ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดอมเม็ง
- ชื่อวัด: วัดอมเม็ง
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 2 รูป
- สามเณร: 6 รูป
- ที่ตั้ง: เลขที่ 62 หมู่ 8 อมเม็ง ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปษณีย์ 50270
- เนื้อที่: 3ไร่ 7ตารางวา
- ผู้มอบกรรมสิทธิ์ที่ดิน: นส.3กเลขที่296
ประวัติความเป็นมา
วัดอมเม็ง ตั้งอยู่เลขที่ ๖๒ หมู่ที่ ๘ บ้านอมเม็ง ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๓ ไร่ ๗ ตารางวา น.ส.๓ก เลขที่ ๒๙๖ อาณาเขตทิศเหนือประมาณ ๒๓ ตารางวา จดถนนและป่า ทิศใต้ประมาณ ๒๕ ตารางวา จดบ้านราษฎรได้รับเป็นวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ เดิมทีสถานที่วัดอยู่ที่บริเวณแถวถนนใหญ่หน้าวัดมีชื่อเรียกว่า อารามวัดป่ามะหิน (ป่าก้อนหิน) สร้างประมาณพ.ศ.๒๔๔๐ เดิมทีบริเวณวัดมีเสนาสนะประกอบด้วยศาลาที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ไม้แดงมุงด้วยใบตองใช้เป็นที่ปฏิบัติกิจสงฆ์ และที่ปฏิบัติธรรม ของประชาชน กุฏิพระก็ทำด้วยไม้ไผ่ กำแพงวัดก่อด้วยก้อนหินเป็นชั้นๆ พระภิกษุที่มาอยู่จำพรรษานั้นส่วนใหญ่มาจากที่อื่นไปๆมาๆไม่แน่นอน ทำให้ของสำคัญหลายชิ้นสูญหายพระพุทธรูป คัมภีร์ ใบลาน และของโบราณหลายสิ่งสูญหาย ทำให้ประวัติวัดสูญหาย ต่อมาเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานมากขึ้นเริ่มจะมีพระมาอยู่ประจำ เท่าที่ทราบนาม รูปที่ ๑ พระมูล อยู่ได้หลายพรรษา ซึ่งท่านได้ธุดงค์มา และได้พัฒนาวัดป่ามะหินจนท่าน มรณภาพ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๐ ได้นำกระดูกไปใส่ในสถูป เลยเรียกว่าท่ากู่ ปัจจุบัน ไม่เหลือให้เห็นแล้ว เหลือแต่ชื่อต่อมา มีรูปที่๒ คือพระดำ มาอยู่จำพรรษา ต่อมาก็ลาสิกขาไป ชาวบ้านได้ย้ายมาตั้งวัดในที่ปัจจุบัน สร้างวิหารทรงล้านนา นำโดยพระอินตา วัดป่าแดด พร้อมด้วยประชาชน เดิมทีมุงด้วยใบตอง ต่อมามุงด้วยแป้นเกร็ด และฉลองปอยหลวง ต่อมาก็มีการรื้อถอนวิหารออก เนื่องจากทรุดโทรม และไม่มีทุนทรัพย์ในการซ่อม รื้อถอน พ.ศ.๒๕๓๘ ได้รับการแต่งตั้งวัด เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒ (เรียบเรียงโดยพระขจร คุณธาโร)
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2470
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 29 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2552
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดอมเม็ง
ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมของวัดและการท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม .....ประเพณียี่เป็ง....วันที่เริ่ม......๒๔ พฤศจิกายน......เวลาเริ่ม......๐๘.๐๐ น.......วันที่สิ้นสุด.........๒๕ พฤศจิกายน.......เวลาสิ้นสุด..........๐๐.๐๐น. ..... รายละเอียดกิจกรรม...มีการเทศนาธรรม มหาชาติตั้งแต่เช้าจนสิ้นสุดธรรมผูกสุดท้าย มีการทำบอกไฟดอก จุดโคมไฟ โคมลอย หมายเหตุ วันเวลาไม่แน่นอนของแต่ละปี ต้องดูวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี ประเพณีสี่เป็งตานเข้าใหม่เผาหลัวพระเจ้า.......วันที่เริ่ม......วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน๔.....เวลาเริ่ม........๐๔.๐๐น. วันที่สิ้นสุด..........วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔......................เวลาสิ้นสุด..........๑๐.๐๐น.................................... รายละเอียดกิจกรรม.....มีการเผาหลัวพระเจ้า หรือ ผิงไฟให้พระพุทธรูป มีการทำบุญถวายข้าวใหม่ตอนเช้า และมีการทำบุญตลอดทั้งวันทั้งคืน...............* หมายเหตุ เดือน ๔ เป็ง เหนือ เดือน ๑ มกราคมไทย..................................
ความน่าสนใจภายในวัดอมเม็ง
ข้อมูลศาสนสมบัติ พระพุทธรูปทองเหลือง พระสิงห์สาม..ไม่ทราบประวัติความเป็นมา แต่เมื่อเริ่มเป็นชุมชนหารือนำมาจากวัดร้างเนื่องจากมีผู้คนต่างถิ่นจะมาเอาไป ไม่สามารถ นำไปได้พยายามอยู่หลายครั้ง จนชาวบ้านเห็นความสำคัญจึงนำมาไว้ที่วัด
ข้อมูลเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2555
พระสุรชัย อคฺคธมฺโม เจ้าอาวาสวัดอมเม็ง
พระสุรชัย อคฺคธมฺโม
ปัจจุบันอายุ 25 ปี
บวชมาแล้ว 5 พรรษา
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดอมเม็ง และยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส
ประวัติด้านการศึกษาของพระสุรชัย อคฺคธมฺโม
พระสุรชัย อคฺคธมฺโม เจ้าอาวาสวัดอมเม็ง
จบการศึกษาศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6)
อดีตเจ้าอาวาสวัดอมเม็ง
พระมูล |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระดำใจล้าน |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2450 ถึงปี พ.ศ.2466 |
พระอธิการหนิ้ว คณฺโฑ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2473 ถึงปี พ.ศ.2524 |
พระเป็ง กลฺยาโณ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 ถึงปี พ.ศ.2525 |
พระป๊อก จนฺทสาโร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 ถึงปี พ.ศ.2527 |
พระสุรัตน์ สุชาโต |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 ถึงปี พ.ศ.2540 |
พระอธิการอินตา อินทวญฺโณ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 ถึงปี พ.ศ.2556 |
พระสุรชัย อคฺคธมฺโม |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 ถึงปี พ.ศ.2560 |