ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดน้ำบ่อหลวง
ประวัติความเป็นมา
วัดน้ำบ่อหลวง ตั้งอยู่เลขที่ 130 บ้านน้ำบ่อหลวง แต่เดิมเป็นหมู่ที่ 5 ต.สันกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ปัจจุบันเป็น หมู่ที่ 2 ต.น้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดและที่ธรณีสงฆ์ที่ได้ออกโฉนดแล้ว รวมทั้งหมดมีจำนวน 303 ไร่ 3 งาน 44 ตารางวา ตามโฉนดดังต่อไปนี้ โฉนดเลขที่ 67460 เนื้อที่ 138 ไร่ 3 งาน 46 ตารางวา โฉนดเลขที่ 67761 เนื้อที่ 146 ไร่ 2 งาน 40 ตารางวา โฉนดเลขที่ 47766 เนื้อที่ 18 ไร่ 1 งาน 57 ตารางวา ทิศเหนือ และทิศตะวันตกจดป่าสงวนแห่งชาติ ทิศตะวันออกจดหมู่บ้านจัดสรร ทิศใต้จดหมู่บ้านและคลองชลประทานแม่แตงสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ โรงมณฑปที่ประดิษฐาน รูปเหมือนพระสุธรรมยานเถร (ครูบาอินทจักรรักษา) วิหาร หอพระไตรปิฏก – ระฆัง กุฏิสงฆ์ กุฏิแม่ชี ศาลาปฏิบัติธรรม และหอสรงน้ำพระบรมธาตุ ปูชนียวัตถุมี ถ้ำรอยพระพุทธบาท บ่อน้ำทิพย์ และพระแก้วจุฬามณี
วัดน้ำบ่อหลวง เป็นวัดป่าโบราณที่มีพัทธสีมา ตามตำนานโบราณกล่าวว่าในปี พ.ศ. 1323 มี สุพรรณรังษี ปโคตเศรษฐี พร้อมด้วยบริวารได้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดสร้างวัดขึ้น ต่อมากลายเป็นวัดร้าง ในปี พ.ศ. 2455 ท่านครูบาคำได้บูรณะขึ้น เมื่อท่านมรณะภาพจึงได้กลายเป็นวัดร้างอีกวาระหนึ่ง จนปี พ.ศ. 2477 ท่านครูบาอินทจักรรักษาร่วมกับประชาชนได้ยกวัดร้างเป็นวัดมีพระภิกษุสงฆ์ขึ้น มีถาวรวัตถุ เจริญรุ่งเรืองจนถึงปัจจุบัน ได้พระราชทานวิสุงคามสีมาเป็นประมาณ พ.ศ. 2484 แต่เอกสารสูญหาย จึงได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาอีกครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2540 กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามคือ
๑. พระครูบาคำ (ครูบางูลืน) พ.ศ.๒๔๕๕-๒๔๗๐
๒. พระครูบาอินทจักรรักษา (พระสะณณมยานเถร) พ.ศ.๒๔๗๗-๒๕๒๑
๓. พระครูบาพรหมจักรสังวร (พระสุพรหมยานเถร) พ.ศ.๒๕๒๒-๒๕๒๖ (รก.)
๔. พระครูแดง จนฺทวํโส พ.ศ.๒๕๒๗-๒๕๒๙
๕. พระครูอุดมกิจจานุยุต พ.ศ.๒๕๓๐-๒๕๓๑ (รก.)
๖. พระครูธรรมาภิรม พ.ศ.๒๕๓๒-ปัจจุบัน
วัดน้ำบ่อหลวงซึ่งเดิมเป็นวัดร้างมานานได้กับมาเจริญรุ่งเรืองเหมือนในอดีตก็โดยอาศัยบุญญาบารมีของท่านพระครูบาเจ้าอินทจักรรักษา (พระสุธรรมยานเถร) ได้อบรมศีลธรรมแก่ประชาชนทั่วไปจนมีความรู้ความเข้าใจในศีลธรรม กรรมฐาน นำศรัทธาประชาชนให้เกิดความเลื่อมใสในหลักธรรมด้วยการนำปฏิบัติ โดยศรัทธาประชาชนได้สามัคคีบริจาคทรัพย์บำรุง บูรณะก่อสร้างวัดนี้ให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น แต่มิได้สร้างสิ่งปลูกสร้างให้ใหญ่โตหรือสูงมากนัก โดยมีความตั้งใจจะให้เป็นวัดที่รักษาสภาพป่าไว้ เพื่อลูกหลานจนปรากฏเป็นรมณีสถานอันน่ารื่นรมย์ในปัจจุบัน
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2477
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 12 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2540
ความน่าสนใจภายในวัดน้ำบ่อหลวง
วัดแห่งนี้ได้นามว่า “วัดน้ำบ่อหลวง” เพราะถือเอาบ่อน้ำใหญ่เป็นนิมิต ได้นามว่า “วนาราม” เพราะตั้งอยู่ในป่า เป็นไปตามพุทธบัญญัติเป็นวัดมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สร้างเมื่อสมัย “โยนะกะบุรี” ปี พ.ศ. ๑๓๒๓ หรือจุลศักราช ๑๔๒ โดย “สุพรรณะรังสี ปโคตเศรษฐี” พร้อมพุทธศาสนิกชน ทั้งกลายร่วมกันสร้างขึ้น เพื่อถวายไว้ในพุทธศาสนา และมีประเพณีทำบุญตามเทศกาล มาแต่โบราณ มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษา ตำนานกล่าวไว้ว่ามีถึงพันรูป มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตกาล ต่อมาได้กลายเป็นวัดร้างเพราะสภาพบ้านเมืองที่เกิดจากภัยสงคราม
จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ ท่านครูบาเจ้าอินทจักรรักษา (พระสุธรรมยานเถร) ที่พำนักเดิมท่านอยู่ที่วัดป่าเหียงกองงาม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ได้เดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมในเขตป่าที่ตั้งวัดน้ำบ่อหลวงนี้ พร้อมด้วยพระภิกษุที่เป็นศิษย์จำนวน ๑๐ รูป ในครั้งนั้นศรัทธาประชาชนในเขตตำบลสันกลาง (ต่อมาแยกออกเป็นตำบลน้ำบ่อหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕) ซึ่งมีพ่อขุนอนุพลนคร (กิมซั้ว นิมานันท์) เป็นประธาน และนายปัญญา ภิญโญฤทธิ์ พร้อมด้วยประชาชนในตำบลใกล้เคียงมาร่วมทำบุญ ตักบาตร แล้วนิมนต์ท่าจำพรรษา ณ วัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม) แห่งนี้
ท่านครูบาใช้ชีวิตอยู่ในป่าเพื่อแสวงหาโมกขธรรมเป็นเวลานานถึง ๑๖ ปี จากนั้นท่านจึงรับอาราธนาจากขุนอนุพลนคร และคณะศรัทธา ให้มาจำพรรษาที่วัดน้ำบ่อหลวง (ในขณะนั้นเป็นวัดร้าง) เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ ตรงกับเดือน ๗ แรม ๓ ค่ำ ปีจอ กับพระภิกษุที่ร่วมธุดงค์มาด้วยอีก ๑๐ รูป ท่านจึงได้เริ่มดำเนินการบูรณะวัดน้ำบ่อหลวงขึ้นพร้อมกับศรัทธาใน ๓ ตำบล คือ ตำบลสันกลาง ตำบลยุหว่า และตำบลบ้านแม
ท่านครูบาพิจารณาว่าวัดน้ำบ่อหลวง ซึ่งแต่ก่อนประชาชนในพื้นที่จะเรียกว่า “วัดวนารามน้ำบ่อหลวง” วนารามนั้นแปลว่า ป่าวัดน้ำบ่อหลวง จึงได้ชื่อว่า “วัดป่า” สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.๑๓๒๓ วัดวาอารามทั้งหลายที่สร้างขึ้นในเขตอำเภอสันป่าตองสมัยแรกนี้อยู่ไกลหมู่บ้าน คือมีแต่วัดสร้างขึ้นไว้ในเขตป่าเท่านั้น โดยมีระยะห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๕๐๐ วาบ้าง ๑,๐๐๐ วาบ้างตามพุทธบัญญัติ ได้ถือเอาขาแห่งธนูเป็นขนาด จึงนับว่าเป็น “วัดป่า” เหมาะแก่การพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม
ตามพงศาวดารหรือตำนานโบราณท่านกล่าวไว้ว่า “วัดน้ำบ่อหลวง เคยเป็นที่อยู่จำพรรษาของพระภิกษุถึงพันกว่ารูป ในคราวที่พระพุทธศาสนาได้แผ่เข้ามาในล้านนาเมื่อครั้ง โยนกบุรี มีเศรษฐีนามว่า สุพรรณรังสีพะโคเศรษฐี มีศรัทธาความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ได้บริจาคทรัพย์และกำลังคนก่อสร้างวัดแห่งนี้ ต่อมาวัดแห่งนี้ได้ร้างไปตามสภาพบ้านเมืองในคราวที่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า เมื่อท่านครูบาศึกษาตำนานของวัดแล้วเกิดดำริที่จะพัฒนาวัดน้ำบ่อหลวงให้เจริญเหมือนในอดีต จึงได้รับนิมนต์ขุนอนุพลนครพร้อมกับประชาชน พัฒนาวัดน้ำบ่อหลวงให้กลับเจริญรุ่งเรือง ดังปรากฏในปัจจุบัน”
ข้อมูลเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2560
พระครูธรรมาภิรม วรธมฺโม เจ้าอาวาสวัดน้ำบ่อหลวง
พระครูธรรมาภิรม วรธมฺโม
ปัจจุบันอายุ 83 ปี
บวชมาแล้ว 62 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตร ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอวัดน้ำบ่อหลวง และยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส
ประวัติด้านการศึกษาของพระครูธรรมาภิรม วรธมฺโม
พระครูธรรมาภิรม วรธมฺโม เจ้าอาวาสวัดน้ำบ่อหลวง
จบการศึกษาศึกษาระดับมศ.3 เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.
อดีตเจ้าอาวาสวัดน้ำบ่อหลวง
พระครูบาคำ (ครูบางูลืน) |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระครูบาอินทจักรรักษา (พระสะณณมยานเถร) |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระครูบาพรหมจักรสังวร (พระสุพรหมยานเถร)(รก.) |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระครูแดง จนฺทวํโส |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระครูอุดมกิจจานุยุต(รก.) |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระครูธรรมาภิรม |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
งานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุและกู่อัฐครูบา (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดน้ำบ่อหลวง
งานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุและอู่อัฐิครูบาเจ้าอินทจักรรักษา ถือว่าเป็นงานประจำปีที่สำคัญของวัดน้ำบ่อหลวง งานสรงน้ำพระบรมธาตุเป็นประเพณีมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ท่านครูบาเจ้าอินทจักรรักษา เป็นผู้ริเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๗๙ เป็นต้นมา ส่วนอู่อัฐิท่านครูบาฯ นั้นเพิ่งจะสร้างมาเมื่อ ๒๓ ปี มานี้ คือสร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๒๔ เพราะท่านครูบาฯมรณภาพไปในวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๒๑ แต่มาได้พระราชทานเพลิงศพในวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๒๔ งานสรงน้ำกู่อัฐิจึงได้จัดขึ้นพร้อมกับงานสรงน้ำพระบรมธาตุซึ่งปกติจะจัดขึ้นประมาณกลางเดือนมิถุนายนของทุกปี
การจัดการศึกษาภายในวัดน้ำบ่อหลวง
การจัดการศึกษาภายในวัดน้ำบ่อหลวงนั้น จะประกอบไปด้วย
- สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด
- ศูนย์อบรมประชาชนประจำอำเภอ