วัดฉางข้าวน้อยใต้ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๕๒ บ้านฉางข้าวน้อย ถนนสายลำพูน-ลี้ หมู่ที่ ๔ ตำบลป่าซาง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๔ไร่ ๒๔ ตารางวา น.ส. ๓ เลขที่ ๔๕ อานาเขต ทิศเหนือประมาณ ๒ เส้น ๘ วา จดที่ดินเอกชน ทิศใต้ประมาณ ๒ เส้น ๘ วา จดลำเหมืองสาธารณะทิศตะวันออกประมาณ ๑ เส้น ๘วา ๓ ศอก จดลำเหมืองสาธารณะ ทิศตะวันตกประมาณ ๒ เส้น ๔ วา ๒ ศอก จนถนนสายลำพูน-ลี้ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ ๔ ไร่ ๒ งาน ๗๐ ตารางวา น.ส. ๓ ก เลขที่ ๒๖๐ ๒๖๑ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ และศาลาอเนกประสงค์ ปูชนียวัตถุมี พระประธานเป็นพระพุทธรูปสร้างด้วยอิฐถือปูน พระพุทธรูปทองเหลือง พะพุทธรูปไม้สัก และเจดีย์
วัดฉางข้าวน้อยใต้ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๐ ตามประวัติวัดแจ้งว่า เริ่มก่อสร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๕๐ โดยครูยาคัณธา เรวจฺจ ถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่สิบสองปันนา ท่านได้ถูกภัยธรรมชาติคุกคาม จึงได้ชักชวนญาติโยมของท่านหนีลงมาจนถึงที่ตั้งวัดปัจจุบัน เห็นว่าที่เหมาสมในการสร้างวัด จึงได้ชวนศรัทธาชาย-หญิง ช่วยกันสร้างวัดขึ้นและให้ชื่อว่า วัดสันเข้าน้อย ที่ให้ชื่อว่าวัดสันเข้าน้อย ก็เพราะว่าสมัยนั้น เจ้าผู้ครองเมืองหริภุญชัย คือเจ้าภารดี ภูธรบวร ได้มาตั้งฉางเก็บข้าวไว้ในหมู่บ้าน โดยสร้างเป็นหลังเล็กๆ(น้อย) จึงตั้งชื่อบ้านและวัด สันข้าวน้อย ต่อมากลายเป็นฉางข้าวน้อย จึงเรียกกันว่า วัดฉางข้าวน้อยใต้ เนื่องจากมีวัดฉางข้าวน้อย ๒ แห่ง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๔๐ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๖ เมตร การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ ๑ พระอธิการคัณธา เรวจฺจ พ.ศ. ๒๓๕๐-๒๓๙๓ รูปที่ ๒ พระอธการปารมี ปญฺญาวิลาโส พ.ศ. ๒๔๓๙-๒๔๖๑ รูปที่ ๔ พระอธิการคำ อินฺทนนฺโท พ.ศ. ๒๔๖๑-๒๔๗๑ รูปที่ ๕ พระอธิการทุน กาวิชัย พ.ศ. ๒๔๗๖-๒๔๗๘ รูปที่ ๖ พระอธิการอินตา อินฺทวิชโย พ.ศ. ๒๔๘๗-๒๕๑๑ รูปที่ ๗ พระอธิการดวงคำ คุณวโร พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๒๒ รูปที่ ๘ พระอธิการอินสม สุมงฺคโล ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นต้นมา