ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดแม่ฮวก
- ชื่อวัด: วัดแม่ฮวก
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 7 รูป
- ที่ตั้ง: เลขที่ 216 หมู่ 3 แม่ฮวก ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง รหัสไปษณีย์ 52130
- เนื้อที่: 12 ไร่ 7 งาน 44 ตารางวา
- โทร: 084-3322827
ประวัติความเป็นมา
วัดแม่ฮวก ตั้งอยู่เลขที่ ๑๓๒ บ้านแม่อวก หมู่ที่ ๓ ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคาจังหวัดลำปาง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๙ ไร่ ๓ งาน ๘๐ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือ ประมาณ ๘๕ วา จดที่ดินของเอกชน ทิศใต้ประมาณ ๕๐ วา จดที่ดินเอกชน ทิศตะวันออก ประมาณ ๑๒๒ วา จดโรงเรียนและถนน ทิศตะวันตก ประมาณ ๑๒๘ วา จดแม่น้ำ ที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๑๐ ไร่ ๗๒ ตารางวา อาคารเสนาสนะประกอบด้วย วิหาร หอฉัน และ กุฏิ
วัดแม่ฮวก สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕ เดิมชื่อวัดหินค่อม เพราะบริเวณนี้หินถูกล้อเกวียนบาดเป็นรอยลึก ซึ่งชาวบ้านเรียกค่อม ต่อมาเปลี่ยนนามวัดตามชื่อหมู่ล้านและชื่อแม่น้ำ การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ พระสุวรรณ พระสุภา พระป๋า พระติ๊บ ระหว่าง พ.ศ.๒๔๗๙-๒๕๐๖ พระอินทนนท์ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๖ –๒๕๐๗ พระอ้าย พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๐ พระคำปัน พ.ศ.๒๕๑๐-๒๕๑๓ พระถวิล พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๑๖ พระศรีไว ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๖ พระอธิการทอง ธมฺมชาโต เป็นเจ้าอาวาส
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2358
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 7 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2549
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดแม่ฮวก
ด้านการท่องเที่ยว ทางวัดและคณะกรรมการหมู่บ้าน ได้มีแนวคิดต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยการก่อสร้างสิ่งที่เป็นปูชนียวัตถุ และศาสนสมบัติที่สำคัญเกี่ยวกับด้าน พระพุทธประวัติขององค์สมเด็จพระพุทธเจ้า และยังมีถ้ำพระอนันตชิน ภายในรประกอบด้วยภาพปูนปั้น พระพุทธประวัติ เพื่อส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีความรู้ ในด้านทางพระพุทธศาสนายิ่งๆขึ้นไป และปัจจุบันก็มีการสร้างพระพุทธรูปปางไสยยาสน์ องค์ใหญ่ 18 เมตร เพื่อเจริญศรัทธาในด้านจิตใตในการปฏิบัติบูชา และมีแนวคิดในการส่งเสริมการปฏิบัติกรรมฐาน สำหรับชาวพุทธและชาวต่างชาติ เพื่อเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
ข้อมูลเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2558
พระอธิการศรีเมือง สิริชโย เจ้าอาวาสวัดแม่ฮวก
พระอธิการศรีเมือง สิริชโย
ปัจจุบันอายุ 84 ปี
บวชมาแล้ว 24 พรรษา
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดแม่ฮวก
ประวัติด้านการศึกษาของพระอธิการศรีเมือง สิริชโย
พระอธิการศรีเมือง สิริชโย เจ้าอาวาสวัดแม่ฮวก
จบการศึกษาศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 (ป.4) จากสถานบันการศึกษาโรงเรียนบ้านแม่ฮวก เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.
อดีตเจ้าอาวาสวัดแม่ฮวก
พระอธิการสุวรรณ์ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2415 ถึงปัจจุบัน |
พระอธิการสุภา |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2479 ถึงปี พ.ศ.2506 |
พระอธิการปัญญา |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการจันทร์ติ๊บ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการสุคำ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการเสาร์ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการป๋า |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการศรีนวล ญาณวิโร |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการคำปัน |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการบุญแสง |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการศรีไว |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 ถึงปี พ.ศ.2516 |
พระอธิการแก้ว |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2516 ถึงปี พ.ศ.2520 |
พระครูวิสารพัฒนโกศล |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 ถึงปี พ.ศ.2549 |
พระอธิการศรีเมือง สิริชโย |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 ถึงปี พ.ศ.2558 |
นายสุวรรณ ศรีวิชัย (ศิลปิน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดแม่ฮวก
เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ที่มีความสำคัญ และเชื่อมโยงกับวัด โดยการสร้างงานการตกแต่งขบวนครัวตาน และออกแบบในการทำงานเกี่ยวกับการสร้างงานต่างๆในรูปแบบงานศิลปวัฒนธรรมพื้นเมืองล้านนา
นางหมื่น ชลพล (ศิลปิน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดแม่ฮวก
ปราชญ์ชาวบ้าน ที่มีความสำคัญและเชื่อมโญงกับวัดในด้านสาขาสิ่งทอผ้าพื้นเมืองล้านนาสร้างลายดอกต่างๆ เป็นผู้ฝึกสอนในด้านการทอผ้า การทอตุง และการตัดแต่งเป็นรูปตุงชนิดต่างๆ
นายอนุชิต พรมอย่า (ศิลปิน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดแม่ฮวก
ทางด้านวัฒนธรรมการแสดงดนตรี ที่มีความสำคัญและเชื่อมโญงกับวัด ในการแสดงดนรตรีพื้นเมืองล้านนา ทั้งแนะนำความรู้เกี่ยวกับการฝึกสอนดนตรีให้กับ รุ่นสู่รุ่นภายในชุมชนเช่น ปี่ กลอง ฆ้องวง ระนาด
ทำนา ทำไร่ (วิถีชีวิต) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดแม่ฮวก
หมู่บ้านแม่ฮวกนี้ ตั้งแต่บรรพบุรุษมาจะทำนาเป็นอาชีพหลักจนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังทำนา ทำไร่ เป็นอาชีพหลักเหมือนเดิม แต่ปัจจุบันนี้มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโดยมีกลุ่มต่างๆ ดังนี้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนเลี้ยงหมู กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์ กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง กลุ่มเพาะเห็ด และกลุ่มทำน้ำพริกชุมชน กลุ่มตัดเย็บผ้าชุมชน
ท้องถิ่นล้านนา อู้คำเมือง (ภาษา) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดแม่ฮวก
การสืบชะตาประจำปีของหมู่บ้าน (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดแม่ฮวก
ทุกๆปี เดือนเมษายน ชาวบ้านจะมารวมตัวกันที่วัดจัดงานตกแต่งคา เพื่อทำการพิธีสืบชะตาหมุ๋บ้าน โดยสงฆ์ในวัดและปู่จาเคราะห์บ้าน ทำพิธีโดยพ่อาจารย์วัด
สรงน้ำพระธาตุประจำปี (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดแม่ฮวก
มีขึ้นในวันที่ 15 เมษายน ของทุกปี
การทอผ้าพื้นเมือง (ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดแม่ฮวก
ชาวบ้านแม่ฮวกส่วนมาก เวลาหมดหน้าทำนาแล้ว ซึ่งจะร่วมกันตั้งกลุ่มทอผ้าขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มเล็กๆสืบกันมาตั้งแต่ปู่ย่า ตายาย และยังมีทำกันอยู่ในปัจจุบันนี้
การจักรสาน (ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดแม่ฮวก
การจักรสานที่มีมาในหมู่บ้านแม่ฮวกนั้น โดยผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งได้ทำการมาตั้งนานแล้ว ทำใช้กันภายในครอบครัว โดยมีไม้ไผ่เป็นวัสดุในการทำงานต่างๆ เช่น ตะกร้าไม้ไผ่ กระบุง ไช ฯลฯ
ดนตรีพื้นเมืองล้านนา (ศิลปการแสดงและดนตรี) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดแม่ฮวก
เป็นการรวมตัวของเยาวชนในหมู่บ้านแม่ฮวกได้ร่วมกันตั้งกลุ่มคณะดนตรีพื้นเมืองล้านนา มีผู้เฒ่าผู้แก่ ช่วยแนะนำรุ่นสืบรุ่นติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบันเล่นในงานต่างๆ ที่มีในหมู่บ้าน เช่น งานปี๋ใหม่เมือง งานปอยหลวง งานบวชลูกแก้ว อย่างนี้เป็นต้น
กลุ่มกลองยาวประจำหมู่บ้านแม่ฮวก (ศิลปการแสดงและดนตรี) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดแม่ฮวก
โดยการนำของ กำนันอุดม จำปา กำนันตำบลไหล่หิน ตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อการแสดงในงานต่างๆ ของหมู่บ้าน และมีคณะช่างฟ้อนประจำหมู่บ้าน
การจัดการศึกษาภายในวัดแม่ฮวก
การจัดการศึกษาภายในวัดแม่ฮวกนั้น จะประกอบไปด้วย