ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดร้องขี้เหล็ก
- ชื่อวัด: วัดร้องขี้เหล็ก
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 1 รูป
- สามเณร: 2 รูป
- ที่ตั้ง: เลขที่ 154 หมู่ 7 ร้องขี้เหล็ก เชียงใหม่-ฮอด ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปษณีย์ 50220
- เนื้อที่: 5 ไร่ 2 งาน 92 ตารางวา
ประวัติความเป็นมา
วัดร้องขี้เหล็ก ตั้งอยู่เลขที่ 154 บ้านร้องขี้เหล็ก หมู่ที่ 7ตำบล เชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ที่ดินตั้งวัด มีเนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน 92 ตารางวา โฉนดเลขที่ 22585 อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ศาลาเอนกประสงค์ และวิหารโบราณ ศิลปกรรมล้านนาไทย เรื่อง"สุวรรณวงศ์หงส์หิน" และเรื่อง"พระมาลัยโปรดสัตว์" ฝีมือจิตรกรชาวไทยใหญ่ วิหารหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2471 ส่วนปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูปปูน ธรรมาสน์สมัยโบราณ และพระพุทธรูปขนาดเล็ก
วัดร้องขี้เหล็กเริ่มก่อตั้งขึ้นเป็นวัดเมื่อ พ.ศ.2321 โดยชาวบ้านไทยใหญ่(เงี้ยว) และไทยเขิน เป็นผู้สร้างได้พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2464 การศึกษา มีศูนย์พุทธศาสนาวันอาทิตย์ เปิดสอน พ.ศ.2521 นอกจากนี้ในวัดยังมีห้องสมุดที่อ่านหนังสือพิมพ์สำหรับประชาชน และหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2321
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2462
ความน่าสนใจภายในวัดร้องขี้เหล็ก
วิหารโบราณล้านนาไทย เป็นผลิตผลแห่งภูมิปัญญาชาวบ้าน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2471 แสดงถึงศิลปะสถาปัตยกรรมล้านนาไทย โบราณ หน้าบันประกอบด้วยไม้สักและสลัก และประดับด้วยกระจกสีงดงาม ภายในประกอบด้วยเครื่องบนและเสาไม้สักกลมทั้งต้น นอกจากนี้มีพระประธานปางมารวิชัย ปูนปั้นปิดทององค์ใหญ่ มีพระพุทธรูปองค์เล็กอยู่ข้างละ 2 องค์ มีธรรมาสน์บุษบกไม้สักที่วิจิตรงดงาม ส่วนที่น่าสนใจที่สุด คือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนด้วยสีฝุ่นจีน ฝีมือจิตรกรชาวไทยใหญ่ เกี่ยวกับเรื่อง พระเวสสันดรชาดก พระมาลัย และวรรณกรรมท้องถิ่นสุวรรณวงศ์หงส์หินพระภิกษุ สามเณรและ อุบาสกอุบาสิกขา จะมาพร้อมกับประกอบกิจกรรมศาสนาในวิหารนี้ทุกวันพระ และวันอาทิตย์ และยังพระธาตุเกศแก้วจุฬามณีที่มีความโดดเด่น สวยงาม การสร้างใช้กระจกสีติดเหมือนพระแก้วมรกต และยังมีพระเจ้าทันใจ องค์ใหญ่สีขาวสวยงามหันหน้าออกทางประตูวัด
ข้อมูลเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2555
พระอธิการประเสริฐ ญาณวีโร เจ้าอาวาสวัดร้องขี้เหล็ก
พระอธิการประเสริฐ ญาณวีโร
ปัจจุบันอายุ 68 ปี
บวชมาแล้ว 33 พรรษา
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดร้องขี้เหล็ก
ประวัติด้านการศึกษาของพระอธิการประเสริฐ ญาณวีโร
พระอธิการประเสริฐ ญาณวีโร เจ้าอาวาสวัดร้องขี้เหล็ก
จบการศึกษาศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 (ป.4) เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.
อดีตเจ้าอาวาสวัดร้องขี้เหล็ก
พระครูบาต๋า |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระครูบาน้อย |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระครูบาอินตา ธมฺมปญฺโญ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2456 ถึงปี พ.ศ.2513 |
พระครูวิสิฐบุญสาร กตปุญโญ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2424 ถึงปัจจุบัน |
นายเรวัฒน์ พรหมรักษ์ (ศิลปิน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดร้องขี้เหล็ก
ที่อยู่ 80/1 ม.7 ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 50220 เป็นซอพื้นเมือง เป็นช่างซอคือการเล่าเรื่องราวประเพณีวัฒนธรรมรูปแบบของซอ ชาย-หญิง สองคนปี่สี่เหลี่ยมประกอบด้วย ปี่แม่,ปี่กลาง,ปี่เล็ก,ปี่ก้อย,ซึง และประเพณีขึ้นขันธ์ครู แสดงในงานบวช งานปอยหลวง ขึ้นบ้านใหม่
นายทองคำ บุญยศยิ่ง (ปราชญ์ชาวบ้าน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดร้องขี้เหล็ก
ที่อยู่ 92 ม.7 ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 50220 มัคทายก เป็นนำบทสวดเช่น ถวายทาน เป็นต้น เป็นผู้รู้เกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนา บายศรีสู่ขวัญหรือพิธีฮ้องขวัญ นำกินนำทานในหมู่บ้าน
ไทยเงี้ยว ไทเขิน (วิถีชีวิต) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดร้องขี้เหล็ก
มีภาษเป็นเอกลักษณ์ ชาวบ้านที่อพยพมาจากเมืองเชียงตุงในแคว้นฉานทางตอนเหนือ ของประเทศพม่า ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าอพยพมาหมู่บ้านร้องขี้เหล็ก และหลายๆตำบลของอำเภอดอยสะเก็ด ซึ่งถูกพม่าขับไล่มาจากเมืองเชียงตุงจึงได้อพยพพม่าตั้งถิ่นฐานบริเวรแห่งนี้ อุดมไปด้วยพืชพันธ์ธัญญาหาร
ภาษเงี้ยวหรือไทเขิน (ภาษา) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดร้องขี้เหล็ก
ภาษานี้มาจากชาวไทยใหญ่ มาจากเมืองเชียงตุงในแคว้นฉานทางตอนเหนือของประเทศพม่าอพยพมาอยู่ที่หน้าหมู่บ้านร้องขี้เหล็ก และหลายๆที่ในตำบลของอำเภอดอยสะเก็ดจึงใช้ภาษาเงี้ยว ตั้งแต่นั้นมา
ปี๋ใหม่เมือง (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดร้องขี้เหล็ก
เป็นประเพณีเมื่อวันที่ 13 เมษายน จะทำการปัดกวาด ทำความสะอาด ล้างสิ่งไม่ดีชำระล้างต่างๆ เช่น ซักผ้า เป็นต้น วันที่ 14 จะเป็นการพาครอบครัวมาขนทรายเข้าวัด วันที่ 15 เป็นการทำบุญต่างสืบชะตา นำตุง มาปักบนกองทราย
ทานก๋วยสลาก (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดร้องขี้เหล็ก
ตานก๋วยสลาก ซึ่งนิยมทำในช่วงกลางพรรษา เป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ได้ปฏิบัติสืบมาจนถึงรุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย ก่อนถึงวันตานก๋วยสลาก 1 วัน เขาเรียกว่าวันดา หรือวันสุกดิบ ได้จัดเตรียมข้าวของ ไม่ว่าจะเป็นของกินของใช้ต่างๆ สำหรับจัดมาใส่ก๋วยสลาก เพื่อถวายทานไปหา พ่อแม่ ญาติพี่น้องกันที่ล่วงลับดับขันธ์ไปแล้ว
การทำไม้กวาดและจักรสาน (ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดร้องขี้เหล็ก
นายแก้ว คำพิศ ทำไม้กวาทางมะพร้าว และนายบุญช่วย ศรีทาเกิด ทำเกี่ยวกับจักรสานตะกร้า
การแกะสลัก (ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดร้องขี้เหล็ก
คือการแกะสลักลวดลายโบราณบนแผ่นไม้ให้ออกมาเป็นรูปร่างที่สวยงามเหมือนการกวาดภาพลงแผ่นไม้ แต่จะเป็นลักษณะของลวดลายมีเว้านูนบนแผ่นไม้
ฟ้อนกลายลาย (ศิลปการแสดงและดนตรี) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดร้องขี้เหล็ก
เป็นการฟ้อนพื้นบ้านที่มีการปรับเปลี่ยนท่าฟ้อนโดยนำลีลาท่าฟ้อนเชิง เข้าไปผสมผสานกับท่าฟ้อนรำ ฟ้อนเมืองหมายถึง การฟ้อนพื้นบ้านในล้านนา
สะล้อ ซอ ซึง (ศิลปการแสดงและดนตรี) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดร้องขี้เหล็ก
เป็นการเล่นเครื่องดนตรีพื้นเมืองต่างๆ ภายในวัดและหมู่บ้านตามงานต่างๆ เช่น มีส่วนประกอบคือ สะล้อ ซอ ซึง ฉิ่ง ฉาบ กลอง ปี่ ขลุ่ย เป็นต้น
การจัดการศึกษาภายในวัดร้องขี้เหล็ก
การจัดการศึกษาภายในวัดร้องขี้เหล็กนั้น จะประกอบไปด้วย
- ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
- ศูนย์ฝึกอบรมอาชีพ
- ศูนย์อบรมประชาชนประจำตำบล