ความเป็นมาเดิม
วัดพลอยสังวรนิรันดร์ เป็น สาขาหนึ่งของวัดนาหลวง(อภิญญาเทสิตธรรม)ได้รับมอบถวายที่ดิน เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๔ โดยมีพระเดชพระคุณพระราชสิทธาจารย์ (หลวงปู่ทองใบ ปภส̣สโร) ประธานสงฆ์วัดนาหลวง ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๘ จังหวัดอุดรธานี เป็นผู้รับมอบถวายที่ดิน จากคุณแม่พลอย อ่อนนิวัน, คุณประจักษ์ ฤทธิ์แก้ว และครอบครัว วัดพลอยสังวรนิรันดร์ได้ดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ โดยมี พระมหาศักดิ์ดา ปญ̣ญาวฑ̣ฒโก คณะพระสงฆ์และสามเณร เป็นผู้ดำเนินการในการก่อสร้างดูแล โดยได้รับ การอนุเคราะห์จากพระธรรมมหาวีรานุวัตร ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ เจ้าอาวาสวัดคลองโพธิ์ พระอารามหลวง รวมทั้งท่านคณิต เอี่ยมระหงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ(ปัจจุบันเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท) เป็นฆราวาส ผู้นำ ริเริ่มก่อตั้งวัดพลอยสังวรนิรันดร์ และได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจาก คุณษกะ ฌานรานนท์,บริษัท ส.อรุณ แมทซีนเนอรี่ ดร.สมศักดิ์ จิตติพลังศรี ประธานกรรมการบริหาร บริษัทซัยโจ เด็นกิ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, กำนันประเทือง ใจเป็ง กำนันตำบลป่าคาย พร้อมคณะศรัทธาทุกท่าน
ในครั้งแรกนั้นชื่อว่า สำนักสงฆ์พลอยสังวรนิรันดร์ ต่อมาสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ประกาศ
ตั้งเป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนา มีนามว่า วัดพลอยสังวรนิรันดร์ เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ต่อมาทางการคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งพระมหาศักดิ์ดา ปญ̣ญาวฑ̣ฒโก เป็นเจ้าอาวาส (ปัจจุบัน พระครูวินัยธรศักดิ์ดา) เมื่อวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๗ อายุ ๓๕ พรรษา ๑๔ วิทยฐานป.ธ.๓ น.ธ.เอก ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมยิ่งในการสร้างพระอุโบสถนั้น ก่อนที่จะมีพิธีฝังลูกนิมิต ทางวัดได้ใช้พระอุโบสถเป็นศาลาปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา จนกระทั่งในวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๘ ได้รับประกาศเป็นวัดพลอยสังวรนิรันดร์ จากสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เข้ารับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ ต่อมาได้จัดงานพิธีปิดทองฝังลูกนิมิต เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยได้รับความเมตตาจาก เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง, พระราชสิทธาจารย์ (หลวงปู่ทองใบ ปภส̣สโร) ประธานสงฆ์วัดนาหลวง(อภิญญาเทสิตธรรม) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๘ และพระปัญญากรโมลี เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ เมตตาเป็นองค์ประธานในการตัดหวายลูกนิมิต
นอกจากนี้พระครูวินัยธรศักดิ์ดา ได้ก่อสร้างเสนาสนะให้วัดพลอยสังวรนิรันดร์มีความเจริญและมีความพร้อมทางวัตถุอย่างมากมายอาทิ กุฏิ จำนวน ๑๒ หลัง ศาลาอเนกประสงค์ จำนวน ๑ หลัง อาคารที่พักอคันตุกะ จำนวน ๒ หลัง ศาลาที่พักผู้ปฏิบัติธรรม จำนวน ๑ หลัง ห้องน้ำพระภิกษุ-สามเณร จำนวน ๒ หลัง ๓๐ ห้อง ห้องน้ำญาติโยม จำนวน ๒ หลัง ๕๐ ห้อง โรงครัว จำนวน ๑ หลัง สระน้ำ ๑ สระ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ หน้าตัก ๖.๘๐ เมตร จำนวน ๑ องค์ พระพุทธรูปหินหยก หน้าตัก ๒ เมตร ๑ องค์ ถนนภายในวัด และรั้วกำแพงรอบวัด
ที่ตั้งวัดในปัจจุบัน
วัดพลอยสังวรนิรันดร์ เป็น สาขาหนึ่งของวัดนาหลวง(อภิญญาเทสิตธรรม) สังกัดคณะสงฆ์ ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๑๕๙ หมู่ที่ ๕ บ้านนาลับแลง ตำบลป่าคาย อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ มีเนื้อที่ ๒๕ ไร่ ๒ งาน ตามหนังสือ น.ส.๓ เลขที่ ๒๕๘ มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ จรด ที่ป่า
ทิศใต้ จรด ที่ป่า
ทิศตะวันออก จรด ที่ป่า
ทิศตะวันตก จรด ที่ดินนายผล คำสวัสดิ์
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 5 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2558
เสนาสนะถาวรวัตถุ
๑. อุโบสถ
มีลักษณะ ศาลากึ่งอุโบสถ โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ตีฝ้าเพดาน ปูพื้น
ด้วยกระเบื้อง มีขนาดกว้าง ๒๖ เมตร ยาว ๓๖ เมตร ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี ๒๕๕๔ ซึ่งในการสร้าง
อุโบสถนั้น ก่อนที่จะมีพิธีฝังลูกนิมิต ทางวัดได้ใช้อุโบสถเป็นศาลาปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในวัน
สำคัญทางศาสนา กิจกรรมการเข้าค่ายธรรมของนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ กิจกรรมอบรมกลุ่มเสี่ยง
ยาเสพติด จนกระทั่งในวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๘ ได้รับการประกาศเป็นวัดพลอยสังวรนิรันดร์ จาก
สำนักนายกรัฐมนตรี ได้เข้ารับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ ต่อมาได้จัดงาน
พิธีปิดทองฝังลูกนิมิต เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๙ โดยได้รับความเมตตาจาก เจ้าประคุณสมเด็จ
พระพุทธชินวงศ์ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง, พระราชสิทธาจารย์ (หลวงปู่ทองใบ ปภส̣สโร) ประธานสงฆ์
วัดนาหลวง(อภิญญาเทสิตธรรม) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๘ และพระปัญญากรโมลี เจ้าคณะจังหวัด
อุตรดิตถ์ เมตตาเป็นองค์ประธานในการตัดหวายลูกนิมิต
๒. กุฏิบุญช่วย ชุบธรรม
เป็นกุฏิสร้างรับรองพระเดชพระคุณท่านพระราชสิทธาจารย์(หลวงปู่ทองใบ) มีขนาดกว้าง
๔ เมตร ยาว ๑๖ เมตร
๓. ศาลาอเนกประสงค์
เป็นศาลาใช้ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา มีขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๔ เมตร
๔. ศาลาที่พักผู้ปฏิบัติธรรม
เป็นศาลาสำหรับให้ผู้ที่มาปฏิบัติธรรมเข้าพัก มีขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๔ เมตร
๕. ศาลาธรรมจิตติ
เป็นศาลาเรือนรับรองพระอาคันตุกะ มีขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๖ เมตร
๖. ศาลานามโคตร
เป็นศาลาเรือนรับรองพระอาคันตุกะ มีขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๖ เมตร
๗. โรงครัว
นอกจากจะเป็นที่เตรียมอาหารสำหรับพระแล้ว ยังเป็นสถานที่ให้พระบิณฑบาตอาหาร
มีขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๕ เมตร
๘. เรือนพักญาติธรรม
มีจำนวน ๒ หลัง ขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๐ เมตร
๙. พระพุทธรูปองค์ใหญ่
เป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดหน้าตัก ๕.๘ เมตร มีชื่อว่า พระอหิงสามิ่งมงคล
๑๐. พระพุทธรูปหยกขาว
มีขนาดหน้าตัก ๒ เมตร พระประธานในอุโบสถ มีชื่อว่า พระนาถะมุนีศิลามงคล
๑๑. ห้องน้ำพระภิกษุและสามเณร
มีห้องน้ำจำนวน ๒ หลัง ๓๐ ห้อง
๑๒. ห้องน้ำญาติโยม
มีจำนวน ๒ หลัง ๕๐ ห้อง
๑๓. สระน้ำ
เป็นสระน้ำที่มีขนาดกว้าง ๗๕ เมตร ยาว ๑๕๐ เมตร ลึก ๑๐ เมตร
๑๔. ถนนคอนกรีตรอบวัด
เป็นถนนคอนกรีต มีขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๓ กิโลเมตร
๑๕. รั้วรอบวัด
เป็นรั้วที่มีขนาดความสูง ๒ เมตร ยาว ๑ กิโลเมตร