ประวัติ
วัดสว่างบรรเทิง
ตำบลแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
เดิมประชาชนที่อยู่ในหมู่บ้านแม่สาน้อย มีจำนวนน้อยและนับถือพระพุทธศาสนา แต่ไม่มีวัดประจำหมู่บ้าน เมื่อถึงเทศกาลทำบุญและพิธีกรรมต่าง ๆ ก็พากันไปร่วมกับวัดอื่นที่ตนศรัทธา พอถึงช่วงฤดูฝนกลางพรรษาการเดินทางไปวัดต่าง ๆ
เป็นไปด้วยความยากลำบาก
ต่อมาประชาชนในหมู่บ้านมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงได้ร่วมกันจัดสร้างวัดตรงบริเวณบนเนินเล็ก ๆ
มีต้นไม้ขึ้นโดยรอบ
และอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านให้ชื่อว่า วัดแม่สาน้อย
เพื่อเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจและเป็นสถานที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ
ต่อมาได้ขึ้นทะเบียนวัดแม่สาน้อย
เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๘๕(ทะเบียนวัด ภาค ๗) จากนั้นท่านครูบาเจ้าคำปัน ปญฺญาสาโร (เจ้าคณะตำบลท่าไคร้) เป็นเจ้าอาวาสและได้รับการอุปถัมภ์จากคณะศรัทธาในหมู่บ้าน
นำโดยพ่อขุนบรรเทิง (กำนันตำบลท่าไคร้)ได้พัฒนาก่อสร้างถาวรวัตถุ กุฎิ
วิหาร ศาลา เป็นต้น มีความเจริญขึ้นตามลำดับประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๔ ทางรัฐบาลต้องการให้วัดและสถานที่ต่าง ๆ
เปลี่ยนชื่อใหม่ตามสมัยรัฐนิยม ทางท่านพระครูอุดมวุฑฒิคุณ (เจ้าคณะอำเภอแม่ริม)
ได้ตั้งชื่อวัดให้ใหม่ว่าวัดสว่างบรรเทิง โดยเอาชื่อฉายาของท่านครูบาเจ้าคำปัน คือ
ปญฺญาสาโร แปลว่า ผู้มีปัญญาเป็นสาระ
ปัญญานี้ย่อมทำลายความมืดบอดของจิตใจให้เกิดความสว่างไสว (สว่าง) นำมาสมาสกับนามของกำนัน
คือพ่อขุนบรรเทิง จึงได้เปลี่ยนชื่อ วัดแม่สาน้อย
เป็น วัดสว่างบรรเทิง และเปลี่ยนชื่อตำบลท่าไคร้
เป็น ตำบลแม่สา ใช้มาถึงปัจจุบันนี้เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในลำดับเลขที่ ๑๙
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช
(ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๖๗ ตอนที่ ๔๔ ลงวันที่ ๑๕
สิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๓)
ปัจจุบันวัดสว่างบรรเทิงมีพื้นที่
๒ ไร่ ๒ งาน
๒๓ ตารางวา (หนังสือโฉนดที่ดิน เลขที่ ๒๘๓๘๔ เล่มที่
๒๘๔ หน้า ๘๔ ออก ณ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ )
พระครูวิบูลธรรมพิพัฒน์
ผู้ค้นคว้าและเรียบเรียง ๒๕
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2385
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2493