ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดนายาง
- ชื่อวัด: วัดนายาง
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 1 รูป
- ที่ตั้ง: เลขที่ 27/4 หมู่ 5 นายาง สบปราบ-กทม. ตำบลนายาง อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง รหัสไปษณีย์ 52170
- เนื้อที่: 4 ไร่ 1 งาน 57 ตารางวา
- โทร: 089-2639618
ประวัติความเป็นมา
วัดนายาง (ร้าง) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ บ้านนายาง อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง วัดนายาง
เดิมชื่อ วัดโต้งย้าง หรือ วัดพระบุญโต้งย้าง (นาย้าง) พื้นที่ตั้งชุมชนโต้งย้างเป็นชุมชนในเส้นทางคมนาคม
ระหว่างเมืองเถินกับชุมชนเกาะคา ในอดีตที่วัดโต้งย้างมีเจ้าอาวาสวัดนายางจำพรรษาอยู่ ซึ่งปรากฏชื่อใน
ประวัติเมืองลำปางโบราณ (หนังสืออาลัมภางค์-เขลางค์นคร บนเส้นทางรถม้ามรดกแห่งล้านนา, หน้า๑-๔
ศิลปการพิมพ์ลำปาง, ๒๕๓๙) ความว่า เมืองลำปางสมัยพุทธกาลเมืองลำปางโบราณมีชื่อเป็นภาษาบาลีว่า
“ลัมภกัปปนคร” ไม่มีประวัติผู้สร้างไว้เว้นแต่ระบุว่า เจ้าถิ่นเดิม คือ ชาวลัวะ ได้อาศัยยังหมู่บ้านชื่อลำปาง
หลวง ซึ่งมีชื่อเป็นภาษาบาลีว่า “ลัมภการีวัน” อยู่แถวอำเภอเกาะคา ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงปัจจุบัน
"""""""""""เมืองลำปางสมัยก่อนบรรพบุรุษของเชื้อ ๗ ตน รวมพุทธศักราช ๒๒๑๒-๒๒๑๕ มี
พระภิกษุเจ้าอาวาสวัดนายาง เป็นผู้มีวิทยาอาคมเลี้ยงภูตพราย สำแดงอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ จนประชาชนเกิดเลื่อมใสศรัทธา กระทั่งสมภารวัดสามขาและสมภารวัดบ้านฟ่อน ได้สึกออกมาเป็นเสนาซ้ายขวา ช่วงนี้เป็น
ช่วงที่เจ้าเมืองลำปางสิ้นพระชนม์ลง มีบุตรเจ้าเมือง คือ เจ้าลิ้นก่านปกครอง แต่ก็ไม่สงบสุขเกิดความแตกแยกกัน อำนาจตกอยู่กับขุนนางของเมือง คือ แสนหนังสือ แสนเทพนาเรือนและจเรน้อยแก่งแย่งกันเป็นใหญ่ กิตติศัพท์ผู้มีบุญเจ้าอาวาสวัดนายางนั้น ทราบถึงเจ้าเมืองลำพูน ซึ่งขณะนั้นตกอยู่ในการปกครอง
ของพม่า โดยมีท้าวมหายศปกครองอยู่ ได้ยกทัพมาลำปางเพื่อปราบผู้มีบุญ สมภารวัดนายางก็คุมสมัคร
พรรคพวกออกสู้รบกับกองทัพลำพูน (รบกันที่ป่าพุทราตำบลป่าตัน) แต่ก็ต้านกำลังของเมืองลำพูนไม่ได้
พรรคพวกของสมภารแตกพ่ายหนีไป จากนั้นสมภารวัดนายางและเสนาซ้ายขวาได้หนีไปอยู่ที่วัดพระธาตุ
ลำปางหลวง อำเภอเกาะคา กองทัพลำพูนติดตามไปล้อมไว้ ตกกลางคืนสมภารวัดนายางพร้อมเสนาซ้าย
ขวา ได้หนีออกจากวงล้อมได้ สุดท้ายก็ถูกกระสุนของทัพลำพูนตายทั้งสามคน กองทัพลำพูนกลับมาตั้งมั่นอยู่ ณ วัดพระธาตุลำปางหลวง และได้แต่งตั้งให้หาญฟ้าแมบ หาญฟ้าง้ำและหาญฟ้าฟื้น (ได้เหน็บอาวุธไปด้วย) ไปเจรจาต่อขุนนางเมือง พอได้โอกาสก็ลุกขึ้นพร้อมกันฟันแทงขุนนางทั้งสาม และกองทัพลำพูนก็ยก
เข้าหนุนยึดเมืองได้ ขุนนางจเรน้อยและท้าวลิ้นก่านหลบหนีไปได้หนีไปอยู่ที่ประตูผา กองทัพลำพูน (พม่า)
ได้ตามไปอีก ที่นี่จึงได้เกิดประวัติของเจ้าพ่อประตูผา ซึ่งมีชื่อเดิมว่า หนานข้อมือเหล็ก ซึ่งเคยเป็นศิษย์ของเจ้าอาวาสวัดนายาง ได้สู้รบกับกองทัพของลำพูน เพื่อช่วยท้าวลิ้นก่านและจเรน้อยจนสามารถฆ่าหาญฟ้าง้ำและหาญฟ้าฟื้นได้ ส่วนหาญฟ้าแมบเห็นเพื่อน ๆ ถูกหนานข้อมือเหล็กฆ่าตายก็หนีเอาตัวรอด หนานข้อมือเหล็กสู้จนตัวเองยืนพิงหน้าผาตาย ท้าวลิ้นก่านและจเรน้อยได้สร้างศาลให้แก่หนานข้อมือเหล็ก ณ
ที่นั่นขนานนามว่า “ศาลเจ้าพ่อประตูผา” นับแต่นั้นมาท้าวมหายศก็ยึดครองเมืองลำปาง โดยตั้งมั่นอยู่ที่
วัดพระธาตุลำปางหลวง
""""""""""ขณะที่บ้านเมืองระส่ำระสาย สมภารวัดพระแก้วชมพู (วัดพระแก้วดอนเต้า) ได้ติดต่อกับ
ขุนนางจเรน้อย และท้าวลิ้นก่านเพื่อกอบกู้บ้านเมืองแต่ไม่มีใครกล้าอาสา จึงประกาศหาผู้มีความสามารถ
และในที่สุดสมภารได้ขอร้องให้หนานทิพย์ช้างชาวบ้านปงยางคก อาชีพพรานป่า เคยบวชอยู่ที่วัด
- ๒ -ปงยางคก(นามว่าทิพย์จักร) และเคยเป็นศิษย์ของสมภารวัดนายางด้วย ช่วยกันกู้บ้านเมืองลำปาง หนานทิพย์ช้างได้ลอบเข้าไปในวัดพระธาตุลำปางหลวง จนสามารถฆ่าท้าวมหายศตายด้วยปืนและสามารถยึดเมืองคืนมาจากทัพลำพูนได้ และสถาปนาเป็นเจ้าสุลวลือไชยสงครามในปี พ.ศ. ๒๒๗๕ นานถึง ๒๗ ปี ช่วงที่
เจ้าทิพย์ช้างได้ปกครองเมืองลำปางอยู่ในช่วงสมัยพระนครศรีอยุธยาต่อธนบุรี
"""""""""""เจ้าทิพย์ช้างได้พิราลัยปี พ.ศ. ๒๓๐๒ อายุได้ ๘๕ ปี เจ้าทิพย์ช้างมีโอรสและธิดารวม ๖
พระองค์ มีเจ้าฟ้าแก้วเป็นพระโอรสองค์ที่ ๒ สมัยเจ้าฟ้าแก้วปกครองลำปาง ได้ถูกท้าวลิ้นก่านเข้ายึดอำนาจคืน เจ้าฟ้าแก้วได้หนีไปพึ่งเจ้าเมืองแพร่ ลำปางก็ปกครองด้วยท้าวลิ้นก่านอีก ต่อมาปี พ.ศ. ๒๓๐๔ พม่าได้ส่งกองทัพมายึดหัวเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรลานนาไทย หัวเมืองต่าง ๆยอมอ่อนน้อมและพม่าได้จัดการปกครองเมืองลำปางใหม่ และได้แต่งตั้งให้เจ้าฟ้าแก้วปกครองลำปาง ทำให้ท้าวลิ้นก่านเกิดความไม่พอใจพม่าจึงเข้ามาชำระความ โดยการรดน้ำพิสูจน์ท้าวลิ้นก่านแพ้จึงถูกประหารชีวิต เจ้าฟ้าแก้วก็ปกครองลำปางมาตลอด เจ้าฟ้าแก้วมีโอรสและธิดา ๑๐ พระองค์ เป็นพระธิดา ๓ พระองค์ สิ้นพระชนม์ ๒ พระองค์ เหลือเพียงธิดาองค์เดียว คือ เจ้าศรีอโนชา ส่วนโอรส ๗ พระองค์นั้นต่อมาได้เป็นตระกูล ๗ ตน ที่ได้ปกครองลานนาและเป็นต้นตระกูล ณ เชียงใหม่ ณ ลำปาง ณ ลำพูน ณ น่าน อันได้แก่
"""""""""""๑. เจ้ากาวิละได้ครองเมืองลำปางและเชียงใหม่
"""""""""""๒. เจ้าคำโสมได้ครองเมืองลำปาง
"""""""""""๓. เจ้าน้อยธรรมลังกา ได้ครองเมืองเชียงใหม่
"""""""""""๔. เจ้าดวงทิพ ได้ครองเมืองลำปาง
"""""""""""๕. เจ้าหมูหล้าเป็นเจ้าอุปราชเมืองลำปาง
"""""""""""๖. เจ้าคำฟั่น เป็นพระยาลำพูนและพระยาเชียงใหม่ช้างเผือก
"""""""""""๗. เจ้าบุญมาได้เป็นพระยาลำพูน ส่วนเจ้าศรีอโนชา ต่อมาได้เป็นอัครชายาของสมเด็จ
พระราชวังพระยากรมบวรมหาสุรสีหนาท
"""""""""""ลำปางเดิม คือ ลำปางรูปหอยสังข์ (เป็นการสร้างเมืองรูปสังข์ปัตตสัณฐาน อ้างอิงในหนังสือจามเทวีวงศ์)
เป็นการสร้างเมืองต่อจากเมืองละกอน (เขลางค์) โดยปกครองราว พ.ศ. ๒๓๓๐
"""""""""""ในรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ทรงมีพระราชดำริให้เปลี่ยนตำแหน่ง “พระยา”
ในหัวเมืองฝ่ายเหนือให้ผู้ครองนครมีตำแหน่งเป็น “เจ้า” จึงทรงกรุณาโปรดเกล้าให้เลื่อนอิสริยยศพระน้อย
ญาณรังษี ซึ่งเป็นผู้ครองเมืองลำปางในขณะนั้นเป็นวรญาณรังษีและมีเจ้าครองนครสืบสายต่อ ๆ มา จนถึง
พลโทเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิตได้ถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ แล้วมิได้ทรงพระกรุณาให้มีเจ้าผู้ครองนคร
ลำปางอีก
"""""""""""จังหวัดลำปางได้ประกาศตั้งเป็นจังหวัดขึ้นอยู่กับมณฑลพายัพสมัยหนึ่ง ต่อมาในปี
พ.ศ. ๒๔๕๘ ได้แยกจากมณฑลพายัพไปขึ้นกับมณฑลมหาราษฎร์ ซึ่งมีจังหวัดแพร่เป็นที่ตั้งมณฑล ในปี
พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้ประกาศยกเลิกมณฑลมหาราษฎร์จึงขึ้นอยู่กับมณฑลพายัพอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาเมื่อประกาศ
ยกเลิกมณฑลทั่วราชอาณาจักรแล้ว ลำปางจึงมีฐานะเป็นจังหวัดถึงปัจจุบัน
- ๓ -สภาพวัดนายาง (ร้าง) ในปัจจุบัน
"""""""""""สภาพวัดนายาง (ร้าง) ในปัจจุบัน พื้นที่โดยรอบเป็นที่นา บริเวณวัดเป็นเนินดินสูงกว่า
โดยรอบตาไม่มากนัก โดยทั่วไปอยู่ในสภาพถูกลักลอบขุดทำลาย แต่พอมีสภาพอยู่ สันนิษฐานว่าวางแนว
ในตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งพื้นที่ตะวันออกจะเป็นเขตพุทธาวาสและในส่วนทิศตะวันตกเฉียงใต้น่าจะเป็น
ส่วนสังฆาวาส ซึ่งพบบ่อน้ำ
"""""""""""วัดนายาง (ร้าง) มีพื้นที่ตามโฉนดที่ดิน ๒ ไร่ ๓ งาน ๘๙ ตารางวา เป็นที่ดินศาสนสมบัติกลาง อยู่ในความดูแลของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ การจะทำการใด ๆ ในพื้นที่วัดนายาง (ร้าง)
จะต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติโดยขออนุญาตผ่านสำนักงานพระพุทธศาสนา
จังหวัดลำปาง
"""""""""""รถสำนักศิลปากรที่ ๗ น่าน เข้ามาสำรวจเมื่อ ส.ค. ๒๕๕๑ สภาพเนินดิน น่าจะเป็นวิหาร
การสำรวจขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดนายาง (ร้าง) ของสำนักศิลปากรที่ ๗ น่าน
"""""""""""ในวันที่ ๑-๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ นำโดย นายจตุรพร เทียมทินกฤต นักโบราณคดีพร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่รวม ๖ คน จากสำนักศิลปากรที่ ๗ น่าน ได้เข้ามาสำรวจพื้นที่วัดนายาง (ร้าง) แห่งนี้ เพื่อ
ประกอบการขอขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดนายาง (ร้าง) ซึ่งทางสำนักศิลปากรที่ ๗ น่าน พิจารณาเห็นว่า
โบราณสถานวัดนายาง (ร้าง) เป็นโบราณสถานที่มีมูลค่าทางด้านสถาปัตยกรรมและมีอายุเก่าแก่ควรแก่
การอนุรักษ์ไว้สืบไป และเพื่อเป็นแบบอย่างด้านการศึกษา การขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดนายาง (ร้าง)
เพื่อเป็นประโยชน์ในการดูแลรักษาศาสนสถานของวัดให้เป็นสมบัติของชาติสืบไป
"""""""""""ประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจการสำรวจขึ้นทะเบียนโบราณสถาน คณะเจ้าหน้าที่จากสำนักศิลปากรที่ ๗ น่าน สำนักงานวัฒนธรรม
วัดนายาง (ร้าง) เมื่อ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ ณ อบต.นายาง จังหวัดลำปาง สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดลำปางร่วมสำรวจพื้นที่
รวมรวม/เรียบเรียงโดย นางพรทิวา ขันธมาลา นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอสบปราบ
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๓
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2300
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 6 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2497
ข้อมูลเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558
พระครูอุปถัมภ์วีรากร ติกฺทิโร เจ้าอาวาสวัดนายาง
พระครูอุปถัมภ์วีรากร ติกฺทิโร
ปัจจุบันอายุ 49 ปี
บวชมาแล้ว 27 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น พระครูอุปถัมภ์วีรากร
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดนายาง
ประวัติด้านการศึกษาของพระครูอุปถัมภ์วีรากร ติกฺทิโร
พระครูอุปถัมภ์วีรากร ติกฺทิโร เจ้าอาวาสวัดนายาง
จบการศึกษาศึกษาระดับปริญญาโท จากสถานบันการศึกษามหาวิทยาลัยราชมงกุฏราชวิทยาลัยเขตล้านนา เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.
อดีตเจ้าอาวาสวัดนายาง
พระหล้า โสอินทร์ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระติ๊บ ฟูปิง |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระมูล ต๊ะปัญญา |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระคำ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระบุญส่ง ฟูธรรม |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอานนท์ ยืนมั่น |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระศรีมูล |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระปัญญา(อ้าย) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 ถึงปี พ.ศ.2529 |
พระเป็ง |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระบุญชัย โสอินทร์ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระครูทวี |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระพร อุชุจาโร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 ถึงปี พ.ศ.2543 |
พระพงษ์ศักดิ์ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 ถึงปี พ.ศ.2544 |
พระพยงศักดิ์ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 ถึงปี พ.ศ.2546 |
พระครูอุปถัมภ์วีรากร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 ถึงปัจจุบัน |
ประเพณีสงกรานต์ (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดนายาง
เป็นประเพณีทางภาคเหนือ ที่มีกันมายาวนานในช่วงเทศกาล สงกรานต์ เช่น การดำหัว พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ผู้สูงอายุ ผู้นำท้องถิ่น และผู้ที่เราเคารพนับถือ เป็นต้น
การจัดการศึกษาภายในวัดนายาง
การจัดการศึกษาภายในวัดนายางนั้น จะประกอบไปด้วย
- ศูนย์อบรมประชาชน/ประชุมประจำหมู่บ้าน