ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดบ้านโป่ง
- ชื่อวัด: วัดบ้านโป่ง
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 5 รูป
- ที่ตั้ง: เลขที่ 153 หมู่ 2 บ้านโป่ง เชียงใหม่ - พร้าว ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปษณีย์ 50290
- เนื้อที่: 2 ไร่ 3 งาน 36 ตารางวา
- โทร: 081-9607800
- เว็บไซต์: www.banpong52@hotmail.com
ประวัติความเป็นมา
วัดบ้านโป่ง เดิมที่ตั้งวัดเป็นป่าทึบ เป็นที่ดินสูงเนินพอสมควรมีโปร่งหลวง และดินมีกลิ่นหอม ตลอดทั้งเป็นที่ชุมนุมของสัตว์นานาชนิดจะมาพักอาศัยอยู่กินดินโป่ง ต่อมามีชาวบ้านประมาณ ๗-๘ ครอบครัว เห็นว่าที่ดินผืนนี้เหมาะสมในการประกอบสัมมาอาชีพทางด้านการเกษตรกรรม จึงร่วมกันปรักหลักลงฐานขึ้น ตลอดทั้งได้ร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาที่ดินผืนนี้ เพื่อเป็นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม อีกทั้งได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นที่พักทางใจ และเป็นสถานที่ประกอบกิจการทางศาสนา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๑ ได้รับอนุญาตสร้างวัด วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๑ ชื่อว่า วัดบ้านโป่ง รับพระราชทานวิงสุงคามสีมา วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ทำพิธีผูกพัทธสีมา วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ในปีพ.ศ. ๒๔๘๖ คณะศรัทธาชาวบ้านได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์และเสียสละแรงงาน ร่วมกันสร้างกุฎิสงฆ์ขึ้น ๑ หลัง ชำรุดทรุดโทรมได้รื้อถอนออกไป เริ่มสร้างหลังใหม่เป็นกุฎิสงฆ์เอนกประสงค์ ๑ หลัง ขนาดความกว้าง ๖ เมตร ยาว ๒๒ เมตร สร้างเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๒๙ ทำบุญฉลองเมื่อวันที่ ๑๖ - ๑๘ มีนาคม ๒๕๓๓
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ 15 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2421
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 23 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2475
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดบ้านโป่ง
กิจกรรม วันสงกรานต์ วันที่เริ่ม 14 เมษายน ของทุกปี เวลาที่เริ่ม 14.00 น. เวลาสิ้นสุด 19.00 น.
- ประชาชนมาร่วมกันขนทรายเข้าวัด
กิจกรรม ทำบุญครบรอบศาลาเรือโบราณ วันที่เริ่ม 16 ธันวาคม ของทุกปี เวลาที่เริ่ม 06.00 น. เวลาสิ้นสุด 09.00 น.
- ตอนเช้ามีการทำบุญตักบาตร และฟังธรรม มีประชาชนมาร่วมเป็นจำนวนมาก
ความน่าสนใจภายในวัดบ้านโป่ง
ประวัติเรือโบราณ
ได้รับการแจ้งข่าวจากชาวบ้านว่าได้พบเรือใหญ่ ที่แม่น้ำปิงหลังหมู่บ้าน กระดูกขนาดใหญ่ ก้อนหินทรายแดง ขวานเหล็กมีบ้อง ๒ ชิ้น ผางประทีป ๑ ชิ้น และเครื่องภาชนะดินเผา ๒ ใบ จมอยู่ในสภาพตะแคงในลำน้ำแม่ปิง เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ทางผู้ใหญ่บ้าน (นายบุญธรรม ชมชื่น) ได้ประสานงานแจ้งให้ทางสำนักงานโบราณคดีพิพิธภัณฑ์แห่งชาติที่ ๖ เชียงใหม่ ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจสอบโบราณวัดถุดังกล่าว ในการสำรวจเบื้องต้นของสำนักงานโบราณคดี และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ ๖ พบว่าชาวบ้านได้นำก้อนหินทรายแดงขึ้นมาไว้ที่วัดบ้านโป่ง จำนวน ๔๒ ก้อน รวมทั้งกระดูกสัตว์ขนาดใหญ่ ผางประทีป และเศษเครื่องภาชนะดินเผา ส่วนเรือยังอยู่ในลำน้ำปิง ส่วนหัวเรือโผล่พ้นนำ้ขึ้นมาประมาณ ๑ เมตร บริเวณที่พบเรือโดยรอบพบว่า ลำน้ำแม่ปิงได้เปลี่ยนเส้นทางจากทิศตะวันตกมาทางทิศตะวันออก ทำให้เรือไม้นี้โผล่ปรากฏออกมา และใกล้กับแหล่งที่มีการดูดทราย ทำให้ทรายที่ทับถมเรือถูกดูดออก เรือจึงปรากฏให้เห็น
ข้อมูลเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2555
พระครูวิสุทธิศีลโสภณ ชีวสุทฺโธ เจ้าอาวาสวัดบ้านโป่ง
พระครูวิสุทธิศีลโสภณ ชีวสุทฺโธ
ปัจจุบันอายุ 57 ปี
บวชมาแล้ว 36 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นเอก
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดบ้านโป่ง และยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบล (จต.)
ประวัติด้านการศึกษาของพระครูวิสุทธิศีลโสภณ ชีวสุทฺโธ
พระครูวิสุทธิศีลโสภณ ชีวสุทฺโธ เจ้าอาวาสวัดบ้านโป่ง
จบการศึกษาศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือ อนุปริญญา จากสถานบันการศึกษาสถาบันการศึกษาเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขต ภาคพายัพ เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.2522
อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านโป่ง
พระสุริยา |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระพรหม |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระโพธา |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระญาณลังกา |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2471 ถึงปัจจุบัน |
พระสิงห์ จนฺทสีโร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2477 ถึงปัจจุบัน |
พระทองคำ คนทวํโส |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2487 ถึงปัจจุบัน |
พระวิชัย |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 ถึงปัจจุบัน |
พระทรงทรัพย์ อานนฺโท |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2505 ถึงปัจจุบัน |
พระแก้ว |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระบุญเลิศ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระประพันธ์ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระสุทัศน์ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระบุญปั๋น |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการหน่อแก้ว สิริปุญฺโญ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 ถึงปัจจุบัน |
พระแก้ว |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระศรีนวล |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระปัญญา |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระครูวิสุทธิศีลโสภณ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ถึงปัจจุบัน |
ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้า (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดบ้านโป่ง
ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้า คือการนำเอาฟืนมาเผา เพื่อให้พระพุทธเจ้าได้ผิงไฟ จัดขึ้นในช่วงเดือน 4 เหนือ หรือประเพณีตานข้าวใหม่ ประมาณเดือนธันวาคมถึงมกราคม เป็นช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น ชาวล้านนามีความเชื่อว่าพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธรูปในวิหารก็รู้สึกถึงความหนาวเย็นเช่นเดียวกับคนเรา จึงร่วมกันหาฟืนมาจุดเผาไฟผิงให้เกิดความอบอุ่น ประเพณีนี้เป็นประเพณีที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับบริบท ทางสภาพแวดล้อม เนื่องจากในดินแดนล้านนาเป็นพื้นที่ๆ มีความหนาวเย็นมาก รวมทั้งมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ต้นไม้ขึ้นหนาแน่น และมีความชื้นสูง การผิงไฟนอกจากจะให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายแล้ว ยังขับไล่ความชื้นในอากาศที่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย
คำว่า"หลัว" เป็นภาษาล้านนา หมายถึง ฟืน ส่วนคำว่า "หิง" หมายถึง การผิงไฟ และคำว่า "พระเจ้า" หมายถึง องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้ามีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมาอย่างแพร่หลายทั่วไปในล้านนา แต่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่ง ส่วนมากจะเป็นวัดที่อยู่แถบชนบทห่างไกล และสามารถหาฟืนได้ง่าย ประเพณีมักจะทำควบคู่ไปกับประเพณี "ทานข้าวล้นบาตร" เพื่อบูชาแม่โพสพ และทานข้าวใหม่ให้แก่วัด บางแห่งก้เรียกรวมว่าเป็นประเพณี "ทานข้าวใหม่ - หิงไฟพระเจ้า"
ชาติพันธ์ุ-ชนเผ่าลัวะ (วิถีชีวิต) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดบ้านโป่ง
ภาษาลัวะ (ภาษา) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดบ้านโป่ง
การฟ้อนเล็บ-ฟ้อนดาบ (ศิลปการแสดงและดนตรี) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดบ้านโป่ง
การจัดการศึกษาภายในวัดบ้านโป่ง
การจัดการศึกษาภายในวัดบ้านโป่งนั้น จะประกอบไปด้วย
- ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
- จัดการศึกษาธรรมศึกษาชั้นตรี (เรียนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์)
- จัดการศึกษาธรรมศึกษาชั้นโท (เรียนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์)
- จัดการศึกษาธรรมศึกษาชั้นเอก (เรียนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์)
- โครงการเข้าวัดวันอาทิตย์
- ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน แหล่งการเรียนรู้ศีลธรรมในวัด