ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดอินทราวาส
- ชื่อวัด: วัดอินทราวาส
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 1 รูป
- สามเณร: 2 รูป
- ที่ตั้ง: หมู่ 4 บ้านต้นเกว๋น ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปษณีย์ 50230
- เนื้อที่: 5 ไร่ 3 งาน 6 ตารางวา
ประวัติความเป็นมา
วัดต้นเกว๋น เป็นนามของต้นไม้ชนิดหนึ่ง ตามพื้นบ้านล้านนา มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นพุ่มสูงประมาณ 10 เมตร ผลที่แก่แล้วจะมีสีดำปนแดงทานได้ (คล้ายๆ ต้นมะเกี๋ยง) หมายถึงที่ตั้งของวัดนี้ สมัยนั้นต้นไมนี้คงมีอยู่มาก ปัจจุบันนี้เหลือเพียงให้ลูกหลานได้ชื่นชม 1 ต้นเท่านั้น
วัดต้นเกว๋น ได้ก่อสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากาวิโลรส สุริยวงค์เป็นเจ้าหลวงปกครองเมืองเชียงใหม่ ในปี จ.ศ.1218-1231 หรือปี พ.ศ. 2395-2412 เป็นต้นมา ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการว่าวัด อินทราวาส จึงได้นำชื่อของเจ้าอาวาสที่ได้ก่อสร้างวัดในสมัยนั้น ตั้งเป็นชื่อวัดเจ้าอาวาสรูปนั้นชื่อว่า ครูบาอินทร์ และได้ผสมผสานกับการเป็นเจ้าอาวาสจึงได้รวมกันเป็น(อินทร์+อาวาส) อินทราวาส
ปัจจุบัน วัดอินทราวาส มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณกลางหมู่บ้าน ต้นเกว๋น หมู่ที่ 4 ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ มีอาณาเขตพื้นที่ตามโฉนดอยู่ 5 ไร่ 3 งาน 6 ตารางวา
วัดอินทราวาส ทางกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถาน-วัตถุ เป็นวัดที่น่าศึกษาค้นคว้า ภายในวัดมีศาลาจัตุรมุขและวิหารสร้างขึ้นด้วยไม้สักทองทั้งหลัง สวยงามมาก ต่อมาในปี 2532 วัดอินทราวาส ได้รับคัดเลือกเป็นวัดที่เก่าแก่ที่ยังคงอนุรักษ์ศิลปะดั้งเดิมเอาไว้ด้วยดีเสมอมา จากสมาคมสถาปนิกสยาม พระราชูปถัมภ์ 19 ตุลาคม 2532 ได้รับ พระราชทานกิติบัตร โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานสถาปนิก 32
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2399
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดอินทราวาส
1. เป็นวัดที่ยั้งพักกระบวนแห่พระบรมธาตุศรีจอมทอง จากอำเภอจอมทอง มาในเมืองเชียงใหม่สมัยก่อน ซึ่งถือเป็นพระเพณีของเจ้าหลวงเชียงใหม่ และประชาชนทั้งหลายมีการสรงน้ำพระธาตุทุกปี เจ้าอาวาสบอกว่าเมื่อถนนสายเชียงใหม่-ฮอดไม่มีถนนสายเดิมผ่านหน้าวัดทิศตะวันออกเมื่อกระบวนแห่พระธาตุขึ้นมาเพื่อจะนำเอาพระธาตุไปทูลเจ้าหลวงสรงน้ำ กระบวนแห่ต้องมาพักวัดนี้ 2-3 คืน เพื่อให้ประชาชนในบริเวณนั้นมาสรงน้ำพระธาตุด้วย
2. มีมณฑปแบบจัตุรมุข มุงด้วยกระเบื้องดินเผาปรากฏอยู่ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุชั่วคราว และเป็นที่สำหรับประชาชนมาหล่อน้ำพระบรมธาตุ
3. มีอาสน์สำหรับตั้งโกฏิพระบรมธาตุเวลาเอาออกให้ประชาชนหล่อ
4. มีรินสำหรับรองน้ำพระธาตุสุคนธสินธุธาราคือน้ำอบน้ำหอมที่ระชามารดหล่อพระธาตุ
5. มีเสรียง สำหรับหามบ้องไฟจุบูชา เจ้าอาวาสบอกว่าโบราณเรียกว่า ขาขะเหยีย ทำได้สวยงามและแข็งแรง สลักลวดลายดอกและรูปนาคลงรักชาดปิดทองผู้
6. มีกลองโยน (กลองบูชา) โบราณเรียกว่า ก๋องบู๋จา มีครบทุกลูกและลูกใหญ่นั้นถ้าจะตีจะได้ยินทั้งตำบลหนองควาย
7. กำแพงเดิมก่อด้วยอิฐธรรมดาไม่ฉาบปูนสองข้างบนมีปล่องคล้ายกำแพงเมืองโบราณ
8. วิหารปัจจุบันสร้างขึ้นเมื่อ จ.ศ. 1220 พ.ศ.2401 ปีที่สร้างปรากฏชัดเพราะว่ามีผู้บันทึก สร้างไว้ที่เพดานด้านเหนือ ด้วยอักษรไทยยวน (ตัวเมือง) ด้วยเลขโหราสร้างในปีเบิกสง้า จ.ศ. 1220 นายช่างผู้สร้างวิหารหลังนี้มีความชำนาญมาก สามารถสลัดลายดอกรูปสัตว์ที่หน้าจั่วและช่อฟ้าใบระกาได้สวยมาที่ชุกชี (แท่แก้ว) พระบรมธาตุในวิหารเป็นลายรูปปั้นเครือดอกกูดและรูปสัตว์ใช้ สะตายจิ๋ง ปั้นอย่างประณีต ละเอียด สวยงาม มีความเพียรอย่างยิ่งฝาผนังด้านหลังพระประธานในวิหารมีรูปคล้ายซุ้ม และซุ้มนั้นล้วนแต่เป็นพระพิมพ์โลหะ ซึ่งหล่อเป็นองค์ๆเอามาติดฝาผนังเป็นรูปคล้ายซุ้ม สามเณรทองอินทร์ นามสกุลพิลา นับจำนวนเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2515 มีจำนวน 625 องค์ ขาด 431 องค์ พระพิมพ์เหล่านี้แบ่งได้เป็น 2 แบบดังนี้คือ
- แบบใบโพธิปางมารวิชัยขนาด 2x4 ซม.
- แบบนาคปรกครองอยู่ในซุ้ม ในซุ้มอีกชั้นหนึ่ง ปางมาวิชัยขนาด 5x3 ซม. เบ้าสำหรับหล่อพระพิมพ์นี้ ยังปรากฏอยู่ทั้ง 2 แบบ
ความน่าสนใจภายในวัดอินทราวาส
สถานที่มีความเก่าแก่และสวยงาม
ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2552
พระจันท์ จักรวโร เจ้าอาวาสวัดอินทราวาส
พระจันท์ จักรวโร
ปัจจุบันอายุ 79 ปี
บวชมาแล้ว 10 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น นักธรรมโท
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดอินทราวาส
ประวัติด้านการศึกษาของพระจันท์ จักรวโร
พระจันท์ จักรวโร เจ้าอาวาสวัดอินทราวาส
จบการศึกษาศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 (ป.4) จากสถานบันการศึกษาโรงเรียนศรีจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทราวาส
ครูบาอินทร์ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
ครูบาอินทร์ (สร้างวิหารและมณฑป) |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
ครูบาอุธร |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
ครูบาดำ คันธา |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
ตุ๊หลวงคำ อภิชโย |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
ครูบาแก้ว ตถสาโร (รักษาการ) |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระสุพัฒน์ ฐานวโร |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
ครูบาแก้ว ตถสาโร |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระเฉลิม สุขวโร |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระจันทร์ จักรวโร |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |