ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดปางส้าน
- ชื่อวัด: วัดปางส้าน
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 7 รูป
- สามเณร: 4 รูป
- ลูกศิษย์วัด: 1 คน
- ที่ตั้ง: เลขที่ ๗๖ หมู่ ๕ ปางส้าน พหลโยธิน ตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน รหัสไปษณีย์ 51110
- เนื้อที่: ๙ ไร่ ๓ งาน
- โทร: 087-175-3066
ประวัติความเป็นมา
ตำนานความเป็นมาของวัดบ้านปางส้าน วัดบ้านปางส้านมีความเป็นมาที่เก่าแก่โดยมีตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ในสมัยพุทธกาล ได้มีวัวอุสุภราช ซึ่งเป็นวัวชาติเกิดของพระพุทธเจ้า ได้มาหากินตามป่าเขาบริเวณบนดอยจอมวัวหวัน (จอมสวรรค์) และได้พาลูกออกหากินลัดเลาะตามลำห้วย ล่องไปตามสายน้ำมาผ่านสถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า แม่ลองหรือ บ้านแม่ลองในปัจจุบัน หลังจากนั้นก็ได้ลัดเลาะ ล่องไปตามลำห้วย เพื่อหากินหญ้าและได้ มายั้งจอด ณ ใต้ต้นมะซ้าน ซึ่งเป็นป๋าง (ที่พัก) สำหรับผู้คนเดินสัญจรไปมาค้าขาย ก็จะมาแวะพักที่ใต้ต้นมะซ้าน ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ใหญ่ที่สุด เป็นร่มเงาที่ร่มรื่น สมัยก่อนชาวบ้านเรียกว่า ป๋างส้าน แต่ปัจจุบัน การใช้ภาษาได้ปรับเปลี่ยนไป ชาวบ้านจึงเรียกว่า บ้านปางส้าน จนถึงปัจจุบันนี้ บ้านปางส้าน ในสมัยเริ่มแรก มีประชากรอาศัยอยู่ ประมาณ 30 ครับเรือน แต่ในสปัจจุบันได้มีความเจริญขึ้น มีประชากรผู้อาศัยประมาณ ๑๘๐ ครัวเรือน ศรัทธาชาวบ้าน ในสมัยนั้น จึงได้พร้อมใจกันสร้างวัดขึ้นมาประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๐ อายุประมาณ ๑๐๐ ปีโดยมีครูบาเจ้าแปงสุริยา (ปาอินทร์) เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งวัด และเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก โดยมีคณะศรัทธาทั้งสองหมู่บ้าน คือ บ้านปางส้าน และบ้านแม่ลองให้ความอุปถัมภ์ โดยท่านได้นำคณะศรัทธาทั้ง ๒ หมู่ บ้าน พร้อมใจกันสร้างเสนาสนะในวัดหลายอย่างเช่น วิหารทรงล้านนา กำแพงรูปปั้นสิงห์ ตามประตูเข้าวัด ศาลาบาตร ซึ่งชาวบ้านได้ช่วยกันทำงานวัด ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ ปั้นอิฐ และก่อสร้าง ใช้เวลาทั้งกลางวันและกลางคืน จนสำเร็จ ท่านครูบาเจ้า ได้เป็นพระที่มีวัตรปฏิบัติ เป็นที่น่าศรัทธาเลื่อมใส ของสาธุชนทั่วไป ท่านเป็นผู้ชักจูงแนะนำสั่งสอน ศรัทธา ให้เข้าวัดปฏิบัติธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม สั่งสอนศรัทธาญาติโยม และถือวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตลอดมา ตราบจนท่านอายุได้ ๔๑ พรรษา ท่านจึงเกิดอาพาธ ด้วยโรคร้ายแรง ซึ่งสมัยก่อน การรักษาเยียวยาเป็นเรื่องยากลำบาก จนท่านได้มรณภาพลง ด้วยอาการอันสงบ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ต่อมาได้มีพระพันธุ์คำ ได้นำศรัทธาชาวบ้าน สร้างอุโบสถ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๙๔ โดยมี พระครูใบฏีกาชัยยะวงศ์ศาพัฒนา (พระครูบาเจ้าชัยวงศาพัฒนา) ได้ถวายพระพุทธรูป เป็นพระประธานในอุโบสถ จนถึง ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ศรัทธาชาวบ้านได้พร้อมใจกัน บูรณปฏิสังขรณ์ พระวิหารเก่า ซึ่งชำรุดทรุดโทรม หลังคารั่ว โดยได้พร้อมใจกันนิมนต์ พระครูบาเจ้าชัยวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม มาเป็นประธานในการบูรณปฏิสังขรณ์จนสำเร็จ ได้พร้อมใจกันถวายในบวร พระพุทธศาสนาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด ไม่ทราบวันเวลา
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 24 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2594
ข้อมูลเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2555
พระใบฎีกามนพิชัย รตนญาโณ เจ้าอาวาสวัดปางส้าน
พระใบฎีกามนพิชัย รตนญาโณ
ปัจจุบันอายุ 30 ปี
บวชมาแล้ว 11 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น พระฐานานุกรมเจ้าคณะอำเภอลี้
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดปางส้าน และยังดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการ เจ้าคณะอำเภอ
ประวัติด้านการศึกษาของพระใบฎีกามนพิชัย รตนญาโณ
พระใบฎีกามนพิชัย รตนญาโณ เจ้าอาวาสวัดปางส้าน
จบการศึกษาศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) จากสถานบันการศึกษาพระประยัติธรรมวัดพวงคำ เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.2545
อดีตเจ้าอาวาสวัดปางส้าน
ครูบาแปง สุริยา |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระหวัน |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระแบน |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการอุตม์ สุนันโท |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระบุญศรี |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอินสม |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระบุญตัน |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระพันธ์คำ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการบุญส่อง เตชธมฺโม |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระบุญเท่ง |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการปี๋ คนฺธสาโร |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการณัฐวุฒิ ฐิตวฑฺฒโณ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระใบฎีกามนพิชัย รตนญาโณ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 ถึงปัจจุบัน |
การจัดการศึกษาภายในวัดปางส้าน
การจัดการศึกษาภายในวัดปางส้านนั้น จะประกอบไปด้วย
- แหล่งเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณสถาน
- ศูนย์ฝึกอบรมอาชีพ
- ศูนย์อบรมประชาชนประจำตำบล
- หน่วยเผยแพร่ศีลธรรม/ศูนย์วัฒนธรรมสายใยชุมชน
- โครงการลานวัด ลานใจ ลานกีฬา
- ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.)
- ศูนย์อบรมประชาชน/ประชุมประจำหมู่บ้าน
- ศูนย์บริการผู้สุงอายุในวัด
- โครงการเข้าวัดวันอาทิตย์