ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดนางแล
- ชื่อวัด: วัดนางแล
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 2 รูป
- สามเณร: 9 รูป
- ลูกศิษย์วัด: 9 คน
- ที่ตั้ง: เลขที่ 49 หมู่ 13 นางแล ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง รหัสไปษณีย์ 52190
- เนื้อที่: 3 ไร่
- โทร: 086-4299764
ประวัติความเป็นมา
วัดนางแล ตั้งอยู่เลขที่ 49 บ้านนางแล หมู่ที่ 13 ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งอยู่มีเนื้อที่ 6 ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือจดทุ่งนา ทิศใต้จดหมู่บ้าน ทิศตะวันออกจดทุ่งนา ทิศตะวันตกจดหมู่บ้าน อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย พระอุโบสถ ศิลปะทรงลานนา ศาลาการเปรียญกุฏิไม้ลักษณะแบบเครื่องทรงคุ้มเรือนพ่อเลี้ยงเมืองเหนือ ซุ้มประตูวัดเป็นแบบสถาปัตยกรรมลานนาโบราณปูชนียวัตถุที่สำคัญยิ่งของวัด คือ พระพุทธรูปทองเหลืองสมัยเมืองฝาง 1 องค์ และพระพุทธรูปเก่าแก่สมัยเดียวกันอีกหลายองค์ และวัตถุโบราณอื่นอีกหลายชิ้น เช่น ผ้าดิบที่เขียนตำนานเมืองลำปาง วัดนางแล ตามหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรเล่ม 8 ของกรมการศาสนาได้บันทึกไว้ว่า วัดนางแลนี้ได้สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 1270 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2508 ผูรับสนองพระบรมราชโองการ จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีการบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบจากคำบอกเล่าของหมู่ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อหลวง แม่หลวง ตลอดถึงอดีตทิด หรือขะหนานที่ลาพรตทั้งหลายว่า ระหว่าง พ.ศ. 2476 – 2486 พระอธิการมี ธรรมจารี ระหว่าง พ.ศ. 2484 - 2500 พระอธิการสุคำ ธนญชโย ระหว่าง พ.ศ. 2500 - 2526 พระทองอยู่ สนฺตจิตฺโต ระหว่าง พ.ศ. 2526 - 2527 พระสุกิจ สุกิจฺโจ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2527 เป็นต้นมาก็มีพระภิกษุสามเณรมาอาศัยอยู่เป็นครั้งคราว
จนมาถึงวันที่ 21 มิ.ย. 37 พระครูวิสิฐพัฒนานุยุต เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้เป็นประธานร่วมกับคณะศรัทธาสาธุชนทั่วไป ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์ โบสถ์ ที่ชำรุดทรุดโทรมมาก จนขณะนี้การบูรณปฏิสังขรณ์ก็เป็นไปได้ ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ แล้วพร้อมกันนั้นก็ได้สร้างถาวรวัตถุอีกหลายอย่าง อาทิเช่น ห้องน้ำ กำแพงวัด เพื่อกั้นเป็นอาณาเขตบริเวณวัด ณ เวลานี้ วัดนางแล ก็มีความพร้อมที่จะเป็นที่จำเริญใจ เจริญศรัทธาของสาธุชนที่จะมาบำเพ็ญภาวนา มุ่งหน้าเข้าหาความสงบ ร่มเย็น ทางด้านจิตใจสืบต่อไป และทรงคุณค่าสมกับความเป็นวัดเก่าแก่ของทางเมืองเหนือ และปี 2553 ได้จัดตั้งสร้างโรงเรียนเอกชนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนวิสิฐวิทยา(วัดนางแล) สำหรับคำว่า “ นางแล ” นี้ มีเกร็ดประวัติจากหนังสือ จามเทวีวงศ์และจากคำบอกเล่าของพ่อหลวงแม่หลวง ได้เล่าสืบๆกันมาเป็นตำนานว่า ประมาณพ.ศ. 1918 เมื่อครั้ง ที่พระนาง เจ้าจามเทวี ผู้ครองนครหริภุญไชย (ลำพูน) ได้เสด็จมาก่อสร้าง ปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุลำปางหลวง อันเป็นปูชนียสถาน ในเขตอำเภอเกาะคา เส้นทางที่พระนางเจ้าจามเทวี ได้เสด็จในยุคสมัยนั้น เป็นถนนสายเก่าแก่สายหนึ่ง ที่จะไปถึงองค์พระธาตุลำปางหลวง เมื่อมาถึง ณ ท้องทุ่งบริเวณแห่งหนึ่ง ซึ่งห่างจากพระธาตุลำปางหลวง ประมาณ 12 กิโลเมตร ขบวนเสด็จได้หยุดพัก เพื่อจะให้ข้าราชบริวารได้ดื่มน้ำแก้กระหายหิว จากหม้อน้ำดื่มเย็น ๆ ซึ่งมีอยู่ในบริเวณนั้น และในช่วงนั้น ก็มีเหตุให้พระนางเจ้าฯ ได้เสด็จไปเหยียบเปลือกขนุนที่ชาวบ้านบางคน ได้รับประทานแล้วทิ้งไว้ตามถนนทางเดิน ก็ให้เป็นที่ขัดเคืองพระทัยมิใช่น้อย พระนางเจ้าจามเทวี เลยตรัสสั่งว่าต่อไปชาวบ้านกลุ่มนี้ แม้ปลุกต้นขนุน ก็อย่าได้ออกลูกออกผลเลย เพราะชอบกินทิ้งกินขว้างไม่เป็นระเบียบ ซึ่งให้เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งว่าหมู่บ้านดังกล่าวนั้น นับแต่อดีตหลายร้อยปีที่ผ่านมาและในปัจจุบันนี้ แม้ว่าชาวบ้านจะได้ได้พยายามปลูกขนุนแล้วก้อตาม แต่มันก็ไม่ออกผลที่โต ๆ จนสุกงอม เพราะขนุนที่เห็น ๆ นั้น พอออกผลเล็ก ๆ ก็มักจะร่วงลงพื้นดินเสมอ เป็นอย่างนี้มาชั่วนาตาปีแล้ว อย่างไรก็ตามคำบอกเล่านี้หากจะมีการพิสูจน์ว่าทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ก็น่าจะดีไม่ใช่น้อยในประเด็นต่อไปนี้ 1. คำบอกเล่านี้เชื่อได้แค่ไหน ทำไมปรากฏดังกล่าวจึงเกิดขึ้นเฉพาะในหมู่บ้านนี้ 2. พื้นดินบริเวณนี้อาจจะไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกขนุนก็อาจจะเป็นได้ 3. หรืออาจจะเป็นดั่งที่เข้าใจกันจริงๆอย่างนั้น แต่ถึงกระนั้น ตำนานคำบอกเล่านี้ พอจะนับได้ว่าเป็นประโยชน์อย่างมากในการใช้เป็นเหตุผลยืนยันว่า บ้านนางแลจังหวัดลำปางนี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการที่เจ้าแผ่นดินในยุคสมัยนั้น ได้เสด็จผ่านเส้นทางนี้แล้วทอดพระเนตรชำเลืองบางสิ่งบางอย่างแล้ว ชาวบ้านถิ่นนั้นก็นำกิริยาอาการที่คงจะเป็นมงคลนั้น มาเป็นชื่อของหมู่บ้านของตนเองว่า “ บ้านนางแล ” ดังคำขวัญประจำหมู่บ้านนางแลนี้ว่า นางมีศักดิ์ แลมีศรี อยู่เย็นม่วนดี นางแลลำปาง
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 1270
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2500
ข้อมูลเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2558
พระครูวิสิฐพัฒนานุยุต ฐิตญาโณ เจ้าอาวาสวัดนางแล
พระครูวิสิฐพัฒนานุยุต ฐิตญาโณ
ปัจจุบันอายุ 54 ปี
บวชมาแล้ว 32 พรรษา
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดนางแล
ประวัติด้านการศึกษาของพระครูวิสิฐพัฒนานุยุต ฐิตญาโณ
พระครูวิสิฐพัฒนานุยุต ฐิตญาโณ เจ้าอาวาสวัดนางแล
จบการศึกษาศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถานบันการศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.2556
อดีตเจ้าอาวาสวัดนางแล
พระอธิการมี ธรรมจารี |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2476 ถึงปี พ.ศ.2486 |
พระอธิการสุคำ ธนญฺชโย |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2484 ถึงปี พ.ศ.2500 |
พระทองอยู่ สนฺตจิตโต |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 ถึงปี พ.ศ.2526 |
พระสุกิจ สุกิจโจ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 ถึงปี พ.ศ.2527 |
พระครูวิสิฐพัฒนานุยุต |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 ถึงปัจจุบัน |
การจัดการศึกษาภายในวัดนางแล
การจัดการศึกษาภายในวัดนางแลนั้น จะประกอบไปด้วย
- ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์