ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดอุเม็ง
- ชื่อวัด: วัดอุเม็ง
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 2 รูป
- สามเณร: 3 รูป
- ลูกศิษย์วัด: 3 คน
- ที่ตั้ง: เลขที่ 153 หมู่ 5 บ้านอุเม็ง ตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปษณีย์ 50120
- เนื้อที่: 2 ไร่ 3 งาน 50 ตารางวา
ประวัติความเป็นมา
วัดอุเม็งตั้งอยู่ที่ 153 บ้านอุเม็ง หมู่ที่ 5 ตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งมีเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 16 ตารางวา ส.ค.1 เลขที่ 332 อาณาเขตทิศเหนือประมาณ 55 เมตร จดถนนและหมู่บ้าน ทิศตะวันออกประมาณ 53 เมตร จดถนนสาธารณะ ทิศตะวันตกประมาณ 53 เมตร จดถนนสาธารณะและหมู่บ้าน ทิศใต้จดลำเหมืองสาธารณะ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 52 ตารางวา ส.ค. 1 วัดอุเม็ง ตามที่แจ้งในทะเบียนวัดของจังหวัด เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2421 ในแบบกรอกประวัติวัด ทางวัดแจ้งเมื่อว 1 เมษายน พ.ศ. 2456
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 18 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ 22 เดือน กันยายน พ.ศ. 2548
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดอุเม็ง
กิจกรรม สวดมนต์ข้ามปี วันที่เริ่ม 31 ธันวาคม เวลาที่เริ่ม 08.00 น. วันที่สิ้นสุด 1 มกราคม เวลาที่สิ้นสุด 01.00 น.
- สวดมนต์ ทำวัตรเย็น เจริญพระพุทธมนต์ สวดมนต์ข้ามปี สวดแผ่ส่วนกุศล
กิจกรรม สรงน้ำพระธาตุ วันที่เริ่ม วันวิสาขบูชาของทุกปี เวลาเริ่ม 09.00 น.
- อาราธนาศีล พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ถวายจตุปัจจัยแด่พระสงฆ์ ถวายอาหารเพลแด่พระสงฆ์ สรงน้ำพระธาตุ
ข้อมูลเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2554
พระจรินทร์ ธมฺมวุโธ เจ้าอาวาสวัดอุเม็ง
พระจรินทร์ ธมฺมวุโธ
ปัจจุบันอายุ 52 ปี
บวชมาแล้ว 11 พรรษา
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น รักษาการเจ้าอาวาสวัดอุเม็ง
ประวัติด้านการศึกษาของพระจรินทร์ ธมฺมวุโธ
พระจรินทร์ ธมฺมวุโธ เจ้าอาวาสวัดอุเม็ง
จบการศึกษาศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถานบันการศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.
อดีตเจ้าอาวาสวัดอุเม็ง
พระอธิการกันธ จนฺทสีโล |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2456 ถึงปี พ.ศ.2470 |
พระอธิการคำภีระ กลฺยาโณ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2470 ถึงปี พ.ศ.2480 |
พระอธิการสิงห์แก้ว อนนฺโท |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2480 ถึงปี พ.ศ.2488 |
พระอธิการติ๊บ สุจิตฺโต |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2488 ถึงปี พ.ศ.2504 |
พระอธิการดี สุธมฺโม |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 ถึงปี พ.ศ.2538 |
พระจตุรเทพ ฐิตธมฺโม |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 ถึงปี พ.ศ.2540 |
พระคำมูล |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 ถึงปี พ.ศ.2541 |
พระคำแสน เตชปญฺโญ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2441 ถึงปี พ.ศ.2543 |
พระอธิการดิเรก ปภสฺสโร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 ถึงปี พ.ศ.2551 |
พระมหาณรงค์ชัย |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 ถึงปี พ.ศ.2555 |
พระจรินทร์ ธมฺมวุโธ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 ถึงปัจจุบัน |
ชาติพันธ์ุ-ลัวะ (วิถีชีวิต) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดอุเม็ง
ชนเผ่าที่เรีย กตัวเองว่า ลัวะ มีภาษาพูดที่เป็นเอกลักษณ์ คือ ภาษาลัวะ
ไม้กวาดทางมะพร้าว (ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดอุเม็ง
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ จะมีรายได้จากการทำไม้กวาดทางมะพร้าว แบบดั้งเดิม