บ้านหลุก หมู่ที่ ๘ ตำบลเหมืองง่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
ประวัติความเป็นมาของชุมชน
วัดบ้านหลุก หมู่ที่๘ ตำบลเหมืองง่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนได้จัดสร้างเมื่อประมาณพุทธศักราช ๒๓๒๕
สมัย ๒๒๕ปีล่วงมาแล้วตามตำนานที่เล่าสืบกันมาว่าเจ้าผู้ครองเมืองหริภุญชัย ( ลำพูน ) ได้ยกทัพไปตีข้าศึกที่เมืองเชียงตุงประเทศพม่าเมื่อได้รับชัยชนะข้าศึกทางเมืองเชียงตุงได้แล้วก็กวาดต้อนผู้คนที่เป็นเชลยศึกเมืองยองกลับมายังหริภุญชัย
( ลำพูน)ในจำนวนผู้คนที่ถูกกวาดต้อนมาในครั้งนั้นได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งไม่ปรากฏชื่อซึ่งอาศัยอยู่วัดหนึ่งที่มีนามว่า (วัดบ้านหลุก )ที่มีอยู่ในเมืองยองนั่นเองพระภิกษุรูปนี้ปรากฏว่าเป็นผู้มีวิชาอาคมต่างๆไม่ว่าจะเป็นคาถาหรือเกี่ยวกับการรบจับศึกเป็นอย่างดีเมื่อเจ้าเมืองหริภุญชัย
( ลำพูน )ได้กวาดต้อนผู้คนมาทำให้พระภิกษุรูปนี้ได้ติดตามอพยพของชาวบ้านหลุกที่เมืองยองมาด้วย ในเมื่อกลับมาถึงเมืองหริภุญชัย ( ลำพูน ) ก็ได้อาราธนานิมนต์ให้พระภิกษุรูปนี้ได้ตั้งวัดวาอารามตลอดจนถึงถิ่นฐานบ้านช่องขึ้น ซึ่งอยู่ทางเหนือของเมืองหริภุญชัย ( ลำพูน )
เพื่อให้เป็นหน้าด่านตั้งรับมือข้าศึกที่เข้ามาตีเมืองหริภุญชัย ( ลำพูน ) เสมอ
ดังนั้นเมื่อพระภิกษุรูปนี้นำเอาญาติโยมที่อพยพมาจากเมืองยองมาตั้งวัดและบ้านช่องแล้วได้ตั้งนามวัดที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ตามวัดเดิมที่ท่านอาศัยอยู่ที่เมืองยองนั้นนามว่า ( วัดบ้านหลุก ) สืบตราบมาทุกวันนี้
ที่ตั้ง
บ้านหลุก หมู่ที่ ๘ ตำบลเหมืองง่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
ที่ตั้งวัดบ้านหลุก
มีเนื้อที่จำนวน ๗ ไร่ ๑ งาน ๓ ตารางวา มีที่วัดและที่ธรณีสงฆ์รวมทั้งสิ้น๑๐ แปลง
• วัดพัฒนาตัวอย่าง เมื่อวันที่ 10 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2535
• วัดอุทยานการศึกษา เมื่อวันที่ 19 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2538
บ้านหลุก หมู่ที่ ๘ ตำบลเหมืองง่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
ที่ตั้งวัดบ้านหลุก
มีเนื้อที่จำนวน ๗ ไร่ ๑ งาน
๓ ตารางวา มีที่วัดและที่ธรณีสงฆ์รวมทั้งสิ้น
๑๐ แปลง
ทิศเหนือ ติดตำบลหนองช้างคืน
ทิศใต้ ติดกับตำบลประตูป่า
ทิศตะวันออก ติดกับตำบลเหมืองง่า
ทิศตะวันตก ติดกับตำบลประตูป่า
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของบริเวณที่ตั้งวัดบ้านหลุก
ลักษณะของบริเวณวัดและจุดอาณาเขตที่ตั้งวัดบ้านหลุกในปัจจุบันเป็นที่ราบตั้งอยู่กลางหมู่บ้านมีถนนผ่านทั้งทางด้านหน้าวัด ด้านใต้วัด
ด้านทิศเหนือวัด
นอกจากนี้ยังมีบ้านเรือนของราษฎร์ซึ่งเป็นศรัทธาอุปถัมภ์วัดตั้งอยู่ห่างประมาณ ๓๐
เมตร
มีโรงเรียนประชาบาลชื่อโรงเรียนวัดบ้านหลุก
( อินทวรประชานุกูล )
ภูมิภาคในบริเวณหมู่บ้านเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์มีถนนหนทางผ่านไปมาอย่างสะดวกสบายและมีลำน้ำเมืองไหลผ่านทำไร่นาได้ผลดีตลอดปี
ลักษณะของประชากร
มีครัวเรือนในหมู่บ้าน ทั้งหมด ๔๘๐ ครัวเรือนประชากรชาย ๕๗๔ คน หญิง ๔๑๗
คน รวม ๗๙๑ คน
ลักษณะการประกอบอาชีพของชุมชน
๑. ครัวเรือนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวน ๒. อาชีพเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
๓. รับจ้างทั่วไป
๔. รับราชการ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมของหมู่บ้าน
รายได้เฉลี่ยของราษฎร
๑๐,๐๐๐ บาท/ปี
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของหมู่บ้าน
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนาอาชีพบ้านหลุก ผลิตเครื่องจักสาน ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนวัดบ้านหลุก ของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน กรมการศาสนา
ศิลปะวัฒนธรรม /ภูมิปัญญาชาวบ้าน
บ้านหลุก หมู่ที่ ๘ ตำบลเหมืองง่า อำเภอเมือง
จังหวัดลำพูน
มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเช่น เครื่องจักสานไม้ไผ่
เครื่องสักการะล้านนาและการฟ้อนเล็บ,ฟ้อนยองเป็นต้น
แหล่งท่องเที่ยว/สถานบริการ
บ้านหลุก หมู่ที่ ๘ ตำบลเหมืองง่า มีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และธนาคารหมู่บ้านศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนวัดบ้านหลุก หอพระไตรรูปแบบสถาปัตติมากรรมแบบล้านนา
คำขวัญหมู่บ้าน
หมู่บ้านสวย รวยวัฒนธรรม งามล้ำอุโบสถ สวยสดหัตกรรม งามเลิศล้ำหอพระไตร