ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดพระธาตุปูแช่
- ชื่อวัด: วัดพระธาตุปูแช่
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 4 รูป
- สามเณร: 3 รูป
- ที่ตั้ง: เลขที่ 97 หมู่ 4 บ้านใหม่ปูแช่ 44 ฝาง - ท่าตอน ตำบลแม่อาย อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปษณีย์ 50280
- เนื้อที่: 55 ไร่ 3 งาน 56 ตารางวา
- โทร: 0982851296
ประวัติความเป็นมา
วัดพระธาตุปูแช่ สร้างโดย เจ้าแม่มะลิกา วีระสตรี แห่งเวียงพรหมจรรย์ เป็นวัดเก่าแก่ มีเจดีย์ศิลปะล้านนาผสมไทใหญ่ มีอายุยาวนานถึง 400 กว่าปี สร้างโดยเจ้าแม่มะลิกา เจ้าผู้ครองเวียงมะลิกา หรือเวียงพรหมจรรย์ (อำเภอแม่อาย ในปัจจุบัน) เหตุที่ได้ชื่อว่า เวียงพรหมจรรย์ เพราะว่าพระนางมะลิกาและเหล่าทหาร ซึ่งเป็นผู้หญิงล้วนนั้นเป็น สตรีถือเพศพรหมจรรย์ คือไม่มีการครองคู่ เพราะเหตุนี้เอง พระนางได้ขอพระเจ้าฝาง และพระนางสามผิวเจ้าเมืองฝาง เพื่อขอให้สร้างเมืองใหม่ อยู่ทางทิศเหนือ เมื่ออายุ 18 ปี พระนางก็มุ่งสู่เวียงมะลิกา พระนางได้ใช้เขาลูกหนึ่งซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของ เมืองเป็นฐานที่มั่น เพื่อสู้รบกับพม่า เหตุเพราะรู้ดีว่าบนเขาลูกนี้มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่สามารถรักษาบาดแผลได้ ช่วงสรงครามพระนางได้ใช้ใบพลูที่กินกับหมาก เอามาแช่กับน้ำทิพย์ จากบ่อน้ำรักษาบาทแผลทหาร จนสิ้นสงคราม พระนางได้มาปฏิบัติธรรมบนเขาลูกนี้ โดยขณะปฏิบัติธรรมพระนางได้สุบิลนิมิต คือฝันเห็นชีปะขาว มาบอกให้พระนางว่า ถ้าพระนางอยากจะพ้นจากวิบากกรรม จากที่พระนางมีพระโอษฐ์แหว่ง (ปากแหว่ง) ขอให้พระนางได้สร้างเจดีย์ขึ้น ณ เขาลูกนี้ เพื่อจะได้พ้นจากวิบากกรรม จากนั้นพระนางได้สร้างเจดีย์ขึ้น เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จึงได้ขนานนามว่า "พระธาตุปูแช่" คำว่าปู คือพลู ที่ใช้กินกับหมาก แต่ทางเหนือเรียกว่าใบปูนั่งเอง
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 8 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2556
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดพระธาตุปูแช่
กิจกรรม งานประเพณีสรงน้ำพระธาตุปูแช่ วันที่เริ่ม ทุกๆ 13 ค่ำ เดือน 6 หรือปีที่มี อธกมาสเป็นเดือน 7 เวลาเริ่ม 09.00 น. วันที่สิ้นสุด 15 ค่ำ เดือน 6 หรือ ปีที่มีอธิกมาสเป็น เดือน 7 เวลาสิ้นสุด 21.00 น.
- มีการแห่ขบวนสรงน้ำพระธาตุ โดยการนำน้ำบ่อทิพย์มาสรงพระธาตุ
กิจกรรม งานเข้าปริวาสกรรมและบวชชีพราหมณ์เสริมสร้างบารมี วันที่เริ่ม 18 กุมภาพันธ์ ทุกปี เวลาเริ่ม 15.00 น. วันที่สิ้นสุด 28 กุมภาพันธ์ ทุกปี เวลาสิ้นสุด 12.00 น.
- การเข้าปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์ เพื่อชำระศีลให้บริสุทธิ์ และอุบาสก อุบสิกาได้ร่วมปฏิบัติธรรม
กิจกรรม บวชป่าเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่เริ่ม 19 ธันวาคม ทุกปี เวลาเริ่ม 09.00 น. วันที่สิ้นสุด 19 ธันวาคม ทุกปี เวลาสิ้นสุด 15.00 น
- การบวชป่าเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พื่อถวายเป็นพระราชกุศล
กิจกรรม ส่งท้ายปีเก่าวิถีไทย ต้อนรับปีใหม่วิถีธรรม วันที่เริ่ม 31 ธันวาคม ทุกปี เวลาเริ่ม 19.00 น. วันที่สิ้นสุด 1 มกราคม ทุกปี เวลาสิ้นสุด 12.00น.
- สวดมนต์ข้ามปี ตักบาตรวันขึ้นปีใหม่
ข้อมูลเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2555
พระครูปลัดปรีชา สุปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุปูแช่
พระครูปลัดปรีชา สุปญฺโญ
ปัจจุบันอายุ 41 ปี
บวชมาแล้ว 18 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น พระครูฐานานุกรม ชั้นราช ที่ พระครูปลัด
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดพระธาตุปูแช่ และยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบล (จต.)
ประวัติด้านการศึกษาของพระครูปลัดปรีชา สุปญฺโญ
พระครูปลัดปรีชา สุปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุปูแช่
จบการศึกษาศึกษาระดับปริญญาโท จากสถานบันการศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.2558
อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุปูแช่
พระอธิการแก่น ฐานธมฺโม |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2482 ถึงปี พ.ศ.2499 |
พระอธิการคำจันทร์ ขนฺติธโร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 ถึงปี พ.ศ.2510 |
พระอธิการบุญเป็ง ธมฺวุฒโธ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 ถึงปี พ.ศ.2521 |
พระอธิการเมืองใจ ปญฺญาวโร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 ถึงปี พ.ศ.2523 |
พระอธิการจันทร์แก้ว สิริปุญโญ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 ถึงปี พ.ศ.2525 |
พระอธิการประเสริฐ ธมฺมวโร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 ถึงปี พ.ศ.2526 |
พระอธิการบุญเที่ยง นนฺทิโก |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 ถึงปี พ.ศ.2538 |
พระครูกิตติวราภรณ์ (ดร.) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 ถึงปี พ.ศ.2541 |
พระครูปลัดปรีชา สุปญฺโญ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 ถึงปัจจุบัน |
ชาติพันธ์ุ (วิถีชีวิต) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดพระธาตุปูแช่
เป็นชาวไทใหญ่ที่มาจากประเทศพม่า
การฟ้อนรำ (ศิลปการแสดงและดนตรี) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดพระธาตุปูแช่
การฟ้อนรำแบบศิลปะไทใหญ่ และดนตรีเป็นวงกลองมองเชิง
ฟ้อนรำนางนก (ศิลปการแสดงและดนตรี) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดพระธาตุปูแช่
โดยให้หญิงสาวใส่ชุดนางนกมีปีกสวยงาม ร่ายรำ
ฟ้อนโต (ศิลปการแสดงและดนตรี) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดพระธาตุปูแช่
มีการใส่ชุดโต ที่มีลักษณะเป็นขน โดยใช้เชือกฟางทำ ใช้คนแสดงสองคน อยู่ด้านหัวและท้าย มีการฟ้อนรำตามเสียงตีของกลอง ฆ้อง และฉาบตามจังหวะ
การจัดการศึกษาภายในวัดพระธาตุปูแช่
การจัดการศึกษาภายในวัดพระธาตุปูแช่นั้น จะประกอบไปด้วย
- ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์