ประวัติความเป็นมาของเมืองตื๋น
เมืองตื๋นเป็นหนึ่งในเมืองโบราณที่สำคัญในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีประวัติความเป็นมาที่ซับซ้อนกันหลายยุคหลายสมัย แบ่งเป็น 4 ยุคดังนี้
1. ‘’ ยุคแรก ‘’ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตอนปลายถึงยุคหริภุญไชย
2.“ ยุคที่สอง ” ยุคอาณาจักรล้านนา
3. “ ยุคที่สาม ” ยุคภายใต้การปกครองของพม่า
4. “ ยุคที่สี่ ” ยุคฟื้นฟูอาณาจักรล้านนา หรือยุครัตนโกสินทร์
ยุคแรก
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย สืบมาจนถึงยุคหริภุญไชย ประมาณพุทธศตรรษที่ 12 – 19 ตอนต้น บริเวณนี้( พื้นที่ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน ) เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของชุมชนชาวเม็งค์และชาวละว้า ประกอบกับมีพื้นที่บริเวณรามลุ่มแม่น้ำในยุคหริภัญไชย ซึ่งต่อมาได้พัฒนาขึ้นเรื่อยๆจนเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางการค้า และกลายเป็นเมืองหน้าด่านในที่สุด
ต่อมาจึงได้มีการแผ่ขยายพื้นที่ปกครองโดยการอพยพผู้คนจากนครหริภุญไชยเข้ามาอยู่อาศัย ปลูกบ้านสร้างเมืองเพื่อใช้เมืองตื๋นเป็นเมืองหน้าด่าน และเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญในการติดต่อซื้อขายสินค้าระหว่างอาณาจักรหริภุญไชยกับอาณาจักรพุกามทางตะวันตก
เมืองตื๋นจึงได้รับอิทธิพลทางศาสนาพุทธ ศิลปกรรมและวัฒนธรรมจากหริภุญไชย คือเริ่มมีการสร้าวัดและจัดสรรชุมชนที่อยู่อาศัยตามหุบเขาต่างๆ รอบพื้นที่รุ่มน้ำแม่ตื่น
ยุคที่สอง
ยุคอานาณาจักรล้านนาเรืองอำนาจ ในสมัยพระเจ้าติโลกราช ( พ.ศ. 1984 - 2030 ) กษัตริย์ลำดับที่ 9 แห่งราชวงศ์มังรายและในปี พ.ศ. 1984 พระองค์ได้ส่ง ทหารเอก 2 สองพี่น้องชื่อว่า” พญาช้างเผือก ” ,“ พญาเสิก ” พร้อมทหารและผู้คน จากเมืองเชียงใหม่เข้ามาปกครอง พัฒนาบ้านเมืองอีกครั้ง เพื่อฝื้นฟูเมืองหน้าด่านในการรักษาปราการจากข้าศึก ตลอดจนเพื่อพัฒนาเป็นฐานที่มั่นในการขยายอาณาเขตในการติดต่อซื้อขาย
นอกจากนี้ในยุคอาณาจักรล้านนายังพบหลักฐานที่ สำคัญถูก คือ ตำนานวัดพระธาตุจอมแจ้ง ถูกบันทึกในคัมภีย์ใบลานเขียนด้วยตัวอักษรธรรมล้านนาและ พบหลักฐานทางโบราณคดีที่เป็นรูปธรรมเพิ่มมากขึ้นกว่ายุคแรก ได้แก่ องศ์พระบรมธาตุจอมแจ้ง และพระธาตุเจดีย์องค์ในของวัดสะฐาน
ตำนานวัดพระธาตุจอมแจ้ง
มีพญาสองพี่น้อง โดยผู้เป็นพี่มีชื่อว่า พญาช้างเผือก และน้องชื่อ พญาเสิก จากตำนานได้กล่าวว่า พญาสองพี่น้องได้อพยพลงมาจากเมืองเชียงใหม่ ลงมาปักหลักสร้างเมืองชื่อว่า “ เมืองตื๋นนทบุรี ” ในปี จุลศุกราช 804 ปีจอ จัตวาศก พ.ศ. 1985 และได้พยาพยามขยายอาณาเขตบ้านเมืองให้กว้างขวางออกไปประกอบด้วย ฟ่อนฟ้า นาหงส์ สะหลง แม่ระมาด หินลาด อมวาบ นาไฮท่าก๋อง หนองแสง ดินแดง บ้าน ปอก บ้านหมาก ผาลาดและวังคำ
ต่อมาจุลศักราช 894 ปีมะโรง จัตวาศก พ.ศ. 2057 พญาช้างเผือก ผู้เป็นพี่ก็ได้สิ้นชีพ พญาเสิกผู้เป็นน้องได้ขึ้นเสวยเมืองแทน ถึงจุลศักราช 960 ปีจอ สัมฤทธิศก พ.ศ. 2141 พญาเสิกก็ได้สิ้นชีพ
ยุคที่สาม
ยุคภายใต้การปกครองของพม่า( พ.ศ. 2101 – 2347 ) พัฒนาการจากยุคที่สองถึงยุคที่สาม เป็นการกล่าวถึง “ ตำนานวัดพระธาตุจอมแจ้งฉบับเดิม ”หลังจากที่ พญาเสิกก็ได้สิ้นชีพใน พ.ศ. 2141และทายาทที่จะต้องสืบทอดราชสมบัติต่อจากพญาเสิกคือ บุตรของพญายาช้างเผือก ชื่อพญาอาทิตราช ( บุตรคนแรกของพญาช้างเผือก ) 2148 พญาอาทิตราช ได้ก่อสร้างพระเจดีย์ธาตุเจ้าขึ้นที่ดอยนางน้อง ( วัดจอมแจ้ง )ในปี พ.ศ. 2148
ต่อมาพญาอาทิตราชได้สิ้นชีพลงเมื่อปี พ.ศ.2212 ทำให้พญาอุทุมราช( บุตรคนที่สองของพญาช้างเผือก) ได้ขึ้นครองราชสมบัติ ถึงจุลศักราช 1113 หรือ พ.ศ. 2294
ปี พ.ศ. 2296 พญาอุทุมราชได้สิ้นชีพลง ทำให้พญาอนันตราชผู้เป็นบุตรของพญาเสิกได้ขึ้นครองราชย์แทน
ถึงจุลศักราช 1118 หรือ พ.ศ. 2297 พญาอนันตราชก็ได้เริ่มสร้างกำแพงรอบพระธาตุเจ้าดอยนางน้อง ( วัดจอมแจ้ง) พร้อมทั้งได้นำพระเกศา พระพุทธเจ้า 1 เส้นพระธาตุ มาบรรจุไว้ที่พระธาตุเจดีย์ วัดจอมแจ้งที่ดอยนางน้องเมื่อบรรจุพระธาตุเจ้าสำเร็จก็เกิดปาฏิหาริย์ คือมีดวงแก้วลอยออกจากพระธาตุเจ้าลอยไปทางดอยม่อนจอง แล้วแวะไปหาพระธาตุเมืองสร้อย แล้วก็กลับมาที่พระธาตุเจ้าจอมแจ้งที่เดิมและใน พ.ศ. 2303 พญาอนันตราชก็ได้สร้างวิหารเสร็จ และได้ทำบุญฉลองใหญ่ ทำให้บ้านเมืองได้รับความเจริญรุ่งเรืองทั่วทุกพื้นที่เมืองตื๋นนทบุรีตราบจนทั่วถึงทุกวันนี้
หลักฐานที่พบในตำนานวัดพระธาตุจอมแจ้ง
พบหลักฐานด้านโบราณสถานเหลืออยู่คือ ซุ้มประตูโขงและแนวกำแพงโบราณของวัดพระธาตุจอมแจ้ง รวมทั้งวัดสะฐาน กับโครงสร้างพระวิหารของวัดพระธาตุจอมแจ้งพร้อมพระประธาน และพระพุทธรูปสำริด เป็นจำนวนมาก
ยุคที่สี่
สมัยฟื้นฟูอาณาจักรล้านนา ซึ่งอยู่ในยุครัตนโกสินทร์ เป็นยุคที่ล้านนาถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยามในฐานะรัฐประเทศราช ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ต้องมีการส่งเครื่องบรรณาการไปถวายแด่พระเจ้ากรุงสยาม จึงมีการกำหนดขอบเขตของประเทศราชล้านนา โดยกำหนดเอา ”เมืองตื๋น” เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของล้านนา ในฐานะเมืองหน้าด่านด้านทิศใต้ของเมืองนครเชียงใหม่ โดยมีชื่อเรียกว่า “ เมืองตื๋นด่าน พญาอินทรย์ ” โดยที่ชื่อ “ พญาอินทรีย์ ” เป็นราชทินนามของเจ้าเมืองตื๋นที่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ทรงโปรดประทานแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองในระดับชั้น “ พญา ”
การรวมรัฐประเทศราชล้านนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม
หลังจากสิ้นสุดยุคประเทศราช ได้มีการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชการที่ 5 ( เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2440 ) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทำการปฏิรูปการปกครอง โดยการผนวกรัฐประเทศราชล้านนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม และกำหนดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ในเขตล้านนาเดิมกำหนดเป็นมณฑลพายัพ มี 6เมือง
เมืองนครเชียงใหม่ มีพื้นที่ครอบคลุมถึงแม่ฮ่องสอนและเชียงราย โดยมีแขวง(อำเภอ)ต่างๆ ที่ขึ้นตรงต่อเมืองนครเชียงใหม่
28 แขวง(อำเภอ) และมีแคว้น ( ตำบล )
การปฏิรูปการปกครอง
หลังจากที่ได้กำหนดการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาลแล้ว ต่อมา รัชการที่ 5 ได้ลองผิดลองถูก เช่นการยุบรวมแขวงต่างๆเข้าด้วยกัน หรือตั้งเป็นแขวงใหม่ จนกระทั่งบ้านเมืองได้มีความเจริญก้าวหน้าในช่วงสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีการพัฒนาบ้านเมืองในด้าน ต่างๆ ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย และได้ทำการยกเลิกการบริหารรูปแบบมณฑลเทศาภิบาล โดยยกเลิก มณฑล ให้เหลือเพียงจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน
การจัดพื้นที่การปกครองพื้นที่ใหม่
เมืองนครเชียงใหม่เดิมได้ แบ่งเป็น 3 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ได้มีการจัดพื้นที่ อำเภอใหม่ พบว่า แขวงแม่ตื่นเป็นพื่นที่อยู่ห่างไกลการเดินทางไม่สามารถเข้าถึงได้สะดวก จึงได้ทำการยุบแขวงแม่ตื่นให้เหลือฐานะเพียงเขต (ตำบล) ขึ้นกับแขวง ฮอด และต่อมา กิ่งอำเภออมก๋อย ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ จึงได้รวมตำบลแม่ตื่นเป็นตำบลหนึ่งของอำเภออมก๋อย ในปี พ.ศ. 2524
ตำบลแม่ตื่น
หมู่บ้านในเขตการปกครอง : 16 หมู่บ้าน
มี 3 ชนเผ่า : คือชนพื้นเมือง ชนเผ่าม้ง และกะเหรี่ยง
ประชากรทั้งสิ้น 9,471 คน คิดเป็น 2,904 ครัวเรือน
อาชีพ : ทำการเกษตร และปศุสัตว์เป็นหลัก
ศาสนาที่ประชาชนนับถือ : ศาสนาพุทธ คริสต์ และนับถือผี
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 1303
วันที่9มิถุนายน 2560 ขึ้น 15คำ เดือน 7 ปีระกา สรงนำพระธาตุ วัดจอมแจ้ง ต.แม่ตื่ืน อ.อมก๋อย จ. เชียงใหม่