ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดพระธาตุดอยน้อย
- ชื่อวัด: วัดพระธาตุดอยน้อย
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 2 รูป
- สามเณร: 4 รูป
- ลูกศิษย์วัด: 1 คน
- ที่ตั้ง: เลขที่ 190 หมู่ 1 นางแตน 19 นาแก้ว-เสริมงาม ตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง รหัสไปษณีย์ 52130
- เนื้อที่: 65 ไร่ 1 งาน 44 ตารางวา
- โทร: 089-6323016
ประวัติความเป็นมา
ผูู้เฒ่าผู้แก่ได้อู้ได้เล่ากันมาว่าเป็นข๋วยตุ่นลำปาง ต่อมานาน ๆ เข้าข๋วยตุ่นก็มีต้นหญ้าต้นไม้เกิดขึ้นทั่วบริเวณชาวบ้านก็ได้เรียกกันว่า ดอย มีไม้ไผ่ ไม้ฮวก ไม้แงะ ไม้เปา เห็ดขอน เห็นดินเกิดขึ้น เป็นที่หาของป่าของชาวบ้าน ต่อมาในวันเดือน ๙ เป็ง ขึ้น ๑๕ ค่ำ พระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นมาดูบนดอยน้อย หลังจากที่ได้เสด็จไปปราบยักษ์ที่ม่อนปู่ยักษ์ และได้เสด็จไปจำศึลที่ม่อนจำศึลแล้วเสด็จไปที่วัดลำปางหลวง และเสด็จมาที่ดอยน้อยนี้อีก ก็พบคนเฒ่า ปู่และย่าสองผัวเมีย ได้เห็นพระพุทธองค์ทรงเสวยน้ำมิ้นเนรมิตเป็นบ้องไฟจี่ขึ้นที่ดอยก็เกิดความ อัศจรรย์ขึ้นโดยที่เกิดเมฆฝนบนท้องฟ้า ฟ้าร้อง ฟ้าคำราม และฝนก็ได้ตกลงมาอย่างหนักจนน้ำห้วยแก้วโป่งตู๋นไหลนองลงมาสู่ทุ่งนา ชาวบ้านก็ต่างปิติยินดีและได้ไถนาหว่านกล้า สองเฒ่าผัวเมียคือปู่และย่าก็ได้อู้จ๋ากั๋นว่าเป็นหน้าบุญของเฮามากนักและก็ ขอเอาเป็นประเพณีจิบ้องไฟสืบมา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน ๙ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ต่อมาชาวบ้านสบปรุง นางแตน บ้านใหม่ บ้านสองแควได้ปรึกษากับครูบาอาจารย์เจ้าตั้งหลายว่าสมควรย้ายวันประเพณีจาก เดิม ให้มาจัดในวันที่ ๑๗ เมษายน ของทุกปีหลังปีใหม่เมือง ต่อมาบนดอยน้อยได้มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ เป็นป่าหนาทึบและพระภิกษุที่แสวงหาความวิเวกได้ขึ้นมาปฏิบัติธรรม ได้มีชาวบ้านที่เลื่อมใสศรัทธาต่างพากันมาอุปฐากพระภิกษุโดยมาถากถางบริเวณ ป่าและสร้างกุฏิไม้ไผ่มุงด้วยหญ้าคาถวายพระภิกษุให้ท่านได้อยู่อาศัยเพื่อปฏิบัติธรรม พระภิกษุสงฆ์ก็ได้หมุนเวียนกันมาปฏิบัติธรรม บางช่วงก็รกร้างเพราะขาดพระภิกษุขึ้นมาพำนักอาศัย ต่อมามีพระภิกษุสงฆ์มาพำนักอาศัยปฏิบัติธรรมอีก ชาวบ้านและศรัทธาสาธุชนก็ได้สร้างเสนาสนะขึ้น เป็นต้นว่า กฺฏิและเจดีย์ เพื่อให้พุทธบริษัททั้งหลายได้เคารพกราบไหว้บูชา เมื่อเริ่มมีศาสนวัตถุและสิ่งก่อสร้างเกิดขึ้น คณะศรัทธาประชาชนก็ได้พร้อมใจ๋กันตั้งเป็นวัดขึ้น โดยตั้งชื่อว่าวัดดอยน้อย หรือบางคนเรียกว่าม่อนดอกด้าย เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๒๓๐ กาลต่อมา วัดดอยน้อยก็รกร้างเพราะขาดพระภิกษุสงฆ์มาพำนักอาศัย ศาสนวัตถุทั้งหลายเป็นต้นว่า กุฏิและเจดีย์ก็เสื่อมโทรมผุพังตามกาลเวลา ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๖๐ วัดดอยน้อยก็ได้รับการพัฒนาและบูรณะจากหลวงปู่ครูบาญาณรังสี สิงห์แก้ว ด้วยการสร้างถาวรวัตถุเพิ่มขึ้น และท่านก็จำพรรษาเรื่อยมา สำหรับหลวงปู่ครูบาญาณรังสี สิงห์แก้ว นั้นท่านได้ศึกษาธรรมและฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของครูบาเจ้าศรีวิชัย และได้ชักชวนครูบาอภิชัยขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนให้มาร่วมสร้างพระเจดีย์ ใช้เงินทั้งสิ้น ๕๐๐ บาท ต่อมาหลวงปู่ครูบาญาณรังสี สิงห์แก้ว ได้ทำหนังสือแจ้งทางการไปตามลำดับ เพื่อขอให้ตั้งวัดดอยน้อยขึ้นเป็นวัดโดยสมบูรณ์ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ ให้ชื่อว่า วัดดอยน้อย มีบริเวณพื้นที่ทั้งหมด ๖๕ ไร่ ๑ งาน ๔๔ ตารางวา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย โดยมีหลวงปู่ครูบาญาณรังสี สิงห์แก้ว เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ทางวัดดอยน้อยได้รับเมตตาจากครูบาศรีวิชัย ได้นำคณะศรัทธาสาธุชนทั้งหลายมาก่อสร้างพระวิหาร ขึ้นที่ทางทิศเหนือของพระเจดีย์ พร้อมทั้งสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นประดิษฐานไว้ในพระวิหารโดยเรียกกันว่า วิหารหลังเปียง ใกล้ ๆ กันคือ “อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย” สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เพื่อระลึกถึงคุณของครูบาศรีวิชัยที่ได้สร้างวัดและช่วยเหลือมาโดยตลอด…
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2230
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 21 เดือน เมษายน พ.ศ. 2461
ข้อมูลเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2558
พระครูบรรพตวรานุศาสน์ อริโย เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยน้อย
พระครูบรรพตวรานุศาสน์ อริโย
ปัจจุบันอายุ 48 ปี
บวชมาแล้ว 19 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น พระครูชั้นโท
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยน้อย
ประวัติด้านการศึกษาของพระครูบรรพตวรานุศาสน์ อริโย
พระครูบรรพตวรานุศาสน์ อริโย เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยน้อย
จบการศึกษาศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถานบันการศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยเขตลำปาง เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.
อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยน้อย
พระครูบาญาณรังษี สิงห์แก้ว |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2461 ถึงปี พ.ศ.2504 |
หลวงปู่อินปั๋น อินทวํโส |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2505 ถึงปี พ.ศ.2541 |
พระทัศน์ทรง อานาลโย |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 ถึงปี พ.ศ.2543 |
พระกฤษดา จารุวัณโณ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 ถึงปี พ.ศ.2547 |
พระอำนาจ จักวโร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 ถึงปี พ.ศ.2548 |
พระครูบรรพตวรานุศาสน์ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ถึงปี พ.ศ.2558 |