ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดทาขุมเงิน
- ชื่อวัด: วัดทาขุมเงิน
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 2 รูป
- ที่ตั้ง: เลขที่ 39 หมู่ 1 บ้านทาขุมเงิน ตำบลทาขุมเงิน อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน รหัสไปษณีย์ 51170
- เนื้อที่: 8 ไร่ ๒ งาน 90 ตารางวา
- โทร: 0861919566
ประวัติความเป็นมา
วัดทาขุมเงิน ตั้งอยู่เลขที่ ๓๙ หมู่ ๑ บ้านทาขุมเงิน ตำบลทาขุมเงิน อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน สัีงกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ ๗ ไร่ ๒ งาน ๗๒ ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือประมาณ ๑ เส้น ติดหมู่บ้าน ทิศตะวันตกประมาณ ๒ เส้น ๕ วา ติดภูเขา ทิศใต้ติดโรงเรียนบ้านทาขุมเงิน ทิศตะวันออกติดถนน
วัดทาขุมเงิน สร้างขึ้นเมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๒๐๙ ด้วยเหตุว่าสมัยก่อนนั้นชาวบ้านต้องเดินข้ามลำน้ำแม่ทาไปทำบุญที่วัดดอยแต ซึ้งตั้งอยู่คนละฟากกับลำน้ำแม่ทา เมื่อถึงคราน้ำหลาก ก็ไม่สามารถข้ามน้ำไปทำบุญได้ จึงเป็นการลำบากยิ่ง ชาวบ้านจึงได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นในหมู่บ้าน โดยสร้างเป็นอารามเล็กๆ ขึ้น และได้นิมนต์พระภิกษุด้วง จากวัดดอยแตมาจำพรรษาเป็นเจ้าอาวาส กุฏิสร้างด้วยไม้ มุงด้วยหญ้าคา กำแพงและวิหารยังไม่มี ในปีพุทธศักราช ๒๒๑๓ พระด้วงก็ได้ลาสิกขาไป จึงทำให้ไม่มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่ ๑ ปี ในปีถัดมานั้นคณะศรัทธาได้ไปนิมนต์พระภิกษุมอย มาเป็นเจ้าอาวาส อยู่ได้เพียงหนึ่งพรรษาก็ได้สาสิกขาไป วัดทาขุมเงินจึงได้ว่างจากพระภิกษุอีกคราหนึ่ง ในปีรุ่งขึ้นคณะศรัทธาจึงได้ไปนิมนต์พระภิกษุปวน จากวัดทาทุ่งหลวงมาเป็นเจ้าอาวาส และได้สร้างวิหารหลวงขึ้นแต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จท่านก็ได้กลับไปยังวัดทาทุ่งหลวง ในปีพุทธศักราช ๒๒๑๗ คณะศรัทธาจึงพร้อมใจกันนิมนต์พระภิกษุตัน วัดทาขุมเงิน ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแทนและได้สร้างวิหารหลวงต่อจนแส้วเสร็จ และได้ลาสิกขาไปในปีพุทธศักราช ๒๒๒๒ (เหตุการณ์หลังจากนี้ไม่ได้มีการบันทึกไว้) วันเวลาผ่านไปประมาณร้อยกว่าปี ได้มีสามเณรน้อยเดินทางมากับคณะพ่อค้าวัวต่างที่ไปค้าขายยังดินแดนทางตอนเหนือ ถึงเมืองเชียงรุ่ง เชียงตุง เมืองยอง เมืองยาง ฯลฯ สามาเณรน้อยได้ติดตามพ่อค้ามาอยู่จำพรรษาที่วัดทาขุมเงินแห่งนี้ แต่จะด้วยเหตุผลใดก็ไม่อาจทราบได้ ท่านเป็นเณรและไม่ได้รับการอุปสมบทเป็นภิกษุจนอายุล่วงเลยกาล คนทั้งหลายจึงเรียกท่านว่า "พระโหลง" หรือสามเณรโต และในครั้งนั้นยังมีพระธุดงค์รูปหนึ่งมาปักกลดอยู่ที่ชายป่าหลังวัด ละได้มรณะภาพลง ชาวบ้านเรียกขานท่านว่าครูบายองแดง ด้วยเหตุว่าท่านเป็นยางแดง หลังจากประชุมเพลิงศพแล้วก็ได้นำอัฐิธาตุของท่านก่อเป็นกองหินไว้ ณ บริเวณที่ประชุมเพลิงนั้น กาลเวลาผ่านไป สามเณรยุน ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ คณะศรัทธาจึงได้พร้อมกันนิมนต์พระภิกษุยุน ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสในปีพุทธศักราช ๒๔๓๔ พระภิกษุยุนท่านได้พัฒนาวัดวาอารามให้เจริญรุ่งเรื่องขึ้น โดยได้สร้างกุฏิไม้สัก บูรณะวิหารหลวง สร้างกำแพงจากเดิมเป็นรั้วไม้มาเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูนพร้อมทั้งศาลาบาตรติดกำแพงทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกของวิหารหลวง สร้างวิหารน้อยเพื่อประดิษฐานพระเจ้าจอมธรรมอันอัญเชิญมาแต่ถ้ำจอมธรรม และอัญเชิญอัฐิธาตุของครูบายางแดงมาสร้างเจดีย์บรรจุไว้ด้านหลังวิหารน้อย พระยุน หรือครูบาคันธา คนฺธาโร มรณะภาพลงเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๔ คณะศรัทธาจึงได้ไปนิมนต์พระมหาอรัญ อภิญาโณ จากวัดทาสบเมยมาเป็นเจ้าอาวาส พระมหาอรัญได้ก่อกู่บรรจุอัฐิธาตุของครูบาเจ้าคันธา คนฺธาโร แล้วเสร็จก็ได้ลาสิกขาบทไปในปีพุทธศักราช ๒๕๐๖ พระยวงคำ ก็ได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแทน อยู่ได้เพียงไม่นานก็ได้ลาสิกขาไป ต่อมาคณะศรัทธาจึงได้พร้อมใจกันไปนิมนต์พระบุญชู ขนฺติธโร จากวัดหมูเปิ้ง ตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มาเป็นเจ้าอาวาส พระบุญชู ท่านได้พัฒนาวัดวาอารามจนมีความเจริญขึ้นเป็นอันมาก โดยได้บูรณะวิหารหลวง สร้างกุฏิขึ้นใหม่แทนหลังเดิม สร้างศาลาบตร ศาลาการเปรียญ โรงฉัน หอระฆังเป็นต้น ต่อมาพระบุญชูจึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นพระครูสัญญาบัติเจ้าคณะตำบลชั้นโท ในราชทินนามที่ "พระครูขันติธรรมโสภิต" พระครูขันติธรรมโสภิตได้มรณะภาพลงเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ หลังจากเสร็จการพิธีพระราชทานเพลิงศพแล้วคณะศรัทธาจึงได้นิมนต์พระศรีวรรณ ฐานวโร วัดทาสบเมยเป็นเจ้าอาวาส จนกระทั่งปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ พระศรีวรรณ ฐานวโรก็ได้กลับไปจำพรรษาที่วัดทาสบเมย ทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลงอีกครั้ง ศรัทธาจึงได้ไปนิมนต์พระฤกษ์มงคล ขนฺติพโล จากวัดดอยแตมาเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้บูรณะวิหารหลวงอีกครั้งจนแล้วเสร็จและได้ลาสิกขาไปในปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ ถัดจากนั้นพระครูไพโรจน์สุทธิรักษ์ ก็ได้มาเป็นเจ้าอาวาสจวบจนปัจจุบัน.......................
...บ่าวยอง หละปูน...
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• วัดพัฒนาดีเด่น ไม่ทราบวันเวลา
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ไม่ทราบวันเวลา
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดทาขุมเงิน
พระพุทธรูปจอมธรรม พระพุทธรูปจอมธรรมเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ศิลปะแบบเชียงแสนหรือเรียกกันว่าเชียงแสนสาม กล่าวคือเป็นพระพุทะรูปที่สร้างขึ้นในดินแดนล้านนาราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ และได้รับอิทธิพลพุทธศิลป์บางประการจากศิลปะสุโขทัย พระพุทธรูปจอมธรรมนี้แต่เดิมเคยประดิษฐานอยู่ที่ถ้ำจอมธรรม ซึ้งขณะนั้นเป็นวัดร้าง ครูบาเจ้าคันธา คนฺธาโร พร้อมด้วยคณะศรัทธาจึงได้ไปอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดทาขุมเงิน
พระธาตุกู่ครูบายางแดง ตั้งอยู่ด้านหลังวิหารน้อย สร้างขึ้นในสมัยของครูบาคันธา คนฺธาโร รูปทรงภายนอกของพระธาตุนั้นบ่งบอกถึงพัฒนาการของการสร้างพระเจดีย์ในช่วงระยะที่สาม คือเป็นรูปทรงปราสาทผสมฐานระฆัง ๘ เหลี่ยมย่อเก็จ ในส่วนของกลียบัวรองรับปลียอดนั้นถือได้ว่าเป็นศิลปะพม่าปนมาเล็กน้อย ฉัตรรูปทรงพม่า ในส่วนของเรียนธาตุเจาะเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง ๔ ด้าน ภายในเป็นที่ประดิษฐานอัฐิธาตุของครูบายางแดง
พระเจ้างาม พระประธานในอุโบสถ หรือเรียกกันว่าพระเจ้าห้าพระองค์ นับว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามมากทั้งห้าพระองค์ จนผู้คนขนานนามว่า "พระเจ้างาม" พระพุทธรูปทั้งห้าองค์นี้ถือได้ว่าเป็นเครื่องยืนยันถึงฝีมือเชิงช่างสล่าสกุลชาวยองที่สามารถสร้างสรรค์องค์พระขึ้นมาได้อย่างงดงาม ประณีต ละมุนละไม งดงามยิ่งนัก พระพุทธรูปทั้งห้าพระองค์นี้ก็ยังมีศิลปะปูนปั้นในส่วนของริ้วผ้าที่เป็นจีวรห่มองค์พระนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละองค์ นอกจากนั้นแล้วยังมีซุ้มโขงด้านหลังพระพุทธรูปทั้งห้าองค์ ทั้งยังได้แสดงออกถึงฝีมือการปั้นปูนเป็นลวดลายเครืองเถาอย่างวิจิตงดงาม มีชีวิตชีวา ผสมผสานกับเหล่าทวยเทพที่ปรากฏกายออกมาเฝ้าพระพุทธองค์ และด้านบนซุ้มด้านข้างยังมีรูปพญากาเผือกสองตัวผัวเมีย อันเป็นแม่ของพระโพธิสัตว์ทั้งห้า ก่อนจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ในภัทรกัปป์นี้
ข้อมูลเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2555
พระอธิการกิตติ กิตติโสภโณ เจ้าอาวาสวัดทาขุมเงิน
พระอธิการกิตติ กิตติโสภโณ
ปัจจุบันอายุ 25 ปี
บวชมาแล้ว 5 พรรษา
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดทาขุมเงิน
ประวัติด้านการศึกษาของพระอธิการกิตติ กิตติโสภโณ
พระอธิการกิตติ กิตติโสภโณ เจ้าอาวาสวัดทาขุมเงิน
จบการศึกษาศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.
อดีตเจ้าอาวาสวัดทาขุมเงิน
พระด้วง |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2209 ถึงปี พ.ศ.2213 |
พระมอย |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2214 ถึงปี พ.ศ.2214 |
พระปวน |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2215 ถึงปี พ.ศ.2517 |
พระตัน |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2218 ถึงปี พ.ศ.2222 |
พระยุน (ครูบาเจ้าคันธา คนฺธาโร) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2434 ถึงปี พ.ศ.2504 |
พระมหาอรัญ อภิญาโณ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 ถึงปี พ.ศ.2505 |
พระยวงคำ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2506 ถึงปี พ.ศ.2507 |
พระครูขันติธรรมโสภิต (บุญชู ขนฺติธโร) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2508 ถึงปี พ.ศ.2542 |
พระอธิการศรีวรรณ ฐานวโร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 ถึงปี พ.ศ.2545 |
พระครูวินัยธรฤกษ์มงคล ขนฺติพโล |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 ถึงปี พ.ศ.2550 |
พระครูไพโรจน์สุทธิรักษ์ (สุทธิพงษ์ สุทธิสัทฺโธ) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 ถึงปัจจุบัน |
การจัดการศึกษาภายในวัดทาขุมเงิน
การจัดการศึกษาภายในวัดทาขุมเงินนั้น จะประกอบไปด้วย
- เจ้าอาวาสเป็นผู้สอนนักธรรม
- โบราณสถานประจำตำบล
- แหล่งเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณสถาน