วัดลอมพระเจ้าตอง (ร้าง) เดิมเป็นที่รกร้างมาหลายร้อยปี มีเพียงซากกำแพงวัดและฐานพระเจดีย์เก่า มีต้นไม้เล็กใหญ่ขึ้นหนาแน่น เป็นที่อาศัยของสัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ งู ตะขาบ เป็นต้น
เนื้อที่ของวัดอยู่ในเขตหมู่ ๗ ต.มะกอก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน มีเนื้อที่ทั้งหมด ๒ ไร่ ๒ งาน ๗๖ ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ ๘๔๑๗ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔ พระนพน สงฺฆโสภโณ ได้นั่งรถมาตามถนนหลวงเส้นทางลำพูน – ลี้ อยู่ระหว่างวัดช้างค้ำกับวัดสันห้างเสือ ได้เห็นกลุ่มไม้กลางทุ่งนาหนาแน่นเป็นมงคลนิมิต เหมาะแก่การสร้างวัดยิ่งนัก อยู่ห่างจากหมู่บ้านไม่ไกลไม่ใกล้เกินไป ผู้คนไปมาสะดวกไร้เสียงรบกวน กลางคืนเงียบสงัดปราศจากเครื่องดีด สี ตี เป่า สมควรเป็นที่อยู่ของพระภิกษุ พระนพน สงฺฆโสภโณ จึงตกลงใจที่จะสร้างวัดนี้ โดยมีแม่ชีรัชดา อมาตยกุล นายประสงค์ ศรีกอก และนายจง (ไม่ทราบนามสกุล) ร่วมประสานงานกับ ผู้ใหญ่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเจ้าของที่ดินใกล้เคียงมาประชุมกัน จึงเห็นพ้องกันว่าควรพัฒนาเพื่อเป็นวัดที่มีภิกษุจำพรรษา และในวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔ พระนพน สงฺฆโสภโณ จึงเข้ามาปักกลดและลงมือพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน โดยมีแม่ชีรัชดา อมาตยกุล กลุ่มอภิธรรมพัฒนา ศรัทธาบ้านป่าหมุ้น บ้านสันห้างเสือ กำนันทองคำ จอมขันเงิน พ่อยืน มะกอกน้อย อาจารย์นิวัฒน์ อุ่นจะนำ และชาวบ้านมะกอก เป็นต้น เป็นผู้ให้การอุปถัมภ์
๑. สถานศึกษาวิชชาพระอภิธรรมและวิปัสสนา อาภิธัมมิกวิชชาลัย
๒. สำนักงานกลุ่มอภิธรรมพัฒนา
๓. ศูนย์ศึกษาค้นคว้าพระอภิธรรม สำหรับอาภิธัมมิกะ และวิปัสสนามามกะ
๔. ศูนย์บริการวิชาการพระพุทธศาสนา สำหรับครูและประชาชน
๕. ศูนย์ส่งเสริมและเผยแพร่พระอภิธรรมทางไปรษณีย์และอินเตอร์เน็ต
กิจกรรมของวัดพระเจ้าทอง
๑. การจัดตั้งมูลนิธิอาภิธัมมิกวิชชาลัย มีวัตถุประสงค์
๑.๑ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาของนักศึกษาพระอภิธรรมสำนักเรียนอาภิธัมมิก วิชชาลัย
๑.๒ บำรุง บูรณะ และซ่อมแซมอาคารสถานที่ของสำนักสำนักเรียนอาภิธัมมิก วิชชาลัย วัดพระเจ้าทอง
๑.๓. สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาเผยแพร่พระอภิธรรม
๑.๔ อุปถัมภ์ค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น สำหรับพระภิกษุและสามเณรวัดพระเจ้าทอง
๑.๕ ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือ ร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
๑.๖ ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด
๑.๗ เพื่อจัดตั้งสถานีวิทยุ เพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนา
๒. การดำเนินงานวิทยุกระจายเสียง มีวัตถุประสงค์
๒.๑ ส่งเสริมการการศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
๒.๒ บริการเผยแพร่ข่าวสารให้กับหน่วยงานราชการ องค์กร ชุมชน และคณะสงฆ์ในจังหวัดลำพูน
๒.๓ ให้ความรู้ความเข้าใจด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
๒.๔ ผลิตเสียงอ่าพระธรรมจากพระไตรปิฎก แจกจ่ายไปตามสถานีวิทยุพระพุทธศาสนา
๓. การดำเนินงานของสำนักเรียนพระอภิธรรม “อาภิธัมมิกวิชชาลัย”
๓.๑ วิจัยพระพุทธศาสนาสาขาพระอภิธรรม
๓.๒ เปิดสอนพระอภิธรรมและธรรมศึกษาทุกวันอาทิตย์
๓.๓ บริการวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับครูและประชาชน
๓.๔ บริการศึกษาพระอภิธรรมทางไปรษณีย์และอินเตอร์เน็ต
๔. บริการความรู้และฝึกฝนกรรมฐานสำหรับครูและประชาชน
๕. กิจกรรมอื่น ๆ
๕.๑ จัดให้มีงานประเพณีประจำปี
๕.๒ จัดภูมิทัศน์ให้เป็นที่สัปปายะ สำหรับการอบรมกาย ศีล จิต ปัญญาสำหรับพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา
๕.๓ สร้างสถานฝึกธุดงค์สำหรับพระนิสิตมหาจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย
๕.๔ ส่งเสริมจริยธรรมสำหรับคฤหัสถ์
๖. ผลการดำเนินงาน
ลำดับ
|
กิจกรรม
|
ผลงาน
|
๑
|
มูลนิธิอาภิธัมมิกวิชชาลัย
|
๑. จัดตั้งสถานีวิทยุ ๓ คลื่น ๒ สถานี
๒. สนับสนุนค่าใช้จ่ายสถานีวิทยุ เดือนละ ๕,๐๐๐ บาท
๓. เป็นฝ่ายส่งเสริมการจัดตั้งสถานีวิทยุเครือข่ายสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
|
๒
|
สถานีวิทยุกระจายเสียง
|
๑. ผลิตเสียงอ่านพระธรรมจากพระไตรปิฎกแจกจ่ายสถานีวิทยุพระพุทธศาสนาทั่วประเทศและประชาชนทั่วไป จำนวน ๒,๕๐๐ แผ่น
๒. เผยแพร่พระพุทธศาสนาทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๔.๓๐ น. ถึง ๒๒.๐๐ น. ทุกวัน
|
ลำดับ
|
กิจกรรม
|
ผลงาน
|
๓
|
สำนักเรียนอาภิธัมมิกวิชชาลัย
|
๑. มีการเรียนพระอภิธรรมมุกวันอาทิตย์
เวลา ๐๙.๐๐ น. ถึง ๑๕.๐๐ น.
๒. ศึกษาความหมาย “นิพพาน”
มีผลสัมฤทธิ์ดังนี้
- จบหลักสูตรวิปัสสนามามกะ จำนวน ๑๕ คน
- จบหลักสูตรอาภิธัมมิกกะ จำนวน ๑๕ คน
- จบพระอภิธรรมทางไปรษณีย์ หลักสูตรวิปัสสนามามกะ จำนวน ๖๖๐ คน
|
๔
|
บริการวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับครูและประชาชน
|
๑. จัดเข้ากรรมฐาน โครงการอัตตะทัตถกาล สำหรับประชาชนทั่วไป ๖ ครั้ง จำนวน ๑๐๘ คน
๒. อบรมครูสอนวิชาพระพุทธศาสนา ๔ ครั้ง จำนวน ๒๓๐ คน
๓. จัดการสอบวิชาคิหิปฏิบัติและสิงคาลกสูตร สำหรับประชาชน ๒ รุ่น จำนวน ๑๙๒ คน
|
๕
|
กิจกรรมต่าง ๆ
|
๑. ปลูกป่าเพื่อเป็นสถานธุดงค์ ๑ แห่ง จำนวน ๗ ไร่
๒. ฝึกอบรมธุดงค์สำหรับพระนิสิตมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ๗ รุ่น จำนวน ๒๔๐ รูป
|