ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย
- ชื่อวัด: วัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 9 รูป
- สามเณร: 5 รูป
- ลูกศิษย์วัด: 2 คน
- ที่ตั้ง: เลขที่ 265 หมู่ 3 บ้านผึ้ง เกาะคา-ในเมือง ตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง รหัสไปษณีย์ 52130
- เนื้อที่: 18 ไร่ 2 งาน 39 ตารางวา
- โทร: 084-1719462
ประวัติความเป็นมา
วัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย ตั้งอยู่เลขที่ 265 บ้านผึ้ง หมู่ 3 ต.ศาลา อ.เกาะคา จ.ลำปาง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายที่ดินตั้งวัด มีเนื้อที่ 23 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือ ประมาณ 171 เมตร จดถนนลูกรัง ทิศใต้ประมาณ 174 เมตร จดที่ดินของโรงเรียนบ้านผึ้ง ทิศตะวันออกประมาณ 102 เมตร จดที่ธรณีสงฆ์ ทิศตะวันตกประมาณ 117 เมตร จดถนนพหลโยธิน ที่ธรณีสงฆ์จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 5 ไร่ 1 งาน 65 ตารางวา อาคารเสนาสนะประกอบด้วย วิหาร อุโบสถ ศาลาการเปรียญ และกุฏิสงฆ์ พระพุทธรูปปูนปั้นศิลปสุโขทัย วัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย สร้างเมื่อ พ.ศ.2480 เดิมอยู่ริมแม่น้ำวังในหมู่บ้านจึงเรียกว่า วัดบ้านผึ้ง ต่อมาถูกน้ำกัดเซาะตลิ่ง พ่อหนานปั๋น จันทร์สร้อย ขุนเถาะคนินท์ คุณถนอม ในบัวกาศ ร่วมกับผู้จัดการโรงเรียนน้ำตาลไทยลำปาง สร้างวัดขึ้นใหม่ในปัจจุบัน ให้ชื่อว่าวัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2504 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 9 เมตร ยาว 14 เมตร
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2484
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 10 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2524
ข้อมูลเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2558
พระครูวิจิตรพัฒนวิมล ฐิตสาโร เจ้าอาวาสวัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย
พระครูวิจิตรพัฒนวิมล ฐิตสาโร
ปัจจุบันอายุ 52 ปี
บวชมาแล้ว 29 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น เจ้าอาวาสวัดราษฎชั้นเอก
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย และยังดำรงตำแหน่งเป็นรองเจ้าคณะตำบล
ประวัติด้านการศึกษาของพระครูวิจิตรพัฒนวิมล ฐิตสาโร
พระครูวิจิตรพัฒนวิมล ฐิตสาโร เจ้าอาวาสวัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย
จบการศึกษาศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถานบันการศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยเขตลำปาง เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.
อดีตเจ้าอาวาสวัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย
พระอธิการอินตา ชยาภรโณ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2486 ถึงปี พ.ศ.2514 |
พระอธิการสมพล อภิชาโต |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2514 ถึงปี พ.ศ.2516 |
พระมณัสฯ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2516 ถึงปี พ.ศ.2518 |
พระจิตร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 ถึงปี พ.ศ.2519 |
พระอธิการแก้วเมือง ปญฺญาวโร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2519 ถึงปี พ.ศ.2539 |
พระอธิการพงษ์อินทร์ อินฺทวํโส |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 ถึงปี พ.ศ.2547 |
พระครูวิจิตรพัมนวิมล |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ถึงปัจจุบัน |
นายประจญ ศรีกระจ่าง (ปราชญ์ชาวบ้าน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย
มัคทายกวัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย เป้นแบบอย่าง และเป้นผู้ที่คณะศรัทธา ชาวบ้านมาร่วมกิจกรรมต่างๆของทางวัดอย่างสม่ำเสมอ เป้นผู้ประสานงานระหว่างบ้านกับวัดได้อย่างลงตัว
มีความหลากหลายชาติพันธุ์ และวัฒนธรรม (วิถีชีวิต) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย
มีการรวบรวมองค์ความรู้ในวิถีชีวิต มีการพัฒนาอย่างยาวนานเกิดการสืบทอด คิดค้นโดยหลายชุมชนผสมผสาน โดยๆหลายๆชุมชนมีภูมิปัญญาเฉพาะ
ภาษาพื้นเมือง (ภาษา) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย
ตามรอยบรรพชนมาแต่โบราณ (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย
เกี่ยวข้องกับความเชื่อพระพุทธศาสนา เช่น วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาต่างๆ เป็นต้น
สรงน้ำพระธาตุ (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย
ประเพณีเดือน 4 เหนือ (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย
ถวายฟืน และบำเพ็ญบุญกุศลอุทิศ เรียกอีกอย่างว่า เปรตพลี
รดน้ำ ดำหัว (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย
ผู้สูงอายุภายในชุมชนเพื่อขอขมา ในกรณีที่เคยล่วงเกิน และเพื่อความเป็นศิริมงคลแก่อนุชนคนรุ่นหลัง
กลองยาว (ศิลปการแสดงและดนตรี) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย
อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีการตีกลองยาว สู่เยาวชน และใช้กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา อาทิ ู้นำสามัคคี กฐินสามัคคี ให้กลุ่มเยาวชนภายในหมู่บ้านมีส่วนร่วม