วัดแจ้คอน ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗๗ หมู่ที่ ๖ บ้านแจ้คอน ตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง
โทรมือถือ ๐๘๖ ๑๙๒๖๒๗๖ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๒ งาน ๙๙ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ ๒๐๖๓๔ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือจด ทางสาธารณะประโยชน์ แจ้คอน --- ทุ่งฮ้าง
ทิศตะวันตก ทางสาธารณะประโยชน์ แจ้คอน --- ทุ่งฮ้าง
ทิศตะวันออกจด ทางสาธารณะประโยชน์ในหมู่บ้าน
ทิศใต้จด ที่ดินของชาวบ้าน
ที่ธรณีสงฆ์ ไม่มี และยังไม่ได้รับพระราชทานวิสูงคามสีมา
มีอาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย
๑ พระวิหาร จำนวน ๑ หลัง
๒ กุฏิสงฆ์ จำนวน ๑ หลัง
๓ ศาลาอเนกประสงค์ จำนวน ๑ หลัง
๔ หอกลอง -- ระฆัง จำนวน ๑ หลัง
๕ ห้องน้ำ จำนวน ๘ ห้อง
๖ ศาลาพักร้อน จำนวน ๒ หลัง
๗ หอฉัน จำนวน ๑ หลัง
๘ โรงครัว จำนวน ๑ หลัง
๙ โรงเก็บพัสดุ จำนวน ๑ หลัง
มีปูชนียสถาน และปูชนียวัตถุที่สำคัญประจำวัด ดังนี้
๑ พระวิหาร
๒ พระพุทธรูป
๓ ปราสาทธรรมมาส
๔ ต้นขนุนพันปี
๕ ต้นตะเคียนพันปี
ประวัติความเป็นมา
วัดแจ้คอน สร้างขึ้นมาเมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๑๘๐๐ หรือ ๑๙๐๐ จากการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์พบว่า ในสมัยนั้นได้มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งซื่งเรียกขานกันว่า ‘ ลั้วะ หรือ แจ้ะ ที่อาศัยอยู่บริเวณเมือง แจ้ะห่ม หรือ แจ้ห่มในปัจจุบัน ได้แตกพ่ายสงครามหนีไปหลบซ่อนตามที่ต่าง ๆ เช่น หนีไปหลบซ่อนอยู่ที่บริเวณเมืองปาน คนทั้งหลายเรียกว่า แจ้ะซ่อน ต่อมาได้เพี้ยนหรือเปลี่ยนมาเป็น แจ้ซ้อน ส่วนอีกพวกหนึ่งได้พากันมาหลบค่อนอยู่ที่บริเวณตำลบทุ่งผึ้ง คนทั้งหลายก็เลยเรียกว่า แจ้ะค่อน ซื่งต่อมาได้เพี้ยนหรือเปลี่ยนมาเป็น แจ้คอน ( คำว่า ค่อน เป็นภาษาท้องถิ่น หมายถึงการรวมตัวกัน) แล้วได้สร้างบ้านสร้างเมืองขึ้นที่บริเวณนี้ และก็ได้สร้างวัดขึ้นมาเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนมาจนถึงปัจจุบันนี้ และก็ได้สร้างวัดขึ้นมา ๒ วัด คือ วัดแจ้คอน และ วัดพระธาตุมหาปน โดยได้สร้างวัดไว้ในเมือง ๑วัด คือ วัดแจ้คอน เป็นแผนกคันถธุระหรือฝ่ายคามวาสี เพื่อให้เป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของกุลบุตรของประชาชนทั่วไป ทั้งที่เข้ามาบวชเป็นภิกษุสามเณร และมิได้บวช และก็ได้สร้างวัดไว้นอกเมืองอีกวัดหนึ่งคือ วัดพระธาตุมหาปน เป็นแผนกวิปัสสนาธุระฝ่ายอรัญวาสี เพื่อให้เป็นที่ประพฤติปฎิบัติธรรม
วัดแจ้คอน นับตั้งแต่เริ่มก่อสร้างใหม่ ๆ มาจนถึงประมาณปีพุทธศักราช ๒๔๐๐ จากการสอบถามคนเฒ่าคนแก่ก็ไม่มีใครทราบเลยว่า มีหลวงพ่อองค์ใดเป็นคนสร้างวัดหรือสืบทอดต่อมา มาทราบเอาเมื่อตอนประมาณปีพุทธศักราช ๒๔๐๐ เป็นต้นมา ว่า ได้มีหลวงพ่ออินทรจักร เป็นเจ้าอาวาสหรือประธานสงฆ์ในสมัยนั้น และก็ได้มีลูกศิษย์ลูกหาสืบทอดมาจนถึง
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2402