ประวัติวัดทุ่งหลวง สถานที่ตั้ง วัดทุ่งหลวง เลขที่ ๓๓ บ้านสันมะนะ หมู่ ๓ ถนน สันทราย – พร้าว ตำบลทุ่งหลวง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๓ ไร่ ๖๒ ตารางวา โฉนดเลขที่.๑๗๙๘๓ เล่ม ๑๘๐ หน้า ๘๓ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ อาณาเขตติดกับสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้ ทิศเหนือติดกับลำน้ำแม่สะรวม ทิศใต้ติดกับซอย ๓ บ้านสันมะนะ ทิศตะวันออกติดกับถนนทางหลวงหมายเลข ๑๐๐๑ สายสันทราย – พร้าว ทิศตะวันตกติดกับบ้านราษฎร ที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๑ แปลง มีเนื้อที่ ๓๔ ตารางวา นส.๓ เลขที่ ๓๓
ประวัติความเป็นมา วัดทุ่งหลวงเดิมตั้งอยู่ที่สถานีอนามัยตำบลทุ่งหลวงปัจจุบัน เนื่องจากที่ตั้งวัดเก่าคับแคบ คณะศรัทธาจึงได้ไปสร้างวัดใหม่ที่ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขและอาคารชุมสายองค์การโทรศัพท์ สาขาพร้าวปัจจุบัน แต่วัดที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ มักจะเกิดเหตุกับพระสงฆ์รูปที่มาอยู่จำพรรษา หรือมาเป็นเจ้าอาวาสจะต้องมีอันเป็นไป คือมักจะเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เป็นประจำ บางทีถึงกับมรณะภาพ คณะศรัทธาจึงได้ประชุมปรึกษาหารือว่าที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะสถานที่ตั้งวัดไม่ถูกต้องตามหลักการ กฏเกณฑ์และวิชาการดั้งเดิมของโบราณาจารย์ จึงได้โยกย้ายวัดมาสร้างขึ้นใหม่ที่ เลขที่ ๓๓ บ้านสันมะนะ ถนนสันทราย – พร้าว หมู่ที่ ๓ ตำบลทุ่งหลวง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพ่อหมอสิทธิ แม่อุ้ยลูน สิทธิปวง เป็นผู้มอบถวายที่ดินมีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๓๓ ตารางวาให้สร้างวัดใหม่ โดยมีครูบาเจ้าอินต๊ะ เป็นผู้ดำริเริ่มก่อสร้างเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๒๖ เป็นต้นมา เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๐ กรมที่ดินได้ออกมารางวัด ออกโฉนดที่ดินให้ โฉนดที่ดินเลขที่ ๑๗๙๘๓ เล่ม ๑๘๐ หน้า ๘๓ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ ๓ ไร่ ๖๒ ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๓๔ ตารางวา น.ส.๓ เลขที่ ๓๓
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ 9 เดือน มกราคม พ.ศ. 2432
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 9 เดือน มกราคม พ.ศ. 2544
๑. เป็นที่ตั้ง กลุ่มแม่บ้านทอผ้าพื้นเมืองวัดทุ่งหลวง
๒. เป็นที่ตั้ง ศูนย์กู้ภัยพร้าววังหิน ศูนย์กู้ภัยประจำอำเภอพร้าว
๓. เป็นที่ตั้ง ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเวียง - ทุ่งหลวง
๔. เป็นที่ตั้ง โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลเวียง - ทุ่งหลวง
๕. เป็นที่ตั้ง หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลเวียง - ทุ่งหลวง
พระครูปรีชาภิวัฒน์
๑. ชื่อ พระครูปรีชาภิวัฒน์ ฉายา อภิวฑฺฒโน อายุ ๓๖ ปี พรรษา ๑๖ ป.ธ. - น.ธ. เอก สามัญ พุทธศาสตร์บัณฑิต (พธ.บ.) วัดทุ่งหลวง ตำบลทุ่งหลวง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ ๕๐๑๙๐ โทรศัพท์ ๐๕๓ -๘๘๙๑๘๓ , ๐๘ – ๕๗๑๘ - ๖๐๑๘
๒. สถานะเดิม ชื่อ อภิชิต นามสกุล บัวชุ่ม เกิด ๑ ฯ๑๔๑ ปี ฉลู วันอาทิตย์ ที่ ๙ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ณ บ้านป่างิ้ว เลขที่ ๓๓ หมู่ที่ ๒ ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เคยได้รับราชการหรือเคยปฏิบัติงานสำคัญมาแล้ว คือ -
๓. บรรพชา วันอาทิตย์ ที่ ๓๐ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ณ วัดสหกรณ์แปลงสอง ตำบลเขื่อนผาก อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พระอุปัชฌาย์ พระครูคัมภีรธรรม วัดสหกรณ์แปลงสอง ตำบลเขื่อนผาก อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
๔. อุปสมบท วัน พฤหัสบดี ที่ ๒๗ เดือน มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ณ วัดหนองปลามัน ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พระอุปัชฌาย์ พระครูปัญญาธีรยุต วัดบ้านโป่ง ตำบลบ้านโป่ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
๕. วิทยฐานะ พ.ศ. ๒๕๒๙ สำเร็จ ประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสามัคคีวิทยา ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๓๒ สอบได้นักธรรม เอก สำนักเรียน วัดน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๑ สำเร็จ ม. ๖ การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๕ ปริญญาตรี (พธ.บ.) คณะพุทธศาสตร์ เอกพระพุทธศาสนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตเชียงใหม่ (วัดสวนดอก)
๖.งานปกครอง
(๑) พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดทุ่งหลวง
(๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งหลวง
(๓) มีการทำวัตรสวดมนต์เช้า – เย็น เป็นประจำทุกวัน
(๔) มีการทำอุโบสถกรรม (สวดพระปาฎิโมกข์) ในกลางพรรษารวมกันทั้งตำบล
(๕) มีระเบียบการปกครองวัด เป็นการรักษาการประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามแนวทางพระธรรมวินัย มีการดูแลอย่างใกล้ชิด จัดเจ้าหน้าที่ประจำเครื่องพัสดุ ครุภัณฑ์ ลหุภัณฑ์ เสนาสนะต่าง ๆ มีการจัดรูปแบบระเบียบแบบแผนงานต่าง ๆ การปกครองเริ่มจากเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส กรรมการสงฆ์ในวัด พระภิกษุ สามเณร ศิษย์วัดมีระเบียบไว้ให้ผู้เข้ามาอยู่ได้ปฏิบัติ จัดทำแผนงานทะเบียนประวัติพระภิกษุ – สามเณร ศิษย์วัดด้วย และจัดทำใบสุทธิเปลี่ยนให้ใหม่ระยะ ๔ ปี ต่อ ๑ ครั้ง เพื่อให้เป็นปัจจุบัน มีระเบียบการปกครองวัด คือ
๑. พระภิกษุ – สามเณรทุก ๆ รูป ต้องเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม และท่อง สวดมนต์ทุก ๆ บทให้ได้
๒. พระภิกษุ – สามเณรทุกรูปจะต้องไม่เสพสิ่งเสพย์ติดอันให้โทษทุกชนิด
๓. พระภิกษุ – สามเณรทุกรูป เวลาจะออกไปทำธุระนอกวัดหรือกลับไปเยี่ยมบ้าน ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสก่อนทุกครั้ง
๔. พระภิกษุ – สามเณรทุกรูป ต้องไม่เกียจคร้านทำงานเวลาที่เจ้าอาวาสมอบหมาย ให้ทำ และต้องตั้งใจทำให้เรียบร้อยและดีที่สุด
๕. พระภิกษุ – สามเณรทุกรูป ต้องครองผ้าให้เป็นปริมณฑล ทั้งขณะอยู่ในวัดและ ออกนอกวัด และสีของผ้าต้องเป็นไปตามพระบรมพุทธานุญาติ
๖. พระภิกษุ – สามเณรทุกรูป ต้องร่วมกันปฏิบัติกิจวัตรประจำวันคือ การทำวัตร เช้า – เย็น – สวดมนต์ทุก ๆ ครั้งและไม่ขาดโดยไม่มีเหตุจำเป็น
๗. พระภิกษุ – สามเณรทุกรูป ต้องช่วยกันรักษาทรัพย์สินสิ่งของ ๆ วัดให้อยู่ใน สภาพที่เรียบร้อย และไม่ทำลายสิ่งของ ๆ วัด ถ้าหากทำเสียหายหรือชำรุด ต้อง ชดใช้หรือซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมทุก ๆ อย่าง
๘. พระภิกษุ – สามเณรทุกรูป ต้องให้ความเคารพต่อเจ้าอาวาสผู้ปกครองภายใน วัด โดยไม่แสดงอาการที่ไม่สุภาพทั้งทางกาย วาจา และทางใจ
(๖) พ.ศ. ๒๕๕๒ มีพระภิกษุ ๔ รูป สามเณร ๓ รูป ศิษย์วัด - คน
(๗) มีกติกาของวัด คือ
เวลา ๐๔.๓๐ น. สัญญาณระฆังปลุกให้ตื่น ทำกิจส่วนตัว
เวลา ๐๕.๐๐ น. ทำวัตรเช้า
เวลา ๐๖.๐๐ น. ทำความสะอาดบริเวณวัด
เวลา ๐๖.๓๐ น. ออกรับบิณฑบาตร
เวลา ๐๗.๐๐ น. ตีกลองสัญญาณฉันภัตตาหารเช้า
เวลา ๐๗.๓๐ น. รถมารับไปโรงเรียนตลอดวัน
เวลา ๐๙.๐๐ น. ท่องสวดมนต์ (เฉพาะรูปที่อยู่วัด)
เวลา ๑๑.๐๐ น. ตีกลองสัญญาณ ฉันภัตตาหารเพล
เวลา ๑๒.๐๐ น. ผักผ่อนตามอัธยาศัย
เวลา ๑๓.๐๐ น. ท่องหลักนักธรรม (เฉพาะรูปที่อยู่วัด)
เวลา ๑๖.๐๐ น. ทำความสะอาดบริเวณวัด รดน้ำต้นไม้
เวลา ๑๗.๐๐ น. พักสรงน้ำ
เวลา ๑๘.๐๐ น. ทำวัตรเย็น – สวดมนต์
เวลา ๒๐.๐๐ น. ท่องสวดมนต์ – ทำการบ้าน
เวลา ๒๒.๐๐ น. จำวัดพักผ่อน
๗. งานศึกษา
(๑) พ.ศ. ๒๕๓๙ - ปัจจุบัน เป็นเลขานุการจัดหาทุนการศึกษาแก่พระภิกษุ สามเณรในตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๙ - ปัจจุบัน เป็นกรรมการกองงานเลขาสอบธรรมสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๒ – ๒๕๔๖ เป็นกรรมการการศึกษาโรงเรียนบ้านแจ่งกู่เรือง
พ.ศ. ๒๕๔๓ – ปัจจุบัน เป็นกรรมการอุปถัมภ์โรงเรียนเขื่อนผากวิทยา
พ.ศ. ๒๕๔๗ - ปัจจุบัน เป็นคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านแจ่งกู่เรือง
พ.ศ. ๒๕๕๐ - ปัจจุบัน เป็นคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนพร้าววิทยาคม
(๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ มีนักเรียนแผนกธรรม ดังนี้
น.ธ.ตรี จำนวน ๔ รูป สมัครสอบ ๔ รูป สอบได้ - รูป สอบตก - รูป
น.ธ.โท จำนวน ๑ รูป สมัครสอบ ๑ รูป สอบได้ - รูป สอบตก - รูป
น.ธ.เอก จำนวน - รูป สมัครสอบ - รูป สอบได้ - รูป สอบตก - รูป
รวมแผนกธรรมสอบ ๕ รูป สอบได้ - รูป
มีนักเรียนแผนกบาลี ดังนี้
ประโยค ๑ - ๒ จำนวน - รูป สมัครสอบ - รูป สอบได้ - รูป สอบตก - รูป
ป.ธ.๓ จำนวน - รูป สมัครสอบ - รูป สอบได้ - รูป สอบตก - รูป
ป.ธ.๔ จำนวน - รูป สมัครสอบ - รูป สอบได้ - รูป สอบตก - รูป
รวมแผนกบาลีสอบ - รูป สอบได้ - รูป
(๓) วิธีส่งเสริมการศึกษา ดังนี้
การส่งเสริมการศึกษาเป็นหัวใจหลักสำคัญในการศึกษา ของนักเรียนนักศึกษา เพราะขั้นตอนนี้จะทำให้ผู้ที่ได้รับในส่วนนี้ จะนำไปเพื่อพัฒนาตนเอง ให้เกิดความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ ในการพัฒนาตนเอง สังคม ศาสนา วัฒนธรรม ประเทศชาติ อีกทั้งยังเป็นตัวอย่างที่ดีงามของผู้นำในการส่งเสริมบุคคลากรที่ดีของสังคมที่ควรจะยึดถือเป็นตัวอย่างของเขาเหล่านั้น และผลก็จะทำให้สังคมเรามีแต่การเสียสละ มีความมานะ อดทน เป็นต้น การส่งเสริมการศึกษา โดยเฉพาะในฝ่ายปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลี ของสำนักวัดเขื่อนผาก และของพระภิกษุสามเณรวัดทุ่งหลวง มีวิธีการใหญ่ ๆ ดังนี้
๑. ปลุก ได้แก่ให้สิ่งเร้าใจกระตุ้นความสนใจใฝ่การศึกษา ให้มองเห็นคุณค่าของการศึกษา ทั้งที่จักมีแก่ตนเอง พระพุทธศาสนา สังคม ประเทศชาติ
๒. ปลอบ ได้แก่การให้กำลังใจเป็นของขวัญแก่ผู้ศึกษาเล่าเรียน เช่น ให้รางวัลแก่ผู้ไม่ขาดเรียน จัดหาทุนให้แก่ผู้ที่กำลังศึกษาเล่าเรียนดีแต่ยากจน จัดงานแสดงมุทิตาจิตแก่ผู้ที่สอบได้ทุกปี และที่สำคัญคือการส่งเสริมให้ผู้ศึกษาได้ไปศึกษาต่อยังสำนักเรียนที่มีการจัดการศึกษาดีกว่า เช่น สำนักเรียนวัดท่าตอน จังหวัดเชียงใหม่ สำนักเรียนวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
๓. ปราบ ได้แก่การจัดระบบการศึกษาอย่างมีแบบแผน เป็นจริงเป็นจัง เข้มงวดต่อผู้ละเมิด ลงโทษต่อผู้ไม่ใฝ่ใจต่อการศึกษาอย่างแท้จริง ทั้งนี้โดยยึดนโยบายการศึกษาของคณะสงฆ์เป็นหลักในการดำเนินงาน
๔. รับเด็กชาวบ้าน เพื่อทำการบรรพชาอุปสมบท และจัดให้ได้รับการศึกษาอบรมตามหลักสูตรต่าง ๆ ที่มีอยู่และให้ศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษาของคณะสงฆ์
๕. จัดหาทุนอาหารกลางวันให้กับโรงเรียนต่าง ๆ มอบอุปกรณ์การเรียนการสอน อุปกรณ์การกีฬา สนับสนุนครูผู้สอน และให้กำลังใจ
๘. งายเผยแผ่
(๑) พ.ศ. ๒๕๓๘ – ปัจจุบัน เป็นพระธรรมกถึกแสดงธรรมแก่ศรัทธาประชาชน ของวัดทุ่งหลวงทุกวันพระในเทศกาลเข้าพรรษา
พ.ศ. ๒๕๓๘ - ปัจจุบัน เป็นวิทยากรของ อ.ป.ต. เวียง – ทุ่งหลวง
(๒) มีการทำพิธีวิสาขบูชา มีผู้เข้าร่วมทำพิธี พระภิกษุสามเณร ๕ รูป ประชาชน ๒๕๐ คน ณ วัดทุ่งหลวง ตำบลทุ่งหลวง อำเภอพร้าว
(๓) มีการทำพิธีอัฏฐมีบูชา มีผู้เข้าร่วมทำพิธี พระภิกษุสามเณร ๕ รูป ประชาชน ๑๐๙ คน ณ วัดทุ่งหลวง ตำบลทุ่งหลวง อำเภอพร้าว
(๔) มีการทำพิธีมาฆบูชา มีผู้เข้าร่วมทำพิธี พระภิกษุสามเณร ๕ รูป ประชาชน ๑๖๐ คน ณ วัดทุ่งหลวง ตำบลทุ่งหลวง อำเภอพร้าว
(๕) มีการทำพิธีอาสาฬหบูชา มีผู้เข้าร่วมทำพิธี พระภิกษุสามเณร ๕ รูป ประชาชน ๑๒๕ คน ณ วัดทุ่งหลวง ตำบลทุ่งหลวง อำเภอพร้าว
(๖) มีการอบรมพระภิกษุสามเณรเป็นประจำ โดยปฏิบัติดังนี้ ในช่วงนอกพรรษา จะทำการ อบรมทุกวันโกนและวันพระ หลังจากทำวัตรสวดมนต์ ทำสมาธิภาวนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในช่วงภายในพรรษามีการอบรมทุกเย็นหลังจากทำวัตรเย็นแล้ว สำหรับหัวข้อที่นำมาเป็นแนวทางในการอบรมคือ เสขิยวัตร พระวินัย วัฒนธรรมท้องถิ่น และกฎระเบียบต่าง ๆ ของคณะสงฆ์ เป็นต้น
(๗) มีการอบรมศีลธรรมแก่นักเรียนนักศึกษา ประชาชนทั่วไป เป็นประจำทุกวันพระ และในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยอาศัยพุทธธรรมเป็นแนวทาง ลักษณะของการให้การอบรมใช้หลายวิธีการ มีทั้งการบรรยาย และปาฐกถา เทศน์ สร้างสถานการณ์จำลองวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยเน้นให้นำหลักธรรมไปปฏิบัติในวิถีชีวิตที่เป็นจริงมากกว่าเพียงการฟังและจดจำ
(๘) มีผู้มารักษาศีลฟังเทศน์ทุกๆ วันพระช่วงเทศกาลเข้าพรรษาโดยเฉลี่ยวันพระละ ๑๒๕ คน
(๙) กิจกรรมอบรมเกี่ยวกับการเผยแผ่ มีดังนี้
๙.๑ จัดทำโครงการธรรมะเพื่อการครองชีพไปยังหมู่บ้านต่าง ๆ
๙.๒ จัดแสดงนิทรรศการในด้านศาสนาตามสถานศึกษาต่าง ๆ
๙.๓ ให้ธรรมะเป็นวิทยาทานแก่เยาวชนในพิธีเปิดและปิดการแข่งขันกีฬาทุกครั้ง
(๑๐) มีความร่วมมือกับคณะสงฆ์และทางราชการในการเผยแผ่ ให้ความร่วมมือแก่ข้าราชการอำเภอ ตำรวจ พัฒนากร เกษตรอำเภอ และคณะกรรมการสภาตำบล โดยรับจัดสถานที่ประชุม สัมมนา หรือแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาท้องถิ่นให้ข้าราชการ
(๑๑) มีผู้มาร่วมเป็นประจำและอุปถัมภ์วัดทุ่งหลวง จำนวน ๒๓๐ หลังคาเรือน
๙. งานสาธารณูปการ (เฉพาะในวัด)
(๑) งานก่อสร้างถาวรวัตถุ ภายในวัด
พ.ศ.๒๕๓๙ ดำเนินการก่อสร้างศาลาเอนกประสงค์ ตัวอาคารชั้นเดียว ลักษณะทรงไทยผสมล้านนา สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๗ เมตร ยาว ๒๑ เมตร แล้วเสร็จบริบูรณ์ร่วมค่าก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน ๖๕๐,๐๐๐ บาท (หกแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ.๒๕๔๐ ดำเนินการก่อสร้างกำแพง เสาสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่อด้วยอิฐ สูง ๒ เมตร ยาว ๒ เมตร หนา ๕๐ ซ.ม. จำนวน ๑๗ ห้อง แล้วเสร็จบริบูรณ์ รวมราคาค่าก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน ๖๖,๓๐๐ บาท (หกหมื่นหกพันสามร้อยบาทถ้วน)
พ.ศ.๒๕๔๒ ดำเนินการก่อสร้าง ลานกีฬาต้านภัยยาเสพติดวัดทุ่งหลวง ในโครงการ “ลานวัด ลานใจ ลานกีฬา” ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ กว้าง ๒๕ เมตร ยาว ๓๕ เมตร ลักษณะคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ แล้วเสร็จบริบูรณ์ รวมราคาค่าก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน ๙๕,๔๕๐ บาท (เก้าหมื่นห้าพันสี่ร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
พ.ศ.๒๕๔๒ ดำเนินการก่อสร้าง ห้องน้ำ – ห้องสุขา สูง ๒.๕๐ เมตร ยาว ๑.๘๐ เมตร จำนวน ๔ ห้อง แล้วเสร็จบริบูรณ์ รวมราคาค่า ก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ.๒๕๔๔ ดำเนินการก่อสร้างหอระฆังและพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ลักษณะทรงไทยผสมล้านนา สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง ๑๙ เมตร กว้าง ๖ เมตร ๓ ชั้น แล้วเสร็จบริบูรณ์ รวมราคาค่า ก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน ๕๙๘,๒๔๐ บาท (ห้าแสนเก้าหมื่นแปดพันสองร้อยสี่สิบบาทถ้วน)
พ.ศ.๒๕๔๖ ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถ ลักษณะทรงไทยล้านนา สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก มีขนาดความกว้าง ๕ เมตร ยาว ๙.๖๐ เมตร สูง ๑๒ เมตร สองชั้น รูปทรงลักษณะทรงไทยล้านนา ก่อด้วยอิฐถือปูน รวมราคาค่าก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน ๒,๙๓๘,๔๒๔ บาท (สองล้านเก้าแสนสามหมื่นแปดพันสี่ร้อยยี่สิบสี่บาทถ้วน)
พ.ศ.๒๕๔๙ ดำเนินการก่อสร้างซุ้มประตูวัดเฉลิมพระเกียรติเนื่องใน โอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ มีขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๙.๕ เมตร สูง ๑๒ เมตร สร้างด้วยไม้เนื้อแข็งทั้งหลัง รวมราคาค่าก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน ๙๙๙,๙๙๙ บาท (เก้าแสนเก้าหมื่นเก้าพันเก้าร้อยเก้าสิบเก้าบาทถ้วน)
พ.ศ.๒๕๔๙ ดำเนินการก่อสร้างกำแพงด้านทิศตะวันออกของอุโบสถ จำนวน ๑๓ ห้อง มีขนาดกว้าง ๒.๗๕ เมตร สูง ๒.๕ เมตร และสร้างคานคอดินป้องกันน้ำเซาะดินฝังที่ติดกับลำน้ำแม่สะรวมต่อจากกำแพงทิศตะวันออกอีก จำนวน ๒๗ ช่อง รวมราคาค่าก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน ๑๑๘,๕๑๒ บาท (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นแปดพันห้าร้อยสิบสองบาทถ้วน)
พ.ศ.๒๕๕๐ ดำเนินการก่อสร้างปูพื้นลานรอบอุโบสถ ด้วยคอนกรีตตัวหนอน จำนวน ๖๕๐ ตารางเมตร รวมราคาค่าก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน ๑๘๒,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนแปดหมื่นสองพันบาทถ้วน)
พ.ศ.๒๕๕๑ ดำเนินการก่อสร้างห้องน้ำ-ห้องสุขา แบบมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข จำนวน ๑๖ ห้อง รวมราคาค่าก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน ๓๐๘,๒๘๐ บาท (สามแสนแปดพันสองร้อยแปดสิบบาทถ้วน)
พ.ศ.๒๕๕๑ ดำเนินการก่อสร้างกำแพงด้านทิศเหนือของห้องสุขาใหม่ มีขนาดกว้างห้องละ ๒ เมตร สูง ๒ เมตร จำนวน ๗ ห้อง รวมราคาค่าก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน ๒๑,๐๐๐ บาท (สองหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน)
พ.ศ.๒๕๕๒ ดำเนินการก่อสร้างอาคารห้องครัวเอนกประสงค์ ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๔ เมตร สูง ๖ เมตร ก่อด้วยอิฐประสาน หลังคามุงด้วยแผ่นเม็นทัลซิส รวมราคาค่าก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน ๗๕๒,๙๗๗ บาท (เจ็ดแสนห้าหมื่นสองพันเก้าร้อยเจ็ดสิบเจ็ดบาทถ้วน)
(๒) งานบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ ภายในวัด
พ.ศ.๒๕๓๙ ดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์วิหาร ติดเพดานภายในภายนอก แล้ว เสร็จบริบูรณ์ รวมค่าก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน ๙๕,๐๐๐ บาท (เก้าหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
(๓) การพัฒนาวัด (แยกเป็นประเภทดังนี้)
ก. ด้านงานธุรการ
๑. ให้มีการทำความสะอาดวัดทุกเช้า ทุกเย็น เป็นประจำ
๒. จัดให้มีระบบระบายน้ำเทถมในส่วนที่มีน้ำท่วมขังในที่ต่าง ๆ
๓. จัดปลูกต้นไม้โตเร็วรอบบริเวณวัดและในที่ธรณีสงฆ์
๔. จัดต่อท่อประปาที่เก็บน้ำฝนให้มีน้ำใช้อย่างสะดวกสบายในวัด
๕. จัดให้มีที่กัก เก็บ ขจัดขยะมูลฝอยอย่างเป็นสัดส่วน
๖. จัดระบบโรงครัว (อาหาร) ของวัดให้ถูกต้องตามสุขลักษณะตามหลักสุขศึกษา
ข. ด้านการดูแลศาสนสมบัติของวัด
๑. จัดทำบัญชีศาสนสมบัติของวัด ตามประเภทคุรุภัณฑ์ และลหุภัณฑ์อย่างชัดเจน
๒. จัดตั้งพระภิกษุสามเณรดูแลรักษาเป็นสัดส่วน
๓. แต่งตั้ง ชาวบ้าน ให้เป็นกรรมการดูแลเป็นสัดส่วนรักษาและรับผิดชอบ
๔. มีการสำรวจตรวจสอบศาสนสมบัติของทางวัดทุก ๆ วันพระสุดท้ายของเดือน
๕. จัดสรรหาศาสนสมบัติของทางวัดที่ยังขาดแคลน และที่สูญหายไปทุกๆ ปี
ค. ด้านการจัดสวัสดิ์การแก่พระภิกษุสามเณรภายในวัด
๑. จัดยาสามัญไว้สำหรับพระภิกษุสามเณรที่อาพาธไม่หนักเกินไปรักษาบรรเทา
๒. จัดตั้งทุนเพื่อช่วยเหลือสงเคราะห์พระภิกษุสามเณรเมื่อยามเรียนและอาพาธ
๓. จัดหาอัฏฐบริขารถวายแก่พระภิกษุสามเณรทุกวันเข้าพรรษา-ออกพรรษา
๔. จัดให้ความช่วยเหลือพระภิกษุสามเณรผู้ขาดแคลนจตุปัจจัยในการศึกษาและจำเป็น
๑๐. งานศึกษาสงเคราะห์
(๑) พ.ศ.๒๕๔๙ เป็นกรรมการและเลขานุการหาทุนในการสร้างรั้วโรงเรียนบ้านแจ่งกู่เรือง จำนวน ๑๖๐ ห้อง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ร่วมค่าก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน ๒๔๐,๐๐๐ บาท (สองแสนสี่หมื่นบาท)
(๒) งานตั้งทุนการศึกษา
พ.ศ.๒๕๓๙ -ปัจจุบัน เป็นกรรมการและเลขานุการ จัดตั้งทุนสงเคราะห์ นักเรียนพระปริยัติธรรมสายสามัญ และบาลี ของ คณะสงฆ์ตำบลเวียง – ทุ่งหลวง ปัจจุบันมีเงินทุนฝากธนาคาร ออมสิน สาขา พร้าว บัญชีเลขที่ ๐๕-๓๔๒๐-๐๐๐๖๒๐-๗ สมุดฝากเงินออมสินประเภทเพื่อเรียก เงินทุนจำนวน ๘๗,๔๕๗ บาท (แปดหมื่นเจ็ดพันสี่ร้อยห้าสิบเจ็ดบาทถ้วน)
พ.ศ.๒๕๔๔ เป็นประธานจัดตั้งทุนสงเคราะห์นักเรียน พระปริยัติ ธรรมสายสามัญ นักธรรม , บาลี ของวัดทุ่งหลวง นักเรียนชั้นประถมศึกษา ร.ร.บ้านแจ่งกู่เรือง และนักเรียนมัธยมศึกษา ร.ร.พร้าววิทยาคม ปัจจุบันมีเงินทุนฝากธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขา พร้าว บัญชีเลขที่ ๕๒๓-๒-๔๒๗๗๒-๔ บัญชีเงินฝากประเภท ออมทรัพย์ เงินทุนจำนวน ๙,๐๐๐ บาท (เก้าพันบาทถ้วน)
(๓) งานเพิ่มทุนการศึกษา
พ.ศ.๒๕๔๕ ดำเนินการเพิ่มทุนสงเคราะห์นักเรียน พระปริยัติ ธรรมสายสามัญ นักธรรม , บาลี ของวัดทุ่งหลวง เงินทุนจำนวน ๕,๐๐๐ บาท (ห้าพันบาทถ้วน) ปัจจุบันมีเงินทุนฝากธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขา พร้าว บัญชีเลขที่ ๕๒๓-๒-๔๒๗๗๒-๔ บัญชีเงินฝากประเภท ออมทรัพย์ เงินทุนจำนวน ๑๔,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นสี่พันบาทถ้วน)
(๔) งานมอบทุนการศึกษา
พ.ศ.๒๕๔๕ เป็นประธานมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนชันประถม ศึกษา โรงเรียนบ้านแจ่งกู่เรือง จำนวน ๒ ทุน ๆ ละ ๕๐๐ บาท รวมเป็นเงินมอบทุนจำนวน ๑,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน)
พ.ศ.๒๕๔๕ เป็นประธานมอบทุนการศึกษาแก่สามเณรของ วัดทุ่งหลวง ที่ศึกษาในโรงเรียนเขื่อนผากวิทยา จำนวน ๕ ทุน ๆ ละ ๑,๒๐๐ บาท รวมเป็นเงินมอบทุนจำนวน ๖,๐๐๐ บาท (หกพันบาทถ้วน)
๑๑. งานพิเศษ
(๑) พ.ศ.๒๕๓๙ – ๒๕๕๑ เป็นเลขานุการเจ้าคณะตำบลเวียง – ทุ่งหลวง
พ.ศ.๒๕๓๘ – ปัจจุบัน เป็นกองงานเลขาสอบธรรมสนามหลวงอำเภอพร้าว
พ.ศ.๒๕๔๑ – ปัจจุบัน เป็นเลขานุการกองทุนคณะสงฆ์อำเภอพร้าว
พ.ศ.๒๕๔๓ – ปัจจุบัน สนับสนุนกิจกรรมกลุ่มแม่บ้าน บ้านทุ่งหลวง , บ้านสันมะนะ จัดตั้งกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองขึ้น โดยใช้ศาลาเอนกประสงค์ของวัดเป็นที่ทอผ้า ปัจจุบันทอผ้าส่งให้กับลูกค้าทั้งในประเทศและนอกประเทศ
พ.ศ.๒๕๔๕ เป็นที่ปรึกษากองทุนหมู่บ้าน บ้านทุ่งหลวง , บ้านสันมะนะ ตำบลทุ่งหลวง
พ.ศ.๒๕๔๙ - ปัจจุบัน เป็นประธานศูนย์กู้ภัยพร้าววังหิน โดยให้การช่วยเหลือประชาชนผู้สบอุบัติเหตุ , อุบัติภัย , ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินไม่มีรถนำส่งโรงพยาบาล เขตบริการ ๑๑ ตำบล ๑๑๔ หมู่บ้านในอำเภอพร้าว บริการฟรี ตลอด ๒๔ ชั่วโมง
(๒) พ.ศ.๒๕๓๙ – ๒๕๕๐ เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะ ตำบล รองเจ้าคณะตำบล และเลขานุการเจ้าคณะตำบล ของคณะสงฆ์อำเภอพร้าว ปีละ ๑๒ ครั้ง พ.ศ.๒๕๓๙ – ปัจจุบัน เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการ ระดับเจ้า อาวาส ของคณะสงฆ์อำเภอพร้าว ปีละ ๒ ครั้ง เพื่อรับนโยบายของคณะสงฆ์อำเภอมาปฏิบัติ
พ.ศ.๒๕๓๙ – ปัจจุบัน เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส ของ คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ ปีละ ๑ ครั้ง เพื่อรับนโยบายของคณะสงฆ์จังหวัดมาปฏิบัติ
(๓) พ.ศ.๒๕๔๗ ได้รับอาราธนาจากทางสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดเชียงใหม่ เขต ๒ ให้เป็นคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านแจ่งกู่เรือง ตำบลเวียง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ.๒๕๕๐ ได้รับอาราธนาจากทางสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดเชียงใหม่ เขต ๒ ให้เป็นคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนพร้าววิทยาคม ตำบลเขื่อนผาก อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่