วัดป่าแดด
ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดป่าแดด
- ชื่อวัด: วัดป่าแดด
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 1 รูป
- สามเณร: 2 รูป
- ที่ตั้ง: เลขที่ 99 หมู่ 4 บ้านป่าแดด ถนนเชียงใหม่ฮอด ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปษณีย์ 50270
- โทร: 0899998532 - 0861144421
ประวัติความเป็นมา
ก่อตั้งประมาณปี พ.ศ.๒๓๗๐ ที่ตั้งเลขที่ ๙๙ หมู่ที่ ๔ ตำบล ท่าผา อำเภอ แม่แจ่ม ชื่อเดิม วัดใหม่ วัดใหม่เมืองแจ่ม ชื่ออื่นๆ วัดใหม่กลางทุ่งป่าแง วัดใหม่เมืองแจ่มแคว้นใต้ ที่มา ชื่อวัดใหม่นี้อาจได้มาจากการเป็นวัดประจำหมู่บ้าน"บ้านใหม่"ชึ่งอยู่หางจากวัดไปทางทิศตะวันตก ประมาณ ๓๐๐ เมตร หรือ เป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่เพื่อแทนวัดเก่า คือ วัดทะ หรือวัดทะกอ (วัดเหนือ) ซึ่งคู่กับ วัดใต้ (วัดยางหลวง) วัดทะอยู่ห่างจากวัดป่าแดดปัจจุบันไปทางทิสตะวันออกประมาณ ๒๐๐ เมตร เพราะถูกน้ำแม่แรกเชาะตลิ่งพังทลาย จึงต้องย้ายมาตั้งที่ปัจจุบัน
ส่วนชื่อ วัดป่าแดด เป็นชื่อเรียกกันภายหลัง (หลักฐานที่พบเรียกวัดป่าแดด ในหนังสือประวัติวัดศรีเกิดและประวัติพระครูวิเชียรปัญญา เจ้าคณะสงฆ์ในท้องที่แขวงช่างเคิ่ง พักแวะที่วัดป่าแดด หลังจากที่เรียกวัดป่าแดดดอนแก้ว มาระยะหนึ่ง ปัจจุบันมี พระสายัณห์ สุทธิญาโณ เป็นเจ้าอาวาส
ความเป็นมา ที่ตั้งวัด เดิมเป็นทุ่งนา ทุ่งป่าแง พระยาเขื่อนแก้ว เจ้าปกครองเมืองแจ่มในสมัยนั้น ได้ชื้อกับเจ้าของนา แล้วไปนิมนต์พระภิกษุ วัดอุโบสถ อำเภอสันป่าตอง มาเป็นประธานสงฆ์ ในการสร้างวัด พระภิกษุที่พระยาเขื่อนแก้วนิมนต์มาเป็นประธานสงฆ์นั้นชื่อ ครูบากุณา (คุณา) ครูบากุณาได้ไปนิมนต์พระที่วัดกิ่วแล(ไม่ทราบว่าวัดกิ่วแลหลวง หรือ กิ่วแลน้อย)จำนวน ๓ รูป (ไม่ปรกฎนาม)มาเป็นช่างออกแบบ และควบคุมการก่อสร้างพระวิหาร(ฉลอง)เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๘ และเขียนรูปจิตกรรมฝาผนังปี พ.ศ.๒๔๓๐
ครูบากุณาได้อยู่ปกครองวัดป่าแดด ตั้งแต่แรกสร้าง (มีหลักฐานเอกสารหมวดอุโบสถเชียงใหม่ปี พ.ศ. ๒๓๘๐ (จุลศักลราช ๑๑๙๙ ว่า ธุเจ้าคุณา วัดใหม่ (เป็นหัว) หมวดอุโบสถเมืองแจ๋ม(ประธานสงฆ์หรือเจ้าคณะอำเภอในปัจจุบันมี) ๘ วัด ได้แก่ วัดใหม่(ป่าแดด) วัดป่าเธอะ วัดพุทธเอ้น วัดพร้าวหนุ่ม วันเจียงเคิ่ง วัดบ้านทับ วัดยางหลวง วัดกองแขก)และคงมรณะหลังจากปอยหลวงอีกไม่กี่ปี เมื่อท่านครูบากุณามรณะไปแล้วศิษย์ของท่ายชื่อ พระฟั่น เตชวโร หรือ ที่รู้จักกันทั่วไปจากหมู่เหล่าลูกศิษย์ ครูบาเตชะ (พบในใบลานคำภีร์ผูกหนึ่งที่ครูบาเตชะ จารไว้ ลงจุลศักราชไว้เทียบเท่าได้กับ พ.ศ. ๒๔๓๔ จึงได้รับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสปกครองสืบมา และได้เป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นรองเจ้าคณะแขวงช่างเคิ่ง (แม่แจ่ม) และท่านได้ดำรงค์ตำแหน่งถึงปี ๒๔๗๙ จึงมรณะภาพ เมื่อครูบาเตชะมรระภาพไปแล้วศิษย์ของท่านคือ พระคำปัน อินทนนฺโท เป็นเจ้าอาวาสต่อมา ก็มีผู้สืบทอดต่อๆๆกันมา
(เรียบเรียงโดย พระขจร คุณธาโร เลข.จ.ต.ท่าผา)
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 2 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2530
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดป่าแดด
ภาพฝาผนังทาด้วยสีธรรมชาติ
ความน่าสนใจภายในวัดป่าแดด
ประวัติบ้านป่าแดด หมู่บ้านป่าแดด เดิมชื่อ บ้านใหม่ มีการตั้งหมู่บ้านมาแต่ครั้งใดไม่ทราบเท่าที่สืบค้นจากการเล่าสืบมาของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน ทราบว่า ประมาณ พ.ศ.๒๔๐๐ มี พระยาเขื่อนแก้ว เป็นเจ้าเมืองแจ๋ม มีคุ้มที่บ้านอาราม ท่านได้สร้างวัดป่าแดด ต่อมา พระยาไจย์ชึ่งเป็นบุตรเขยของพระยาเขื่อนแก้ว ขึ้นปกครองแทน เมื่ออำนาจจากกรุงเทพมาถึง ประมาณ พ.ศ.๒๔๔๔ บ้านใหม่ได้เป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ ทางการได้แต่งตั้งให้ ขุนอนุรักษ์จรูญโรจน์ เป็นกำนันปกครองตำบลท่าผา ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๔๗ ได้เกิดเหตุการณ์ปล้นเผาที่ว่าการอำเภอ””นายอำเภอถุกฆ่าตาย (ทางการจึงงได้ทำการย้ายที่ตั้งอำเภอไปตั้งที่วัดพระธาตุช่างเคิ่งระยะหนึ่ง แล้วย้ายไปที่บ้านกอก แล้วย้ายมาที่ว่าการอำเภอแม่แจ่มในปัจจุบัน)และบ้านใหม่ถูกจัดเป็นหมู่บ้านที่ ๓ ต.ท่าผา เมื่อขุนอนุรักษ์ เสียชีวิตทางหมู่บ้านก็ได้เลือกตั้งได้นายล้น หลักมั่น เป็นผู้ใหญ่บ้าน และทางตำบลก็ได้จัดลำดับหมู่บ้านใหม่ จาก บ้านใหม่ หมู่ที่ ๓ มาเป็น บ้านใหม่หมู่ที่ ๔มีบ้านหย่อม หย่อมบ้าน ได้แก่ บ้านอาราม บ้านใหม่ บ้านไหล่หิน บ้านเหล่าป่าก่อ บ้านห้วยไห บ้านสามหลัง บ้านป่าแง เมื่อนายล้น หลักมั้น ได้เสียชีวิตลง หมู่บ้านได้เลือกให้นายไจย์ โอบอ้อม เป็นผู้ใหญ่บ้าน เมื่อนายไจย์ โอบอ้อม ได้ลาออก ชาวบ้านได้เลือกให้นายติ๊บ ทะบุญ เป็นผู้ใหญ่บ้าน (นายติ๊บ ทะบุญ ได้เสียชีวิตในตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘) นายเมืองใจ๋ เจริญบุญ ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ดำรงตำแหน่งถึงปี พ.ศ.๒๕๑๖ จึงได้ลาออก นายจันทร์แก้ว แก้วชมพู ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านต่อมา จนถึงปี พ.ศ.๒๕๓๐จึงได้ลาออก นายสุพจน์ ริจ่าม ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๘-๒๕๔๘ จึงได้ลาออก ปี ๒๕๓๘ ได้แยกหมู่บ้านหย่อม บ้านห้วยไห บ้านสามหลัง บ้านป่าแงเหนือ ออกเป็นอีกหนึ่งหมู่บ้าน คือขึ้นเป็นบ้านห้วยไหหมู่ที่ ๗ ต.ท่าผา บ้านหมู่ที่ ๔ ได้เปลี่ยนชื่อจากหมู่บ้านใหม่ มาเป็นหมู่บ้านป่าแดด หมู่ที่ ๔ ต.ท่าผา อ. แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เขตการปกครองของบ้านหมู่ที ๔ ในปัจจุบันมี ๔ หย่อม หมู่บ้น คือ บ้านเหล่าป่าก่อ บ้านไหล่หิน บ้านใหม่ และบ้านอาราม มีครัวเรือนทั้งหมด ๑๔๑ หลังคาเรือน มีประชากรทั้งหมด ๕๖๔ คน เป็นชาย ๒๙๔ คน หญิง ๒๖๘ คน มีพื้นที่ในการปกครองจำนวน ๕,๕๐๐ ไร่ แบ่งเป็นที่ทำกินและที่อยู่อาศัยจำนวน ๓,๐๐๐ ไร่ เป็นที่ป่าสงวน ป่าอนุรักษ์ และป่าใช้สอยจำนวน ๒,๕๐๐ ไร่ ราษฏรส่วนมากมีอาชีพทำการเกษตรกรรม-อาชีพในการทอผ้าพื้นเมือง และอาชีพรับจ้างทั่วไป หมายเหตุ– วันเกิดเหตุนายชื่น ผู้เป็นนายอำเภอได้ไปเที่ยวที่บ้านขุนอนุรักษ์ ชึ่งอยู่ในหมู่บ้านใหม่ ห่างจากที่ตั้งศาลประมาณ ๒๐๐ เมตร ทางฝ่ายผู้ก่อการกบฏได้ไปหานายชื่น แล้วพามาที่ศาล พอข้ามน้ำล้อง ระหว่างหมู่บ้านใหม่กับดอนศาล จึงได้ลงมือทำร้ายนายชื่น นายชื่นวิ่งหนีขึ้นไปบนศาล ผู้ก่อการร้ายจึงจุดไฟเผาศาล แต่ไฟไม่ไหม้ จึงขึ้นไปค้นหาของศักดิ์สิทธิ์ ได้พระพุทธรูปมาองค์หนึ่ง แล้วเผาศาลและฆ่านายชื่น แต่ฟันไม่เข้าจึงใช้หลาวสวนทวารแล้วโยนลงบ่อน้ำบริเวณศาล เล่าโดย นายสุพจน์ ริจ่ามผญบ.หมู่๔ ต.ท่าผา วันที่๒ ตุลาคม ๒๕๔๕ ศาล เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกที่ตั้งว่าที่ว่าการอำเภอ เป็นที่ดอน จึงเรียกว่าดอนศาล อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของหมู่บ้านใหม่ มีล้องหรือลำเหมืองสาธารณะคั่น ปัจจุบันเป็นที่ทำกินของชาวบ้านใหม่
วัดป่าแดดในความทรงจำ โดยพ่อหนานอินทอง เจริญโรจน์ วัดป่าแดดตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าผา อยู่ห่างจากตัวอำเภอแม่แจ่มประมาณ ๓ กิโลเมตร บนถนนสายแม่แจ่ม–ฮอด สร้างขึ้นมาได้ร้อยปีเศษ(ประมาณปี ๒๔๐๐ ต้นๆ) มีเจ้าอาวาสรูปแรกชื่อขุณณา(กุ๋ณณาหรือกรุณา)ซึ่งพระยาเขื่อนแก้ว พ่อเมืองแจ๋ม(สมัยนั้น)ไปนิมนต์มาจากวัดอุโบสถ อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ มาเป็นเจ้าอาวาสและเป็นประธานสงฆ์ในการสร้างวัด มีรองเจ้าอาวาสชื่อว่าพระฟั่น เตชวโร เมื่อครูบาขุณณา มรณภาพไปแล้ว รองเจ้าอาวาสคือ พระฝั้นเตชพโร (ครูบาเต๋จ๊ะ) ได้เป็นเจ้าอาวาสแทน มีรอง(หรือผู้ช่วย)เจ้าอาวาสหลายรูปจนจำชื่อบ่อได้ทั้งหมด เท่าที่พอจะจ๋ำได้คือพระปัน อินทนันโท(พ่อหนานอินตา กรรณิกา บ้านอมเม็ง เสียชีวิตแล้ว)เป็นรองเจ้าอาวาสองค์สุดท้าย ท่านครูบาเต๋จ๊ะปกครองสิกข์(ศิษย์)โยมด้วยความเมตตากรุณา อย่างพ่อปกครองลูก และท่านก็ได้จัดกิจวัตรไว้เป็นแบบอย่าง ท่านได้จัดหื้อพระ-สามเณร มีเวรสับเปลี่ยนกั๋น รูปละวัน นับตั้งแต่รุ่งอรุณถึงย่ำค่ำนับเป็นเวรของรูปหนึ่ง สำหรับผู้ที่จะได้รับเวรในวันรุ่งขึ้นของวันต่อไป ก็ต้องหาสิ่งของมาเกียม(เตรียม)ไว้เช่น” หลั๋ว”สำหรับดัง(ก่อ)ไฟต้มน้ำล้างหน้า” และเข้าตอกดอกไม้”สำหรับแต่งขันดอกหื้อท่านได้ไว้พระ ถ้าหากเป็นเวรรูปใด พอตื่นนอนแล้ว ก็ได้เอาหลัวดังไฟต้มน้ำ สำหรับหื้อท่านล้างหน้า นำขันดอกที่ทำไว้ไปวางที่บริเวณหน้าองคืพระประธานที่ท่านจะไหว้พระ พอท่านตื่นนอนและไขประตูออกมาแล้ว เจ้าเวรก็ยกเอากาน้ำร้อนที่ต้มไว้ ไปหื้อท่านเพื่อล้างหน้า แล้วก็ไปนำเอากระโถนเยี่ยว และกระโถนน้ำหมากในห้องนอนท่านไปเทและล้าง แล้วนำมาไว้ที่เดิม ส่วนกระโถนน้ำหมากก็นำมาวางไว้บนที่นั่งของท่านข้างนอก แล้วก็นำเอาขันธัมม์สำหรับที่ท่านเขียนมาไว้แถม และปูที่นอนสำหรับท่านจะได้พักผ่อนเวลากลางวัน แล้วก็ตำหมากด้วยบอกบด(ตะบันหมาก)หื้อละเอียด พอท่านไหว้พระเสร็จล้ว ก็นำเอาหมากที่เตรียมไว้ในบอกบดยื่นหื้อท่าน เมื่อท่านรับเอาแล้วก็เป็นอันว่าเสร็จการงานไปตอนหนึ่งแล้ว หลังจากนั้นท่านก็นั่งเขียนธัมม์ไป(คัดลอกพระไตรปิฏกโดยจารลงใบลาน)ส่วนเจ้าเวรก็นำเอาธัมม์มาท่อง(ท่องหรืออ่านคัมภีร์ใบลาน)ริมข้างทางท่องธัมม์ไปจนกว่าสัทธา (ศรัทธา)มาส่งเข้า(ข้าว)จะพร้อม (ครูบาเต๋จ๊ะท่านจ๋ารธัมม์ทุกวัน ได้วันละ ๑ผูก ๆหนึ่งมี๒๐ใบ จนไม่มีที่เก็บ ต้องสร้างหอธัมม์ไว้เก็บคัมภีร์ใบลานเหล่านี้ไว้ ปัจจุบันหอธัมม์และคัมภีร์เหล่านั้นยังมีอยู่ และได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี) เมื่อสัทธามาส่งเข้าพร้อมเสร็จแล้ว ท่านก็บอกเจ้าเวรไปยกบาตรและขันโตกมาไว้ที่ฉันเข้า แล้วท่านก็จะได้ลงปหื้อพรแก่สัทธาที่มาส่งเข้า ที่ศาลาบาตร หื้อพรเสร็จแล้วท่านก็ขึ้นไปบนกุฏิ เพื่อไว้พระ เมื่อไหว้พระเสร็จแล้ว ท่านก็ฉันเข้าบนกุฏิ ฉันแต่รูปเดียวท่าน ส่วนท่านรองและรูปอื่นๆๆพร้อมสามเณรทุกรูปฉันที่ศาลาบาตร เมื่อท่านฉันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านก็เรียก(เจ้าเวร)มายกเอาบาตรและขันโตกของท่านไปฉัน และล้างทำความสะอาด เรียบร้อยแล้วก็นำไปไว้ที่เดิม เมื่อฉันเช้าเสร็จเรียบร้อยแล้วประมาณ ๙ โมงก็พร้อมกันสูตร(สวด)ปัจจเวกขณ์ครั้งหนึ่ง เมื่อสูตรปัจจเวกขณ์จบแล้วก็ถือว่าหมดภาระกิจในตอนเช้า อู้(กล่าว)ถึงผู้ที่เป็นสามเณรเจ้าเวรในวันนั้น นับว่าเป็นผู้อยู่ปฏิบัติท่านตลอดวัน คอยรับใช้และต้อนรับแขกผู้เฒ่าผู้แก่ที่มาหาท่าน ผู้ที่มาเลิง(ผู้มาหมั่นหรือมาบ่อยที่สุด)ก็หันจะได้แก่ พ่อเฒ่าจั๋นทรบ้านท้องฝาย และพ่อเฒ่าอิ่นคำบ้านห้วยริน และคนอื่นๆๆที่จำบะได้ก็มีอยู่แถมหลายคน การที่ผู้เฒ่าผู้แก่และสัทธาต่างถิ่นมาหาท่าน ก็เพื่อมาขอหยูกยากับท่าน เพราะที่วัดท่านครูบาท่านได้ปลูกต้นยาไว้หลายอย่าง เช่นปิ๊จจ๊ะเมา จีปุ๊ก หมูปล่อย จอยนาง หมากขั่ง หัสสะกืน รางเย็น ขางครอบ และอื่นๆๆก็มีอยู่นัก เมื่ออุ้เถิงเจ้าเวร ผู้ที่เถิงเจ้าเวรถ้าเถิงเที่ยงวัน ก็นำเอาหลัวที่เตรียมไว้มาดังไฟแถม เพื่อต้มน้ำหื้อท่านอาบ แล้วก็อยู่ปฏิบัติหน้าที่ไปจนหมดเวลา พอเถิงห้าโมงเย็น สามเณรรูปใหม่ก็มารับหน้าที่ต่อไป ก็เป็นอันว่าหมดหน้าที่ของรูปเดิมแล้ว อู้เถิงการปฏิบัติกิจวัตรภายในวัดมีดังนี้คือ ก่อนฉันเข้า ก็พร้อมกันไหว้พระ เมื่อไหว้พระแล้วก็พร้อมกันฉัน เมื่อฉันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ได้พร้อมใจ๋กันสูตรปัจจเวกขณ์แถมครั้งหนึ่ง เมื่อสูตรแล้วก็เป็นอันว่าหมดวาระในตอนเช้าวันนั้นแล้วต่างคนก็ต่างทำงานไป มีการท่องธัมม์ บางพ่องท่องนวโกวาท และกระทำการอย่างต่อเนื่อง ส่วนผู้ที่เป็นเจ้าเวรก็ได้อยู่ใกล้ชิดกับครูบาท่าน เพื่อสะดวกแก่การรับใช้ เมื่อเถิงเวลาประมาณหกโมงเย็น(สิบแปดนาฬิกา)ก็ได้พร้อมกันสูตร(สวด)บนวิหารแฮ๋มครั้งหนึ่ง(อีกครั้งหนึ่ง)เมื่อสูตรแล้วต่างคนก็ต่างไปอ่านหนังสือ เป็นต้นว่า เรียนสูตรทั้งห้า สำหรับผู้ที่ยังบ่จบ ผู้ที่จบสูตรทั้งห้าแล้ว ก็เรียนอย่างอื่น เช่น นวโกวาท ส่วนเด็กโยมก็ท่อง “อนุญญาสิกโข”และคำขอบวชไปจนกว่าจะได้สูตรบนกุฏิ เมื่อเถิงเวลาประมาณสิบเก้าหรือยี่สิบนาฬิกา ท่านครูบาก็ตีระฆังสูตรแถมครั้งหนึ่ง เป็นการสูตรครั้งสุดท้ายของวัน เมื่อมาพร้อมกันหมดแล้วท่านก็ได้อบรมสั่งสอน หื้อได้ตั้งอยู่ในความดี หื้อมีระเบียบวินัย และบางวันท่านมีอารมณ์ดี ท่านก็เล่านิยายต่างๆๆหื้อฟัง มีวันนึ่งท่านจะมีอารมณ์ดีขนาดก็บ่ฮู้(รู้) ท่านได้กล่าวสอนว่า “การกระทำทุกอย่างของคนเรา อย่ากระทำหื้อเกินขอบเขต กระทำหื้อพอประมาณ อู้จ๋าอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี เล่นก็ดี อย่าเล่นหื้อเกินประมาณ ถ้าบ่ออย่างนั้นจะเข้าทำนองที่ว่า เล่นหมา หมาช่าง(ช่าง=มักจะ)เลียหน้า เล่นม้า ม้าช่างดีด เล่นจิ้งหรีดขบมือ กำมาถือเป็นแมงคอ ต่อผ่อหื้อถี่ขี้มียังคอ เล่นบ่อพอตกต๋าเซอะ” พวกสามเณรน้อยและขโยม(เด็กวัด)ใคร่หัวกันลั่น เมื่อเรามากึด(คิด)หื้อถี่(ให้ดี)ของคำบทนี้ เป็นบทเรียนที่ดีเหมือนกัน และมีแถมวันหนึ่ง ท่านก็สอนว่า “คนเราทำสิ่งใดหื้อได้รักชอบในสิ่งนั้น มีหน้าที่ตำแหน่งใด ก็ขอหื้อดั้กในหน้าที่ของตัวเอง เป็นพระก้ขอหื้อรักเพศของพระ”แล้วท่านก็กล่าวต่อไปว่า”เป็นนายหื้อรักหมู่ เป็นปู่หื้อรักหลาน เป็นพรานหื้อรักป่า เป็นเจ้าฟ้าหื้อรักชาวเมือง นุ่งผ้าเหลืองอย่าคิดการบ้าน เป็นคนขี้คร้านอย่าได้จาหาญ ตัวบ่อชำนาญอย่าได้อู้ ตัวบ่อรู้อย่าได้อาสา คำโบราณว่าไว้อย่างอี้ จุ่งหื้อชั่นถี่คนิงใน” บางวันท่านก็ได้เล่านิยายอย่างอื่นให้ฟัง และได้นำเอานิทานนานาต่างๆๆมาเล่าหื้อฟัง กระทำอย่างอี้กู่วัน(อย่างนี้ทุกวัน) ถ้าวันไหนท่านอารมณ์ดี การอบรมเมื่อพร้อมสูตรนานเถิ่งเกิ่ง(ครึ่ง)ชั่วโมง บางวันก็เลยเกิ่งชั่วโมงไปก็มี ทำเอาสามเณร หน้อย(น้อย)และขะโยมเหงาหลับไปตามๆๆกันก็มี เมื่อจะเริ่มต้นสูตร ท่านก็”โอกาสขันดอก”ก่อน เมื่อท่านโอกาสเสร็จแล้ว เจ้าเวรก็”โยขันดอก”แถม เมื่อโย...จบแล้ว ก็ได้เริ่มสูตร อิติปิโส ..สวากขาโต..สุปฏิปันโน..จบแล้ว สามเณรเจ้าเวรก็ได้นับวันแถม(การนับวันดูข้างท้าย) การนับวันก็ตามวันนั้นๆ ถ้าวันนี้เป็นวันอาทิตย์ก็นับวันอาทิตย์ วันจันทร์ก็นับวันจันทร์ ไปตลอดเถิงวันเสาร์ อย่างนี้ทุกวันแล เมื่อนับวันแต่ละวันแล้วก็ต่อด้วยสัคเค ถ้าเป็นวันพระก็ใช้สัคเคหลวง ถ้าบ่อใช่วันพระ ก็ใช้สัคเคน้อยแล้วก็ได้เริ่มสูตร(สวด)ท่านก็จะเริ่มด้วย นโมเม แล้วต่อด้วยเชยยเบงชร(ชัยยะบัญชร)ต่อด้วย “ยอคุณวัน”ตั้งแต่ อาทิจจะมัสสะมิ๋ง..ไปเรื่อยๆๆเถิ๋ง(ถึง)เกตุมัสสะมิ๋ง..แล้วก็เริ่มสูตรบทต่อไป ถ้าเดือนออกหรือแรมหนึ่งค่ำก็สูตร เย สันตา ไปตลอดถึงเดือนออกหรือแรมหกค่ำ ถ้าเดือนออกหรือแรมเจ็ดค่ำก็สูตร พุทธา ถ้าเดือนออกและแรมแปดค่ำ ก็สูตร มหาสเมยยสูตร(มหาสมัยสูตร) ถ้าเดือนออกหรือแรมเก้าค่ำเถิงออกและแรมสิบสามค่ำสูตร เอกะนามะกิง เดือนออกและแรมสิบสี่ค่ำสูตร พุทธา ถ้าวันเดือนเป็งและเดือนดับก็จะสูตร ธัมมจักกัปปวัตนสูตร สูตรอย่างนี้แลทุกเดือน สำหรับบทสูตรนั้นมีห้าผูกด้วยกัน คือเยสันตา(๑) เอกะนามะกิง(๒) มหาสเมยย(๓) พุทธา(๔)และธัมมจักกัปปวัตนสูตร(๕)...มีห้าผูกด้วยกัน ท่านเรียกว่าสูตรตังห้า(ทั้งห้า)ส่วนบทอื่นท่านก็เอามาสูตรเหมือนกัน เช่น บารมีสามสิบทัศ นับตั้งแต่ ทานบารมี ตลอดเถิงอุเบกขาปรมัตถปารมี บทนี้เอาสูตรทุกวัน เมื่อสูตรเรียบร้อยแล้วก็อ่าน(ท่อง)หนังสือ การอ่านและเรียนหนังสือสมัยนั้นลำบากมาก เพราะน้ำมันจะต๋ามส่องหนังสือก็บ่อมี ต้องใช้ยางไม้ เช่น ยางไม้แงะ ยางไม้เปา ที่ท่านเรียกว่า ขี้ย้า(ขี้ไต้) บางเตื่อก็มีพวกยาง(ปกากญอ)เอาขี้ย้าโก๋น(โก๋น=โพรงไม้)มาหื้อ โดยแรกกับสิ่งของ เช่นเข้าต้มเข้าหนม(ขนม)ในวันพระก็ใช้ขี้ย้านั้นแลต๋ามไฟเรียนหนังสือ พอเถิงยี่สิบเอ็ดยี่สิบสองนาฬิกาก็เลิกเรียนเข้าห้องนอน การเรียนหนังสือก็ได้กระทำดังนี้ คือได้จัดหื้อพระที่รองลงมาหรือสามเณรใหญ่ควบคุมดูแล และสอนหนังสือหื้อแก่สามเณรน้อยและขโยม โดยจัดหื้อสองหรือสามคนต่อครูหนึ่งคน ทั้งเช้าและเย็น อย่างนี้ทุกๆๆวัน จนครูบาท่านมรณภาพเมื่อ( พ.ศ.๒๔๗๙) เมื่อท่านครูบาเต๋จ๊ะมรณภาพลงแล้ว ทำหื้อคณะศรัทธาศิษย์โยมและศรัทธาทายกทายิกาทั้งหลายเป็นอันเศร้าโศรกไปตามๆๆกัน ต่อมาพระปัน อินทนันโท รองเจ้าอาวาสก็ได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแทน การสูตรและการกิจวัตรทุกอย่างที่เคยได้กระทำมาร่วมกับท่านครูบา ก็ได้ปฏิบิตามเดิมทุกอย่าง แล้วต่อมาการสูตรอย่างเดิมก็ได้ยกเลิกไป เพราะทางคณะสงฆ์หื้อทำวัตรเช้าและค่ำแทน จิ่ง(จึง)ได้เลิกการสูตรอย่างเดิมไป สำหรับเจ้าอาวาสใหม่ตอนนี้(พระปัน อินทนันโท)ได้รับภาระหนักมากพอสมควร เช่นได้ก่อสร้างกำแพงต่อ เพราะท่านครูบาท่านได้สร้างมายังไม่เสร็จ ยังไม่รอบวัด ท่านเจ้าอาวาสใหม่ก็ได้สร้างต่อไป ตอนน้พระภิกษุสามเณร ในวัดก็มีหลายพอสมควร ท่านก็ได้ให้พระภิกษุสามเณรปั้นดินกี่ช่วยกันพร้อมกับศรัทธา เวลานั้นสัทธาวัดป่าแดดมีบ่อนัก(ไม่มาก)จะมีประมาณร้อยกว่าหลังคาเรือน เพราะบ้านป่าแดด (บ้านห้วยไห)ยังบ่เป็นบ้านเตื่อ ยังเป็นป่าอยู่ ท่านเจ้าอาวาสก็ได้ตกดินกี่หื้อศรัทธาเรือนละพันก้อน หมู่สัทธาก็จ่วยกั๋น(ช่วยกัน)ปั้นตามท่านเจ้าอาวาสร้องขอ ส่วนพระภิกษุสามเณรก็ปั้นช่วยกันกับสัทธาผู้ที่บ่อปั้นก็ชื้อ เพราะมีผู้ปั้นขายพ่อง เวลานั้นชื้อขายกั๋นก้อนนึ่งก็สามสตางค์ ร้อยก้อนก็สามบาท พันก้อนก็สามสิบบาท เมื่อท่านได้ดินกี่แล้วก็ได้ช่วยกั๋นทั้งพระภิกษุสามเณรและศรัทธา เอากั๋นก่อกำแพงต่อที่ค้างไว้บ่อสำเร็จ จนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ได้จัดการถวายทานไว้ในพระพุทธศาสนาต่อไป วัดป่าแดด ตอนนั้นพระภิกษุสามเณรในวัดมีหลายรูปด้วยกัน ในปีพุทธสักราช ๒๔๘๒ เจ้าอาวาสวัดในตำบลช่างเคิ่งได้ว่างลงหลายวัด เช่น วัดท่งยาว วัดแม่ปาน ทางเจ้าคณะอำเภอจึงได้จัดหื้อ พระคำสาย เมธังกโร ไปรักษาการเจ้าอาวาสวัดท่งยาวหื้อพระอินทอง อินทปัญโญ ไปรักษาการเจ้าอาวาสวัดแม่ปาน แต่พระอินทองไปได้เฉพราะวันพระ เนื่องจากได้ดูแลและสอนโรงเรียนที่วัด โดยมีพระสี สุรินโท ได้อยู่ดูแลสามเณรกับท่านเจ้าอาวาส ปีต่อมา ได้อุปสมบทสามเณร(แห๋ม)อีกหลายรูป เช่น สามเณรดวง สามเณรก๋อง สามเณรตั๋น เมื่อสามเณรทั้งสามเมื่อสามเณรทั้งสามได้อุปสมบทเป็นพระแล้ว ปีต่อมาเจ้าอาวาสในวัดตำบลช่างเคิ่งก็ได้ว่างลง(แห๋ม)อีก เช่น วัดกู่ และวัดต่อเรือ สัทธาทั้งสองวัดนี้ก็ได้มาขอพระในวัดป่าแดดแห๋ม ท่านเจ้าอาวาสจิ่งหื้อพระดวง ธนัญชโญ ไปอยู่วัดกู่ แล้วหื้อพระก๋อง คัมภีโร ไปอยู่วัดต่อเรือ ตอนนี้พระคำสายและพระอินทองได้กลับมาอยู่ที่วัดเดิมแล้ว ในปีเดียวกันนี้ วัดช่างเคิ่งก็ได้ขาดเจ้าอาวาส สัทธาวัดช่างเคิ่งก็ได้ติดต่อขอพระวัดป่าแดดแห๋ม ท่านอาจารย์เจ้าอาวาสจิ่งงได้หื้อพระคำสาย เมธังกโร ไปรักษาการเจ้าอาวาสวัดช่างเคิ่ง ตามที่สัทธาวัดช่างเคิ่งขอร้อง และเจ้าอาวาสวัดยางหลวงก้ได้ลาสิกขาไปในปีนั้น ทำหื้อขาดเจ้าอาวาส สัทธาก้มาขอพระวัดป่าแดดแห๋มแล้ว ครั้นนี้ท่านอาจารย์ได้จัดหื้อพระอินทอง อินทปัญโญ ไปอยู่ปฏิบัติการเจ้าอาวาสในวัดยางหลวง ปีต่อมาท่านก็ได้อุปสมบทสามเณรเตื่อแห๋ม(เพิ่มอีก)หลาบองค์ เช่น สามเณรหมื่น สามเณรใจ๋ และวัดกองแขกก็ว่างเจ้าอาวาสลงแห๋ม บ่อมีเจ้าอาวาส สัทธาวัดกองแขกก็มาขอพระ ท่านอาจารย์จิ่ง(จึง)หื้อพระตั๋นจันทวังโส ไปรักษาการในวัดกองแขก ปีเดียวกันนี้ก็ได้อุปสมบทเณรแก้วแห๋ม เมื่อพระตั๋นกลับมาอยู่วัดเดิมแล้ว อาจารย์จิ่งหื้อพระหมื่น สุวัณโณ ไปอยู่วัดกองแขกแทนพระตั๋น แล้วปีต่อมา วัดสองยอด ตำบลแม่ศึกก็ได้ว่าลงแห๋ม บ่อมีเจ้าอาวาส สัทธาวัดสองยอดก็ได้มาขอพระในวัดป่าแดดแห๋ม ท่านอาจารย์เจ้าอาวาสก้อได้จัดหื้อ พระแก้ว โสภโณ ไปอยู่วัดสองยอด เมื่อพระที่ไปประจำพรรษาที่วัดอื่นๆที่ได้กล่าวมา ได้กลับมาอยู่ที่วัดเดิมแล้ว บางรูปก็ได้ลาสิกขาไป เหลือแต่พระอินทองและพระหมื่นได้มาอุปัฏฐากอาจารย์ และปีต่อมาอาจารย์ท่านก็ได้เป็นโรคจิตประสาทขึ้น(เป็นบ้า ถูกใส่ของ)เลยได้ลาสิกขาไป มีเหลือแต่พระอินทองได้รักษาการแทนเจ้าอาวาส เมื่อพระอิน ทองได้ลาสิกขาไปแล้ว พระหมื่นก็ได้อยู่แทน เมื่อพระหมื่นได้ลาสิกขาไปพระจั๋นตาเซิ่งเป็นพระที่บวชใหม่ในวัดป่าแดดนี้อยู่แทนแห๋ม เมื่อพระจั๋นตาได้ลาสิกขาไป ตอนนี้ก็เป็นอันวุ่นวายกันไปหมด มีพระหลายรูปจนจำชื่อปะได้มารักษาการเจ้าอาวาส ที่จำได้ก็มี พระใฝ พระใจคำ พระดี พระอินทอง พระดวงจั๋นทร์ พระเมืองใจ๋ พระอาจารญ์ดวงดี เป็นต้น เมื่อพระที่ได้กล่าวนามมานี้ได้ลาสิกขาไป บางรูปก็ได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น(พระอาจารย์ดวงดี ย้ายไปอยู่วัดยางหลวง เมื่อปี ๒๕๑๗)ทำหื้อวัดขาดเจ้าอาวาส สัทธาจิ่งได้ไปขอนิมนต์พระสมบูรณ์ วัดบ้านทัพมาอยู่รักษาการเจ้าอาวาส แล้วท่านพระสมบูรณ์ก็ได้อุปสมบทสามเณรคำปัน แล้วท่านก็ได้กลับไปอยู่วัดบ้านทัพตามเดิม เมื่อปี ๒๕๑๘ แล้วท่านพระคำปัน ก็ได้อยู่รักษาการเจ้าอาวาส ได้ก่อสร้างกุฎิสงฆ์เมื่อ ต้นปี(๒๕๑๙) จนเสร็จและฉลองเมื่อปี ๒๕๒๓ จนได้แต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้อุปสมบทสามเณรจำเริญ เมื่อปลายปี ๒๕๒๔ หื้อปฏิบัติงานด้วยกัน เมื่อพระคำปันได้ลาสิกขาไป เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖ พระจำเริญก็ได้อยู่รักษาการต่อมา ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ท่านพระจำเริญก็ได้รับแต่งตั้งหื้อเป็นเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าคณะตำบลปกครองวัดในเขตตำบลท่าผา ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ต้นปี พ.ศ.๒๕๓๕ ได้รับตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์ในเขตตำบลท่าผา และได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็นพระครูปิยธรรมาภิวัฒน์ ในปลายปีเดียวกัน ท่านพระครูปิยธรรมาภิวัฒน์ ได้ปฏิบัติการงานตามหน้าที่มาดวย้ดีตลอด มีพระภิกษุสามเณรที่อยู่จำพรรษาในวัด ในปีไหนก็หลายรูปด้วยกัน พระภิกษุปีหนึ่งก็ ๔-๕ รูปเป็นอย่างน้อย บางพรรษาก็มี ๗-๘ รูปก็มี สามเณรปีหนึ่งก็ซาวปล๋าย(๒๐ กว่าๆ)รูปทุกปี สำหรับสามเณรที่มีอยู่ในวัดป่าแดดนั้นมีหลายเผ่าหลายภาษาด้วยกัน มีทั้ง ม้ง กระเหรี่ยง และคนพื้นเมือง ขะโยมก็มีมาก บางปีมีเถิง(ถึง)๑๗-๑๘ คน ท่านพระครูก็ช่วยเหลือทุกอย่าง เป็นต้นว่าการศึกษา เครื่องนุ่งห่ม และช่วยสารพัดอย่างที่จำเป็น ท่านพระครูได้ปฏิสังขรณ์และได้ปลูกสร้างถาวรวัตถุหลายอย่าง เช่น ซ่อมแซมหอธรรม เมื่อปี ๒๕๓๓ สร้างอาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรม สร้างศาลาบาตรเสร็จเมื่อปี ๒๕๓๕ และอุโบสถเสร็จเมื่อปี ๒๕๔๓ ซึ่งได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา มาตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ ท่านพระครู...และพระใบฏีกาสุทัศน์ วชิรญาโณ เป็นรองเจ้าอาวาส ได้สนับสนุนหื้อ พระภิกษุสามเณรในวัดทำโครงการต่างๆๆ ที่ส่งเสริมการศึกษาและจัดการศึกษา อบรมแก่พระภิกษุสามเณร และเยาวชนชายหญิงในหมู่บ้านจัดตั้งกองทุนการศึกษา สำหรับมอบแก่เยาวชน ชาย-หญิง ผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาปีละ ๑๐๐กว่าทุน สิ้นทุนการศึกษาปีละ ๑๐๐,๐๐๐กว่าบาท มาตั้งแต่ปี ๒๕๒๙ และจัดกิจกรรมอื่นพร้อมกับการศึกษา และอาชีพของชาวบ้านอีกหลายอย่าง ปี ๒๕๔๑ ท่านพระครู...ได้ร่วมกับคณะสงฆ์ และศรัทธาประชาชนในตำบลท่าผา –กองแขก-บ้านทัพ ตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญแก่สามเณรภายในตำบล โดยเป็นสาขาโรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ในนาม โรงเรียนโพธิธรรมศึกษา และตั้งร้านค้าสหกรณ์ผ้าพื้นเมืองหื้อแม่บ้านในตำบล และสิ่งอื่นๆ หลายต่อหลายอย่างตามดังสายตาท่านได้หันอยู่ในวัดป่าแดดนี้ ด้วยการอุปถัมภ์ของคณะสัทธาวัดป่าแดด และทายกทายิกาผู้สัทธาในการทำศาสนกิจของคณะสงฆ์วัดป่าแดดจากที่ต่างๆๆทั้งในอำเภอแม่แจ่ม และต่างจังหวัดด้วยดีตลอดมา และท่านได้ลาสิกขาเมื่อต้นปี ๒๕๔๕ เมื่อพระครูปิยธรรมาภิวัฒน์ ได้ลาสิกขาไปแล้ว ท่านพระใบฏีกาสุทัศน์ วชิรญาโณ ก็ได้เป็นผู้สืบทอดเจตนาและอุดมการณ์ของวัดที่ได้ร่วมสร้างสรรค์มากับอดีตเจ้าอาวาสทุกรูปที่ผ่านมา และท่านยังได้ทำประโยชน์ไว้แก่คณะศิษย์ทั้งหลาย ท่านได้ส่งเสริมการเรียนการสอนทั้งพระภิกษุสามเณร ตลอดจนถึงเยาวชน ชาย-หญิง ในหมู่บ้าน ผู้ด้อยโอกาสในการศึกษาหื้อได้ศึกษาเล่าเรียนต่อไป พระใบฎีกาสุทัศน์ชอบประเพณีพื้นบ้าน จึงได้จัดงานขึ้นที่วัดป่าแดด หลายคราว มีชาวบ้านมาประกอบกิจกรรมต่างๆ ตามประเพณีพื้นเมืองอันเป็นผลของกิจกรรมการเรียนการสอนที่ฟื้นฟูศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านของโรงเรียนในวัดป่าแดด ซึ่งท่านตั้งชื่อว่าโรงเรียนโพธิธรรม ตามสมณศักดิ์ของท่านเจ้าคุณอุปัชฌาย์ คณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนาซึ่งอยู่ใต้ฉายาของมูลนิธิเสฐียรโกเศศ– นาคะประทีป ได้สนับสนุนกิจการของพระใบฎีกาสุทัศน์และวัดป่าแดดด้วยประการต่างๆ ดังต่อมาเกิดกลุ่มเสขิยธรรมขึ้น ด้วยความอนุเคราะห์ของท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต) แต่เมื่อท่านยังเป็นพระเทพเวที พระใบฎีกาสุทัศน์ก็เข้ามาร่วมในขบวนการนี้ เพื่อประยุกต์พุทธธรรมให้สมสมัย ดังได้เกิดเครือข่ายกัลยาณมิตรกันขึ้นในหมู่พระซึ่งต้องการอุทิศชีวิตเพื่อพรหมจรรย์ ยิ่งกว่าเห็นว่าการบวชคือบันไดเพื่อไต่เต้าไปสู่ความเป็นฆราวาสที่มีสถานะดีขึ้นทางสังคมต่อมา เมื่อเกิดเสมสิกขาลัยขึ้น เพื่ออุดหนุนพระเณร รูปชี แม้จนสามเณรีและภิกษุณี ตลอดจนอุบาสกอุบาสิกา ให้เห็นคุณค่าหรือสาระของการศึกษา แทนที่จะติดยึดอยู่กับระบบหรือสถาบัน ซึ่งไม่ช่วยให้เกิดความเป็นไท หากนี่เป็นไปในทางความงาม ความจริง และความดี พระใบฎีกาสุทัศน์ก็ร่วมมีบทบาทในหน่วยงานการศึกษาทางเลือกนี้ด้วยเช่นกันพระใบฎีกาสุทัศน์เป็นพระลูกวัดมาตลอด โดยท่านอุดหนุนเจ้าอาวาสทุกรูป และเจ้าอาวาสก็ไม่รังเกียจหรือหมั่นไส้ท่าน แม้ท่านจะมีกิจกรรมค่อนข้างมาก และมีความเป็นผู้นำอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ก็เพราะท่านอ่อนน้อมถ่อมตน และยกย่องอธิบดีสงฆ์อย่างจริงใจ ต่างก็ไม่มีความอิจริษยาซึ่งกันและกัน นี้นับว่าน่านิยมยกย่อง สมแล้วกับความเป็นสมณะต่อมา ญาติโยมไปขออนุญาตสร้างโรงอุโบสถขึ้นอย่างงดงามกระทัดรัด โดยได้อาจารย์วิถี พานิชพันธุ์ แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ออกแบบ ภาพจิตรกรรมไปประกอบผนังโบสถ์ ซึ่งสร้างด้วยไม้ จึงเห็นว่าเขียนภาพไปประดับไว้จะดีกว่า ตกลงกันแล้ว จึงขอให้นายทำนุ หริพิทักษ์ เป็นจิตรกร เพราะเขาคุ้นเคยมาแล้วกับการลอกภาพจากผนังวิหารที่วัดนี้ โดยได้บอกบุญญาติมิตรเพื่อนฝูงให้รับออกค่าวาดภาพเป็นภาพๆ หากขอไม่ติดชื่อคนทำบุญไว้ในโบสถ์ โดยขอให้จิตรกรเขียนภาพขนาดย่อมมอบให้คนทำบุญไปเก็บไว้เป็นที่ระลึก ผลก็คือได้ภาพครบผนังโบสถ์ โดยที่ภาพนั้นๆ เป็นไปในทางพุทธประเพณีด้วย และตามวัฒนธรรมล้านนาด้วย ทั้งนี้มีอาจารย์เครือมาศ วุฒิการณ์ และอาจารย์คำพูน บุญทวี เป็นผู้ช่วยเหลือเกื้อกูลอยู่มาก ดังภาพชุดนี้ได้นำไปลงไว้ในปฏิทินของมูลนิธิเด็กประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ด้วยแล้ว โดยมีนายพรพรหม ชาววัง ร่วมสร้างสรรค์ภาพประกอบอีกด้วยเมื่อมีผู้ไปกราบทูลเชิญเสด็จ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จไปเยี่ยมวัดป่าแดด เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๔๖ นั้น ผลงานต่างๆ ดังที่เล่ามาโดยย่อนี้ มีขึ้นเมื่อพระใบฎีกาสุทัศน์ยังเป็นลูกวัดอยู่ทั้งนั้น โดยท่านบ่ายเบี่ยงตำแหน่งอธิบดีสงฆ์ หรือตำแหน่งเจ้าคณะตำบลมาโดยตลอด ทั้งๆ ที่สถานะหลังนี้เป็นเหตุให้ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรด้วยก็ตาม คือท่านหลีกให้รูปอื่นเป็น แม้ท่านนั้นๆ จะอ่อนพรรษากว่าก็ตามที แต่แล้วพระใบฎีกาสุทัศน์ก็หนีการเป็นเจ้าอาวาส วัดป่าแดดไปไม่พ้น เมื่ออธิบดีสงฆ์ลาสิกขาไปอย่างกระทันหัน แต่แล้วอนิจจา วตสงฺขารา ก็มีข่าวมาเสียแล้วว่า พระสุทัศน์ วชิรญาโณ ถึงแก่มรณภาพไปด้วยโรคหัวใจวาย อย่างปัจจุบันทันด่วน เมื่อบ่ายวันที่ ๔ ตุลาคมนี้เอง (พระใบฎีกาสุทัศน์ วชิรญาโณ เกิดเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๐๙ เป็นบุตรนายสิงห์คำ และนางพันธ์ นะติกา บรรพชาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ และอุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๓๐ มรณภาพเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๗) เมื่อพระใบฏีกาสุทัศน์ วชิรญาโณ ได้มรณภาพลง พระสายันณ์สุทธิญาโณ จึงได้รับหน้าที่เจ้าอาวาสในปี พ.ศ.๒๕๔๗ มาจนถึงปัจจุบัน เรียบเรียงโดย พระขจร คุณธาโร เลข.จต.ท่าผา
พระขจร คุณธาโร เจ้าอาวาสวัดป่าแดด
พระขจร คุณธาโร ปัจจุบันอายุ 36 ปี บวชมาแล้ว 13 พรรษา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าแดด และยังดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการ เจ้าคณะตำบล
ประวัติด้านการศึกษาของพระขจร คุณธาโร
พระขจร คุณธาโร เจ้าอาวาสวัดป่าแดด จบการศึกษาศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) จากสถานบันการศึกษาโพธิธรรมศึกษาวัดศรีบุญเรือง เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.2542
อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าแดด
ครูบากุณา คุตฺตธมฺโม | ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
ครูบาเตชะ เตชโร (ฟั่น เตชวโร) | ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระคำปัน อินตสาโร (อินตา กรรณิกา (อมเม็ง)) | ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2479 ถึงปี พ.ศ.2487 |
พระจอมคำ (อินทอง) อินธปญฺโญ (อินทอง เจริญโรจน์) | ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2487 ถึงปี พ.ศ.2488 |
พระหมื่น สุวรรณโณ (สุวรรณ นัคคีย์ (ยางหลวง)) | ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2488 ถึงปี พ.ศ.2490 |
พระจันทร์ตา จันทรสาโร (จันทร์ตา ศรีเที่ยง(ยางหลวง) | ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2480 ถึงปี พ.ศ.2491 |
พระไฝ คุตฺตโม (ไฝ เทพปาณะ(อมเม็ง)) | ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2491 ถึงปี พ.ศ.2494 |
พระใจ๋คำ ขนฺติโก(ใจ๋คำ(อุ๊)โยรภัตร (ป่าแง)) | ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2494 ถึงปี พ.ศ.2498 |
พระอินทอง สุรินโท (ทอง แจ่มใส (ผานัง)) | ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2498 ถึงปี พ.ศ.2502 |
พระอธิการดวงดี วิสุทโธ (ณ วรรณ) | ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2502 ถึงปี พ.ศ.2503 |
พระดวงจันทร์ พรหมจาโร (ดวงจันทร์ ศรีมงคล)) | ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2503 ถึงปี พ.ศ.2504 |
พระเมืองใจ๋ อินฺทปญฺโญ (ใจ๋ เทพปาณะ)) | ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 ถึงปี พ.ศ.2505 |
พระดี จิตฺตทนฺโต (ดี ไชยบุตร (ป่าแง)) | ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2505 ถึงปี พ.ศ.2512 |
พระสมบุรณ์ จนฺทปญฺโญ (สมบูรณ์ สุปิณะ) | ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 ถึงปี พ.ศ.2518 |
พระคำปัน โสตฺฺถิโก (คำปัน กรรณิกา(บ้านใหม่)) | ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 ถึงปี พ.ศ.2525 |
พระครูปิยธรรมาภิวัฒน์ (จำเริญ ต๊ะสม(ห้วยให)) | ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 ถึงปี พ.ศ.2545 |
พระใบฏีกาสุทัศน์ วชิรญาโณ (ปี่ตุ๊มี มรณะ 4 ต.ค 47) | ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 ถึงปี พ.ศ.2547 |
พระสายัณห์ สุทธิญาโณ | ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 ถึงปี พ.ศ.2559 |
พระขจร คุณธาโร | ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 ถึงปัจจุบัน |
ประเพณี 4 เป็ง การดังหลัวพระเจ้า (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดป่าแดด
งานสลากภัตร (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดป่าแดด
การสืบชะต๋า (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดป่าแดด
ภาษาล้านนา และการเผยแพร่ศาสนา (ภาษา) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดป่าแดด
กิจกรรมของวัดป่าแดด (วิถีชีวิต) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดป่าแดด
การจัดการศึกษาภายในวัดป่าแดด
- โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
- ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.)
- ศูนย์อบรมเด็กก่อนวัยเรียน
แผนที่ตำแหน่งที่ตั้งวัดป่าแดดอ้างอิงจาก Google Map