ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดพวงคำ
- ชื่อวัด: วัดพวงคำ
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 3 รูป
- สามเณร: 4 รูป
- ลูกศิษย์วัด: 1 คน
- ที่ตั้ง: เลขที่ 138 หมู่ 9 บ้านปวงคำ ลี้ - เถิน ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน รหัสไปษณีย์ 51110
- เนื้อที่: 4 ไร่ 1 งาน 36 ตารางวา
- ผู้มอบกรรมสิทธิ์ที่ดิน: กรมที่ดิน
- โทร: 053-979389
- แฟกซ์: 053-979389
- เว็บไซต์: www.วัดพวงคำ.com
ประวัติความเป็นมา
ประวัติวัดพวงคำ วัดพวงคำ (ปวงคำ) ตั้งอยู่เลขที่ 138 หมู่ที่ 9 ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นวัดทางประวัติศาสตร์ในสมัยของพระนางเจ้าจามมะรี ผู้สถาปนาก่อตั้งเมืองลี้เป็นราชธานี ตามหลักฐานมุขปาฐะกล่าวไว้ว่า ในสมัยครั้งพระนางเจ้าจามมะรี ซึ่งเป็นราชบุตรีของเจ้าเมืองแคว้นหลวงพระบาง อาณาจักรน่านเจ้า ได้พาไพร่พลอพยพหนีภัยศึกมา ราวก่อนพุทธศักราช 1800 ปี ดังปรากฏในเรื่องราวในตำนานเมืองลี้ ขณะที่ขบวนพระนางจามมะรีพร้อมไพร่พล ช้าง ม้า เดินทางเป็นระยะเวลาอันยาวนาน พลายสุวรรณมงคล ช้างคู่พระบารมีของพระนาง ได้ทำเครื่องประดับหรือเครื่องทรงช้าง ที่ทำด้วยทองคำ พร้อมสร้อยสังวาลประดับด้วยเพชรนิลจินดาอันหาค่าประมาณมิได้ หลุดหล่นตกลงมาทั้งพวง บริเวณที่นี้จึงได้ชื่อว่า “พวงคำ” (ที่ตั้งของวัดปัจจุบัน) พระนางจามะรีพร้อมไพร่พล จึงได้ช่วยกันซ่อมแซมเครื่องทรงช้าง และหยุดพักไพร่พลอยู่สถานที่แห่งนี้เป็นเวลาหลายวัน พระนางทรงได้ทำนายไว้ว่าในอนาคตที่แห่งนี้จักมีผู้คนมาอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก จากนั้นได้เดินทางต่อไปเพื่อหาสถานที่อันเหมาะสมเพื่อทรงสร้างเมือง ต่อไป การก่อตั้งบ้านปวงคำ หลังจากนั้นเมื่อประมาณ 370 ปี พ.ศ. 2366 ผู้ริเริ่มก่อตั้งบ้านปวงคำ คือพ่อหนานเต๊บ เทพปัน พร้อมผู้คนอีกกลุ่มหนึ่งได้อพยพเดินทางมาจากอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และต่างถิ่น มาตั้งหลักฐานทำมาหากินหักร้างถางพงที่ดินอันเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ และได้ช่วยกันสร้างฝายกั้นน้ำเพื่อไว้ใช้ ครั้นต่อมาได้มีพระเปี้ย ได้เดินธุดงค์มาจากกิ่งอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ได้มาช่วยกันทำฝายกั้นน้ำช่วยหนานเต๊บอีกแรงหนึ่ง ปีต่อมาพ่อหนานเต๊บ เทพปัน พร้อมด้วยพรรคพวกจึงได้ช่วยกันจัดสร้างอารามขึ้นมา เพื่อให้พระเปี้ยได้พักอาศัย แล้วขนานนามอารามใหม่นี้ว่า “อารามบ้านปวงคำ”หรือ “พวงคำ” ในปัจจุบัน (เรียกตามครั้งสมัยพระนางเจ้าจามะรี) ต่อมาก็มีผู้คนอพยพมาอยู่จำนวนมากขึ้น จึงได้ช่วยกันสร้างวัดพัฒนาเหมืองฝายพร้อมที่อยู่อาศัย เมื่อความทราบถึงเจ้าเมืองลำพูน จึงทรงแต่งตั้งให้ หนานเต๊บ เทพปัน เป็นหัวหน้าในหมู่บ้านนี้ ในตำแหน่ง “พญาเต๊บ” (พญาเทพ) เทพปัน เมื่อมีกำลังพลมากขึ้นจึงได้ช่วยกันจัดสร้างพระวิหารขึ้นมา 1 หลัง และสร้างพระพุทธรูปหรือพระประธานไว้ประจำพระวิหาร 1 องค์หน้าตักกว้าง102 นิ้ว สูง 193.5 นิ้ว ต่อมาพระเปี้ย เจ้าอธิการ (เจ้าอาวาส) วัดพวงคำ ได้มรณภาพลง ได้มีพระอีกรูปหนึ่งชื่อ ครูบาอุตม์ หลังจากนั้นได้นิมนต์ครูบาสุยะมาอยู่ที่วัดพวงคำแห่งนี้ ทางพญาเต๊บ (พญาเทพ) จึงขอนิมนต์ให้ครูบาสุยะ เป็นเจ้าอธิการแทนพระเปี้ยสืบไป ในสมัยที่ครูบาสุยะเป็นเจ้าอธิการนี้ ได้สร้างโฮง (กุฏิ) ขึ้นมาหลังหนึ่ง ทางด้านทิศเหนือของวิหารเป็นที่พำนักของพระภิกษุสามเณร ต่อมาครูบาสุยะได้มรณภาพลง ทางพระภิกษุสงฆ์จึงได้ขอแต่งตั้งให้ครูบาปัญญา เป็นเจ้าอธิการแทน จนถึงแก่การมรณภาพ และมีครูบาไชยวุฒิ เป็นเจ้าอาวาสแทน หลังจากครูบาไชยวุฒิได้มรณภาพ จึงแต่งตั้งให้ครูบาภิไชย เป็นเจ้าอาวาสแทน ครั้นต่อมาทางคณะศรัทธาจึงได้นิมนต์เจ้าอธิการอินหวัน มาเป็นเจ้าอาวาส เมื่อเจ้าอธิการอินหวัน มรณภาพลง ได้นิมนต์ พระครูศรีรัตโนทัย มาเป็นเจ้าอาวาส พร้อมได้รับการแต่งตั้งจากทางคณะสงฆ์ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอลี้รูปแรก ทำการปกครองคณะสงฆ์ในแขวงลี้ – ทุ่งหัวช้าง เมื่อพระครูศรีรัตโนทัย ได้ขอลาออกจากเจ้าคณะอำเภอลี้ ย้ายไปอยู่ที่จังหวัดเชียงราย ทางคณะศรัทธาพร้อมคณะสงฆ์ จึงขอแต่งตั้งให้เจ้าอธิการปัน จารุวณฺโณ เป็นเจ้าอาวาส พร้อมได้รับแต่งตั้งทางคณะสงฆ์เป็นเจ้าคณะอำเภอลี้ ชั้นพิเศษ รูปที่สองปกครองพระภิกษุสงฆ์ในเขตอำเภอลี้ และอำเภอทุ่งหัวช้าง เป็นลำดับ (ตามหลักฐานมุขปาฐะสืบต่อกันมา) ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ วัดพวงคำเป็นวัดที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2441 ซึ่งเป็นวันที่กฎกระทรวงศึกษาธิการออกความตามในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ที่ดินเฉพาะบริเวณที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 3 ไร่ 3 งาน 16 ตารางวา โดยมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็น โฉนด เลขที่ 64 อาณาเขตทิศเหนือยาว 1 เส้น 14 วา ทิศใต้ ยาว 1 เส้น 2 วา 1 ศอก ทิศตะวันออกยาว 2 เส้น 9 วา ทิศตะวันตก ยาว 2 เส้น 18 วา ที่ธรณีสงฆ์ มี 2 แปลง รวมเนื้อที่ทั้งสิ้นจำนวน 4 ไร่ 1 งาน 60 ตารางวา วัดพวงคำได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 23 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2477 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร ลักษณะพื้นที่ตั้งบริเวณวัดและบริเวณโดยรอบเป็นรูป 4 เหลี่ยมจัตุรัส อาคารเสนาสนะต่าง ๆ ประกอบไปด้วย 1. พระอุโบสถ กว้าง 12 เมตร ยาว 24 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2477 ต่อมาได้ทำการ บูรณะใหม่เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนเสริมเหล็กหลังคามุงกระเบื้องเคลือบ 2. ศาลาการเปรียญ กว้าง 9 เมตร ยาว 24 สร้างเมื่อ พ.ศ. 2502 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 3. กุฏิสงฆ์ จำนวน 2 หลัง กุฏิรับรอง จำนวน 3 หลัง 4. วิหาร กว้าง 12 เมตร ยาว 25 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2493 ปัจจุบัน (พ.ศ. 2546) ได้ทำ การก่อสร้าง ขึ้นใหม่ กว้าง 12 เมตร ยาว 25 เมตร เป็น อาคารก่ออิฐถือปูนเสริมเหล็ก หลังคาทรงไทยแบบล้านนา 5. ศาลาเอนกประสงค์ กว้าง 7 เมตร ยาว 20 เมตร สร้างด้วยอิฐถือปูน 6. โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2489 7. โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2530 8. โรงเรียนระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2516 9. ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2533 10. โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน พ.ศ. 2551 11. ศูนย์พุทธมามะกะ (อบรมคุณธรรมจริยธรรม) พ.ศ. 2552 12. ศูนย์พัฒนาเด็ก เยาวชนและชุมชน “เข้าวัดทุกวันอาทิตย์ จิตแจ่มใส” พ.ศ. 2553 การสร้างวัดพวงคำเริ่มก่อสร้างมาเมื่อ พ.ศ. 2366 ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ เมื่อ พ.ศ. 2441 (ได้รับการแต่งตั้งอย่างถูกต้องตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์) จนถึงปัจจุบันรวม 111 ปี สร้างหลังพระนางเจ้าจามมะรี 641 ปี ถ้านับตั้งแต่การเริ่มต้นก่อสร้างในสมัย พญาเต๊บ พ.ศ. 2366 ถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2552) รวม 186 ปี (วัดพัฒนาตัวอย่าง ประจำปี 2536) รายนามพระสงฆ์ ตั้งแต่รูปแรกจนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย 1. พระเปี้ย ธมฺมไชย พ.ศ. 2366 - 2378 2. ครูบาอุตม์ อุตโม พ.ศ. 2378 - 2457 2. ครูบาสุยะ พ.ศ. 2457 - 2466 3. ครูบาปัญญา พ.ศ. 2466 - 2467 4. ครูบาไชยลังกา (ไชยวุฒิ) ไชยสินธุ พ.ศ. 2467 – 2468 5. ครูบาอภิไชย อภิชโย พ.ศ. 2468 - 2470 6. เจ้าอธิการอินหวัน อินฺโท พ.ศ. 2470 - 2497 7. พระครูศรีรัตโนทัย (เจ้าคณะอำเภอลี้ รูปแรก) พ.ศ. 2497 - 2501 8. พระครูวิลาศคณาทร (เจ้าคณะอำเภอลี้ รูปที่สอง) พ.ศ. 2501 – 2540 9. พระปลัดสว่าง สีลโชโต (เจ้าคณะตำบลลี้ เขต 2) พ.ศ. 2540 - 2545 10. พระเกรียงศักดิ์ สุเมธปญฺโญ พ.ศ. 2545 – 2550 11. พระมหาบุญเรือง สุจิณฺโณ พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน พระภิกษุสามเณรที่จำพรรษา พ.ศ. 2550 – ปัจจุบัน มีพระภิกษุ 3 รูป สามเณร 4 รูป ศิษย์วัด 1 คน ปัจจุบันวัดพวงคำเป็นศูนย์กลางด้านการประสานงานระหว่างวัดกับวัด วัดกับชุมชน และวัดกับหน่วยงานทางราชการ เป็นสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา (พุทธมามกะ) เป็นศูนย์การอบรมคุณธรรมจริยธรรม ศูนย์ฝึกอาชีพกลุ่มพัฒนาสตรี เป็นแหล่งอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นในระดับจังหวัด และเป็นแหล่งเก็บรวบรวมของพื้นบ้าน วัดพวงคำเป็นศูนย์กลางทางด้านจิตใจของชาวพุทธทุกคน เป็นสถานที่เอื้ออำนวยให้กับหน่วยงาน องค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 23 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2477
• วัดพัฒนาตัวอย่าง เมื่อวันที่ 23 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2538
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดพวงคำ
เป็นแหล่งศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน กลุ่มทอผ้ากี่พื้นเมือง กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า พิพิธภัณฑ์ของใช้พื้นบ้าน เป็นวัดที่กำลังพัฒนา
ทังด้านเสนาสนะ พร้อมกันนั้นเป็นสถานที่อบรมคุณธรรมจริยธรรมระดับตำบล / อำเภอ เป็นศูนย์รวมจิตใจของศรัทธาประชาชน
เป็นสถานที่เผยแผ่ธรรมทางพระพุทศาสนา
ความน่าสนใจภายในวัดพวงคำ
เป็นวัดทางประวัติศาสตร์ที่พักไพร่พล ของพระนางจามรีครั้งสมัยอพยพมาสร้างเมืองลี้ภัย น่าศึกษาเป็นอย่างมาก
เป็นแหล่งศึกษาด้านวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น และศูนย์ถ่ายทอดความรู้เรื่อง การทอผ้ากี่พื้นเมือง ตัดเย็บเสื้อผ้า
(รัฐวิสาหกิจชุมชน) เป็นศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรม แก่เด็ก เยาวชน ประชาชน หน่วยงานและองค์กรอื่น ๆ ระดับ
อำเภอลี้
ข้อมูลเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2555
พระมหาบุญเรือง สุจิณฺโณ (อายุวัฒนมงคล) เจ้าอาวาสวัดพวงคำ
พระมหาบุญเรือง สุจิณฺโณ (อายุวัฒนมงคล)
ปัจจุบันอายุ 43 ปี
บวชมาแล้ว 23 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น ------
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดพวงคำ
ประวัติด้านการศึกษาของพระมหาบุญเรือง สุจิณฺโณ (อายุวัฒนมงคล)
พระมหาบุญเรือง สุจิณฺโณ (อายุวัฒนมงคล) เจ้าอาวาสวัดพวงคำ
จบการศึกษาศึกษาระดับปริญญาโท จากสถานบันการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.2550
อดีตเจ้าอาวาสวัดพวงคำ
พระเปี้ย ธมฺมไชย |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2366 ถึงปี พ.ศ.2378 |
ครูบาอุตม์ อุตโม |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2378 ถึงปี พ.ศ.2457 |
ครูบาสุยะ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2457 ถึงปี พ.ศ.2466 |
ครูบาปัญญา |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2466 ถึงปี พ.ศ.2467 |
ครูบาไชยลังกา (ไชยวุฒิ) ไชยสินธุ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2467 ถึงปี พ.ศ.2468 |
ครูบาอภิไชย อภิชโย |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2468 ถึงปี พ.ศ.2470 |
เจ้าอธิการอินหวัน อินฺโท |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2470 ถึงปี พ.ศ.2497 |
พระครูศรีรัตโนทัย (เจ้าคณะอำเภอลี้ รูปแรก) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2497 ถึงปี พ.ศ.2501 |
พระครูวิลาศคณาทร (เจ้าคณะอำเภอลี้ รูปที่สอง) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2501 ถึงปี พ.ศ.2540 |
พระปลัดสว่าง สีลโชโต (เจ้าคณะตำบลลี้ เขต 2) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 ถึงปี พ.ศ.2545 |
พระเกรียงศักดิ์ สุเมธปญฺโญ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 ถึงปี พ.ศ.2550 |
พระมหาบุญเรือง สุจิณฺโณ (อายุวัฒนมงคล) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 ถึงปัจจุบัน |
การจัดการศึกษาภายในวัดพวงคำ
การจัดการศึกษาภายในวัดพวงคำนั้น จะประกอบไปด้วย
- ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
- ศูนย์ฝึกอบรมอาชีพ
- โครงการวัฒนธรรมไทย สายใยชุมชน
- ศูนย์บริการผู้สุงอายุในวัด
- ศูนย์ส่งเสริมการแสดงศิลปะวัฒนธรรม
- ศูนย์อบรมประชาชนประจำตำบล
- สถานที่อบรมธรรม
- สำนักศาสนศึกษา
- หน่วยเผยแพร่ศีลธรรม/ศูนย์วัฒนธรรมสายใยชุมชน
- ศูนย์วัฒนธรรม
- ศูนย์วัฒนธรรม