ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดดอยขุนตาน
- ชื่อวัด: วัดดอยขุนตาน
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 1 รูป
- สามเณร: 1 รูป
- ลูกศิษย์วัด: 2 คน
- ที่ตั้ง: เลขที่ 24 หมู่ 8 บ้านขุนตาน ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน รหัสไปษณีย์ 51140
- โทร: ไม่มี
- แฟกซ์: ไม่มี
- เว็บไซต์: วัดดอยขุนตาน
ประวัติความเป็นมา
ประวัติวัดดอยขุนตาน
ตามประวัติเล่าว่าในช่วงแรกที่มีการขุดเจาะอุโมงค์ขุนตานนั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดช่วงหนึ่ง จากสาเหตุหลายประการ เช่น
๑ จากวัณโรค และปอดบวม เพราะก่อนที่อุโมงค์จะทะลุถึงกันด้านในจึงเป็นเพียงโพรงทึบมืดๆ จึงต้องใช้แสงสว่างจากโคมน้ำมัน ที่เรียกกันว่า โคมเป็ด เพราะมีรูปคล้ายเป็ดขนาด ๒ เดือน แต่เป็นเป็ดไม่มีหัวไม่มีขา ตรงคอเป็ดมีรูให้ไส้ตะเกียงยื่นออกมา บนหลังมีห่วงให้เอาลวดหรือเชือกหิ้วแขวนได้ ในท้องเป็ดมีเชื้อเพลิงคือน้ำมันก๊าดผสมน้ำมันมะพร้าว เวลาจุดจึงมีทั้งแสงสว่างและควันไฟ เมื่อสูดดมเข้าไปมากๆ ก็เป็นอันตรายอย่างยิ่ง ทั้งอากาศที่อับชื้นเหม็นกลิ่นดินระเบิด อากาศคาร์บอน อันเกิดจากน้ำกับหินปูนแปรธาตุเข้าผสมกัน แต่ละอย่างเหล่านี้ไม่เป็นประสงค์แก่ร่างกายทั้งสิ้น เฉพาะอย่างยิ่งปอดที่ผู้อุส่าเข้าไปทำงาน ในระยะนั้นเหงื่อไหลโทรมกายหายใจอึดอัดอยู่ตลอดเวลา เพราะอากาศและความร้อน เมื่อทำงานไปได้สักครู่ก็ต้องวิ่งออกมาด้านนอกเปิดก๊อกให้น้ำไหลรดตัวเพื่อดับร้อน และล้างปากล้างจมูกจากคราบควัน วนเวียนอยู่เช่นนี้ทำให้ร่างกายปรับสภาพไม่ทัน เพราะเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวเย็นสลับอยู่อย่างนั้น อีกทั้งน้ำที่ใช้ก็มีความเย็นจัดอีกด้วย
๒ จากฝิ่น ซึ่งถือเป็นสิ่งเสพติดที่ถูกกฎหมายในขณะนั้น บรรดาคนงานส่วนใหญ่ที่มารับจ้างทำงานขุดเจาะอุโมงค์ขุนตานก็เพราะว่าจะได้มีเงินไปซื้อฝิ่นมาเสพนั่นเอง จนช่วงหนึ่งถึงกับมีการจ่ายค่าแรงเป็นฝิ่นแทนเงินเลยก็มี
๓ จากสัตว์ป่า ที่มีอยู่ชุกชุม เนื่องจากเขาขุนตานมีแนวเขาเชื่อมไกลเป็นป่าใหญ่ จนถึงกับต้องจ้างนายพรานไว้ล่าและคอยระวังไพรให้คนงานทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน
๔ จากการทะเลาะวิวาท จากพวกที่ติดสุราและเล่นการพนัน เนื่องจากคนงานส่วนใหญ่ที่นี่มาจากหลายที
๕ จากอุบัติเหตุขณะทำงาน ซึ่งมีแทบทุกวัน บางวันมากกว่า ๑ ศพ
จากสาเหตุการเสียชีวิตของเหล่าคนงานหลากหลายรูปแบบ ทำให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่เกิดความกลัวและกระทบกระเทือนไปถึงการทำงานขุดเจาะอุโมงค์ขุนตานที่จะล่าช้าออกไป จึงได้มีการสำรวจถึงสภาวะทางจิตใจและวัฒนธรรมของหมู่คนงาน จึงได้ทราบว่าคนงานส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชน จึงได้มีการร่วมกันก่อตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นโดยหาพระพุทธรูปมาประดิษฐานและอาราธนาพระสงฆ์มาอยู่ประจำที่ขุนตาน เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนงาน และคอยประกอบพิธีกรรมต่างๆซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจระดับหนึ่ง หาก สำนักสงฆ์แห่งนี้ก็ต้องทิ้งร้างไปในช่วงที่เกิดสงครามโลกขึ้น
จนกระทั่งในปีพุทธศักราช ๒๔๙๙ ได้มีนายวิชัย บุษย์นาวิน อดีตผู้ช่วยนายสถานีรถไฟขุนตาน พร้อมทั้งนายจินดา เสถียรเสพ อดีตนายตรวจทางขุนตานได้ประชุมปรึกษาหารือกับผู้เฒ่าผู้แก่มีนายอุ่นเรือน ยะอนันต์ นายสุข วงษ์สี นายกุลีตา จันทร์สีลา นายกุลีแสน อุตราช นายโล้ นำพูนศักดิ์ นายไพบูลย์ ยะอนันต์ พร้อมทั้งชาวบ้านขุนตานมีความเห็นพร้อมกัน ในอันที่จะพื้นสำนักสงฆ์ขุนตานขึ้นอีกครั้ง โดยยึดเอาแนวสำนักสงฆ์เดิมที่ตั้งระหว่างต้นโพธิ์ ๒ ต้นบนสันเขาหน้าสถานีรถไฟ โดยชาวบ้านได้สละแรงงานและทุนทรัพย์ในการก่อสร้างตามกำลังศรัทธา ได้สร้างกุฎิสงฆ์ขึ้นหลังหนึ่งด้วยไม้สัก สร้างศาลาการเปรียญหนึ่งหลัง และได้เสนอต่อท่าน เจ้าคุณราชานุวัฒน์ เจ้าคณะภาค วัดพระสิงห์วรวิหารขอแต่งตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขุนตาน และได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ ๑๑ เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๐๐ โดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศเป็นสำนักสงฆ์ขุนตาน ประมาณเดือนเมษายนปีถัดมาคณะศรัทธาชาวบ้านขุนตานได้พร้อมใจกันไปอาราธนาพระภิกษุธวัช จากวัดป่าซางงาม จังหวัดลำพูน มาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก และในงานฉลองกุฎิ และศาลาการเปรียญในครั้งนั้น ท่านเจ้าคุณราชานุวัฒน์ เจ้าคณะภาค ได้มอบพระประธานสิงห์หนึ่ง หน้าตักกว้าง ๒๔ นิ้ว สูง ๓๔ นิ้ว ไว้เป็นอนุสรณ์หลักฐานอันสำคัญ และเป็นที่สักการบูชาในสำนักสงฆ์แห่งนี้
จากนั้นเป็นต้นมาก็มีคณะศรัทธาจากหลายที่ร่วมให้ความอุปถัมภ์ เช่น นายสมพงษ์ สมศิริวาสน์ บ้านเลขที่ ๑ ๘๓ ถนนจารุเมือง ตำบลรองเมือง อำเภอปทุมวัน พระนครกรุงเทพ ซึ่งทำงานอยู่โรงแรมราชธานี สถานีกรุงเทพ และมาเป็นพ่อครัวประจำรถเสบียงในสายเหนือ ให้ความอุปถัมภ์นำอาหารและจตุปัจจัยเครื่องไทยทานมาถวายตลอด และโดยความศรัทธาอันแรงกล้าได้สละทรัพย์ส่วนตัวสร้างกุฏิสงฆ์ขึ้นหลังหนึ่งชื่อ กุฏิสมศิริวาสน์ และได้ส่งต้นพระศรีมหาโพธิ์กิ่งที่ตอนจากประเทศอินเดียมาปลูกไว้อีกด้วย และหลังจากนั้นไม่นานก็มีคณะศรัทธาชาวหัวหิน โดยคุณพ่วง อุนจักร คุณใหม่ บุญถนอม อดีต ครฟ. ปัจจุบันอยู่เชียงใหม่ ได้นำรอยพระพุทธบาทจำลอง มาจากอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาประดิษฐานไว้ ณ.สำนักสงฆ์ขุนตานพร้อมทั้งก่อสร้างศาลาที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองนี้ขึ้น ๑ หลัง เป็นอาคารทรงไทย กว้าง ๓.๕ เมตร ยาว ๕ เมตร และได้จัดให้มีประเพณีสมโภช และสรงน้ำรอยพระพุทธบาทจำลองดังกล่าวในวันแรม ๘ ค่ำเดือน ๗ ( เดือน ๙ เหนือ ) เป็นประจำทุกปีเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน โดยชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันมาแต่เดิมคือ วัดถ้ำขุนตาน และวัดดอยขุนตาน
บริหารและปกครอง ตั้งแต่ปี ๒๕๐๐ ถึงปัจจุบัน วัดดอยขุนตานมีพระภิกษุมาจำพรรษาเรื่อยมา และมีรักษาการเจ้าอาวาส / เจ้าอาวาส รวมจำนวน ๑๕ รูปโดยรูปปัจจุบันคือ พระครูไพบูลธรรมรักขิต ( เสกสรร สระวาสรี ) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๒-ปัจจุบัน
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ 11 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2500
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดดอยขุนตาน
๑. อุโมงค์ขุนตาน ยาวที่สุดในประเทศไทย
๒. วัดดอยขุนตาน ที่สะอาด สงบ เป็นธรรมชาติ
๓. อุทยานขุนตานที่ร่มรื่นเหมาะแก่การท่องเที่ยวพักผ่อนอิริยาบถยิ่ง
๔. ป่าเขาลำเนาไพรที่น่าศึกษาและควรแก่การอนุรักษ์
๕. แนวภูเขาสลับชับซ้อนที่สวยงาม
ความน่าสนใจภายในวัดดอยขุนตาน
แหล่งประวัติศาสตร์ประจำอำเภอแม่ทา
ข้อมูลเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2556
พระชัยวัฒน์ ชุตินฺธโร เจ้าอาวาสวัดดอยขุนตาน
พระชัยวัฒน์ ชุตินฺธโร
ปัจจุบันอายุ 42 ปี
บวชมาแล้ว 10 พรรษา
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น รักษาการเจ้าอาวาสวัดดอยขุนตาน
ประวัติด้านการศึกษาของพระชัยวัฒน์ ชุตินฺธโร
พระชัยวัฒน์ ชุตินฺธโร เจ้าอาวาสวัดดอยขุนตาน
จบการศึกษาศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือ อนุปริญญา จากสถานบันการศึกษาวิทยาลัยเทคนิคลำพูน เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.2543
อดีตเจ้าอาวาสวัดดอยขุนตาน
พระธวัช โพธิวรรณ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระเมืองดี |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระบุญมา |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระก๋อง |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระทา |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระศรีมา ดอนคำ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระสม เลิศศักดิ์ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระสมัย |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระวิเชียร |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระเล็ก |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระสว่าง |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระสมพร สิริมงคโล |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระวรพจน์ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระสมศักดิ์ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระครูไพบูลธรรมรักขิต(เสกสรร รักขิโต) |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |