วัดรังษีสุทธาวาส สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2317 ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดเมืองลวงใต้” ตามชื่อของชุมชนที่ตั้ง ถิ่นฐานซึ่งเป็นชาวไทลื้ออพยพมาจากเมืองลวงใต้เดิมที่สิบสองปันนา (พ.ศ.2317-2417) วัดเดิมชื่อ“วัดศรีนางแยง” แต่ไม่มีการบันทึกประวัติ สันนิษฐานว่าสร้างพร้อมกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนไทลื้อใน ยุคสร้างบ้านแปงเมืองสมัยพระเจ้ากาวิละขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ และอพยพมาเรื่อยๆ จนถึงยุคของเจ้า แก้วนวรัฐ ซึ่งเป็นยุคสุดท้ายของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อสร้างวัดได้จัดการบริหารและการปกครอง โดยเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม 9 รูป คือ
รูปที่ 1 พระทองมั่น พ.ศ. 2317-2333
รูปที่ 2 พระยอดแก้ว รตนปญฺโญ พ.ศ. 2333-2417
รูปที่ 3 พระสุรินทร์ อคฺคปญฺโญ พ.ศ. 2417-2455
รูปที่ 4 พระอธิการ แสง พฺรหฺมสโร พ.ศ. 2455-2465
รูปที่ 5 พระคำแสน ปญฺญาทีโป พ.ศ. 2465-2468
รูปที่ 6 พระอธิการแก้ว จนฺทรสี พ.ศ. 2477-2480
รูปที่ 7 พระครูสิริสุทธาจาร (ครูบาแสงปัน) พ.ศ. 2480-2516
รูปที่ 8 พระครู รัตนปัญญากร (ดำรงเดช) พ.ศ. 2516-2538
รูปที่ 9 พระครูสุตธรรมวิจิตร (วินัย วิจิตฺตธมฺโม) พ.ศ. 2539-ปัจจุบัน
- วิหาร/อุโบสถ สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2317 เป็นสถาปัตยกรรมแบบท้องถิ่นล้านนา โครงสร้างอิฐถือปูน บูรณะครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2480 บูรณะครั้งที่ 2 เมื่อปีพ.ศ.2534 คงสภาพถึงปัจจุบัน ทำหน้าที่เป็นทั้ง อุโบสถและวิหาร ในการประกิจกรรมทางพุทธศาสนา
- สมาคมไตลื้อแห่งประเทศไทย/พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตวัฒนธรรมไตลื้อ/ หอธรรม สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2496 เป็นอาคารทรงไทยล้านนา 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูนทาสีขาวตกแต่งหน้าบรรณลวดลายประดับ ตั้งอยู่ 2 กลางสระน้ าก่อผนังคอนกรีต ซึ่งได้รับการบูรณะตัวอาคารและภูมิทัศน์มาแล้ว 1 ครั้งแต่ไม่ทราบปีพ.ศ. ใช้ประโยชน์ในการเป็นหอธรรมและเป็นพิพิธภัณฑ์เก็บรวมรวมหนังสือธรรมมะ พระธรรมคัมภีร์ที่มี มาพร้อมกับการสร้างวัด พระไตรปิฎก วัตถุศิลป์และสิ่งของทางวัฒนธรรมของชุมชน
- เจดีย์ สร้างเมื่อพ.ศ. 2501 กว้าง 7 เมตรสูง 18.5 เมตร สถาปัตยกรรมแบบล้านนา เป็นที่ยึดเหนี่ยว ทางจิตใจของประชาชน สืบเนื่องจากครูบาอภิชัยขาวปีได้นั่งปฏิบัติธรรมกรรมฐานตรงนั้น ชาวบ้านจึง ขอเมตตาครูบาอภิชัยขาวปีเป็นประธานในการก่อสร้างเจดีย์ก าหนดวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2501 ตรงกับเดือน 8 เหนือแรม 7 ค่ า เวลา 13.00 น. บรรจุพระธาตุ วันพุธที่ 18 ธันวาคม 2501 เวลา 13.00 น. สมโพชน์ ในวันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม 2501 เวลา 12.30 น. บรรจุแกนพระธาตุ วันที่ 22 มกราคม 2502 เดือน 8 เหนือ ขึ้น 13 ค่ า เวลา 10.00 น. ทุกปีชาวบ้าน จะร่วมกันสรงน้ าพระ ธาตุโดยถือเอาเดือน 8 ออก 8 ค่ า เป็นวันท าบุญประจ าปี นิมนต์หัววัดมาร่วมท าบุญและรับไทยธรรม 31 วัด
- กุฏิสงฆ์สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2511 จากศรัทธาของชุมชนเป็นระยะเวลาร่วม 5 ปี จึงสร้างเสร็จในปี 2516 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบเรียบง่าย 2 ชั้นมีระเบียงด้านหน้าตลอดแนว ได้รับการบูรณะทาสีใหม่ ในช่วงปีพ.ศ. 2552 ปัจจุบันสร้างต่อเติมเป็นศาลาเก็บของและวัสดุในการประกอบกิจกรรมประเพณี ต่างๆ ที่ด้านข้างกุฏิ
- หอฉัน สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2505 เป็นอาคารเรือนไม้แบบล้านนาโบราณยกใต้ถุนสูง มีมุขยื่นด้านหน้า แบบเปิดโล่ง หลังคาปั้นหยา 2 ชั้น ยังคงสภาพแบบเดิมแต่ทรุดโทรม มีการบูรณะหลายครั้งด้วยการน า ไม้เก่ามาซ่อมแซม หลังคาเปลี่ยนจากแป้นเกล็ดเป็นกระเบื้องลอน โดยไม่มีการบันทึกประวัติที่แน่นอน อดีตใช้เป็นศาลาการเปรียญประกอบกิจกรรมทางพุทธศาสนาและโรงฉันท์ หาดูได้ยากและสูญหายไป และในปปัจจุบันได้รื้อหอฉันหลังเดิมและมีการก่อสร้างใหม่เป็นที่เรียบร้อย
- โรงครัวและเก็บวัสดุ สร้างเมื่อพ.ศ. 2527 โครงสร้างก่ออิฐถือปูนแบบเรียบง่ายชั้นเดียว ลักษณะเป็น อาคารโถงโล่งกว้าง-ยาวประมาณ 6 X 21 เมตรใช้เป็นโรงครัวของกลุ่มแม่บ้าน เก็บวัสดุ และประกอบ กิจกรรมอเนกประสงค์
- ศาลาอเนกประสงค์/ศาลาศรัทธารวมใจอุปถัมภ์ สร้างเมื่อปีพ.ศ.2539 สถาปัตยกรรมล้านนา ประยุกต์ โครงสร้างก่ออิฐถือปูนชั้นเดียวแบบห้องโถงโล่งมีมุขด้านหน้า หลังคาประดับช่อฟ้า ใบระกา ผนังภายในอาคารตกแต่งด้วยภาพวาดจิตรกรรมเรื่องราววิถีชีวิตของชุมชนชาวไทลื้อ ใช้สาธารณะ ประโยชน์
- หอระฆัง สร้างเมื่อปีพ.ศ.2539จากศรัทธาคุณแม่จิวมิ้ง เอ็งเอี่ยวเซี้ยม หอระฆังก่ออิฐถือปูนทรงสูง 2 ชั้น ประดับช่อฟ้า และยกฉัตรทอง
- เสื้อวัด ศาลหรือสถานที่เคารพสักการะเทพผู้ดูแลวัดและชุมชน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสร้างวัด มีการบูรณะปรับปรุงอยู่เสมอหากสภาพทรุดโทรมโดยศรัทธาจาก 3 ชุมชนหรือเจ้าบ้าน ปัจจุบันโครงสร้างก่ออิฐถือปูนมีหลังคาคลุมแบบเรียบง่าย
10. บ่อน้ำ บ่อน้ำโบราณ 5แห่ง ทางทิศตะวันออกใกล้แนวกำแพงวัด 1 แห่ง ใกล้กับแท็งก์น้ำ 1 แห่ง และด้านข้างวิหารทางทิศเหนือ 1 แห่งไม่ทราบปีพ.ศ. ที่ขุดสร้าง สันนิษฐานว่ามีมาพร้อมกับการสร้าง วัดเพื่อการอุปโภค บริโภคของชุมชนในอดีตที่ยังไม่มีน้ าประปาใช้สอย ปัจจุบันไม่ได้ใช้งานแล้ว และ ยังมีด้านข้างกุฏิสงฆ์ 1 แห่ง เป็นบ่อบาดาลใช้สอยเพื่อการอุปโภค
11. กุฏิที่ประดิษฐ์สถานรูปเหมือนครูบาอภิชัยขาวปีสร้างเมื่อปีพ.ศ. 2551 โดยศรัทธาของชุมชน สืบเนื่องจากครูบาได้มาเป็นประธานสร้างเจดีย์พระธาตุ ชาวบ้านจึงได้มองเห็นคุณูปการของครูบาที่มี ต่อพระพุทธศาสนา จึงได้สร้างกุฏิและรูปเหมือครูบาไว้เป็นที่กราบไหว้และรำลึกถึงคุณความดีของครูบา
12. ซุ้มประตู/ประตูทำงเข้ำ สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2549 ซุ้มประตูทางเข้าหลักอยู่ทางทิศใต้ ลักษณะเป็นซุ้ม ประตูโขงก่ออิฐถือปูนประดับลายปูนปั้นยกฉัตรทอง มีช่องเปิดแนวก าแพงเป็นประตูทางเข้าขนาดเล็ก 3แห่ง ด้านแนวก าแพงฝั่งตะวันออกเป็นช่องเปิดก าแพง กว้าง 1 เมตร ฝั่งตะวันตกเป็นประตู 2 เสามีรูป เทวดาพนมมือที่หัวเสา กว้าง 2 เมตร และทิศเหนือ(ปัจจุบันปิดตายเนื่องจากติดสวนชาวบ้าน) และ ประตูตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเปิดก าแพงกว้างถึง 6 เมตรส าหรับการเข้า -ออกในช่วงเทศกาลต่างๆ โดยมี ประตูเหล็กไว้ปิดเปิดเมื่อมีการใช้งาน
13. กำแพงวัด เป็นกำแพงก่ออิฐถือปูนแบบล้านนาประยุกต์สูง 2 เมตรมีรูปเทวดา ที่หัวเสา ได้รับการบูรณะหลายครั้ง ส่วนทิศเหนือและตะวันออกลักษณะเป็นก าแพงอิฐบล็อกแบบเรียบ ง่ายสูง 2 เมตรทาสีขาว
14. อาคารแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ไตลื้อ / บ้านไตลื้อ เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการ วิถีชีวิต และ จำหน่ายของที่ระลึกผลิตภัณฑ์ไตลื้อ ตลอดจนรองรับกิจกรรมโฮมสเตย์(Home stay) สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2547 โดย ดต.ประดิษฐ์ สอาดล้วน นายกเทศมนตรีต าบลดอยสะเก็ด ได้ริเริ่มให้มีการสร้างบ้านทรง ไตลื้อหรือไทลื้อ และประสานความร่วมมือกับคณะกรรมการหมู่บ้านศึกษาแบบบ้านไทลื้อในประเทศไทยหลายแห่ง โดยมอบหมายให้นายธานินทร์ อาจรอด วิศวกรโยธา เทศบาลตำบลดอยสะเก็ด ถอด แบบจากบ้านไทลื้อต้นแบบ บ้านหย่วน อ.เชียงค า จ.พะเยา ออกแบบปลูกสร้างให้เหมาะสมกับพื้น ที่ดิน 1 งาน 36 ตารางวา ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัด สร้างเสร็จปลายปี 2548 ซึ่งศรัทธาบ้านเมืองลวงใต้ได้ ร่วมท าบุญบริจาค 400,000 บาท จัดซื้อมอบให้เป็นสมบัติของวัดรังษีสุทธาวาสนับตั้งแต่ปีที่สร้างเสร็จ ท าบุญฉลองขึ้นบ้านใหม่ เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 6 เมษายน 2549 เวลา 09.39 น. นิมนต์พระสงฆ์ 33 รูป ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ประธานฝ่ายสงฆ์ คือ พระเทพวิสุทธิคุณ เจ้าคณะจังหวัด เชียงใหม่ เจ้าอาวาสวัดบุพพาราม ในสมัยนั้น และเชิญนายสุวัฒน์ ตันติพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็น ประธานพิธีเปิดป้ายบ้านไทลื้อ
15. โรงเก็บวัสดุอุปกรณ์ สร้างเมื่อปี 2551 เป็นอาคารโล่งแบบเรียบง่ายหลังคาคลุม ขนาดประมาณ 9X4 4 เมตร พื้นคอนกรีต ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดแนวก าแพงวัด
16. แท็งก์น้ำประปาและเครื่องผลิตน้ำดื่มชุมชน สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2551 บริเวณบ่อน้ำทางทิศใต้และ บริเวณใกล้ประตูทางเข้าวัด เพื่อผลิตน้ำในการอุโภคและบริโภคภายในวัดและบริการชุมชน
17. บริเวณที่ตั้งสถูปเจดีย์หรือกู่บรรจุอัฐิ บริเวณที่มีจิตวิญญาณ ศรัทธาและความเชื่อ อยู่ติดแนวก าแพง ทางประตูด้านทิศตะวันออก มีเจดีย์หรือกู่ของบรรพบุรุษจำนวนมากไม่มีการบันทึกประวัติของบริเวณ
18. ห้องน้ำ-สุขา ก่อสร้างเมื่อปีพ.ศ.2553 อาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็ก 12 ห้องแยกห้องน้ าชาย-หญิง และ มีห้องน้ำ สำหรับคนพิการและคนชรา 1 ห้อง เพื่อบริการประชาชนทั่วไปที่เข้ามาประกอบ กิจกรรมในวัดได้ใช้สอยและมีห้องน้ าพระภิกษุ-สามเณร 6 ห้องที่ด้านหลังกุฏิ ห้องน้ าแม่บ้าน 4 ห้องที่ โรงครัว ห้องน้ าที่ศาลาอเนกประสงค์ 2 ห้อง ห้องน้ าบริการนักท่องเที่ยวที่บ้านไตลื้อ 8 ห้อง
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2317
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2481