ความเป็นมาเดิม
วัดนาลับแลง ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบสูง สร้างเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๓๒๓ ในสมัยกรุงธนบุรีตอนปลายและตอนต้นรัตนโกสินทร์ เดิมนั้นวัดนาลับแลงไม่มีชื่อว่า วัดนาลับแลงแต่มีชื่อเดิมว่า “วัดราชประดิษฐ” ซึ่งสร้างในสมัยนั้น พ.ศ. ๒๓๒๓ ซึ่งตั้งอยู่ ทางสามแยกบ้านนาลับแลง ป่าคายในปัจจุบันนี้ ตั้งอยู่ได้ประมาณ ๓๐ ปีเศษก็มีการย้ายวัดจากจุดเดิมไปตั้งอีกที่หนึ่งซึ่งมีน้ำออกชำในฤดูแล้งไม่อดน้ำไม่เหมือนที่เดิมแต่ก็อยู่ในประมาณ ๒๕ ปีเศษก็ต้องย้ายเป็น ครั้งที่ ๒ ด้วยเหตุที่ว่าตั้งอยู่ไกลหมู่บ้านจุดปัจจุบันนี้ อีกทั้งฤดูฝนเข้าพรรษาประชาชนไปทำบุญยากลำบากมากต้องเดินข้ามห้วยเหมืองตาเปรมไปบำเพ็ญกุศล ในครั้งนั้นก็มีการประชุมกัน ซึ่งมีผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนชาวบ้านนาลับแลง และเจ้าอาวาสในสมัยนั้นจึงได้ทำการย้ายอีก เป็นครั้งที่ ๓ ซึ่งก็มาตั้งอยู่ในปัจจุบัน
ทุกวันนี้ แต่ในสมัยเก่าชาวบ้านนิยมเรียก “วัดเก่า”มากกว่าวัดราชประดิษฐ์ ซึ่งในการย้ายครั้งนี้มีท่านผู้ใหญ่แอบ ทองลับแลง และเจ้าอาวาสคือ พระอาจารย์เปรม รูปที่ ๑ เป็นผู้ดำเนินการย้ายและต่อมาในรัชกาลที่ ๕ ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามชื่อหมู่บ้านในภายหลัง ซึ่งในสมัยนั้นที่หมู่บ้านที่เป็นที่ตั้งทำการอำเภอนาลับแลงมาก่อนไปขึ้นกับมณฑลพิชัย ต่อมาย้ายอำเภอไปตั้งที่อำเภอตรอนทุกวันนี้ วัดนาลับแลงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๔ และมีพระสงฆ์จำนวน ๕ รูปและได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๑
ที่ตั้งวัดปัจจุบัน
วัดนาลับแลง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๘ ไร่ - งาน ๔๗ ตารางวา โฉนดที่ดิน เลขที่ ๑๘๔๕๑ และมีทีธรณีสงฆ์อีก ๑ แปลง เนื้อที่ ๙ ไร่ ๒ งาน ตาม น.ส.๓ เลขที่ ๒๐๗๕ มีอาณาเขตดังนี้ คือ
ทิศเหนือ ติดถนนสาธารณะ
ทิศใต้ ติดถนนสาธารณะ
ทิศตะวันออก ติดที่ดินโยมทิน เหล็กไทย
ทิศตะวันตก ติดถนนสาธารณะ
• วัดพัฒนาตัวอย่าง เมื่อวันที่ 10 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2474
• วัดอุทยานการศึกษา พ.ศ. 2548
เสนาสนะถาวรวัตถุ
๑. พ.ศ.๒๔๕๙ สร้างอุโบสถหลังเก่า บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ พ.ศ.๒๕๕๐ มุงกระเบื้องเคลือบ ติดช่อ ฟ้าใบระกาหาวหงส์ใหม่ทำซุ้มประตูหน้าต่างติด ลายไทย ปิดทองคำเปลวหน้าบัน หน้าต่าง ลักษณะทรงไทยโบราณล้านนาตัวพระวิหาร กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๔ เมตรพื้นปูด้วย กระเบื้องแกรนนิต
๒. พ.ศ.๒๕๒๗ สร้างอุโบสถหลังใหม่ กว้าง ๙ เมตร ยาว ๒๔ เมตร มุงกระเบื้องเคลือบสีทอง
ก่ออิฐถือปูน ติดช่อฟ้าใบระกาหน้าบัน คันทวยลายไทย ติดกระจกทาสีทองคำเปลว พื้นปูกระเบื้อง บานประตูหน้าต่างแกะสลักไทย
๓. พ.ศ.๒๕๓๒ สร้างกุฏิสงฆ์ทรงไทยประยุกต์ ครึ่งตึกครึ่งไม้ ๒ ชั้น กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๖
เมตร พื้นล่างเทคอนกรีต สร้างห้องน้ำ-สุขาชั้นล่าง
๔. พ.ศ.๒๕๓๓ สร้างถังเก็บน้ำประปา ๑๐ ลูก ลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง ๑๐ เมตร
๕. พ.ศ.๒๕๓๘ สร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่สองชั้น กว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๔๔ เมตร
๖. พ.ศ.๒๕๔๓ สร้างเมรุ ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๘ เมตร ลักษณะแบบทรงไทย
๗. พ.ศ.๒๕๔๕ สร้างศาลาธรรมสังเวช ขนาดกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๓๔ เมตร ลักษณะ
แบบทรงไทยหลังคามุงด้วยกระเบื้อง พื้นปูกระเบื้องหินแกรนนิก หน้าบันติดทองคำเปลว
๘. พ.ศ.๒๕๔๗ สร้างพิพิธภันฑ์ห้องสมุดประจำวัด กว้าง เมตร ยาว ๑๙ เมตร ลักษณะทรงไทย หลังคามุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ ปูพื้นด้วยกระเบื้องหินอ่อน ผนังเป็นบล็อกประสาน
๙. พ.ศ.๒๕๕๓ สร้างเรือนไทยรับรอง ๔ หลัง หน้า ๓ หลัง ขวาง ๑ หลัง ยาว ๓๒ เมตร กว้าง
๒๕ เมตร สูง ๗.๕๐ เมตร มุงกระเบื้องซีแพค เครื่องปรุงไม้เนื้อแข็งลอด เสาจันทัน เสาไม้ ประดู่ พื้นไม้เนื้อแข็ง ฟ้าไม้สักทองข้างในข้างนอก ฝาไม้สักทอง ประตู หน้าต่าง ไม้สักทอง ทั้งหมด พื้นไม้สักทอง – ไม้มะค่า มีห้องน้ำ ๓ ห้อง พื้นปูด้วย กระเบื้องหินแกรนิต ลักษณะ ทรงไทย หน้าบรรณติดปั้นลมโบราณ พื้นไม้ทายูริเทน
๙. พ.ศ.๒๕๕๔ สร้างชุ้มประตูหน้าวัด และทำป้ายหน้าวัด กว้าง ๓ เมตร ความสูง ๙ เมตร เป็นทรงไทย ติดช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ติดลายไทยเป็นบัวหัวเสาร์ ลงพื้นด้วยสีขาวนวน ช่อ ฟ้าใบระกาหัวนาคลงสีทองคำเปลว
๑๐. พ.ศ.๒๕๕๕ สร้างหอระฆัง ขนาด กว้าง ๔ x ๔ เมตร ทั้งสี่ด้าน เสาคอนกรีตเสริมเหล็กสอง ชั้นเป็นมณฑป ความสูงจากพื้นดินถึงยอดสุด ๙.๕๐ เมตร ฉาบปูนทั้งหลัง เสาย่อมุมสิบสอง ทั้งชั้นล่าง บน ติดคันทวยบัวหัวเสา ตามมุมติดลายปูนปั้นทั้งหลัง ตีนเสาติดกาบพรหมศร ประจำยาม ติดลายคู่หาทั้งสองชั้น หลังคาชั้นล่างมุงกระเบื้องเคลือบสีโอ๊ก พื้นชั้น ล่าง บน ปู กระเบื้องหินแกรนิต แต่ละชั้นสูง ๓ เมตร ทาสีองคำ ลงพื้นสีขาวขัดมัน แขวนระฆังปากกว้าง ๙๐ เซนติเมตร สูง๑.๙๐เมตรชั้นล่างติดตั้งกลองเพลหน้ากว้าง ๑.๙๐ เมตร ยาว ๒.๕๐ เมตร