ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดจอมแจ้ง
ประวัติความเป็นมา
วัดจอมแจ้ง ตั้งอยู่เลขที่ 199 หมู่ 4 ตำบลน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดมหานิกาย ภาค 7 (ประเภทวัดราษฎร)ที่ดินที่ตั้งวัด อาณาเขตของวัดทิศเหนือ จดลำธาร ทิศใต้จดลำธาร ทิศตะวันออกติดป่าเนินเขา ทิศตะตกจดถนนและทางเดิน อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ วิหาร ศาลา หอสรงน้ำ พระบรมธาตุ กุฏิสงฆ์ ปูชนียวัตถุมี พระบรมธาตุ พระพุทธรูปบูชา ปางต่างๆ เก็บไว้อีต่างหากวัดจอมแจ้งสร้างเมื่อ พ.ศ.2456 เดิมชื่อ วัดจอมไกล หรือวัดดอยปู่หลาน สร้างขึ้นโดนคฤหบดีผู้หนึ่งชื่อนายหลาน ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2527 การบริหารการศึกษาการปกครอง และการสาธารณูปการ มีเจ้าอาวาสบริหารมาตลอด เจ้าอาวาสที่ทราบตามลำดับ วัดจอมแจ้งมีงานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุเป็นประจำทุกปี
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2456
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2527
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดจอมแจ้ง
๑) ชื่อกิจกรรม ประเพณีไหว้สาพระบรมธาตุจอมแจ้ง จัดกิจกรรมระหว่างวันที่ เดือน 9 ขึ้น 14 ค่ำ จนถึง วันที่ เดือน 9 ขึ้น 14 ค่ำ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 500-600 คน รูปแบบ/ลักษณะของกิจกรรมี การแห่น้ำสรงงพระบรมธาตุ น้ำขมิ้น ส้มปล่อย สรงน้ำธาตุ และประเพณีจุดบ้องไฟหมื่นบูชาพระบรมธาตุ
๒) ชื่อกิจกรรม วันมาฆบูชา จัดกิจกรรมระหว่างวันที่ เดือน 5 หรือ เพ็ญ จนถึงวันที่ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 150 คน รูปแบบ/ลักษณะของกิจกรรม จัดให้มีการเวียนเทียนรอบพระบรมธาตุเจดีย์ของวัดและกล่าวคำบูชามาฆาบูชา และวันสำคัญต่างๆ
๓) ชื่อกิจกรรม วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาจัดกิจกรรมระหว่างวันที่ วันอาสาฬหบูชา จนถึงวันที่ วันเข้าพรรษา มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 200 คน รูปแบบ/ลักษณะของกิจกรรม มีการทำบุญตักบาตร ตอนเช้าวันเข้าพรรษา มีการอบรมศีลธรรมแก่ศรัทธาปประชาชน ผู้สูงอายุ ปฏิบัติธรรม คืออุโบสถรับศีล 8 ศรัทธาประชาชน ร่วมฟังเทศน์ ทุกวันพระในฤดูเข้าพรรษา 3 เดือน
๔)สถานที่ พระพุทธสิงห์หลวงทันใจ (พระเจ้าทันใจ) กราบไหว้ ขอพร และรอดใต้ฐานพระพุทธสิงห์หลวงทันใจ (พระเจ้าทันใจ) ทุกวัน มีคณะศรัทธาและประชาชนเข้ากราบไหว้สักการะและรอดใต้ฐานพระพุทธสิงห์หลวงทันใจ (พระเจ้าทันใจ) ประมาณ ๒๐-๓๐ คน ต่อวัน
ความน่าสนใจภายในวัดจอมแจ้ง
กิจกรรมท่องเที่ยวเรียนรู้วิถีภูมิปัญญาของชุมชนได้จัดให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ มีด้วยกันหลากหลายกิจกรรม โดยรถสามล้อที่พานักท่องเที่ยวนั่งรถไปตาม ตรอก ซอย ภายในชุมชุนเป็นวิถีชีวิตของชุมชนโดยแท้จริง อาทิ จุดเรียนรู้ขนมและอาหารพื้นเมือง ที่ให้นักท่องเที่ยวมาลิ้มลองอาหารพื้นบ้านปลอดสารพิษ เช่น ลาบคั่ว นํ้าพริกข่า ห่อนึ่งไก่ เนื้อทอด ผัดขนมจีน เป็นต้น “นํ้าสมุนไพร” จากคุณแม่จันทนา ดวงเงิน ที่ทำไว้บริการนักท่องเที่ยวที่มาพักโฮมสเตย์บ้าน
จอมแจ้ง โดยใช้สมุนไพรจากป่าชุมชน และสวนเกษตรของชาวบ้านที่ปลูกเอง ได้แก่ นํ้ามะตูม นํ้าตะไคร้ นํ้ากระเจี๊ยบ นํ้าอัญชัญ และนํ้าขิง ที่เสิร์ฟด้วย แก้วนํ้าที่ทำมาจากกระบอกไม้ไผ่ ซึ่งนํ้าสมุนไพรต่างๆ ให้สรรพคุณต่อร่างกายได้เป็นอย่างดี มีกิจกรรมสาธิตการทำขนม และอาหาร ดำเนินงานโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีทั้งขนมต้มดำ ต้มขาว ไส้มะพร้าว โดย แม่กรรณิกา ปันดงเขียว ทำจากแป้งข้าวเหนียว นำมาอบควันเทียนเพิ่มความหอม โรยด้วยมะพร้าวอ่อนน่ารับประทาน หรือ “ข้าวแต๋นนํ้าแตงโม” ที่คิดค้นสูตรโดย คุณแม่จันทร์ศรี วันนะ และ คุณแม่วิไลวรรณ จันทอง กลุ่มแม่บ้าน
วิสาหกิจชุมชนบ้านจอมแจ้ง
จุดเรียนรู้งานหัตถกรรมจักสาน และสมุนไพรพื้นบ้าน ที่บ้าน คุณพ่อถวิล ตันตะละ นักท่องเที่ยวสามารถได้ลงมือปฏิบัติทดลองจักสานอย่างง่ายๆ เช่น นก ปลา ดอกไม้ พวงมาลัย โดยใช้วัสดุไม้ไผ่ และของเหลือใช้ และจุดนี้ยังได้ผ่อนคลายกับการอบสมุนไพรพื้นบ้าน ที่มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ โดยใช้สมุนไพรภายในชุมชนกว่า 30 ชนิด เช่น ขมิ้น ไพร เล็บครุฑ ใบมะขาม ส้มป่อย ใบข่า หมากพลู สำหรับนักท่องเที่ยวท่านใดสนใจ อยากได้เครื่องจักสานสวยๆ เช่น สุ่ม (พานพุ่ม) พวงมาลัย ก๋วย (ชะลอม) หรือลูกประคบสมุนไพร
จุดเรียนรู้เครื่องเงินและอัญมณีที่ บ้าน นายยงยุทธ วันนะ ช่างทำจิวเวอรี่ประจำชุมชน ได้ศึกษาการทำจิวเวอรี่ที่กรุงเทพฯ มาตั้งแต่ อายุ 13 ปี มีความชำนาญในการทำจิวเวอรี่มาหลายปี เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้ชมและเรียนรู้กระบวนการทำเครื่องประดับ และการออกแบบ การขึ้นรูป การเจียระไน จนกลายเป็นเครื่องประดับชิ้นงาม
จุดเรียนรู้ “การตีมีด” เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เห็นการอนุรักษ์การตีมีดใช้เองภายในครัวเรือน โดย พ่อเกตุ จันทอง อายุ 70 ปี สืบทอดวิทยาการตีดาบ จากสล่าชั้นครูในอดีต โดยสืบสานการตีดาบมาเป็นเวลา 20 ปี โดยใช้ “เหล็กแหนบ” รถยนต์เก่าที่ไม่ใช้แล้ว มาเผาตีขึ้นรูปใหม่ ตีให้คงรูป ลับให้คม ฝังลงด้ามด้วยขี้ชะมด หรือครั่ง และมีรูปแบบมีดหลากหลาย แบบ มีดปลายแหลม มีดยาว เคียว ขวาน มีดเหน็บ มีดถางหญ้า มีดเหลา เป็นต้น
เรียนรู้การแกะสลักไม้ ที่บ้าน นายศักดิ์ นิรันดร์ บุญเจริญ (สล่าเอ๋) เป็นศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่จัดให้นักท่องเที่ยว ผู้มาเยือนได้ชมขั้นตอนการแกะสลักไม้ด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น งานแกะสลักช้าง กินรี พระพิฆเนศ เรื่องราวของวรรณคดี และชาดก
ข้อมูลเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2561
พระครูสมุห์อานนท์ ปญฺญาปโชโต เจ้าอาวาสวัดจอมแจ้ง
พระครูสมุห์อานนท์ ปญฺญาปโชโต
ปัจจุบันอายุ 30 ปี
บวชมาแล้ว 10 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น พระครูสมุห์ฐานนานุกรมที่ พระเทพสิงหวราจารย์
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดจอมแจ้ง และยังดำรงตำแหน่งเป็นเลขาฯ รองเจ้าคณะอำเภอ
ประวัติด้านการศึกษาของพระครูสมุห์อานนท์ ปญฺญาปโชโต
พระครูสมุห์อานนท์ ปญฺญาปโชโต เจ้าอาวาสวัดจอมแจ้ง
จบการศึกษาศึกษาระดับปริญญาโท จากสถานบันการศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.2558
อดีตเจ้าอาวาสวัดจอมแจ้ง
พระอุปาละ(ครูบาอุปาละ) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2456 ถึงปี พ.ศ.2458 |
พระบุญธรรม |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2458 ถึงปี พ.ศ.2459 |
พระอุ่น ปินตา |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2459 ถึงปี พ.ศ.2480 |
พระคำปัน |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2480 ถึงปี พ.ศ.2481 |
พระอธิการ สิงแก้ว สีหรตฺตโน |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2481 ถึงปี พ.ศ.2498 |
พระครูพุทธิญาณโสภิต (บุญปั๋น พุทธสาโร) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2498 ถึงปี พ.ศ.2527 |
พระครูสุวัฒน์วรธรรม |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 ถึงปี พ.ศ.2548 |
พระสุพจน์ จารณสมฺปนฺโน |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ถึงปี พ.ศ.2550 |
พระครูพิพิธธรรมประกาศ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 ถึงปี พ.ศ.2552 |
พระครุสุวัฒน์วรธรรม |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 ถึงปี พ.ศ.2555 |
พระครูสมุห์อานนท์ ปญฺญาปโชโต |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 ถึงปี พ.ศ.2560 |
พระครูปรีชาปริยัตยาทร ปญฺญาธโร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 ถึงปัจจุบัน |
ประเพณีสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดจอมแจ้ง
ประเพณีไหว้สาพระบรมธาตุจอมแจ้ง ๕ สี จัดกิจกรรมระหว่างวันที่ เดือน ๙ ขึ้น ๑๔ ค่ำ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ ๕๐๐-๖๐๐ คน รูปแบบ/ลักษณะ ของกิจกรรม มีการแห่น้ำสรงพระบรมธาตุ น้ำขมิ้นส้มปล่อย สรงน้ำพระธาตุและประเพณีจุดบ้องไฟหมื่นบูชาพระบรมธาตุ
กิจกรรมวันมาฆบูชา (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดจอมแจ้ง
วันมาฆบูชา จัดกิจกรรมระหว่างวันที่ เดือน ๕ หรือ เพ็ญ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ ๑๕๐ คน รูปแบบ/ลักษณะของกิจกรรม จัดให้มีการเวียนเทียนรอบพระบรมธาตุเจดีย์ของวัดและกล่าวคำบูชา มาฆบูชา และวันสำคัญต่างๆ
กิจกรรมวันอาสาฬหบูชา (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดจอมแจ้ง
วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาจัดกิจกรรมระหว่าง วันที่ วันอาสาฬหบูชา จนถึงวันที่ วันเข้าพรรษา มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประมาณ ๒๐๐ คน รูปแบบ/ลักษณะของกิจกรรม มีการทำบุญตักบาตร ตอนเช้าวันเข้าพรรษา มีการอบรมศีลธรรมแก้ศรัทธาประชาชน ผู้สูงอายุ ปฏิบัติธรรม คืออุโบสถรับศีล ๘ ศรัทธาประชาชน ร่วมฟังเทศน์ ทุกวัน พระในฤดูเข้าพรรษา ๓ เดือน
กิจกรรมทุกวันพระ (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดจอมแจ้ง
ทุกวันพระ จะมีการทำบุญตักบาตร ช่วงเช้า มีการอบรมศีลธรรมแก่ศรัทธาประชาชนที่เข้าร่วมพิธี ในเวลาตอนเย็นสวดมนต์ทำวัดเย็น เจริญจิตภาวนา รักษาอุโบสถศีล มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประมาณ 50-60 คน
การจัดการศึกษาภายในวัดจอมแจ้ง
การจัดการศึกษาภายในวัดจอมแจ้งนั้น จะประกอบไปด้วย