ความเป็นมาเดิม
วัดห้วยปลาดุก เลขที่ ๙๙/๙ ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ ๕ บ้านห้วยปลาดุก ตำบลน้ำพี้ อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ประชาชนชาวบ้านที่มาตั้งบ้านเรือนแต่เดิมตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่นั้น อพยพมาจากบ้านห้วยอ้อย อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นส่วนมากไม่ทราบ พ.ศ. แน่ชัด
วัดห้วยปลาดุก ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบชาวบ้านร่วมกันก่อสร้างเป็นที่พักสงฆ์ขึ้น เมื่อ พ.ศ ๒๕๑๒ เพื่อเป็นที่บำเพ็ญกุศลและพิธีกรรมทางศาสนา โดยมีพระหลวงตาเที่ยง และหลวงตาแวว ได้อาศัยอยู่เป็นหลัก และมาถึงยุคของ นายผล จ่าเหม็ง เป็นผู้ใหญ่บ้าน ได้ขออนุญาตสร้างเสนาสนะขึ้นให้ถูกต้อง และได้รับอนุญาตให้สร้างวัดในพระพุทธศาสนา ตามกฎกระทรวงในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ชื่อว่าวัดห้วยปลาดุก เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๓ ตามชื่อของวัดว่าห้วยปลาดุกนั้นเพราะในหมู่บ้านมีลำห้วยไหลผ่านกลางหมู่บ้านและไม่ไกลจากที่ตั้งของวัด ลำห้วยมีปลาดุกชุกชุมมากในสมัยนั้น ชาวบ้านทั้งหลายจึงได้ตกลงกันตั้งชื่อว่าวัดห้วยปลาดุกและร่วมกันทำนุบำรุงในการก่อสร้าง เสนาสนะวัตถุสถานที่เป็นประโยชน์แก่พระสงฆ์ในศาสนารวมถึงอุบาสกอุบาสิกาและสาธุชนคนทั่วไปมาจนถึงปัจจุบันนี้
ที่ตั้งวัดปัจจุบัน
วัดห้วยปลาดุก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๗ ไร่ ๓ งาน ๗๗ ตารางวา ตาม น.ส ๓ ก.เลขที่ ๑๖๗๓ มีอาณาเขตสภาพโดยรอบดังนี้ คือ
ทิศเหนือ ดถนนสาธารณะ
ทิศใต้ ติดที่นายผล จ่าเหม็ง
ทิศตะวันออก ติดถนนสายบ้านวังถ้า ตำบลถ้ำฉลอง
ทิศตะวันตก ติดที่ดินนายยอด เพชรสุวรรณ
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ 28 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2533
เสนาสนะวัตถุ
๑. พ.ศ. ๒๕๑๕ สร้างกุฏิปูน กว้าง ๔.๕ เมตร ยาว ๕.๕ เมตร สูง ๓.๕ เมตร โครงเหล็กมุงกระเบื้อง
๒. พ.ศ. ๒๕๒๐ สร้างศาลาการเปรียญไม้ ขนาดกว้าง ๑๘.เมตร ยาว ๒๔.เมตร (บูรณะใหม่พ.ศ. ๒๕๕๔ สูง ๙.เมตรโครงหลังคาไม้ มุงด้วยสังกะสี)
๓. พ.ศ.๒๕๒๓ สร้างกุฏิไม้ (เก่า) ขนาดกว้าง ๙.เมตร ยาว ๑๐. เมตร สูง ๗ เมตร ยาว ๔ สูง ๓ เมตรมีลูกกรงคอนกรีตเคลือบเงาสีฟ้ารอบบันไดขึ้นเป็นรูปปั้นพญานาคคู่
๔. พ.ศ.๒๕๒๗ สร้างศาลาธรรมสังเวช กว้าง ๗.๕ เมตร ยาว ๘ เมตร มุงกระเบื้องหลังคาลอนคู่ พื้นคอนกรีต (เพิ่มโครงหลังคาเหล็กหน้าเมรุ พ.ศ.๒๕๕๙ กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๔ เมตร สูง ๕ เมตร
๕. พ.ศ.๒๕๓๐ สร้างเมรุ กว้าง ๕ เมตร ยาว ๗ เมตร สูง ๕ เมตร ลักษณะทรงไทย
๖. พ.ศ.๒๕๔๖ สร้างซุ้มประตู้หน้าวัด กว้าง ๗ เมตร สูง ๕.๕๐ เมตร หน้าบันทรงไทย
๗. พ.ศ.๒๕๕๐ สร้างกุฏิไม้ ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๗ เมตร มุงกระเบื้องลอนคู่สีโอ๊กแดง
๘. พ.ศ.๒๕๕๕ เทหล่อคอนกรีตสร้างองค์พระประธานปรางมารวิชัยประทับนั่งบนฐานกลีบบัวขนาดหน้าตักกว้าง ๒ เมตร สูงจากฐานบัว ๓ เมตร ฐานรองรับองค์พระพื้ล่างขนาดกว้าง ๔ ยาว ๔ เมตร สูง ๓ เมตร มีลูกกรงคอนกรีตเคลือบเงาสีฟ้ารอบบันไดขึ้นเป็นรูปปั้นพญานาคคู่
๙. พ.ศ.๒๕๕๖ สร้างกุฏิปูนคอนกรีต ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๕ เมตรโครงหลังคาเหล็ก
๑๐. พ.ศ.๒๕๕๖ สร้างกุฏิปูนคอนกรีต มีลักษณะขนาดเท่ากัน ทุกประการ(ปี๕๖ สร้างรวม ๒ หลัง)๑๑. พ.ศ.๒๕๕๗ สร้างกุฏิไม้ ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว๕ เมตร โครงไม้มุงกระเบื้องลอนคู่สีโอ๊กแดงเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔ คณะกรรมการวัดและชาวบ้านเห็นว่าตัวศาลาการเปรียญไม้หลังเก่ามีอาการทรุดโทรมอีกทั้งยังตั้งอยู่ไม่เป็นระเบียบจึงได้บูรณะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่ได้ทำการย้ายจากที่เดิมไปตั้งไว้ติดเขตกำแพงวัดอีกด้าน หนึ่ง ความกว้าง ยาว สูง และลักษณะได้ส่วนกับหลังเก่าทุกประการ