ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดสันก้างปลา
- ชื่อวัด: วัดสันก้างปลา
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 14 รูป
- สามเณร: 6 รูป
- ลูกศิษย์วัด: 3 คน
- ที่ตั้ง: เลขที่ 1/2 หมู่ 6 สันก้างปลา ตำบลทรายมูล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปษณีย์ 50130
- โทร: 053-332041
- แฟกซ์: 053-332042
- เว็บไซต์: www.watsankangpla.com
ประวัติความเป็นมา
วัดสันก้างปลา ตั้งอยู่ ตำบลทรายมูล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ วัดแห่งนี้ก่อสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2527 เกิดขึ้นด้วยความเห็นชอบของคณะศรัทธาประชาชนในหมู่บ้าน อาศัยความเสียสละสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันอย่างแข็งขันของชาวบ้านได้รวบรวมทุนปัจจัยร่วมกันซื้อพื้นที่นาแล้วพัฒนาขึ้นมาให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2539
หมู่บ้านสันก้างปลา เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทเขินที่ถูกกวาดต้อนมาจากประเทศพม่า โดยชาวไทเขินบ้านสันก้างปลาได้อพยพจากเมืองเชียงตุงเข้าสู่ประเทศไทย ตามข้อสันนิษฐานของนักวิชาการประวัติศาสตร์ ในรัชสมัยพระเจ้ากาวิละครองเมืองเชียงใหม่ได้รวบรวมกำลังขับไล่พม่าออกไปแล้วบ้านเมืองกลายเป็นเมืองร้าง เพราะประชาชนหลบหนีภัยสงครามไปอยู่ตามป่าเขาบ้าง หรือถูกกวาดต้อนไปอยู่ที่อื่นๆ ซึ่งคุณไกรศรี นิมมานเหมินทร์ กล่าวว่าการตั้งบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยในเชียงใหม่และจังหวัดอื่นๆ ในภาคเหนือนั้นเป็นไปตามนโยบาย “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” ของพระเจ้ากาวิละซึ่งได้ส่งกองทัพล้านนาออกไปเกลี้ยกล่อมชักจูงให้ประชาชนกลับมายังถิ่นเดิมของตน ดังคำประกาศของพระยาอุปราชธรรมลังกาว่า “ลัวะหื้อออกมาแปงไฮ่ ไทหื้อออกมาแป๋งนา” และการทำสงครามเพื่อกวาดต้อนเอาไพร่พลจากเมืองต่างๆมาพัฒนาเมืองเชียงใหม่
ชาวไทเขิน บ้านสันก้างปลา ได้รวมกลุ่มกันเป็นเครือญาติมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณสันดอนที่มีต้นไม้ก้างปลาขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านได้พร้อมใจกันทำการแผ้วถางป่าไม้ก้างปลาเหล่านั้น และสร้างเป็นบ้านเรือนเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย จึงถือเอามงคลนามของต้นไม้ก้างปลาที่ขึ้นอยู่บริเวณนั้นเป็นชื่อของหมู่บ้านว่า “บ้านสันก้างปลา” ตลอดระยะเวลากว่าสองร้อยปีที่ชาวไทเขินกลุ่มนี้ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่ และขยายตัวไปตั้งบ้านที่บ้านหัวทุ่ง และบ้านทรายมูล โดยมีวัดทรายมูล ตำบลทรายมูล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทเขิน จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2527 ชาวไทเขินบ้านสันก้างปลาได้รวมตัวกันสร้างวัดใหม่ชื่อว่า “วัดสันก้างปลา” เพื่อเป็นสถานที่บำเพ็ญศาสนกิจทางพระพุทธศาสนาและเป็นที่ยึดเหนี่ยวของชาวไทเขิน
วัดสันก้างปลา เป็นวัดมุ่งมั่นที่จะสืบทอดพระพุทธศาสนาตามหลักคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า โดยอาศัยวิถีวัฒนธรรมชุมชนเป็นพื้นฐานในการเผยแผ่หลักธรรม เน้นการปฏิบัติธรรมตามแนวการหลุดพ้น นำหน้าความประพฤติที่ดีงาม มุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาของพุทธเยาวชน ตามกรอบการจัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อตอบสนองการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ รู้รักสามัคคี ตามวิถีแห่งพระพุทธศาสนาโดยใช้ยุทธศาสตร์ไร้รูปแบบเป็นกระบวนเผยแผ่และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
หากมาวัดสันก้างปลาแล้ว สำหรับใครที่มีเวลาเหลือ ซักหน่อย ภายในวัดสันก้างปลา มีศูนย์วัฒนธรรมไทยเขิน ให้ได้เยี่ยมชม พร้อมร้านกาแฟสดรสชาติดีๆ ให้ได้ลิ้มลองกันอีกด้วยครับ
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ 31 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2531
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 27 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2538
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดสันก้างปลา
วัดสันก้างปลา ตั้งอยู่ในชุมชนบ้านสันก้างปลา เป็นชุมชนขนาดเล็กแห่งหนึ่งในเขตอำเภอสันกำแพง ชาวบ้านที่นี่เกือบทั้งหมดเป็นชาวไทยเขิน สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่อพยพมาจากเมืองเชียงตุง ประเทศพม่า ในสมัยที่พระเจ้ากาวิละ ได้กวาดต้อนกลุ่มชาวไทยเขินให้มาอยู่เมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2339 เวลาได้ล่วงเลยมากว่าสองร้อยปี แต่ชาวไทยเขินยังคงรักษาเอกลักษณ์ของชุมชนไว้ได้อย่างเหนียวแน่น
ศูนย์วัฒนธรรมไทยเขิน วัดสันก้างปลา จัดตั้งขึ้นเพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวไทยเขิน และเผยแพรให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังเป็นการปลูกจิตสำนึกแก่เยาวชนให้มีความรักท้องถิ่น รวมไปถึงตระหนักในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษได้สร้างสมมาหลายชั่วอายุคน
ภายในศูนย์วัฒนธรรมวัดสันก้างปลานี้ ประกอบด้วยนิทรรศการที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของชาวไทยเขิน เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายแบบชาวไทยเขิน ทั้งที่เป็นของเก่าแก่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษและที่ตัดเย็บขึ้นมาใหม่โดยกลุ่มแม่บ้าน รวมถึงเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวัน ซึ่งเดิมเคยมีการจัดทำทะเบียนวัตถุ แต่ภายหลังเมื่อมีวัตถุใหม่ ๆ เข้ามาเพิ่ม ทำให้เลขทะเบียนกระจัดกระจาย ทางศูนย์กำลังจัดทำเลขทะเบียนใหม่เพื่อการจัดเก็บที่เป็นระบบมากขึ้น
การจัดตั้งและการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์เป็นความร่วมมือระหว่างวัดและชุมชน โดยชาวบ้านจะแวะเวียนมาดูแลศูนย์ฯ ถ้าผู้มาเยี่ยมชมศูนย์มีข้อสงสัยอะไร ชาวบ้านสามารถเป็นวิทยากรแนะนำและตอบคำถามได้ แต่โดยปกติแล้วพระในวัดจะเป็นวิทยากรประจำ ถือได้ว่าศูนย์แห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่สำคัญของคนในชุมชนและชุมชนข้างเคียง
วัดยังจัดกิจกรรมให้กับเยาวชน โดยเนื้อหาจะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนธรรมะและส่วนวัฒนธรรม
อันดับแรกเป็นการบรรยายธรรมะเพื่อให้สงบจิตสงบใจและเกิดสมาธิ จากนั้นจึงนำชมศูนย์ การนำชมนี้จะไม่ยัดเยียดข้อมูลให้ผู้ชม แต่จะรอตอบข้อสงสัยเป็นเรื่อง ๆ ไป เพราะมีป้ายเขียนบรรยายรายละเอียดไว้หมดแล้ว พระวิทยากรจะแนะนำเฉพาะเรื่องที่นอกเหนือไปจากนั้น ซึ่งเป็นการกระตุ้นผู้มาชมให้คิดให้ถาม และรับข้อมูลตรงตามที่ตนสนใจได้อย่างเต็มที่และตรงวัตถุประสงค์มากที่สุด
ในปัจจุบัน ศูนย์ฯ มีความพร้อมทั้งในด้านข้อมูลและบุคลากรที่สามารถรองรับผู้สนใจมาเยี่ยมชม และศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นชาวไทยเขินได้เป็นอย่างดี สำหรับผู้ที่มีโอกาสเดินทางผ่านไปยังอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ อย่าลืมแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชม "ศูนย์วัฒนธรรมไทยเขิน วัดสันก้างปลา" บ้าง เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ของตนเอง อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้อีกด้วย
ข้อมูลเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2555
พระปลัดธวัชชัย ขตฺติยเมธี เจ้าอาวาสวัดสันก้างปลา
พระปลัดธวัชชัย ขตฺติยเมธี
ปัจจุบันอายุ 29 ปี
บวชมาแล้ว 10 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น ฐานานุกรมที่ พระปลัด รักษาการแทนเจ้สอาวาส
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น รักษาการเจ้าอาวาสวัดสันก้างปลา
ประวัติด้านการศึกษาของพระปลัดธวัชชัย ขตฺติยเมธี
พระปลัดธวัชชัย ขตฺติยเมธี เจ้าอาวาสวัดสันก้างปลา
จบการศึกษาศึกษาระดับปริญญาโท จากสถานบันการศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.
อดีตเจ้าอาวาสวัดสันก้างปลา
พระครูสิทธิปัญญาภรณ์ (อดิศักดิ์ ปญฺญาวุโธ) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 ถึงปี พ.ศ.2560 |
การจัดการศึกษาภายในวัดสันก้างปลา
การจัดการศึกษาภายในวัดสันก้างปลานั้น จะประกอบไปด้วย
- ศูนย์วัฒนธรรม
- โครงการต้นไม้พูดได้
- โครงการวัฒนธรรมไทย สายใยชุมชน
- จัดการศึกษาธรรมศึกษาชั้นตรี (เรียนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์)
- จัดการศึกษาธรรมศึกษาชั้นโท (เรียนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์)
- จัดการศึกษาธรรมศึกษาชั้นเอก (เรียนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์)
- ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
- อุทยานการศึกษา
- สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด