วัดห้วยแหน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินวัดมีเนื้อที่ประมาณ ๑๒ ไร่ (อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ) สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๗ โดยหลวงพ่อทึ่ง เป็นผู้นำก่อสร้าง อยู่ฝั่งตะวันตกลำน้ำสอย เป็นพื้นที่ลาบลุ่มในฤดูฝนน้ำท่วม การคมนาคมไม่สะดวกประชาชนจึงได้อพยพบ้านเรื่อนมาตั้งอยู่ในที่แห่งใหม่ ห่างจากที่เดิมมาทางทิศตะวันออก ประมาณ ๑ กิโลเมตร ติดทางหลวงชนบทสายแม่สุก-บ้านขาม ชาวบ้านย้ายมาเกือบหมด พระอธิการเป็ง เทพวโส เจ้าอาวาสจึงได้ปรึกษาผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการวัด ย้ายวัดมาตั้งอยู่ในบ้านใหม่สามัคคีตามชาวบ้านที่ย้ายมาอยู่ก่อน ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ คณะศรัทธาบริจาคที่ดินให้ จึงย้ายวัดมาอยู่ในที่ใหม่ มีการก่อสร้างวิหารไม้ชั่วคราว กุฎิ ศาลา เป็นต้น แต่คงใช้ชื่อวัดห้วยแหนเช่นเดิม
ปูชนียสถาน และโบราณวัตถุที่สำคัญภายในวัด
๑. เจดีย์
๒. พระพุทธรูปประธาน หน้าตักกว้าง ๒๖ ซม. สูง ๓๖ ซม. อายุประมาณ ๑๐๐ กว่าปี
๓. พระพุทธรูปสิงห์ ๓ ปางมารวิชัย ศิลปสมัยเชียงแสน เนื้อสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒๔ ซม. สูง ๔๐ ซม. อายุประมาณ ๑๐๐ กว่าปี
๓. พระพุทธรูป หน้าตักกว้าง ๑๐ ซม. สูง ๒๐ ซม. อายุกว่า ๙๐ ปี สร้างจากไม้
๔. พระพุทธรูป หน้าตักกว้าง ๘ ซม. สูง ๒๑ ซม. อายุกว่า ๙๐ ปี สร้างจากไม้
๕. สัตตภัณฑ์ ขนาดกว้าง ๑๗๖ ซม. สูง ๑๒๔ ซม. อายุกว่า ๙๐ ปีทำจากไม้
๖. ขันแก้วทั้งสาม ขนาดกว้าง ๔๙ ซม. สูง ๒๔ ซม. อายุกว่า ๙๐ ปีทำจากไม้
๗. กัปปรุกขะ ขนาดกว้าง ๒๔ ซม. สูง ๘๘ ซม. อายุกว่า ๙๐ ปี ทำจากไม้