ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดปางวุ้น
- ชื่อวัด: วัดปางวุ้น
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 5 รูป
- ลูกศิษย์วัด: 3 คน
- ที่ตั้ง: เลขที่ 1/14 หมู่ 14 ปางวุ้น ตำบลผักขวง อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ รหัสไปษณีย์ 53230
- เนื้อที่: 31 ไร่ 2 งาน 48.9/10 ตารางวา
ประวัติความเป็นมา
ความเป็นมาเดิม
ประมาณปี พ.ศ.๒๔๕๓ มีชาวบ้านจากหลายหมู่บ้านอพยพเข้ามาบุกเบิกถางป่า ทำไร่ ทำนา ตามความเหมาะสมของพื้นที่ มีประมาณ ๒๐ กว่าหลังคาเรือน มีผู้ใหญ่ พัน (ไม่ทราบนามสกุล) ได้ชักชวนชาวบ้านสร้างสำนักเพื่อใช้เป็นที่ทำบุญตักบาตร และใช่เป็นสถานที่เรียนหนังสือของเด็กด้วยสถานที่สร้างคือบริเวณหน้าปางวุ้นปัจจุบัน ชื่อวัดป่ารังเรไร
ต่อมาประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๓ ผู้ใหญ่เพชร แก้วดี นายทัย ขัดอุย นายวัน ขัดอุย ได้บริจาคที่สร้างโรงเรียนขึ้นที่บริเวณป่าสักหลังหมู่บ้าน ซึ้งเป็นสถานที่ที่เหมาะสมเป็นเนินเล็กน้อย มีการระบายน้ำได้ดี และกว้างขวางกว่าที่เก่า เมื่อสร้างโรงเรียนเสร็จชาวบ้านจึงพร้อมใจกันรื้อถอนอาคารสำนักสงฆ์มาปลูกใหม่บริเวณพื้นที่เดียวกันกับโรงเรียนเพราะชาวบ้านมีความคิดว่า วัดกับโรงเรียนจะต้องยุด้วยกัน มีพระอาจารย์ ฉ่ำ วราโภ อยู่จำพรรษาเป็นบางพรรษา ประชาชนใช้ศาลาหรือวัดหลังนี้อยู่ประมาณ ๘ ปี
ต่อมาชาวบ้านเห็นว่าวัดและโรงเรียนอยู่หลังหมู่บ้านไม่เหมาะสมและสวยงาม เมื่อนายชั้ว สุขฟอง เสนอขายที่ดินเป็นที่สร้างโรงเรียนในราคา ๑,๔๐๐ บาท (หนึ่งพันสี่ร้อยบาท) ชาวบ้านจึงช่วยกันบริจาคซื้อที่เหมือนเช่นเคย ส่วนวัดก็ย้ายตามโรงเรียนอีก
ต่อมาอีกไม่นานพระอาจารย์ ฉ่ำ วราโภ พ่อเฒ่า ยวน คงดี นายคัมภีร์ มาปัด และชาวบ้านเห็นว่าถ้าย้ายวัดตามโรงเรียนเรื่อยๆ วัดก็คงจะไม่มีที่ดินเป็นของวัดเฉพาะได้ จึงได้รวบรวมเงินจากชาวบ้านได้ ๑,๖๐๐ บาท (หนึ่งพันหกร้อยบาท) มาซื้อที่นายขีด อุ่นพา และ นายไสว พรมจวน ซึ้งเป็นที่วัดปางวุ้นปัจจุบันนี้ และ ได้ดำเนินการย้ายวัดและสร้างใหม่ในเนื้อที่ประมาณ ๓๑ ไร่๒ งาน
ที่ตั้งวัดปัจจุบัน
วัดปางวุ้น ๑/๑๔ บ้านเนินทอง อำเภอ ทองแสนขัน จังหวัด อุตรดิตถ์ สังกัด มหานิกายเขต
ปรกครองคณะสงฆ์ ภาค ๕ ได้ตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๓ เนื้อที่ประมาณ ๓๑ ไร่ ๒ งาน ๔๘.๙/๑๐ ตารางวา หนังสือ โฉนดที่ดินเลขที่ ๑๗๘๗๘ อำเภอ ทองแสนขัน จังหวัด อุตรดิตถ์ มีอาณาเขตโดยรอบดังนี้
๑. ทิศเหนือ ติดที่ดินนายสมเด็จ แหยมไทย
๒. ทิศใต้ ติดที่นายเสมียน นะคันทา
๓. ทิศตะวันออก ติดถนนสาธารณะ
๔. ทิศตะวันตก ติดที่ดินนางบัวลอย ศรีชาย
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2483
ความน่าสนใจภายในวัดปางวุ้น
เสนาสนะวัตถุ
1. กุฏิ กว้าง ๖ เมตร ยาว ๔ เมตร จำนวน ๑ หลัง สิ้นเงินค่าก่อสร้าง จำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาท
2. ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๑๘ เมตร จำนวน ๑ หลัง สิ้นเงินค่าก่อสร้าง จำนวน ๗๕๐,๐๐๐ บาท
3. ศาลาเกประสงค์ ขนาด กว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๘ เมตร ๒ ชั้น จำนวน ๑ หลัง ค่าก่อสร้าง ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท
4. ศาลาฉัน๓ตตาหรา ขนาด กว้าง ๑๗ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ค่าก่อสร้าง ๒๐๐,๐๐๐ บาท
5. กุฏิ กว้าง ๕ เมตร ยาว ๖ เมตร จำนวน ๑ หลัง ค่าก่อสร้าง ๘๐๐,๐๐๐ บาท
6. เมรุ กว้าง ๔ เมตร ยาว ๑๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง ค่าก่อสร้าง ๕๐๐,๐๐๐ บาท
7. ศาลาธรรมสังเวช กว้าง ๗ เมตร ยาว ๘ เมตร จำนวน ๑ หลังค่าก่อสร้าง ๔๐,๐๐๐ บาท
-กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๖ เมตร จำนวน ๑ หลัง ค่าก่อสร้าง ๗๐,๐๐๐ บาท
-กว้าง ๘ เมตร ยาว ๖ เมตร จำนวน ๑ หลัง ค่าก่อสร้าง ๗๐,๐๐๐ บาท
8. ห้องน้ำ กว้าง ๔ เมตร ยาว ๖ เมตร จำนวน ๒ หลัง ค่าก่อสร้าง ๘๐,๐๐๐ บาท
9. ซุ้มประตู กว้าง ๔ เมตร ยาว ๖ เมตร ค่าก่อสร้าง ๘๕๐,๐๐๐ บาท
ข้อมูลเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2560
พระครูวิมลวราภรณ์ วลาโภ เจ้าอาวาสวัดปางวุ้น
พระครูวิมลวราภรณ์ วลาโภ
ปัจจุบันอายุ 44 ปี
บวชมาแล้ว 17 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น ชั้นโท
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดปางวุ้น และยังดำรงตำแหน่งเป็นครูสอนนักธรรม
ประวัติด้านการศึกษาของพระครูวิมลวราภรณ์ วลาโภ
พระครูวิมลวราภรณ์ วลาโภ เจ้าอาวาสวัดปางวุ้น
จบการศึกษาศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.3) เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.
อดีตเจ้าอาวาสวัดปางวุ้น
พระอธิการฉ่ำ วราโภ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 ถึงปี พ.ศ.2530 |
พระปลัดคมเลียว นิปโก |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 ถึงปี พ.ศ.2544 |
พระอาจารย์เสมียน ปญฺญาวโณ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 ถึงปี พ.ศ.2545 |