วัดต้นแก้วรัตนาราม ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 9 ตำบลน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 3 ไร่ 3 งาน 55 ตารางวา โฉนดเลขที่ 53983 อาณาเขต
ทิศเหนือ ประมาณ 40 วา จดที่ดินเอกชน
ทิศใต้ ประมาณ 55 วา จดลำเหมืองโรงวัว
ทิศตะวันออก ประมาณ 30 วา จดที่ดินเอกชน
ทิศตะวันตก ประมาณ 56 วา จดที่ดินเอกชน
อาคารเสนาสนะประกอบไปด้วยศาลาการเปรียญ โรงครัว หอระฆัง ศาลาปฏิบัติธรรม กุฏิสงฆ์ ศาลาโรงเก็บของ ปูชนียวัตถุ มี เจดีย์ พระพุทธรูป 12 องค์
วัดป่าตึงโรงวัว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2292 โดยมีท่านครูบาสม โสภา เป็นประธานในการก่อสร้าง ซึ่งสภาพเดิมเป็นวัดร้าง ตั้งแต่ ปี พุทธศักราช 2510 สาเหตุเพราะคันคลองชลประทานขาดน้ำท่วมวัด และอีกอย่างหนึ่ง ศรัทธาบ้านห้วยกู่ – ห้วยฆ้องมีมากกว่า ในการย้ายครั้งนี้ได้ย้ายทั้งชื่อวัดชื่อบ้านขึ้นไปด้วย ดังปรากฏชื่อบ้านโรงวัวหมู่ที่ 1 จนทุกวันนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ชาวบ้านพะยากและชาวบ้านโรงวัวเดิมจึงคิดจะบูรณะวัดป่าตึงโรงวัวเดิมใหม่ เพราะการไปทำบุญที่วัดโรงวัวใหม่ต้องเดินทางไปไกลตั้ง 3 กิโลเมตร จึงได้ตกลงกันปฏิสังขรณ์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 โดยมีท่านศึกษาการอำเภอ เดชา พินิจสุวรรณ มาเป็นประธาน การบริหารการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ
รูปที่ 1 พระจรัล อริยวํโส พ.ศ. 2535 – 2537
รูปที่ 2 พระฉัตรชัย พ.ศ. 2537 – 2538
รูปที่ 3 พระประธาน วรธมโม พ.ศ. 2538 – 2539
รูปที่ 4 พระอินสอน มหาปุญโญ พ.ศ. 2539 – 2541
รูปที่ 5 พระแทน ฐิตมโน พ.ศ. 2542 – 2548
รูปที่ 6 พระสนัด สุภทฺโท พ.ศ. 2549 – ปัจจุบัน
พุทธศาสนิกชนบ้านต้นแก้ว ม.9 ต.น้ำบ่อหลวง ร่วมคณะศรัทธาทั่วไป ได้ร่วมกันพัฒนาที่ดินวัดร้างโดยก่อสร้างกุฏิ ศาลา เสนาสนะต่างๆ ตั้งแต่ปี 2535 และต่อมาได้รับประกาศสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2549 ยกวัดร้างขึ้นเป็นพระภิกษุอยู่จำพรรษา ชื่อวัด ป่าตึงโรงวัว แต่โดยปกติทั่วไปคนนิยมเรียกชื่อว่า วัดต้นแก้ว ซึ่งสอดคล้องกับชื่อของหมู่บ้าน มีศรัทธาที่มีบ้านเรือน อยู่ใกล้บริเวณวัดจำนวน 60 หลังคาเรือน นอกจากนี้เป็นศรัทธาภายนอก
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ 19 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2549
๑) ชื่อกิจกรรม ถวายทานต้นเงิน จัดกิจกรรมระหว่างเข้าพรรษา มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 100 คน รูปแบบ/ลักษณะของกิจกรรม พุทธศาสนิกชนจัดตั้งต้นเงิน และสิ่งของและนำมาถวายวัดเพื่อนำปัจจัยไปทำนุบำรุงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดส่วนสิ่งของใช้เป็นสมบัติกองกลางสำหรับใช้ในกิจกรรมของวัดหรือหมู่บ้าน
๒) ชื่อกิจกรรม ประเพณีถวายทานข้าวใหม่ จัดกิจกรรมระหว่างในช่วงเดือนมกราคม มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 60 คน รูปแบบ/ลักษณะของกิจกรรม พุทธศาสนิกชน นำข้าวสารอาหารแห้งอาหารคาวหวาน เงิน ถวายพร้อมกันในตอนเช้า เพื่อนำรายได้ไปทำนุบำรุงวัด
๓) ชื่อกิจกรรม ทำบุญตักบาตรในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (ปี๋ใหม่เมือง) จัดกิจกรรมระหว่างเดือนเมษายน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 60 คน รูปแบบ/ลักษณะของกิจกรรม พุทธศาสนิกชน ร่วมทำบุณตักบาตร ในตอนเช้า กลางคืนมีเวียนเทียน นั่งสมาธิ จัดทำป้าย ประชาสัมพันธ์ ติดบริเรณประตูเข้าวัด