ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดท่าตอน
- ชื่อวัด: วัดท่าตอน
- ประเภทวัด: พระอารามหลวง
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 30 รูป
- สามเณร: 70 รูป
- ลูกศิษย์วัด: 20 คน
- ที่ตั้ง: เลขที่ 36 หมู่ 3 ท่าตอน ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปษณีย์ 50280
- เนื้อที่: 1,400 ไร่
- โทร: 053-053609
ประวัติความเป็นมา
วัดท่าตอน เดิมชื่อ "วัดจอมคีรีปิงขอก" หรือ "วัดจอมคีรีศรีปิงขอกต่าตอนจัย" เป็นวัดร้างมานานหลายร้อยปี มีพระเจดีย์เก่าชำรุดองค์หนึ่ง ล้อมรอบด้วยป่าหนาทึบ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด ในปี พ.ศ.2470 พระครูบาแก้ว กาวิชโย จากสำนักวัดแม่แหลง (วัดมงคลสถาน) ได้มาเป็นประธานในการบูรณะวัดร้างขึ้น มาเป็นวัดที่มีพระสงฆ์ สร้างพระเจดีย์ครอบพระเจดีย์องค์เดิม และสร้างเสนาสนะขึ้นอีกหลายหลัง นับแต่นั้นมา ก็มีพระภิกษุ สามเณร อยู่จำพรรษาติดต่อกันตลอดมาจนถึงปัจจุบัน วัดท่าตอนได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2518 เขตวิสุงคามสี กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ 1 เดือน มกราคม พ.ศ. 2470
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 16 เดือน มกราคม พ.ศ. 2518
• วัดพัฒนาตัวอย่าง พ.ศ. 2532
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดท่าตอน
วัดท่าตอนเป็นวัดเก่าแก่มีพระเจดีย์แก้วที่สวยงาม สภาพภูมิทัศน์โดยรอบของวัดสวยงาม ล้อมรอบไปด้วยธรรมชาติ วัดท่าตอนมีสถานที่ต้อนรับ มีห้องประชุม อาคารที่พักพอเพียง อำนวยความสะดวกให้กับทุกคนที่ไปที่วัด
ข้อมูลเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2555
พระเทพมังคลาจารย์ กิตติโสภโณ เจ้าอาวาสวัดท่าตอน
พระเทพมังคลาจารย์ กิตติโสภโณ
ปัจจุบันอายุ 66 ปี
บวชมาแล้ว 46 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดท่าตอน และยังดำรงตำแหน่งเป็นรองเจ้าคณะจังหวัด
ประวัติด้านการศึกษาของพระเทพมังคลาจารย์ กิตติโสภโณ
พระเทพมังคลาจารย์ กิตติโสภโณ เจ้าอาวาสวัดท่าตอน
จบการศึกษาศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.3) เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.
อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าตอน
พระครูบาแก้ว กาวิชโย |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2470 ถึงปี พ.ศ.2474 |
พระบุญเป็ง ญาณธมฺโม |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2474 ถึงปี พ.ศ.2480 |
พระบุญปั๋น ธีรธมฺโม |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2480 ถึงปี พ.ศ.2487 |
พระดวงดี จนฺทสุวณฺโณ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2487 ถึงปี พ.ศ.2498 |
พระสิงห์คำ ฐานวฺโร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2498 ถึงปี พ.ศ.2500 |
พระสม จิตฺตธมฺโม |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 ถึงปี พ.ศ.2501 |
พระคำอ้าย สุปฏิปนฺโน |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2501 ถึงปี พ.ศ.2503 |
พระดวงดี ปภสฺสโร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2503 ถึงปี พ.ศ.2505 |
พระอธิการบุญมา สุทธสีโล |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2505 ถึงปี พ.ศ.2516 |
พระเทพมังคลาจารย์ กิตติโสภโณ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 ถึงปัจจุบัน |
บรรพชาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดท่าตอน
วันที่เริ่ม 2 เมษายน เวลาเริ่ม 09.00 น.
วันที่สิ้นสุด 10 พฤษภาคม เวลาสิ้นสุด 09.00 น.
บวชลูกแก้ว (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดท่าตอน
วันที่เริ่ม 11 พฤษภาคม เวลาเริ่ม 04.30 น.
เป็นการบรรพชาสามเณรที่ต้องการศึกษาต่อในโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดท่าตอน
เดินขึ้นภูบูชาพระเจดีย์แก้ว (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดท่าตอน
วันที่เริ่ม 15 ค่ำ เดือน 6 วิสาขบูชา เวลาเริ่ม 17.30-21.00 น.
พ่อหนานปั๋น คุณาวงค์ (ศิลปิน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดท่าตอน
ที่อยู่: หมู่ 3 บ้านท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ พ่อหนานปั๋น คุณาวงค์เป็นผู้ที่มีความสามารถด้านดนตรีพื้นเมือง และเป็นครูสอน
นาย มงคล (ศิลปิน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดท่าตอน
ที่อยู่: หมู่ 14 บ้านร่มไทย ต.ท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ นายมงคลเป็นผู้มีความสามารถในการแกะสลักอลูมิเนียม
ไทยพื้นเมือง,ไทใหญ่,ไทลื้อ,ลีซอ,ลาหู่ และอาข่า (วิถีชีวิต) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดท่าตอน
ภาษาเหนือ ภาษาลาหู่ ฯลฯ (ภาษา) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดท่าตอน
ประเพณีกินวอ, ประเพณีครูหมอไทย (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดท่าตอน
เป็นวันขึ้นปีใหม่ของชนเผ่าลาหู่ จะมีการฟ้อนรำ เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างชายหนุ่มสาว หรือชุมชนต่างๆ
ประเพณีครูหมอไท (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดท่าตอน
เป็นประเพณีของชาวไทใหญ่
แพทย์แผนไทย (ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดท่าตอน
เช่น อบสมุนไพร ฝังเข็ม จัดกระดูก จับเส้น
การปลูกพืชสมุนไพร (ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดท่าตอน
ให้ชาวบ้านปลูกพืชสมุนไพร แล้วทางวัดจัดซื้อนำมาทำยาสมุนไพร เช่น แชมพู ยาหม่อง สบู่
ดนตรีพื้นเมือง (ศิลปการแสดงและดนตรี) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดท่าตอน
การฟ้อนเล็บ ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนไทใหญ่ ลาหู่ (ศิลปการแสดงและดนตรี) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดท่าตอน
การจัดการศึกษาภายในวัดท่าตอน
การจัดการศึกษาภายในวัดท่าตอนนั้น จะประกอบไปด้วย
- โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
- ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
- ศูนย์ฝึกอบรมอาชีพ
- สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด
- จัดการศึกษาแผนกธรรม-บาลี
- ศูนย์อบรมเด็กก่อนวัยเรียน
- ศูนย์อบรมประชาชนประจำตำบล
- สวนสมุนไพรในวัด