ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดภูมินทร์
- ชื่อวัด: วัดภูมินทร์
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 10 รูป
- สามเณร: 13 รูป
- ลูกศิษย์วัด: 3 คน
- ที่ตั้ง: เลขที่ 33 บ้านภูมินทร์ ผากอง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน รหัสไปษณีย์ 55000
- โทร: 0878504026
ประวัติความเป็นมา
วัดภูมินทร์สันนิษฐานว่าอาจจะสร้างในสมัยเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์เป็นผู้ครองเมืองน่าน ประมาณ พ.ศ. 2138 วัดภูมินทร์มีโบราณสถานสำคัญ คือ อุโบสถซึ่งลักษณะเป็นอาคารทรงจตุรมุข มีผังเป็นรูปกากบาท อาคารหลังนี้อาจได้รับอิทธิพลของสถาปัตยกรรมจากอานันทเจดีย์ที่เมืองพุกาม ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูป 4 องค์หันพระพักตร์ออกสู่ประตูทั้ง 4 ทิศสำหรับอุโบสถองค์ปัจจุบันมีรูปแบบพื้นฐานมาจากการบูรณปฏิสังขรณ์ในช่วงสมัยพระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช ใช้เวลาในการบูรณะยาวนานกว่า 8 ปี (พ.ศ. 2410 - 2417) ศิลปะตกแต่งภายในอุโบสถเป็นรูปแบบผสมผสานระหว่าง ศิลปะเมืองน่านและศิลปะจากเมืองใต้ กรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งตรงกับปลายรัชกาลที่ 4 ถึงต้นรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี
แหล่งที่มา: สำนักงานจังหวัดน่าน (http://www.nan.go.th)
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2138
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2139
ข้อมูลเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2558
จิตรกรรม วัดภูมินทร์ (ภาษา) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดภูมินทร์
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เมื่อ พ.ศ.2410 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4) ใช้เวลาซ่อม นานถึง 7 ปี จิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงก็เขียนขึ้นในช่วงนี้ ภาพจิตรกรรมหรือ “ฮูบแต้ม” ในวัดภูมินทร์เป็น ชาดกในพุทธศาสนา แต่ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น มีภาพที่น่าสนใจอยู่หลายภาพ เช่น ภาพเด่น ของ ภาพปู่ม่าน ย่าม่าน ซึ่งเป็นคำเรียกผู้ชายผู้หญิงชาวไทลื้อในสมัยโบราณกระซิบสนทนากัน ผู้ชายสักหมึก ผู้หญิง แต่งกายไตลื้ออย่างเต็มยศ ภาพวาดของ หนุ่มสาวคู่นี้มีความประณีตมาก ภาพนี้ได้รับการ ยกย่องว่าเป็นภาพที่งามเป็นเยี่ยมของวัดภูมินทร์
ภาพธรรมเนียมการอยู่ข่วง ของชาวไทลื้อ พ่อแม่จะอนุญาตให้หนุ่มสาวพบปะกันที่ชานบ้านในเวลาค่ำ ขณะ หญิงสาวกำลังปั่นฝ้าย หรือ “อยู่ข่วง” หากสาวเจ้าตกลงปลงใจด้วยก็จะจัดพิธีแต่งงาน หรือที่เรียกว่า “เอาคำไป ป่องกั๋น” หรือเป็นทองแผ่นเดียวกัน การค้าขาย แลกเปลี่ยนในชุมชน ภาพชาวพื้นเมือง ซึ่งอาจเป็นชาวเขา “เป๊อะ” ของป่าบนศรีษะ เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกับคน ชีวิตความเป็นอยู่ของคน เมืองน่าน หญิงสาวกำลังทอผ้าด้วยกี่พื้น เมือง นอกชานมีเรือนเล็กๆ ตั้งหม้อน้ำดินเผาที่เรียกว่า “ร้านน้ำ”ส่วนชายหนุ่มไว้ผมทรงหลักแจว หรือ ทรงมหาด ไทย แสดงให้เห็นอิทธิพลตะวันตกที่เข้ามาผสมผสานในวิถีพื้นเมืองน่าน ภาพชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาเมืองน่าน ช่วงรัชกาลที่ 5 ทรงผม และเครื่องแต่งกายของผู้หญิงเป็นรูปแบบเดียวกับที่กำลังเป็นที่นิยมในยุโรปขณะนั้น นอกจากนี้เป็นภาพจิตรกรรม ฝาผนังเรื่องราวของพุทธประวัติ คันธกุมารและเนมีราชชาดก มีสิ่งที่น่าตื่นเต้น ประทับ ใจที่สุดคือภาพบุคคลขนาดใหญ่เท่าตัวคน ที่อาจมีชีวิตอยู่จริงในเวลานั้นความใหญ่โตมโหฬารของภาพบุคคล 6 ภาพ มิใช่จะทำให้คนชมต้องตะลึงเท่านั้น หากภาพวาดมี ความงดงามมากเพราะบรรยายถึงอาภรณ์ การแต่งกาย ของหญิงชาย โดยเฉพาะสามารถถ่ายทอดอารมณชีวิตชีวาและแสดงถึง ลีลาอันอ่อนช้อยได้เป็นอย่างดีภาพเหล่า นี้ส่วนมากเขียนอยู่บนบานประตู ซึ่งเมื่อเปิดประตูออก บานประตูจะบังภาพไปบางส่วน
การจัดการศึกษาภายในวัดภูมินทร์
การจัดการศึกษาภายในวัดภูมินทร์นั้น จะประกอบไปด้วย