เรื่องตำนานวัดพระธาตุเสด็จนี้ เกิดขึ้นสมัยเมื่อเมืองลำปางมีชื่อ ศรีนครชัย และ สัมพะกับปะนคร ซึ่งมี ๒ แห่งด้วยกันวัดพระธาตุเสด็จนี้นับว่าเป็นโบราณสถานอันสำคัญแห่งหนึ่งของ จังหวัดลำปาง ที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบราณสถานของชาติแล้ว ดังจะได้กล่าวถึงตำนานของวัดพระธาตุเสด็จอันมีอยู่ในใบลานดังต่อไปนี้
หลังจากพระพุทธเจ้าได้นิพพานไปได้ ๒๑๘ ปี พระยาศรีธรรมกาโสกราช เสวยราชเป็นพระยาเจ้าเมืองอยู่ในชมภูทวีปประเทศอินเดีย ได้ให้ท้าวพระยาทั้งหลาย ทำมหาเจดีย์ ๘,๒๐๐๐ ดวง และโปรดให้ชุมนุม พระอรหันต์ทั้งหลายและให้ช่างคำได้ทำโกฏทองคำ ช่างเงินทำโกฏเงิน ช่างแก้วทำโกฏแก้ว แล้วเอาพระธาตุของพระพุทธเจ้าบรรจุไว้ในโกฏทั้ง ๓ แล้วทำการฉลองสักการระบูชากันเป็นการใหญ่ครบ ๗ วัน แล้วพร้อมกันอธิฐานว่า “เมื่อพระพุทธองค์มีพระชนม์อยู่ได้เสด็จไปสู่ที่ใดก็ขออาราธนาให้พระบรมธาตุ ไปสู่ที่นั้นเถิด” หลังจากนั้นพระธาตุของพระพุทธเจ้า ก็เสด็จลอยไปทางอากาศไปสู่ที่ต่างๆ อันสมควรที่พระพุทธองค์ทรงทำนายไว้และมาประดิษฐานอยู่ที่ดอยโผยง(ผะโหยงหมาย ถึงอาการที่ดวงพระธาตุเปล่งรัศมีขึ้นๆลงๆ )นี้แห่งหนึ่ง(ตรงที่ตั้งวัดพระธาตุเสด็จในปัจจุบัน)
ต่อมาเมื่อจุลศักราชได้ ๒๑๙ ปี (พ.ศ.๑๒๐๐) พระอรหันต์ ๗ องค์มาจากชมภูทวีป ได้พากันมาบรรจุพระบรมธาตุ และไดเชิญชวนพระยามหากษัตริย์มาชุมนุมถึง ๕ พระองค์ และตั้งทัพรักษาอยู่ห้าแห่ง แห่งแรกมีชื่อว่า เวียงชัย แห่งที่ ๒ เรียกว่า อริยะ แห่งที่ ๓ เรียกว่าอางละ แห่งที่ ๔ เรียกว่า รี แห่งที่ ๕ เรียกว่า เวียงสูง ต่อจากนั้น พระยา๕ พระองค์ก็เอาเงินเอามาหล่อก้อนละอีดเงิน ละอีดคำ (อิฐเงินอิฐคำ) อย่างมากมายแล้ว ก็ให้คนขุดดินลึกได้ ๑๕ ศอกนับเป็นวาได้ ๓ วา ปลายออกหนึ่งแล้วก็ก่อด้วยก้อนละอีดคำ ทำรูปราชสีห์ ๑ ตัว สูงได้ ๗ ศอกแล้วทำขะอูปแก้ว (ผอบ) อันหนึ่งดีงามยิ่งนัก แล้วเอาพระธาตุพระพุทธเจ้าบรรจุไว้ตรงกลาง แล้วเอาใส่ไว้ในท้องราชสีห์คำตัวนั้น แล้วหุ้มเป็นอุโมงค์ กว้างได้ ๗ วา แก้วก่อดินละอีด (อิฐ) หุ้มขึ้นก่อขึ้นหลังราชสีห์คำตัวนั้นได้ ๑๒ ศอก แล้วก่อกินละอีดคำขึ้นได้ ๑๒ ศอกเป็นใจกลางตรงราชสีห์อยู่นั้น ก่อขึ้นมาจนถึงดินกว้างได้ ๑ ศอก จึงก่อหินขึ้น ๗ ศอก แล้วจึงถมดินให้ดีแล้วเอาไม้ชะจาว ๑ ต้นมาปลูกไว้ตรงกลาง ส่วนแก้วแหวนเงินคำที่เหลือก็หล่อเป็นเสาโคมคำสูงได้๙ วาอก ใหญ่เท่าลำตาล และฝังไหแก้ว ๗ ไห ไว้บุชาอีกทั้ง ๔ทิศ นอกจากนั้นยังมีเงินคำเครื่องใช้เหลืออีก๑๒ โกฏิ ให้ใส่รถลากไปฝังดอยน้อย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกแล้วพระอรหันต์ทั้ง ๗ พระองค์กับพระยา ๕ พระองค์ ได้ช่วยกัน อธิฐานว่า “คนไหนไม่บุญอย่าเอาข้าวของไป ท้าวพระยาองค์ใดมีบุญสมภารอันใหญ่เสวยเมืองนครชัย กับทั้งชาวจ้าวผู้มีบุญสมภารอันใหญ่จักมายกยอพระพุทธศาสนาก็อนุญาตให้สร้าง ได้พระธาตุดอนโผยงนี้จักรุ่งเรือง ๒ ที ๓ ที ครั้งถ้วน ๓ จักเจริญเป็นเจดีย์คำตลอดไปจนสิ้นศาสนายุกาล” เมื่อพระอรหันต์ ๗ พระองค์ และพระยา ๕ พระองค์พร้อมด้วยเทพบุตร ได้อธิฐานเช่นนี้แล้วก็บูชาสักการะเป็นเวลา ๗ วัน แล้วก็กลับไปสู่ที่อยู่ของตน ขณะที่บรรจุพระบรมธาตุนั้นเป็นจุลศักราชได้ ๒๑๙ ปี นี่เป็นเรื่องกล่าวถึงการบรรจุพระบรมธาตุ
ต่อมาจุลศักราช ๗๗๕ (พ.ศ.๑๙๕๖) ปีมะเส็ง ขณะนั้นนางจามเทวีได้เป็นพระยาครองเมืองหริภุญชัย พระนางจามเทวีมีพระราชโอรส ๒ พระองค์ องค์พี่ชื่อว่า มหันตยศ องค์น้องชื่อว่าอนันตยศ มีพระยาลัวะ ซึ่งมาเอานางพระนางจามเทวีเป็นภรรยาองค์หนึ่งแต่พระราชโอรสทั้ง ๒ พระองค์จงใจรังเกียจยิ่งนัก จึงขออนุญาตพระมารดาไปรบด้วยพวกพระยาลัวะ ก็ได้ชัยชนะกลับมาพระนางจามเทวีก็ยกเมืองหริภุญชัยให้แก่มหันตยศลูกชายคนโต ให้ได้เสวยราชสมบัติสืบต่อไป ต่อมามหันตยศจึงได้ถามพระมารดาว่าเหตุไฉนลูกทั้งสองขี่ช้างตัวเดียวกันไปรบ ชนะมาด้วยดันแล้ว แม่ไม่ให้น้องชายได้เสวยเมืองเดียวกับลูกเล่า นางจามเทวีได้ฟังดังนั้นก็คิดนั้อยใจ จึงรับปากกับลูกชายผู้เป็นพี่ว่า เจ้าอย่าได้น้อยใจไปเลยแม่จะหาเมืองให้น้องเจ้าได้เสวยราช ต่อมาพระนางจามเทวีก็ได้ไหว้เจ้าสุกกะทันตะฤาษี บอกเหตุการณ์ทั้งหมดให้ทราบ เจ้าสุกกะทันตะฤาษี ก็ได้ชี้แจงแก่นางจามเทวีว่าหากต้องการให้ลูกชายได้เสวยราชจริงแล้ว ก็ให้ไปหามหาพรหมฤาษีซึ่งอยู่ห่างจากที่นี้ไปทางทิศตะวันออก ๕ หมื่น ๖ พันวา อยู่ดอยชื่อว่าเขางาม เป็นสหายของเรานี้แหละให้ไปหานายพรานป่าชื่อว่าพรานเขลางค์ อยู่ตีนดอยทางทิศตะวันออกแม่น้ำวังค์นที แล้วพรานผู้นั้น ก็จักพาท่านไปหามหาพรหมฤาษี แล้วให้เล่าเรื่องราวและแจ้งความประสงค์ให้ท่านทราบต่อไปเถิด
จากนั้น พระนางจามเทวีพร้อมด้วยพระราชโอรสและบริวารก็เดินทางมาสู่สถานที่ๆ มหาพรหมฤาษีอยู่ ดุจดังที่เจ้าสุกกะทันตะฤาษีแนะนำทุกประการ เมื่อมาถึงสำนักมหาพรหมฤาษีแล้วมหาพรหมฤาษีก็ถามว่า มีความประสงค์อย่างใดที่มาสู่สำนักของท่าน นางจามเทวีก็เล่าเหตุการณ์ให้ฟังทุกประการ มหาพรหมฤาษีก็บอกว่า ไม่เป็นไรถ้าต้องการให้อนันตยศได้เสวยราช เราก็จะเล็งดู (พิจารณาดู) ที่ๆ สุขเกษมสำราญให้ แล้วก็ไปสู่ดอยเบ็งกันแล้วมองไปทางทิศตะวันตกแม่น้ำวัง เห็นต้นโพธิ์อันงดงามต้นหนึ่งจึงเนรมิตให้เป็นบ้านเป็นเมืองขึ้น กว้างได้ ๕๐๐วา ยาวได้๕๐๐วา แล้วก็นำเอาหินก้อนหนึ่งมาไว้ตรงกลางเมือง หินก้อนนั้นก็ปรากฏว่าเป็นผาบ่องจนถึงทุกวันนี้ แล้วมหาพรหมฤาษีและพระนางจามเทวีก็อภิเศกเจ้าอนันตยศให้เป็นพระยาเสวยเมือง ชื่อว่า อินทาเกิงกร และเมืองนี้ปรากฏชื่อว่า ศรีนครชัย ที่มหาพรหมฤาษี ให้ชื่อเช่นนี้ ก็เพราะพระธาตุพระพุทธเจ้าได้ประดิษฐานอยู่ทั้ง ๒ ข้างของตัวเมือง คืออยู่ที่เมืองลัมภะกัปปะนครดวงหนึ่ง อยู่ที่เหนือเมืองชื่อดอนโผยงหนึ่ง พระนางจามเทวีก็ไปนมัสการสักการบูชาพระบรมธาตุในเมืองลัมภะกัปปะนครแล้วก็ไป นมัสการพระธาตุเจ้าดอนโผยงอีก หลังจากที่พระนางได้สักการบูชาเสด็จแล้ววก็มานั่งพักผ่อนที่ใต้ร่มไม้สัก ๒ ต้นพี่น้อง อยู่ทิศตะวันออกพระธาตุและเห็นว่ามีร่มเงาเย็นดี จึงได้อธิฐานว่า ขอให้ไม้สัก ๒ ต้นนี้จงยืนนานถาวรเป็นพันๆปี แล้วพระนางก็เสด็จกลับไปสู่เมืองหริภุญชัยตามเดิม (ต้นไม้สัก ๒ ต้นที่ว่านี้ ยังปรากฏต้นตออยู่จนบัดนี้ และจมอยู่ใต้ดิน)
ต่อมาจุลศักราชได้ ๔๙๖ปี (พ.ศ.๒๐๗๗ปี)มีพระมหาเถรเจ้า ๒ องค์มาจากเมืองพม่า ได้นำสถรา (บัดถาจารึก)มาเพื่อจะนมัสการพระมหาธาตุเจ้า สมัยเมือเจ้าเมืององค์ที่ชื่อว่า”หาญเทศท้อง” เสวยเมืองศรีนครชัย เมื่อมานมัสการพระธาตุเมืองลัมภะกัปปะนครแล้ว ก็ไปสู่เมืองศรีนครชัย แล้วมหาเถรเจ้าทั้งสองก็ถามชาวเมืองทั้งหลายว่า พระธาตุพระพุทธเจ้ามีเหนือเมืองไปอันชื่อว่าดอนโผยงมีหรือไม่ ชาวบ้านเมืองก็บอกมหาเถรเจ้าว่าพวกข้าพเจ้าได้ทราบแต่ว่า พระธาตุพระพุทธเจ้ามีอยู่ใต้เมืองลัมภะกัปปะนครเช่นนั้น ส่วนเมืองศรีนครชัยอย่างท่านว่าไม่เคยได้ยินเลย มหาเถรเจ้าก็บอกให้เขารู้อีก แล้วก็เดินทางไปเสาะหาพระบรมธาตุทางเหนือเมืองต่อไป พอไปถึงบ้านกาศไหม้ ก็แวะอาบน้ำที่ท่าน้ำนั้นแล้วก็มีคนแก่ชราคนหนึ่งอยู่บ้านหมากฟ้าเดินทางพบ เข้า มหาเถรเจ้าจึงถามว่า ปู่มาจากไหน ชายชราก็บอกว่ามาจากบ้านหมากฟ้า มหาเถรเจ้าจึงถามว่ายังรู้จักพระธาตุอยู่ที่ใด วัดดอนโผยงอยู่ที่ใด ต้นไม้คะจาวอยู่ที่ใด เคยทราบไหมชายชราคนนั้นไม่เคยเห็นและไม่เคยทราบไม่เคยได้ยินใครพูดเลยจึงตอบ มหาเถรเจ้าว่า ไม่ทราบว่าอายุได้ ๙๐ ปีแล้วแล้วก็ยังไม่เคยได้ยินชื่อเช่นนี้เลย ครั้นแล้วมหาเถรเจ้าก็ถามต่อไปว่า คนแก่ที่แก่กว่าท่านยังอยู่หรือ ชายชราบอกว่ายังมีอยู่อีกหนึ่งเป็นอาจารย์โหราเมือเป็นพระเคยไปอยู่เมือง พม่า แต่กลับมาได้ลาสิกขาเสียแล้วก็เป็นอาจารย์ (ผู้นำอุบาสกหรือไวยาวัจจกร) อาจจะรู้เรื่องนี้ดีชายชราจึงพามหาเถรเจ้าไปบ้านหมากฟ้า ไปหาอาจารย์โหราคนแก่แล้วก็เล่าเหตุการณ์ให้แก่ฟังทุกอย่าง อาจารย์โหราจึงถามว่าพระคุณเจ้าเดินทางมาพักที่ไหน มหาเถรเจ้าก็บอกว่า มาพักที่บ้านกาศไหม้ อาจารย์โหราก็บอกว่าที่บ้านกาศไหม้นั้นแหละ ที่ริมแม่น้ำวังค์นที มีดอนอันหนึ่งชื่อว่าดอนโพง มีต้นคะจาวอยู่ต้นหนึ่ง แต่เขาไม่เคยเรียกกันว่าดอนโผยง อย่างพระคุณเจ้าว่าเลย เขาเรียกกันว่า ดอนโพง ก็คือที่ๆพระคุณเจ้าพักอยู่นั้นแหละมหาเถรเจ้าถามว่า เหตุใดคนจึงเรียกกันว่า ดอนโพง อาจารย์โหราจึงบอกว่า เนื่องจากกลางคือมาผีโพงชอบมากินซากผีแถวนั้นเพราะเขานำผีไปฝังไว้ใกล้ๆ กับต้นคะจาวต้นใหญ่ต้นนั้น กลางคืนจึงมีผีโพงไปเที่ยวเกาะกิ่งเกาะกิ่งไม้คะจาวเพื่อเซาะกินผีทุกคืน ตลอดคืนยังรุ่งเขาเรียกกันว่าดอนโพง มหาเถรเจ้าก็ขอให้อาจารย์ โหราพาไปสู่ดอนโพงเพื่อตรวจดูตรงดอนโพงให้ถูกต้องแน่นอนว่าจะเหมือนดังในบัด ถาจารึกหรือไม่
จากนั้น อาจารย์โหราก็ได้พามหาเถรเจ้าทั้งสองมาดูดอนโผยงแล้วมหาเถรเจ้าก็อ่านบัด จารึกดูก็เห็นถูกต้องแม่นยำทุกประการและต้นคะจาวก็มีกิ่งใหญ่ ๒ กิ่งมีเทพบุตรรักษาองค์ละกิ่ง และมีกิ่งคะจาวเป็นปุ๋ย ๔๐พะวง ย้อยลงมาพื้นดินทั้ง ๔ ทิศๆละ๑๐ พะวง ถ้าลมมาก็กวัดแกว่งกวาดพื้นให้เกลี้ยงราบเรียบดงงามยิ่งนัก ดุจมียามคอยกวาดรักษาอยู่เสมอ แม้แต่หญ้าเส้นหนึ่งก็ไม่มี เป็นสถานที่บริสุทธิ์สะอาดงดงามดี มหาเถรเจ้าจึงบอกให้อาจารย์โหราว่านี่แหละคือสถานที่บรรจุพระบรมธาตุที่แท้ จริงแล้วตั้งแต่นี้เป็นต่อไป ขอท่านทั้งหลายอย่าได้สงสัยอะไรอีกเลย จงเชื่อในตำนานที่เราเอามาจากลังกานี้เถิด ขอให้ท่านทั้งหลายอย่าได้นำเอาผีมาเสีย ณ ที่นี้ต่อไปเลยแล้วก็ให้อาจารย์โหราไปแจ้งข่าวให้ประชาชนทั้งหลายมาคนทั้ง หลายก็พากันหลั่งไหลมาอย่างคับคั่ง แล้วพระมหาเถรเจ้าก็แจ้งให้ประชาชนทั้งหลายทราบอีกดุจข้างต้น คนทั้งหลายก็ไม่เชื่อและตำหนิพระมหาเถรเจ้าในทำนองที่ว่าเอาป่าช้าเป็นวัด ครั้นแล้วมหาเถรเจ้าทั้ง๒ องค์ ก็ทำการสักการบูชาพระธาตุพระพุทธเจ้าด้วยข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน แล้วอธิฐานว่า”ถ้าธาตุพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอยู่ใต้ร่มไม้คะจาวต้นนี้ ตั้งแต่เมื่อพระอรหันต์๗ พระองค์ และเทพบุตรทั้งหลาย พระยา ๕ พระองค์มาบรรจุพระบรมธาตุพระพุทธเจ้าไว้ที่นี้ และให้พรหมเทพบุตรและสุภัททะเทพบุตรรักษาพระสรีระธาตุพระพุทธเจ้า มี ณ ที่นี้ จริงแล้ว ของให้เทพบุตรทั้งสอง จงสำแดงพระสรีระธาตุพระพุทธเจ้าให้เกิดปฏิหาริย์ดุจเมื่อพระพุทธองค์ยังมี พระชนม์อยู่เถิด”
จากนั้น รัศมีพระสรีระธาตุพระพุทธเจ้า ก็ไหลหลั่ง แต่ต้นไม้คะจาวต้นใหญ่ มีประมาณเท่าลำตาลรุ่งเรืองงามประดุจทองคำและประดุจรูปพระยานาคเกี้ยวกันสุด ยอดต้นคะจาวแล้วก็เปล่งรัศมี ๖ ประการรุ่งเรืองงามยิ่งนัก แล้วก็เสด็จขึ้นไปบนอากาศ ใหญ่ประมาณเท่าลูกบาตรบ้าง เท่าลูกมะพร้าวบ้าง เท่าเดือนบ้าง เท่าดาวบ้าง มาที่สุดจะคณานับได้ ตลอดคืน คนทั้งหลายจึงได้เชื่อคำของมหาเถรเจ้า ก็บอกข่าวให้แก่คนทั้งหลายว่า ต่อไปเมื่อใดที่ต้นคะจาวนี้จะชราเสื่อมคลายตายลงแล้ว ในตอนนั้นจักมีพระมหาเถรเจ้าองค์หนึ่ง กับพระยาที่เสวยเมืองศรีนครชัยกับทั้งชาวเจ้าอริยะสงฆ์และประชาชนจักมาตัด ไม้คะจาวนี้ แล้วจะก่อเป็นพระมหาเจดีย์ครอบพระสรีระธาตุพระพุทธเจ้า สถานที่นี้ให้รุ่งเรืองถาวรสืบอายุพระพุทธศาสนาต่อไป เมื่อพระมหาเถรเจ้ากล่าวเช่นนี้แก่ประชาชนแล้วประชาชนต่างก็ชื่นชมยินดีที่ เห็นพระบรมธาตุพระพุทธเจ้าออกจากต้นคะจาว คนทั้งหลายก็กลับไปสู่ที่อยู่บ้านเรือนของตน ส่วนมหาเถรเจ้าก็กลับไปสู่ที่อยู่แห่งตนตามเดิม ภายหลังประชาชนที่ต้องการจะถวายอาหารแก่พระมหาเถรเจ้าทั้ง ๒ องค์ก็หาไหนไม่เจอ เสาะหาตามที่ไหนๆก็ไม่พบ จึงไปแจ้งข่าวแก่พระยาเจ้าเมือง ชื่อหาญแต่ท้อง เจ้าเมืองได้ทราบเรื่องตำนานพระสรีระธาตุพระพุทธเจ้า ก็มีจิตใจชมชื่นยินดียิ่งนัก จึงตรัสสั่งให้ประชาชนพลเมืองปราบพื้นที่ให้เรียบร้อยดีงามแล้ว ก็จัดการก่อต้นไม้คะจาวต้นนั้นให้เป็นแท่นเป็นองค์เจดีย์ แล้วทำวิหารขึ้น ๑หลัง ทางด้านตะวันออก และได้ป่าวประกาศให้ชาวเมืองศรีนครชัยตลอดทั้งภิกษุสงฆ์องค์เจ้ามาทำการ สักการบูชาพอถึงกลางคืน มาพระสรีระธาตุพระพุทธเจ้าก็เสด็จออกมาจากต้นคะจาวแสดงปาฏิหาริย์เป็นที่น่า ปิติยินดีแก่มหาชนทั่วไป ตั้งแต่นั้นมาก็มีชื่อปรากฏเรียกกันว่า พระธาตุเสด็จ (คือเสด็จขึ้นๆลงๆเช่นนี้)
พอถึงจุลศักราช๑๑๖๘ (พ.ศ.๒๓๔๙)ตรงกับเดือนยี่เหนือขึ้น๑๐ค่ำ วันพฤหัสบดี มหาปฐวีแผ่นดินหลวงก็หวั่นไหวเป็นการใหญ่ทำให้แท่นเจดีย์ที่ทำไว้นั้นทรุด โทรมลง พระยาลัวะเจ้าเมืองนครชัย พร้อมทั้งพระสงฆ์มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานก็ได้จัดการหล่อเหล็กยาว ๕ ศอก ทำเป็นไส้กลางแล้วก็เสริมสร้างเป็นองค์พระธาตุเจดีย์ขึ้นแล้วสร้างฉัตรทองคำ เพิ่มอีก ๒รวมเป็น ๕ และทำซี่เหล็กล้อมอีก ๒๑๕๐ เล่ม และฉัตรทองเหลืองปักตรงมุมอีก ๔ มุม ๆละ๑ฉัตร รวมพระธาตุเสด็จกว้างได้ ๗ วา สูง ๑๕ วา แล้วป่าวประกาศให้ประชาชนทั้งหลายมาฉลองสมโภชกัน๗วัน ๗ คืนในวันเพ็ญเดือน ๓ (เดือน ๕ เหนือ) ซึ่งเป็นประเพณีการจัดงานเทศกาลประจำปีมาจนถึงทุกวันนี้ กล่าวถึงตำนานพระบวรธาตุเจ้าวัดพระธาตุเสด็จอันมีในใบลานเก่าแก่ก็ยุติเพียง เท่านี้
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2501
• วัดพัฒนาตัวอย่าง เมื่อวันที่ 15 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2542