ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
- ชื่อวัด: วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
- ประเภทวัด: พระอารามหลวง
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 14 รูป
- สามเณร: 108 รูป
- ที่ตั้ง: เลขที่ 13 หมู่ ช้างค้ำ สุริยพงษ์ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน รหัสไปษณีย์ 55000
- เนื้อที่: 11 ไร่
ประวัติความเป็นมา
เดิมชื่อ “วัดหลวงกลางเวียง” เจ้าผู้ครองนครน่าน พญาภูเข่ง เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1949 เป็นวัดหลวงในเขตนครน่าน สำหรับเจ้าผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนาและพิธีถือ น้ำพิพัฒน์สัตยา ตามศิลาจารึกหลักที่ 74 ซึ่งถูกค้นพบภายในวัดกล่าวว่า พญาพลเทพฤ ชัย เจ้าเมืองน่านได้ปฏิสังขรณ์บูรณะวิหารวัดหลวงเมื่อ พ.ศ.2091 ลักษณะสถาปัตยกรรมของวัดพระธาตุช้างค้ำนี้สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศิลปะ สุโขทัย อาทิ เจดีย์ทรงลังกา (ทรงระฆัง) รอบฐานองค์เจดีย์ก่ออิฐถือปูนและปั้นเป็นรูปช้างครึ่งตัว ด้านละ 5 เชือกและที่มุมอีก 4 เชือกดูคล้ายจะเอาหลังหนุน หรือ ค้ำองค์เจดีย์ไว้ ลักษณะคล้ายวัดช้างล้อม และภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดยืนปางประทานอภัย อายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 19 ตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลาย มีพระประธานเป็นปูนปั้นขนาดใหญ่ศิลปะเชียงแสน ฝีมือสกุลช่างน่าน ที่มีพุทธลักษณะงดงามยิ่งของเมืองน่าน
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 1946
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 1949
• วัดพัฒนาดีเด่น ไม่ทราบวันเวลา
• วัดพัฒนาตัวอย่าง ไม่ทราบวันเวลา
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
สถานที่ตั้ง : เลขที่ 13 ถนนสุริยพงษ์ บ้านช้างค้ำ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน (ตรงข้ามพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติน่าน)
โทรศัพท์ : 0 5477 2164
GPS : N18 43 49.85, E100 47 7.44
เวลาทำการ : 06.00-18.00 น.
ช่วงเวลาแนะนำ : ตลอดทั้งปี
ไฮไลท์ : พระธาตุเจดีย์ช้างค้ำ ที่เมื่อมองขึ้นไปรอบๆ บริเวณพระธาตุก็จะพบกับปูนปั้นลอยตัวรูปช้างค้ำครึ่งตัวซึ่งเข้าใจว่าน่าจะเป็นที่มาของชื่อ วัดพระธาตุช้างค้ำ
ความน่าสนใจภายในวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
- องค์พระธาตุเจดีย์ที่มีปูนปั้นรูปช้างค้ำอยู่ และภายในบริเวณวัดยังมีหอพระไตรปิฎกที่ได้ชื่อว่าใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และภายในยังประดิษฐานพระทองคำปางลีลา
- เจดีย์ทรงลังกา สถาปัตยกรรมของวัดพระธาตุช้างค้ำนี้ สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย อาทิ เจดีย์ทรงลังกา (ทรงระฆัง) รอบฐานองค์พระเจดีย์ก่ออิฐถือปูนและปั้นเป็นรูปช้างครึ่งตัว ด้านละ 5 เชือกมุมทั้งสี่อีก 4 เชือก ดูคล้ายจะเอาหลังหนุน หรือ ค้ำ องค์เจดีย์
- พระพุทธรูปองค์ใหญ่และมีความสวยงามเป็นที่สักการะของชางน่านและพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป
ข้อมูลเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2558
งานตานสลากภัต (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 27 กันยายน 2558
การจัดการศึกษาภายในวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
การจัดการศึกษาภายในวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารนั้น จะประกอบไปด้วย
- โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
- จัดการศึกษาแผนกธรรม-บาลี
- สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด
- แหล่งเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณสถาน