ความเป็นมาเดิม
วัดนาป่าคาย สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๔ มีนามตามชื่อบ้านเดิมเรียก “ วัดโพธิ์บำรุง “ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๐ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร และมีที่ธรณีสงฆ์ ๒ แปลง เนื้อที่ ๘ ไร่ ๓๔ ตารางวา ตาม น.ส. ๓ ก.เลขที่ ๑๖๐๘ พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มมีถนนสาธารณะโดยรอบบริเวณวัด อาคารเสนาสนะต่าง ๆ อุโบสถ(หลังเก่า) สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๙๙ กว้าง ๔.๕๐ เมตร ยาว ๘ เมตร ศาลาการเปรียญ สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๗ กว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๓๒ เมตร หอสวดมนต์ สร้าง พ.ศ. ๒๔๘๑ กว้าง ๗ เมตร ยาว ๗ เมตร กุฏิสงฆ์ ๑ หลัง สร้าง พ.ศ. ๒๕๐๔ อาคารเรียนพระปริยัติธรรม สร้าง พ.ศ. ๒๔๙๗ กว้าง ๖ เมตร ยาว ๗ เมตร ทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ สำหรับปูชนียะวัตถุมี พระประธานในอุโบสถ และมีพระพุทธรูปขนาดเล็กอีกประมาณ ๑๕๐ องค์
ที่ตั้งวัดในปัจจุบัน
วัดนาป่าคาย ตั้งอยู่ที่บ้านนาป่าคาย หมู่ที่ ๔ ตำบลป่าคาย อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๗ ไร่ ๒ งาน ๓๒ ตารางวา น.ส. ๓ ก.เลขที่ ๑๖๐๘ มีอาณาเขตดังนี้คือ
ทิศเหนือยาว ๒ เส้น ๑๓ วา ติดต่อกับทางสาธารณะ
ทิศใต้ยาว ๒ เส้น ๑๘ วา ๒ ศอก ติดต่อกับถนนสาธารณะ
ทิศตะวันออกยาว ๒ เส้น ๑๕ วา ติดต่อกับที่ดินนายอยู่และทางสาธารณะ
ทิศตะวันตกยาว ๒ เส้น ๑๘ วา ติดต่อกับทางสาธารณะ
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 2 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2530
เสนาสนะถาวรวัตถุ
1. วิหารมีลักษณะทรงไทย โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีขนาด กว้าง ๔.๕๐ เมตรยาว ๘ เมตร สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๙๙
2. อุโบสถ เริ่มก่อสร้างปี พ.ศ.๒๕๑๙ มีลักษณะทรงไทย โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก แล้วเสร็จปี พ.ศ.๒๕๓๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๐ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ พ.ศ.๒๕๕๗ ได้ดำเนินการบูรณะปฎิสังขรณ์ ทาสีใหม่หมดและปูพื้นด้วยกระเบื้องรอบอุโบสถ
3. ศาลาการเปรียญเป็นลักษณะทรงไทยสองชั้น โครงสร้างชั้นแรกเป็นพื้นเทคอนกรีตเสาคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นสองเป็นเสาไม้พื้นชั้นบนเป็นไม้เคลือบยูริเทน วัตถุประสงค์ในการก่อสร้าง เพื่อพุทธศาสนิกชนได้มาบำเพ็ญบุญ และจัดประชุมในโอกาสต่างๆ มีขนาด กว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๓๒ เมตรก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗
4. หอระฆังเป็นลักษณะทรงไทย สูง ๓ ชั้น มีหอกลอง หอระฆังอยู่ในที่เดียวกันโครงสร้างเป็นไม้มีขนาด กว้าง ๔ เมตร ยาว ๔ เมตร ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๗
5. ศาลาร่วมใจ เป็นลักษณะทรงไทยชั้นเดียว โครงสร้างเป็นพื้นเทคอนกรีตเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก วัตถุประสงค์ในการก่อสร้าง เพื่อประชุมกิจกรรมในหมู่บ้านและต้านภัยจากยาเสพติดมีขนาด กว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๑๓ เมตร ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓
6. กุฏิหลังเดิม เป็นลักษณะทรงไทย โครงสร้างเป็นพื้นเทคอนกรีตเสริมเหล็กและชั้นสองเป็นไม้วัตถุประสงค์ในการก่อสร้างเพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้อยู่จำพรรษา มีขนาด กว้าง๙.๕ เมตร ยาว ๑๐ เมตร ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒
7. กุฏิหลังใหม่ เป็นลักษณะทรงไทยประยุกต์ โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กและไม้สองชั้นวัตถุประสงค์ในการก่อสร้าง เพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้อยู่จำพรรษามีขนาด กว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๒๒เมตร ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๒
8. พระพุทธรูปในอุโบสถหลังใหม่ ( หลวงพ่อเพ็ชร) สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๑๙โดยคุณอนันต์ ดีสวัสดิ์ เป็นชาวจังหวัดพิษณุโลก คุณอนันต์ได้จัดสร้างหลวงพ่อเพชรพุทธมงคลขึ้นซึ่งโดยจ้างช่างหล่อในราคา ๑๐๐,๐๐๐ บาท และได้ทำการปลุกเสก ที่บ้านของคุณอนันต์ ซึ่งอยู่ที่ถนนพุทธบูชา อ.เมืองพิษณุโลก เป็นเวลา ๑ เดือน ปลุกเสก โดยหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ และหลวงพ่อแพร วัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี และเกจิ ดังอีกหลายท่าน
9. โรงลิเก เป็นลักษณะทรงไทยชั้นเดียว โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก วัตถุประสงค์ในการก่อสร้างเพื่อพุทธศาสนิกชนได้ชมการแสดงคณะลิเกมีขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๐.๕ เมตรก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐
10. ห้องน้ำหลังเก่าเป็นลักษณะเป็นตึกทรงสี่เหลียม โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียววัตถุประสงค์ในการก่อสร้าง เพื่อพุทธศาสนิกชนได้มีห้องสุขา มีขนาด กว้าง ๕ เมตร
11. ห้องน้ำหลังใหม่เป็นลักษณะทรงไทย โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว วัตถุประสงค์ในการก่อสร้าง เพื่อพุทธศาสนิกชนได้มีห้องสุขา มีขนาด กว้าง ๔.๕๐ เมตร ยาว๙.๕๐ เมตรสูง ๓.๓๐ เมตร ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๘
12. ซุ้มประตูด้านทิศตะวันตกเป็นลักษณะทรงไทย โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีขนาด กว้าง ๒.๗๐ เมตร ยาว ๘.๓๐ เมตร ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘
13. ซุ้มประตูด้านทิศใต้เป็นลักษณะทรงไทย โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีขนาด กว้าง ๒.๗๐ เมตร ยาว ๘.๓๐ เมตร ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๔
14. พระพุทธรูปเก่า มีพระพุทธรูปขนาดเล็กอีกประมาณ ๑๕๐ องค์