ประวัติวัดทากู่แก้วและพระศรีตรีเพชร
วัดทากู่แก้ว ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
วัดทากู่แก้ว เดิมเป็นวัดร้าง อยู่ในป่าดงดิบ คงเหลือแต่ซากปรักหักพังของกำแพง อุโบสถเจดีย์ยอดด้วน ค้นพบราวปี พ.ศ.2439 ต่อมาปี พ.ศ. 2474 เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้มาพิสูจน์แล้วว่า สร้างมานานราว 300 - 400 ปีมาแล้ว (สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2074) เดิมชื่อ " วัดกู่แก้วสุขาวดี "
ภายในวัดทากู่แก้ว มีพระพุทธรูปที่มีอายุเก่าแก่อยู่องค์หนึ่งคือ “พระศรีตรีเพชร” เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนสิงห์สาม เนื้อสำริด พระเกศมีเพชรอยู่ 3 เม็ด ขนาดหน้าตักกว้าง 31นิ้ว เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะที่มีความสวยงามเป็นอย่างมาก
พระพุทธรูปพระศรีตรีเพชรสืบเนื่องมาจากการสร้างอุโมงค์ขุนตาน โดยอุโมงค์ขุนตานแห่งนี้เริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งมีเสด็จในกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้บัญชาการรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม โดยเริ่มดำเนินการสร้างปี พ.ศ. 2461 ใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 11 ปี ซึ่งในการเจาะอุโมงค์นั้น ต้องกรรมกรส่วนใหญ่เป็นคนพื้นเมืองและคนอีสาน ซึ่งต้องใช้เงินในการว่าจ้างให้กรรมกรทำงานให้แล้วเสร็จ ค่าจ้างบางส่วนมาจากเงินของรัฐ และบางส่วนมาจากการนำเอาวัสดุที่มีส่วนผสมของทองคำ มาหลอมแล้วสกัดเอาทองคำออกมาไว้สำหรับจ้างกรรมกร ซึ่งนายช่างฝรั่งได้นำเอาพระพุทธรูป และวัสดุทองแดง ทองเหลือง จากหลาย ๆ แห่ง มารวมกัน เพื่อหลอมสกัดเอาทองคำออกมา หนึ่งในนั้นมี “พระศรีตรีเพชร” รวมอยู่ด้วย เมื่อชาวบ้านเห็นดังนั้นแล้ว ก็คัดค้านนายฝรั่งว่า พระพุทธรูป “พระศรีตรีเพชร” องค์นี้เป็นพระเก่าแก่และมีพุทธลักษณะสวยงามเป็นอย่างมาก ชาวบ้านก็ได้ขอพระพุทธรูปองค์นั้น ประดิษฐานไว้เพื่อเป็นที่เคารพสักการะ จนกว่ากาลสร้างอุโมงค์ขุนตาลเกือบจะแล้วเสร็จ ชาวบ้านที่เป็นกรรมกร ได้นำพระพุทธรูปมาถวายวัด ซึ่งละแวกนั้นวัดที่เก่าแก่ที่สุด คือ “ วัดทากู่แก้ว ” ชาวบ้านจึงได้ช่วยกันเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวมาประดิษฐานไว้ ณ วัดทากู่แก้ว ในระหว่างการเคลื่อนย้ายพระศรีตรีเพชรมาประดิษฐานไว้ ณ วัดทากู่แก้ว นั้น การเคลื่อนย้ายจากอุโมงค์ดอยขุนตาล มาสู่วัดทากู่แก้ว ใช้คนแบกหามอยู่ประมาณ 3-4 คน และได้มีการผลัดเปลี่ยนกันแบกหามมาตลอดทาง แต่พอเข้าสู่ขอบพันธสีมา วัดทากู่แก้ว ต้องใช้คนนับ 10 คน ช่วยกันเคลื่อนย้ายเข้าประดิษฐานไว้บนพระวิหาร ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่งต่อผู้คนและชาวบ้านในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่นั้นมา “พระศรีตรีเพชร” ได้ประดิษฐานอยู่ภายในอุโบสถ วัดทากู่แก้ว เรื่อยมา
และในปี พ.ศ.2506 ได้มีโจรเข้ามางัดอุโบสถเพื่อจะโจรกรรมองค์พระศรีตรีเพชรไป แต่ไม่สามารถนำไปได้ ทางฝ่ายโจรได้ใช้เหล็กชะแลง ทิ่มตรงบริเวณราวพระอุระด้านซ้าย เพื่อจะเจาะเอาหัวใจ แต่ก็ไม่สามารถเจาะได้ จึงถอดพระเกศโมลี ที่มีเพชรติดอยู่ 3 เม็ดไป ดังนั้น ทางวัดโดยการนำของ พระอธิการสุคำ สุริโย (ครูบาหม่อง) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในสมัยนั้น ได้ขอบริจาคเงิน ทองแดง ทองเหลือง จากชาวบ้าน แล้วได้ไปว่าจ้างให้ร้านในตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ออกแบบและทำการหล่อพระเกศโมลีขึ้นมาใหม่ แต่ในสมัยนั้นยังไม่มีกล้องถ่ายรูป จึงทำการหล่อพระเกศโมลีต่างไปจากเดิม เช่น พระเกศามีขนาดใหญ่กว่าเดิม
ภายในวัดทากู่แก้ว มีพระพุทธรูปที่มีอายุเก่าแก่อยู่องค์หนึ่งคือ “พระศรีตรีเพชร” เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนสิงห์สาม เนื้อสำริด พระเกศมีเพชรอยู่ 3 เม็ด ขนาดหน้าตักกว้าง 31นิ้ว เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะที่มีความสวยงามเป็นอย่างมากที่น่าศึกษา
วัดทากู่แก้ว เดิมเป็นวัดร้าง อยู่ในป่าดงดิบ คงเหลือแต่ซากปรักหักพังของกำแพง อุโบสถเจดีย์ยอดด้วน ค้นพบราวปี พ.ศ.2439 ต่อมาปี พ.ศ. 2474 เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้มาพิสูจน์แล้วว่า สร้างมานานราว 300 - 400 ปีมาแล้ว (สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2074) เดิมชื่อ " วัดกู่แก้วสุขาวดี "