ที่จะเข้ามาบริหารจัดการ ฉะนั้นเกิดความคิดบางสิ่งบางอย่างหลากหลายของพ่อน้อยพ่อหนาน สาเหตุคงเกิดจากรอยพระพุทธบาทมีในวัด ทำให้ภิกษุ – สามเณรขาดช่วง จึงได้ไปอารธนานิมนต์ พระเมืองใจ เตชธมฺโม มารักษาการเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นปีที่อาตมาภาพได้เข้ามาอุปสมบท ในวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๓๖ เป็นพระนวกะ ได้ร่วมกันกับคณะกรรมการ กลิ้งรอยพระพุทธบาท ออกไปประทับอยู่ ณ ศาลานอกวัด มาถึงปัจจุบัน ปีพุทธศักราช ๒๕๓๗ อาตมา ภาพได้ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส ได้พิจารณาโดยเหตุและผล คิดว่าไม่สมควรอยู่นอกวัดเพราะรอยพระพุทธบาทซึ่งเป็นปูชนียวัตถุ อันควรสักการบูชา จึงตั้งเจตนาไว้ว่า ถ้าหากบุญมีบารมีอยู่ อยากจะสร้างที่ประดิษฐาน เพื่อประทับพระบาท ไว้ในวัด จุดใดจุดหนึ่ง ที่อันควร ก็ได้เสวนากับอาวตุ๊สมบูรณ์ สมฺปุณฺณวํโส อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านเหล่า ต.เมืองก๋าย อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ปัจจุบัน รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดยางหลวง ต.ท่าผา อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ว่าเราทั้ง ๒ รูป ถ้ายังอยู่ดีสบาย จะร่วมกันสร้างศาลา ๓ ชด ขึ้น ๑ หลัง เพื่อเอาเป็นที่ประดิษฐาน ประทับรอยพระพุทธบาท พออยู่มาวันหนึ่ง อาตมาภาพเกิดความคิดอยากจะสร้างพระธาตุขึ้น ๑ องค์ ช่วงพื้นจะทำเป็นโถง เพื่อจะได้อาราธนาอัญเชิญรอยพระพุทธบาท เข้ามาประดิษฐาน จึงได้กำหนดการวางศิลาฤกษ์ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๒ ตรงกับเดือน ๗ ขึ้น ๓ ค่ำ หลัง จากนั้นจึงได้ทำการก่อสร้างเป็นช่วงๆ มาถึงปัจจุบันนี้ เพื่อไว้ให้ศรัทธาประชาชนได้สักการบูชาทั้ง ๒ อย่าง และเพื่อไว้เป็นถาวรวัตถุวัดห้วยริน สืบต่อไป
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2420
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 23 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2545
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดห้วยริน
ที่ได้สืบทราบมาจากผู้เฒ่าผู้แก่ เล่าให้ฟังว่า รอยพระพุทธบาท มีมานานหลายชั่วคน ดั้งเดิมประทับอยู่ตรงสบห้วยอรหันต๋า ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของสถานที่วัดห้วยรินปัจจุบัน ต่อมา มีพ่อด้วง ศรีเที่ยง ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้น ได้อาราธนาเอาช้างชักลากขึ้นประดิษฐาน ณ ที่ไล่ห้วยหัวนาของตน อยู่ระยะช่วงประมาณ ๕๐ ปี ดังนั้น พ่อด้วง ศรีเที่ยง ได้เกิดความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย จึงได้แบ่งที่นาของตน ถวายเป็นเขตอภัยทาน เพื่อสร้างวัดไว้เป็นที่บำเพ็ญบุญ ให้กับผู้มีจิตศรัทธา ทางพระศาสนา ตลอดถึงสร้างเสนาสนะไว้ในบวรเพื่อเอาทำกิจกรรมเป็นโอกาสต่อไป วิหารรูปแบบทรงล้านนาเมือง ก่ออิฐถือปูน เครื่องไม้ สร้างขึ้นเมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๕๐ แต่ว่า ได้มีการบูรณะซ้อมแซมกว่า ๑ ครั้ง ประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ ได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๙ เป็นต้นมา ศาลาการเปรียญเป็นทรงไทยประยุกต์ สร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายนพุทธศักราช ๒๕๔๐ วัตถุ ประสงค์ในการสร้างศาลาการเปรียญขึ้น เพื่อใช้ทำกิจกรรมทางพุทธศาสนา และกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อเยาวชนและชุมชน ด้านในศาลาการเปรียญ มีภาพวิถีชีวิตและประเพณีวัฒนธรรม ของท้องถิ่นศาลาหลังนี้ได้ทำการฉลองสมโภช (ปอยหลวง) เมื่อวันที่ ๘ – ๑๑ มีนาคมพุทธศักราช ๒๕๕๐
ความน่าสนใจภายในวัดห้วยริน
อาณาเขต ทิศเหนือ ความยาวประมาณ ๕๔ เมตร จดลำเหมืองและทุ่งนา ทิศใต้ ความยาวประมาณ ๕๔ เมตร จดลำห้วยและถนน ทิศตะวันออก ความยาวประมาณ ๓๓ เมตร จดทุ่งนา ทิศตะวันตก ความยาวประมาณ ๑๓ เมตร จดลำเหมือง อาคารเสนาสนะประกอบด้วย 1. วิหารทรงล้านนา ๑ หลัง 2. ศาลาบาตร ๒ หลัง 3. กุฏิสงฆ์ ๒ ชั้น ๑ หลัง 4. ศาลาการเปรียญ ๑ หลัง 5. ศาลารับรอง ๑ หลัง 6. พระธาตุ ๑ องค์
ข้อมูลเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2555
พระครูอภิวัฒน์สวัสดิการ อภิวฑฺฒโน เจ้าอาวาสวัดห้วยริน
พระครูอภิวัฒน์สวัสดิการ อภิวฑฺฒโน
ปัจจุบันอายุ 55 ปี
บวชมาแล้ว 24 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น เจ้าคณะตำบลชั้นเอก
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าคณะตำบล (จต.)วัดห้วยริน และยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบล (จต.)
ประวัติด้านการศึกษาของพระครูอภิวัฒน์สวัสดิการ อภิวฑฺฒโน
พระครูอภิวัฒน์สวัสดิการ อภิวฑฺฒโน เจ้าอาวาสวัดห้วยริน
จบการศึกษาศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) จากสถานบันการศึกษาศูนย์การเรียนรู้วัดต้นแก้ว ลำพูน เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.
อดีตเจ้าอาวาสวัดห้วยริน
พระโพธิ (ไม่ทราบฉายา) |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระกรูนา (ไม่ทราบฉายา) |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอินตา อินฺทขีโม |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระศรีหมื่น จนฺทูปโม |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอินทร์ อินฺทจกฺโก |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระเมืองใจ๋ (ไม่ทราบฉายา) |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระดวงดี วิสุทฺโธ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระสมศักดิ์ ทสฺสนีโย |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระหมื่น (ไม่ทราบฉายา) |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระดวงดี จตฺตพโย |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการทองอินทร์ ฐิติโก |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการเนตรดูลย์ ฐิตสีโล |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระเมืองใจ เตชธมฺโม |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระครูอภิวัฒน์สวัสดิการ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |